งูหลามบอล หรือที่นิยมเรียกว่า บอลไพธอน (อังกฤษ: ball python; ชื่อวิทยาศาสตร์: Python regius) เป็นงูเหลือมชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า ไม้พุ่ม และป่าเปิดที่แอฟริกาตะวันตกถึงแอฟริกากลาง ถือเป็นงูเหลือมแอฟริกันไม่มีพิษที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยมีความยาวสูงสุดที่ 182 ซm (5.97 ft)[2] ส่วนชื่อ "บอลไพธอน" สื่อถึงแนวโน้มที่งูหลามจะขดตัวเป็นลูกบอลเมื่อเกิดความเครียดหรือทำให้ตกใจ[3]

งูหลามบอล
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: วงศ์งูเหลือม
สกุล: Python
(Shaw, 1802)
สปีชีส์: Python regius
ชื่อทวินาม
Python regius
(Shaw, 1802)
แผนที่การกระจายพันธุ์ของงูหลามบอล
ชื่อพ้อง
  • Boa regia Shaw, 1802
  • Cenchris regia Gray, 1831
  • Python bellii Gray, 1842
  • Hortulia regia Gray, 1849[2]

ข้อมูลทั่วไป แก้

มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา โดยพบตั้งแต่แอฟริกากลางไปจนถึงแอฟริกาตะวันตก โดยปกติแล้วงูหลามบอลมักจะใช้ชีวิตอยู่บนพื้นดินมากกว่าอยู่บนต้นไม้ แต่ก็พบบ่อยครั้งที่พบงูหลามบอลอยู่บนต้นไม้ได้เช่นกัน ลักษณะทั่วไป งูหลามบอลจัดเป็นงูขนาดกลาง มีรูปร่างค่อนข้างอ้วน ป้อม สั้น ขนาดโดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เกิน 1.2 เมตร ลำตัวอาจมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีเหลืองสด ตัดกับลวดลายสีดำทั่วทั้งตัว โดยงูแต่ละตัวจะมีลวดลายไม่ซ้ำกัน

อุปนิสัย งูหลามบอลเป็นงูที่มีนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าว เมื่อพบกับศัตรูจะขดตัวกลมคล้ายลูกบอล จึงเป็นที่มาของชื่อ และอาหารจะกินแต่เฉพาะหนูและสัตว์ฟันแทะเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากงูหลาม งูเหลือม ชนิดอื่น ๆ การแพร่พันธุ์ จะกระทำในฤดูใบไม้ผลิ หรือหลังจากฤดูหนาว โดยมักเป็นช่วงปลายปี โดยตัวผู้จะเลื้อยคลอเคลียกับตัวเมียไปทางด้านข้าง ใช้หางเขี่ยคลอเคลียไปบนหลังตัวเมีย มีการใช้เทคนิค นวดตัวเมียโดยใช้สเปอร์และปลายหาง เมื่อเป็นที่ถูกใจตัวเมียจะม้วนหางขึ้นเพื่อให้ตัวผู้ได้ผสมพันธุ์ จากนั้น 1-4 เดือนต่อมา ตัวเมียจะออกไข่ ประมาณ 5-8 ฟอง ในการกกไข่ ตัวเมียทำหน้าที่เพียงป้องกันไข่ ไม่ได้ใช้การสั่นของกล้ามเนื้อเพื่อกระตุ้นไข่หรือให้ความอบอุ่น ในขณะที่เป็นลูกงูนั้น การลอกคราบจะถี่มากช่วงปีแรกเฉลี่ยเดือนละครั้ง

จากอุปนิสัยที่ไม่ดุร้ายและสีสันลวดลายที่สวยงาม ทำให้งูหลามบอลเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ชนิดหนึ่งของผู้ที่ชื่นชอบสัตว์เลื้อยคลาน โดยสามารถเลี้ยงได้ในตู้กระจกหรือกล่องพลาสติก อีกทั้งสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้เพื่อให้ได้ลวดลายสีสันที่แตกต่างแปลกออกไปด้วยหลักของสัณฐานวิทยา ซึ่งงูตัวที่มีสีสันหรือลวดลายสวยงามแตกต่างไปจากตัวอื่นทั่วไป จะมีสนราคาแพงกว่าปกติมาก

เทพปกรณัมกรีก แก้

งูหลามบอลได้ถูกกล่าวถึงในเทพปกรณัมกรีกไว้ว่า เมื่อ มหาเทพซูสได้มีจิตปฏิพัทธ์ต่อ นางเลโต ทำให้ เทพีฮีรา มเหสีเอกเกิดความหึงหวงจึงกลั่นแกล้งด้วยการส่ง งูหลามบอลที่เลี้ยงไว้ไปตามรังควาน นางจึงต้องอุ้มครรภ์หนีซอกซอนไปจนถึง เกาะดีลอส (Delos) โปเซดอน มีความสงสารบันดาลให้เกาะผุดขึ้นในทะเล เพื่อให้นางได้ประสูติ เทพอพอลโล กับ เทพีอาร์เตมิส บนเกาะนั้น ทันทีที่ประสูติจากครรภ์มารดา เทพอพอลโล ก็จับงูหลามบอลฆ่าทิ้งเสีย จึงได้รับการขนานนามว่า ไพธูส (Pytheus) ซึ่งแปลว่า “ผู้สังหารงูหลาม”

ระเบียงภาพ แก้


อ้างอิง แก้

  1. D'Cruze, N.; Wilms, T.; Penner, J.; Luiselli, L.; Jallow, M.; Segniagbeto, G.; Niagate, B. & Schmitz, A. (2021). "Python regius". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T177562A15340592. สืบค้นเมื่อ 7 October 2021.
  2. 2.0 2.1 McDiarmid, R. W.; Campbell, J. A.; Touré, T. (1999). Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference. Vol. 1. Washington, DC: Herpetologists' League. ISBN 1-893777-00-6.
  3. Mehrtens, J. M. (1987). "Ball Python, Royal Python (Python regius)". Living Snakes of the World in Color. New York: Sterling Publishers. p. 62. ISBN 080696460X.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้