วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า

(เปลี่ยนทางจาก งูพิษเขี้ยวหน้า)
วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า
งูจงอาง (Ophiophagus hannah) เป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Ophiophagus ในวงศ์ย่อย Elapinae
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
อันดับฐาน: Alethinophidia
วงศ์: Elapidae
F. Boie, 1827
วงศ์ย่อย

วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Elapidae; อังกฤษ: Cobra, Sea snake, King cobra, Taipan, Mamba) เป็นวงศ์ของงูวงศ์หนึ่ง ที่มีพิษร้ายแรง สามารถทำให้มนุษย์หรือสัตว์ขนาดใหญ่ต่าง ๆ ตายได้เมื่อถูกพิษเข้าสู่กระแสเลือด

ซึ่งคำว่า Elapidae ที่ใช้เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า "éllops" หมายถึง งูทะเล[1]

มีลักษณะโดยทั่วไป คือ กระดูกพรีแมคซิลลาไม่มีฟัน กระดูกแมคซิลลาเรียงตัวตามยาวและมีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจนอยู่ทางด้านหน้า ช่องเปิดของตาอยู่ตรงรอยต่อระหว่างกระดูกฟรอนทัล-กระดูกพาไรทัล-กระดูกพาราสฟีนอยด์ ขากรรไกรล่างไม่มีกระดูกโคโรนอยด์และกระดูกเดนทารีมีฟัน ไม่มีกระดูกเชิงกราน ไม่มีปอดข้างซ้ายหรือมีแต่ก็เล็กมาก มีท่อนำไข่ทั้งสองข้างและเจริญเท่ากัน

เป็นวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมาก พบกระจายอยู่ในเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย แอฟริกาและอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย แบ่งออกเป็นวงศ์ย่อย ได้อีก 6 วงศ์ แบ่งเป็นสกุลทั้งหมด 55 สกุล แบ่งเป็น 360 ชนิดและ 170 ชนิดย่อย[2]

เป็นวงศ์ของงูที่มีพิษร้ายแรง สมาชิกในวงศ์นี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ งูเห่า (Naja kaouthia), งูจงอาง (Ophiophagus hannah) ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ โดยความยาวเต็มที่อาจยาวได้ถึง 5.5 เมตร รวมถึงงูทะเลด้วย ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Hydrophiinae ซึ่งเป็นหนึ่งในวงศ์ย่อยของวงศ์นี้เลยทีเดียว

สำหรับในประเทศไทยพบงูในวงศ์นี้ได้30ชนิด[3]

อ้างอิง

แก้
  1. [1]. Retrieved 2009-07-13
  2. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  3. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 412-413 (พ.ศ. 2552) ISBN 978-616-556-016-0

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้