งูแสงอาทิตย์ (อังกฤษ: Sunbeam snake) เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวยาวทรงกระบอก หัวแบนเรียว ตามีขนาดเล็ก ลำตัวมีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร ลำตัวสีดำถึงสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องมีสีขาว ส่วนหัวแบนเรียว ตาเล็ก ลักษณะเด่นคือเกล็ดลำตัวเรียบเป็นเงาแวววาบสะดุดตาเมื่อสะท้อนแสงแดด อันเป็นที่มาของชื่อ พบได้ตั้งแต่ภาคใต้ของจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยไม่มีชนิดย่อย[3] ตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่ชวา[2] จัดเป็นงูโบราณจากลักษณะที่ยังคงปอดทั้งสองข้างเอาไว้ ซึ่งงูทั่วไปจะเหลือปอดซ้ายเพียงข้างเดียวเพื่อความสะดวกในการเก็บปอดภายในลำตัวแคบๆ ยาว ๆ [4]มักพบเห็นได้ในพื้นที่ที่มีกิ้งก่า, กบ, หนู และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ซึ่งเป็นอาหาร รวมถึงกินงูด้วยกัน เช่น ลูกงูเห่าและงูกะปะ เป็นอาหารได้ด้วย เป็นงูที่มีพละกำลังพอสมควร เมื่อพบเหยื่อจะจัดการเหยื่อด้วยการรัดให้หมดแรงและค่อย ๆ กลืนลงไป[5]

งูแสงอาทิตย์
ภาพวาดงูแสงอาทิตย์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Xenopeltidae
สกุล: วงศ์งูแสงอาทิตย์
Reinwardt, 1827
สปีชีส์: Xenopeltis unicolor
ชื่อทวินาม
Xenopeltis unicolor
Reinwardt, 1827
ชื่อพ้อง[2]
  • Col[uber]. alvearius
    F. Boie, 1826
  • [Xenopeltis] unicolor
    Reinwardt In F. Boie, 1827
  • [Xenopeltis] concolor
    Reinwardt In F. Boie, 1827
  • Xenopeltis leucocephala
    Reinwardt In F. Boie, 1827
  • Tortrix xenopeltis
    Schlegel, 1837
  • Xenopeltis unicolor
    Cantor, 1847
  • X[enopeltis]. leucocephalus
    Jan & Sordelli, 1865
  • Xenopeltis unicolor
    Boulenger, 1893

มักอาศัยอยู่ใต้ขอนไม้หรือก้อนหินที่เป็นดินร่วนและมีความชื้นเล็กน้อย ยามน้ำท่วมสามารถปีนขึ้นที่สูง เช่น ต้นไม้ หรือขื่อคาบ้านเพื่อหนีน้ำได้

งูแสงอาทิตย์มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงูพิษร้ายแรง มีความดุร้าย ที่เมื่อถูกกัดแล้วจะตายเพื่อพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งไม่เป็นความจริง แท้จริงแล้วงูแสงอาทิตย์เป็นงูที่เชื่องช้าและไม่มีพิษ เมื่อเผชิญหน้ากับมนุษย์จะไม่แสดงท่าทีดุร้าย แต่จะหมอบอยู่นิ่ง ๆ ทำตัวแบนราบกับพื้น หรือไม่ก็เลื้อยหนีไป อาจจะมีขู่บ้างทำให้ดูคล้ายงูเห่า แต่ไม่กัด

วางไข่ไว้ตามใต้เศษใบไม้แห้งที่ชื้น ๆ เพื่ออาศัยความร้อนจากขบวนการย่อยสลายซากใบไม้ในการฟักไข่ ใช้เวลานานประมาณ 3 เดือน ซึ่งนานพอที่จะให้พัฒนาการของตัวอ่อนในไข่กลายเป็นงูวัยอ่อนได้โดยสมบูรณ์ เมื่อฟักออกมาลูกงูมีลักษณะเหมือนงูตัวเต็มวัยทุกประการ เว้นแต่จะมีรอบคอเป็นสีขาวซึ่งแตกต่างจากงูตัวโตเต็มวัยปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[6]


รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Wogan, G.; Auliya, M.; Inger, R.F.; Nguyen, T.Q. (2012). "Xenopeltis unicolor". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T178481A1536060. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T178481A1536060.en. สืบค้นเมื่อ 6 June 2023.
  2. 2.0 2.1 McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Washington, District of Columbia: Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. "Xenopeltis unicolor ". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 1 September 2007.
  4. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 548 หน้า. หน้า 404-405. ISBN 978-616-556-016-0
  5. จุดประกาย 7 WILD, งูแสงอาทิตย์. "แดนอสรพิษ THE SNAKE MASTER". กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10525: วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
  6. ส้มฉุน, ไชยรัตน์ (September, 20 2011). "งูแสงอาทิตย์..ไร้พิษสง ปีนต้นไม้..หนีน้ำท่วมได้". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ July 24, 2016. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้