คุยเรื่องวิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 ปีที่แล้ว โดย Ans ในหัวข้อ fix edit summary

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาวิกิพีเดีย ผู้ดูแลระบบ

การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

ใส่รายชื่อผู้ดูแลในหน้านี้? แก้

ถ้าใส่ชื่อไว้ในหน้านี้ รู้สึกว่ามันจะไม่ update อัตโนมัติ... ทำเป็นลิงก์แบบ รายชื่อผู้ดูแลปัจจุบัน ดีไหมครับ? --- Jittat 08:03, 27 ตุลาคม 2005 (UTC)

ผู้ดูแลไม่ได้มีการแต่งตั้งอยู่บ่อย ๆ นี่ครับ นาน ๆ ที จะมีการตั้งผู้ดูแลครั้งหนึ่ง --Max 10:19, 27 ตุลาคม 2005 (UTC)

การสิ้นสภาพผู้ดูแลระบบ แก้

จากการอภิปรายเดิม

เสนอให้เขียนข้อความในส่วน "การสิ้นสภาพผู้ดูแลระบบ" ใหม่ดังนี้ โดยส่วนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ผมขยายความให้ชัดเจนขึ้น ส่วนการว่างเว้นจากวิกิพีเดีย ผมเอาสูตรที่เบาที่สุดจากคุณ Lerdsuwa มาใส่ --taweethaも (พูดคุย) 23:22, 3 มีนาคม 2555 (ICT)


ในทางเทคนิคสิทธิ์การเป็นผู้ดูแลระบบจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีการแจ้งต่อวิกิมีเดียเมต้าและผู้ดูแลโครงการได้ดำเนินการตามคำร้องนั้น อนึ่งผู้ดูแลโครงการจะดำเนินการระงับสิทธิ์การเป็นผู้ดูแลได้ในสองกรณีเท่านั้น

  1. ผู้ดูแลดังกล่าวสมัครใจแสดงความประสงค์ยกเลิกสิทธิ์ของตนเอง
  2. คณะอนุญาโตตุลาการ (คอต.) วินิจฉัยว่าควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแลดังกล่าวด้วยเหตุ
    • ว่างเว้นจากวิกิพีเดียภาษาไทย
      • หากผู้ดูแลท่านใดมีการแก้ไขไม่ถึง 50 ครั้ง หรือใช้สิทธิ์ที่สงวนไว้เฉพาะผู้ดูแลระบบไม่ถึง 10 ครั้ง หรือไม่เข้าเกณฑ์ทั้งสองอย่างในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ผู้ใช้พื้นฐานในวิกิพีเดียภาษาไทย (หมายรวมถึง คอต. นายทะเบียน ผู้ดูแลระบบ ฯลฯ แต่ไม่รวมผู้ใช้ใหม่ บอต และผู้ใช้ไม่ลงทะเบียน) จะยกเรื่องระงับสิทธิ์ผู้ดูแลนั้นขึ้นมาให้ คอต. พิจารณาเมื่อใดก็ได้
      • หาก คอต. พิจารณาว่าควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแล จะแจ้งให้ผู้ดูแลท่านนั้นทราบทางหน้าพูดคุยของวิกิพีเดียภาษาไทย (และฟังก์ชันการส่งอีเมลของมีเดียวิกิหากผู้ใช้นั้นเปิดรับอีเมล รวมถึงช่องทางอย่างเป็นทางการอื่นของวิกิพีเดียที่อาจเปิดขึ้นในอนาคต) หากเวลา 30 วันล่วงไปแล้วไม่มีการคัดค้านด้วยเหตุผลอันสมควรจากผู้ดูแลท่านดังกล่าว ให้ถือว่าคำวินิจฉัยเป็นที่สุด และแจ้งวิกิมีเดียเมต้าดำเนินการระงับสิทธิ์ต่อไป หากมีการคัดค้าน คอต. จะพิจารณารับฟังเหตุผลจากทุกฝ่ายก่อนจะออกคำวินิจฉัยใหม่ตามความเหมาะสม
      • หาก คอต. วินิจฉัยว่าไม่ควรระงับสิทธิ์ผู้ดูแลท่านใดเนื่องด้วยมีเหตุผลอันสมควร ผู้ใดจะนำเรื่องระงับสิทธิ์ผู้ดูแลท่านนั้นด้วยเหตุว่างเว้นจากวิกิพีเดีย มาเข้าสู่การพิจารณาของ คอต. อีกได้ก็ต่อเมื่อพ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่มีคำวินิจฉัยไปแล้ว
      • การระงับสิทธิ์เป็นไปเพื่อความปลอดภัยและการบริหารจัดการวิกิพีเดียภาษาไทย ไม่ถือเป็นมาตรการสกัดกั้น (block) และไม่ถือเป็นประวัติด่างพร้อย ผู้ดูแลที่ถูกระงับสิทธิ์แล้วอาจสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ดูแลใหม่อีกก็ได้
    • มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ผู้ดูแลวิกิพีเดียไทย หรือขณะปฏิบัติหน้าที่ส่วนตนในวิกิพีเดียแต่พฤติการณ์นั้นส่งผลต่อวิกิพีเดียไทยและสร้างความเสื่อมเสียต่อผู้ดูแลระบบโดยรวม อาทิเช่น
      • พฤติกรรมต่อหน้าต่างๆ ของวิกิพีเดีย: ป้องกันหน้าโดยปราศจากเหตุอันสมควรหรือสกัดกั้นรุนแรงเกินกว่าเหตุ ลบหน้าหรือไฟล์หรือบางส่วนของหน้าหรือไฟล์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทั้งนี้รวมถึงการใช้ Abuse filter หรือเครื่องมืออื่นใดที่ส่งผลกระทบต่อหน้าและไฟล์ในวิกิพีเดีย (เว้นแต่ความบกพร่องโดยสุจริต)
      • พฤติกรรมต่อผู้ใช้วิกิพีเดีย: กล่าวหาโดยปราศจากมูลเหตุหรือหลักฐาน หรือกล่าวหาในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ว่าร้าย เสียดสี กดขี่ข่มเหง ทั้งที่กระทำโดยทางตรงและทำในเชิงเหน็บแนมหรือเชิงคำถาม สกัดกั้นผู้ใช้หรือไอพีโดยปราศจากเหตุอันสมควรหรือสกัดกั้นรุนแรงเกินกว่าเหตุ (ทั้งนี้ความผิดในหน้าพูดคุยของผู้ใช้อาจถือเป็นเรื่องส่วนตนที่ยอมความกันได้ แต่ความผิดในหน้าอภิปรายสาธารณะแม้คู่กรณีจะให้อภัยกันแล้วอาจยังอยู่ในข่ายการพิจารณาของ คอต. เพราะสร้างความเสื่อมเสียต่อวิกิพีเดียโดยรวม)
      • พฤติกรรมต่อชุมชนวิกิพีเดีย: บังคับใช้นโยบายที่ยังไม่มีการรับรอง เสนอนโยบายโดยมีผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องแอบแฝง เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนหรือกระทบกระเทือนต่อผู้เขียนและ/หรือผู้อ่านวิกิพีเดีย (ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแสดงความเห็นส่วนตนโดยสุจริตที่อาจต่างจากเสียงส่วนใหญ่)
      • สำหรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อสาธารณะ ผู้ใช้พื้นฐานในวิกิพีเดียภาษาไทยมีสิทธิ์ร้องเรียนได้ เช่นเดียวกับกรณีการว่างเว้นจากวิกิพีเดีย สำหรับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อบุคคลในหน้าพูดคุยเป็นสิทธิ์ส่วนตนของบุคคลนั้นในการร้องเรียน หากกระทำต่อผู้ใช้ไม่ล็อกอิน ผู้ใช้ไม่ล็อกอินก็มีสิทธิ์ร้องเรียนเพื่อรักษาสิทธิ์ของตน

ความเห็น
  1. เห็นด้วย --taweethaも (พูดคุย) 12:44, 4 มีนาคม 2555 (ICT)
  2. เห็นด้วย --Panyatham 13:32, 4 มีนาคม 2555 (ICT)
  3. เห็นด้วย lux2545 : พูดคุย : โพสต์ : เมล : คุย 13:38, 4 มีนาคม 2555 (ICT)
  4. เห็นด้วย --Lerdsuwa (พูดคุย) 17:10, 4 มีนาคม 2555 (ICT)
  5. เห็นด้วย --octahedron80 10:24, 5 มีนาคม 2555 (ICT)
  6. เห็นด้วย --Walker Emp (พูดคุย) 13:29, 5 มีนาคม 2555 (ICT)
  7. เห็นด้วย --เอ็น เอ็ม | พูดคุย 20:17, 5 มีนาคม 2555 (ICT)
  8. เห็นด้วย --∫G′(∞)dx 12:12, 6 มีนาคม 2555 (ICT)
  9. เห็นด้วย --Pastman 09:32, 8 มีนาคม 2555 (ICT)
  10. เห็นด้วย -- ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 00:18, 11 มีนาคม 2555 (ICT)
  11. เห็นด้วย --Ken-Z! Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 19:26, 13 มีนาคม 2555 (ICT)
  12. เห็นด้วย --Pongsak ksm (พูดคุย) 16:57, 15 มีนาคม 2555 (ICT)
  13. เห็นด้วย --Azoma | พูดคุย 10:44, 19 มีนาคม 2555 (ICT)
อภิปราย
  1. "สมาชิกที่ลงทะเบียน" อาจต้องระบุเพิ่มว่าไม่ใช่สมาชิกใหม่ เพราะสมาชิกใหม่ก็มีสถานะเทียบเท่ากับไอพีเพียงแต่สมัครไอดีขึ้นมาใหม่เพียงเท่านั้น --octahedron80 13:56, 4 มีนาคม 2555 (ICT)

สรุป

ช้อความใหม่มีผลบังคับนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป --taweethaも (พูดคุย) 13:55, 19 มีนาคม 2555 (ICT)


การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

เสนอให้แก้ไขกระบวนการเพิกถอนสิทธิผู้ดูแลระบบที่ไม่มีกิจกรรมและผู้ดูแลระบบที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ แก้

กระบวนการเพิกถอนสิทธิผู้ดูแลระบบที่ไม่มีกิจกรรม แก้

นโยบายของเมตามีว่าหากผู้ดูแลระบบไม่มีกิจกรรมภายใน 2 ปี ผู้จัดการโครงการจะทบทวนและเพิกถอนสิทธิผู้ดูแลระบบดังกล่าวหลังได้รับแจ้งเตือนในหน้าคุยของวิกิที่ผู้ดูแลระบบนั้น ๆ มีสิทธิอยู่

นโยบายปัจจุบันมีว่า หากผู้ดูแลระบบคนใดมีการแก้ไขไม่ถึง 50 ครั้ง และ/หรือใช้คุณลักษณะที่สงวนไว้เฉพาะผู้ดูแลระบบ ("เครื่องมือดูแลระบบ") ไม่ถึง 10 ครั้ง ในปีที่ผ่านมา สามารถส่งเรื่องให้ คอต. ระงับสิทธิ

ล่าสุดมีการเสนอให้มีกระบวนการท้องถิ่นที่ไม่ต้องผ่าน คอต. จึงควรมีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้

(1) แจ้งที่ใด
(2) เกณฑ์สำหรับการไม่มีกิจกรรม
(3) เกณฑ์สำหรับการสนับสนุน
(4) การส่งเรื่องให้เมตา --Wedjet (คุย) 21:10, 21 มิถุนายน 2562 (ICT)
(1) ใช้ที่สภากาแฟหรือ AN ก็ได้ครับ
(2) ใช้เกณฑ์เดิมหรือเสนอใหม่ก็ได้ครับ (ถ้าลองใช้เกณฑ์เดิมเมื่อนับตั้งแต่วันนี้ย้อนหลัง 1 ปี มี 3 ท่านต้องพิจารณาออก)
(3) เราอาจกำหนดวันที่แน่นอนสำหรับทบทวนสิทธิ 1-2 ครั้งต่อปี หรือเอาขยันก็นับตั้งแต่วันที่แต่งตั้งเป็นผู้ดูแลรายคนไปก็ได้
(4) เมื่อการอภิปรายจบลงโดยไม่มีการคัดค้านหรือมีข้อสรุปร่วมกันให้ระงับสิทธิ ผู้ใช้ที่รับผิดชอบต่อการอภิปรายแจ้งที่เมทาเพื่อทำการระงับสิทธิต่อไป
  ความเห็น ในกรณีที่ไม่มีวันกำหนดสำหรับทบทวนสิทธิหรือไม่มีผู้ใช้ตั้งเรื่องอภิปรายก็เป็นไปได้ว่าผู้ดูแลระบบยังคงมีสิทธิอยู่แม้จะไม่มีการเคลื่อนไหวก็ตามจนกว่าทางเมทาจะมาระงับเองเหมือนกับที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
--Geonuch (คุย) 11:25, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ในกรณีที่มีการคัดค้านนี้จะจัดการอย่างไรครับ เห็นชอบมากกว่า 80% เห็นชอบมากกว่าไม่เห็นชอบ อย่างนี้หรือเปล่า --Wedjet (คุย) 11:55, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ผมไม่ได้มองเป็นตัวเลขนะครับแต่ถ้าใครจะใช้นับคะแนนก็ไม่ได้ว่าอะไร ผมมองว่าถ้าจะมีการคัดค้านชุมชนต้องแสดงเหตุผลชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อการคงสิทธิผู้ดูแลระบบ เพราะถ้าเข้าเงื่อนไขหรือถึงเวลาแล้วจะมาคัดค้านทุกครั้งจะไม่ยั่งยืนต่อระบบการบริหารของวิกิพีเดียไทยเพราะมีนโยายท้องถิ่นแต่ใช้ไม่ได้จริง และในการอภิปรายครั้งก่อนจึงเห็นว่าควรนำนโยบายของเมทามาใช้ด้วยและเห็นว่าสะดวกดีเพราะชุมชนคงไม่ค่อยสนใจหรือเสนอตัวมาตั้งการอภิปรายระงับสิทธิผู้ดูแลเองครับ --Geonuch (คุย) 12:50, 4 กรกฎาคม 2562 (ICT)

กระบวนการเพิกถอนสิทธิผู้ดูและระบบที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ แก้

นโยบายปัจจุบันดูได้ที่ วิกิพีเดีย:ผู้ดูแลระบบ#คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ (ปัจจุบันไม่มี)

ล่าสุดมีการเสนอให้มีกระบวนการท้องถิ่นที่ไม่ต้องผ่าน คอต. จึงควรมีการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้

(1) แจ้งที่ใด
(2) เกณฑ์สำหรับการเริ่มกระบวนการ threshold, requirement เช่น ต้องเคยทำ x, y, z มาแล้ว ไม่เป็นผล
(3) เกณฑ์สำหรับการสนับสนุน
(4) การส่งเรื่องให้เมตา --Wedjet (คุย) 21:10, 21 มิถุนายน 2562 (ICT)
(5) เพิ่ม นิยามของ "พฤติกรรมไม่พึงประสงค์" ซึ่งถ้าเป็น objective ก็จะดีมากครับ --Wedjet (คุย) 12:04, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
(1) ใช้ที่สภากาแฟหรือ AN ก็ได้ครับ
(2) ควรมีการคุย สอบถาม ตักเตือน หรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อผู้ดูแลระบบก่อนที่จะเริ่มอภิปรายส่วนกลาง (บางกรณีถ้าเป็นแค่เรื่องเข้าใจผิดหรือผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้าปรับความเข้าใจหรือขอโทษก็น่าจะจบแล้ว) ในกรณีที่ผู้ดูแลระบบยังคงพฤติกรรมเดิมที่เป็นปัญหาอยู่ก็สามารถตั้งการอภิปรายได้
(3) ยังไม่มีความเห็น
(4) อาจให้มีบุคคลที่สามที่เป็นกลางดำเนินการให้ครับ
--Geonuch (คุย) 11:25, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
คำตอบข้อ (2) ผมขอให้อธิบายเพิ่มตาม WP:DR ได้ไหมครับ ผมขอเล่าให้ฟังว่า คอต. ของวิกิพีเดียภาษาไทยมีคดีเดียวก็คือผมเอง แถมตอนนั้นผู้ใช้ที่พิพาทกับผมก็ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ กับผมเลย (ถ้าจำไม่ผิดไม่เคยส่งสารมาหาผมทางหน้าคุยส่วนตัวด้วยซ้ำ) --Wedjet (คุย) 11:58, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
คำตอบข้อ (4) คือ จะให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าประชุมปิดอภิปรายแล้วสรุปเรื่องให้เมทาแบบนี้หรือครับ --Wedjet (คุย) 11:58, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ข้อ (2) ผมคิดตามการระงับข้อพิพาทครับ คือให้ไปคุยกันก่อนแล้วค่อยไล่ไปบุคคลที่สาม/ชุมชนถ้ายังแก้กันไม่ได้ ในส่วนนโยบายเดิมอาจระบุให้ชัดเจนว่าอย่างไรคือพฤติกรรมผู้ใช้หรือพฤติกรรมดูแลระบบ (ที่เป็นการใช้สิทธิ/เครื่องมือ) ส่วนข้อ (4) ผมเห็นว่าถ้าให้คู่กรณีของผู้ดูแลระบบดำเนินการเองดูไม่เหมาะสมเลยอยากให้เป็นบุคคลที่สามมากกว่าครับ --Geonuch (คุย) 12:50, 4 กรกฎาคม 2562 (ICT)

เพิ่มข้อยกเว้น แก้

เนื่องจากการอภิปรายนี้ไม่ค่อยมีผู้ใช้แสดงความเห็นมากนัก ผมเสนอให้เพิ่มข้อความลงในนโยบาย ดังนี้

  • ในกรณีที่ไม่มีคณะอนุญาโตตุลาการหรือตำแหน่งว่างอยู่ ผู้ใช้ทั่วไปอาจขอให้มีการอภิปรายผ่านชุมชนเพื่อดำเนินการเพิกถอนสิทธิผู้ดูแลระบบที่ไม่มีกิจกรรมหรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์โดยถือว่าเป็นการวินิจฉัยจากคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการโดยอนุโลม

--Geonuch (คุย) 13:28, 15 กรกฎาคม 2562 (ICT)

น่าจะใช้เป็นว่า ให้ใช้ช่องทางชุมชนไปก่อนระหว่างที่ไม่มี คอต. ดีกว่าครับ จะได้ไม่ดูยึตติดกับ คอต. มากเกินไป คือ ถ้าช่วงไหนมีก็ให้ผ่าน คอต. ช่วงไหนไม่มีก็ไม่ต้อง "อนุโลม" --Wedjet (คุย) 14:25, 15 กรกฎาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
  เห็นด้วย ขอแก้เป็น "ในกรณีที่ไม่มีคณะอนุญาโตตุลาการหรือตำแหน่งว่างอยู่ ให้ใช้การอภิปรายผ่านชุมชนเพื่อดำเนินการเพิกถอนสิทธิผู้ดูแลระบบที่ไม่มีกิจกรรมหรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้จนกว่าจะมีคณะอนุญาโตตุลาการประจำอยู่" --Geonuch (คุย) 09:01, 17 กรกฎาคม 2562 (ICT)

เพิ่มเติม: การกระจายอำนาจของผู้ดูแลระบบ แก้

นอกจากสองเรื่องข้างต้นแล้ว คิดว่าอาจจะมีการขอกระจายอำนาจของผู้ดูแลระบบนะครับ เบื้องต้นคิดว่ารวมถึงการแก้ไขตัวกรองการแก้ไข และการย้อนรวดเดียว (rollback) --Wedjet (คุย) 21:25, 21 มิถุนายน 2562 (ICT)

ถ้าจะมีสิทธิอย่าง Edit filter manager, Rollback น่าจะช่วยเหลือทั้งวิกิพีเดียและภาระงานของผู้ดูแลระบบได้ดีขึ้น ลองย้ายไปถามในสภากาแฟไหมครับ --Geonuch (คุย) 11:29, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ปกติสภากาแฟใช้สำหรับหน้าที่ "หาที่ลง" ไม่ได้ครับ แต่ถ้าเป็นเฉพาะเรื่องก็ใช้หน้าคุยของเรื่องนั้น ๆ แล้วแปะลิงก์ไว้ที่กระดานก็ได้ครับ --Wedjet (คุย) 11:54, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ขอถามไอเดียว่าผู้ใช้มากประสบการณ์ เช่น เกิน 1 ปี หรือแก้ไขมากกว่า 1000 ครั้ง อาจให้สิทธิ extended confirmed ที่สามารถ rollback, edit filter หรือใช้เครื่องมืออื่นตามสมควรได้ (ยกเว้นลบ บล็อก) เพราะคิดว่าถ้ารอแอดมินอย่างเดียวน่าจะช้าเกินไป คิดเห็นอย่างไรครับ --Wedjet (คุย) 12:01, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)
โอเคครับ เท่าที่ดูในภาษาอื่นทั้งสองสิทธิส่วนใหญ่ยื่นที่ WP:RFR ซึ่งอาจจะต้องมีการพิจารณาก่อนโดยเฉพาะ edit filter ส่วน extended confirmed เท่าที่ดูในวิกิพีเดียอังกฤษคือแก้ไขแม่แบบที่ extended protect ซึ่งอาจยังไม่จำเป็นหรือว่าเราจะกำหนดสิทธิที่ต่างจากเขาครับ --Geonuch (คุย) 13:00, 4 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ขอวางไอเดียทิ้งไว้นะครับ ในวิกิพีเดียภาษาสเปน ญี่ปุ่น เวียดนาม ฯลฯ มีกลุ่มที่เรียกว่า eliminator มีสิทธิคล้ายผู้ดูแลระบบ คือสามารถลบ ป้องกัน ย้อนรวดเดียวได้ แต่บล็อก ให้สิทธิผู้ใช้ กับแก้ไขตัวกรองไม่ได้ ถ้าสนใจอาจเสนอให้พิจารณาครับ --Geonuch (คุย) 13:29, 4 กรกฎาคม 2562 (ICT)

fix edit summary แก้

This is the fixed incorrect link in my last edit summary on this policy page,

Stewards has no duty to, assess or determine the abuse of sysop and use such determination to decide to desysop. Instead, they will only desysop when it was requested by local consensus, as meta:Steward requests/Permissions#Removal of access said To request the removal of another user's permissions, you must gain consensus on the local wiki first 

--Ans (คุย) 02:18, 29 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

กลับไปที่หน้าโครงการ "ผู้ดูแลระบบ"