วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การบังคับระงับสิทธิ์ผู้ดูแลที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์

ผมไม่เห็นว่านโยบายวิกิพีเดีย:ศาลาชุมชน/อภิปราย/การบังคับระงับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบที่ว่างเว้นจากวิกิพีเดียจำเป็นมากสักเท่าใด น่าจะเป็นนโยบายระงับสิทธิ์ผู้ดูแลที่มารังแก หาเรื่อง หรือกดขี่ข่มเหงผู้อื่นมากกว่าครับ --B20180 20:53, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

  • เขาไม่พร้อมที่จะดูแลก็ติดต่อ หากไม่มีการตอบกลับก็พิจราณาถอนตามระยะเวลาอันสมควร ส่วนผู้ดูแลที่มารังแก หรือกดขี่ข่มเหงผู้อื่นนั้น ผมไม่เคยเชื่อว่าวิกิพีเดียจะมีผู้ดูแลที่ผู้ดูแลที่มารังแก หรือกดขี่ข่มเหงผู้อื่นเลย แต่หากพวกผู้ดูแลที่มารังแก หรือกดขี่ข่มเหงผู้อื่นเป็นผู้ดูแลวิกิพีเดียแล้ว ต้องปลดสิทธิ์ออกเดี๋ยวนี้ แต่ต้องระวังด้วยเพราะอาจจะมารังแก หรือกดขี่ข่มเหงผู้อื่นอีก 21:11, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • ผมยืนยันว่ามีนะ ผู้ดูแลที่ "รังแกหรือกดขี่ข่มเหงผู้อื่น" (รวมถึง ดูถูกดูแคลนคนอื่น เอาตัวเองว่า ตลอดจน "การรวมตัวกันเป็นแก๊ง แล้วกีดกันหรือกดดัน" ฯลฯ) น่ะ --Aristitleism 21:16, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
      • ผมก็คิดว่ามีครับ แต่ไม่กล้าบอกตรงๆ กลัวจะเสียน้ำใจกันทั้งผู้ถูกกล่าวหาและผู้ยื่นข้อกล่าวหา--Panyatham 21:25, 16 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  • (1) ที่คุณ B20180 ว่า "ก็อาจไม่จำเป็นนัก" อันนี้ผมว่าจริง แต่ผมคิดว่ามีดีกว่าไม่มี และผมร่างมาเพราะมีผู้เสนอ (2) นโยบายการระงับสิทธิ์ผู้ดูแลที่ทำความเสียหายต่อวิกิพีเดียและผู้ใช้เจตนาดี ก็ควรจะมีเช่นกันครับ ปัจจุบันแม้ไม่มีนโยบายดังกล่าวก้ทำได้โดยการร้องเป็นคดีทั่วไปต่อ คอต. แต่ถ้าหากมีนโยบายด้วยก็จะเป็นการป้องปรามพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เรามาเปิดอภิปรายในหัวข้อนี้กันในอีกหน้าหนึ่งดีกว่าไหมครับ เมื่อมีข้อเสนอแนะหรือปัญหาที่ชัดเจน เราก็หาทางออกร่วมกันรวมถึงเขียนเป็นนโยบายขึ้นมาก็ได้ (3) เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อวิกิพีเดีย ถ้าเห็นว่ามีปัญหา ควรร่วมกันหาทางแก้ไขครับ ถ้ากล่าวมาครึ่งๆ กลางๆ คนนอกเห็นอาจจะเสื่อมศรัทธาไปเปล่าๆ --taweethaも 11:07, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

ผมเพิ่งได้ข้อความของคุณทวีธรรม ซึ่งในเบื้องต้น ผมเข้าใจว่าไม่ค่อยมีใครกล้าพูดออกมาเท่าใดนัก เพราะเกรงว่าจะตกเป็นเป้าโจมตีในภายหลังอีก อย่างไรก็ดี ผมขอเปิดหน้าอภิปรายในหน้านี้ ซึ่งไม่รู้เช่นกันว่าจะเป็นเช่นไรต่อไปก็แล้วกันครับ --B20180 15:54, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

  •  ความเห็น -เอาอะไรมาตัดสินว่าผู้ดูแลฯ รังแก กดขี่ข่มเหงผู้ใช้อื่น หากการกระทำนั้นผู้ใช้ธรรมดาสามารถทำได้ก็ไม่ควรนับว่าทำไปภายใต้อำนาจของผู้ดูแล ควรให้ความเป็นธรรมกับผู้ดูแลระบบด้วย บางครั้งทำไปโดยสามัญสำนึกที่ดีแต่อาจพลั้งเผลอผิดไปบ้างเพราะผู้ดูแลก็คือคนธรรมดาคนหนึ่ง การกระทำต่างๆ ย่อมทำไปตามประสบการณ์หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งอาจไปขัดกับผู้ใช้อื่นได้ --Sasakubo1717 16:29, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ก็เอาสามัญสำนึกนี่แหละครับตัดสิน ผู้ดูแลได้รับเลือกมาพร้อมกับความคาดหวังของประชาคมว่าจะรักษากวดขัดกฎเกณฑ์ และดำรงตนให้สมกับที่ประชาคมฝากหน้าที่ให้ จริงอยู่ผู้ดูแลไม่ใช่พระอรหันต์ และประชาคมอาจหวังสูงเกินไปว่า จะได้ผู้ดูแลเพียบพร้อม (อันที่จริงก็ไม่มีมนุษย์หน้าไหนสมบูรณ์แบบอยู่แล้ว) แต่ผู้ดูแลก็ไม่ควรทำตัวเป็นเสือกินคน ยกตัวอย่างกรณีหนึ่งในวิกิพีเดียภาษาไทยแห่งนี้ ซึ่งเป็นเรื่องจริงโดยแท้ คือว่า มีการอภิปรายกันว่า บทความนี้ไม่มีอ้างอิงเลยจะทำอย่างไรดี ผู้ใช้คนหนึ่ง (นามปกปิด) ก็ไปร่วมวงว่า ลบทิ้งดีไหม เพราะไม่มีอ้างอิงเลยแถมหาในอินเทอร์เน็ตก็ไม่เจอ นี่อาจไม่สำคัญ หรืออาจเขียนจากประสบการณ์ตรงของเจ้าตัว บลา ๆ ๆ ก็ถูกผู้ดูแลคนหนึ่ง (นามปกปิด) สวนว่า ตรรกะของแกนี้มันโง่เง่าจนไม่รู้จะสรรหาคำอะไรมาบรรยายดี เรื่องแค่นี้ดูก็รู้ว่าแล้วสำคัญ บลา ๆ ๆ - - - เอ่า! ก็ไหนมีนโยบายว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าคนอื่นสุจริต (good faith), นโยบายว่า ห้ามโจมตีตัวบุคคล ให้อภิปรายเนื้อหาที่เป็นประเด็น, และนโยบายว่า เอาตัวเองเป็นแหล่งอ้างอิงไม่ได้ไงเล่า นี่ตัวเองผลักดันและมีหน้าที่บังคับใช้นโยบาย แต่กลับมาละเมิดนโยบายเอง ก็เหมือนตำรวจเป็นผู้ร้ายเสียเอง ประกอบกับถ้อยคำแบบนี้ ปุถุชนคนไหนก็คงไม่มองว่า เป็นการติชมโดยสุจริต (give a fair comment) หรอกครับ แล้วยังมีกรณีอื่น ๆ อีก ที่ผู้ดูแลไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจตัวเป็นใหญ่ จะเพราะกูอยู่มานาน กูมีอำนาจ กูใหญ่ กูชอบธรรมเพราะเขาเลือกกูมา กูรู้มากกว่ามึง กูเกลียดมึง กูสนับสนุนคนนั้น หรืออะไรก็แล้วแต่ อย่างไรก็ดี ผมไม่คิดว่า จะมีนโยบายอะไรจะช่วยให้ผู้ดูแลมีใจเป็นธรรมขึ้นได้ (ไม่มีอำนาจใดควบคุมความคิดได้ นอกจากอำนาจแห่งความคิดเอง) ถึงแม้จะมีคนขอให้ประชาคมลงมติลงโทษหรือขับออก ผมเห็นว่า มีคนชังก็มีคนชอบ ผู้ดูแลบางคนที่เป็นปัญหาก็มีสมัครพรรคพวกมากอยู่ ผมไม่เห็นความสำเร็จของนโยบายหรือวิธีตรวจสอบการใช้อำนาจหรือพฤติกรรมของผู้ดูแลอะไรได้เลย บางทีเหตุผลดี แต่มันแพ้โหวต เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ ผมจึง “นิ่งเสียตำลึงทอง” ผมอยากทำอะไรก็ทำตราบที่ไม่กระทบกระเทือนใคร และมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นเป็นครั้งคราว ใครจะว่าผมไม่นำพาก็เชิญ --Aristitleism 19:09, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ประเด็นสำคัญที่พิจารณาอย่างรอบคอบ คือต้องแยกให้ได้ว่านี่คือผู้ดูแล นี่คือผู้ใช้ทั่วไป ส่วนการลบบทความหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ทำได้เฉพาะผู้ดูแลเป็นเรื่องของผู้ดูแลล้วนๆ ส่วนที่คุณAristitleism กล่าวมานั้น ผมเองไม่พบกับเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน หากเป็นเช่นว่านั้นก็ไม่สมควรจะเป็นผู้แลระบบอีกต่อไป (การย้อนการแก้ไข การแสดงความเห็น การโหวต อันนี้แยกยากจริงๆ เพราะใครๆก็ทำได้) --Sasakubo1717 08:27, 18 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
  1. อ่านข้อเสนอข้างล่างนะครับ เรื่องที่ผ่านมาแล้วขอให้อภัยต่อกัน ส่วนเรื่องในภายหน้า นโยบายอาจเป็นสิ่งที่ช่วยป้องปรามพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าพฤติกรรมนั้นจะไม่เกิดขึ้นเลย
  2. ขอบคุณที่ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ครับ ผมคิดว่าเรื่องที่คุณ Aristitleism เล่ามาเป็นประโยชน์และผู้ดูแลทุกคนในวิกิพีเดียภาษาไทยควรได้อ่าน ผมเชื่อว่าทุกคนไม่อยากให้เกิดเหตุดังกล่าวขึ้น -- กรณีดังกล่าวผมขอเรียกว่าหมิ่นซึ่งหน้า -- ถ้าทำหลายครั้งไม่ยั้งคิด ก็ควรระงับสิทธิ์ ถ้าทำเพียงครั้งคราวควรตักเตือนและภาคทัณฑ์ แต่ที่สำคัญควรเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลดังกล่าวได้ชี้แจงและขอโทษ -- เชื่อว่า คอต. คงเห็นด้วยกับแนวทางนี้ -- สิ่งสำคัญคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขอให้ใจเย็นไว้ (หมากัดอย่ากัดตอบ) และแจ้งเรื่องเข้ามาให้ทันการณ์นะครับ (ควรมีอายุความด้วย เช่น 1 เดือน 3 เดือน 1 ปี ฯลฯ)

--taweethaも 21:47, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

ผู้ดูแลหรือผู้ใช้ธรรมดาก็อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน (เปาบุ้นจิ้นว่า ฮ่องเต้ทำผิดโทษเท่าสามัญชน) หากโดนบล็อกไประยะหนึ่ง ก็ต้องระงับการเป็นผู้ดูแลไประยะหนึ่งโดยปริยาย หากโดนสกัดกั้นตลอดกาล... ก็ไม่มีโอกาสใช้สิทธิ์ผู้ดูแลไปตลอดกาล --taweethaも 18:56, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
 ความเห็น ป.ล. ผู้ดูแลที่ถูกบล็อกสามารถปลดบล็อกตัวเองได้ครับ และทางเมตาเขามีหน้าให้ยื่นถอดถอนอยู่แล้ว --Horus | พูดคุย 19:27, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
เห็นด้วยกับคุณ Aristitleism ครับ เพราะ ผู้ดูแลบางคนนึกจะลบก็ลบเลย นึกจะบล็อกก็บล็อกเลย ไม่คิดจึงจิตใจของผู้ใช้คนอื่นบ้าง--Panyatham 19:29, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
ปลดบล็อกตัวเองไม่ได้ครับ ผมเคยเจอมากับตัวเอง เพราะบอตคุงทำงานพลาด บล็อกบัญชีหลักผมเข้าไป ขนาดใช้บัญชีบอตล็อกอินยังไม่ได้เลยเพราะว่าไอพีก็โดนบล็อกด้วยโดยระบบ (ถ้าสนใจทดสอบระบบก็เชิญได้ครับ โดนบล็อกไปคราวนั้นก็เข้าใจหัวใจคนที่ถูกเราบล็อกเลยครับ) --taweethaも 21:44, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
จริงสิครับ ถ้างั้นข้อมูลที่ผมมีอยู่คงเก่าแล้ว --Horus | พูดคุย 21:56, 18 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
อาจขึ้นกับ options ของการบล็อกด้วยครับ แต่ตอนที่ผมโดนยืนยันว่าทำอะไรไม่ได้เลยจริงๆ --taweethaも 22:49, 18 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

นโยบายปัจจุบันไม่ได้ระบุชัดเจนว่าหากผู้ใช้ประสบกับผู้ดูแลที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์จะทำอย่างไร การร้องเรียนมีเพียงแจ้งที่หน้า แจ้งผู้ดูแลระบบ เท่านั้น ในหลักการจึงเห็นด้วยว่าควรกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการร้องเรียนและการดำเนินการให้ชัดเจน เพื่อความสบายใจของผู้ใช้งานค่ะ --Tinuviel | talk 14:23, 18 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

เห็นด้วยกับการทำแนวทางของคุณ Tinuviel จริงๆไม่ต้องเฉพาะผู้ดูแลคนๆหนึ่งก็ได้ครับ จะผู้ดูแลหลายคนหรือจะผู้ดูแลกับผู้ใช้ธรรมดาที่รู้จักมักหากันก็ได้ และถ้ามีสำนึกผิด แล้วแก้ไขก็สมควรได้รับการอภัยเช่นกัน --เอ็น เอ็ม | พูดคุย 21:30, 19 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)


ความเดิม

นับแต่มี คอต. หากมีข้อพิพาทใดๆ ในวิกิพีเดียภาษาไทย เป็นข้อพิพาทอันเกี่ยวเนื่องต่อผลประโยชน์ของชุมชนวิกิพีเดียไทย คู่กรณีอาจนำข้อพิพาทร้องเรียนต่อ คอต. เพื่อให้มีคำวินิจฉัย หนึ่งในอำนาจของ คอต. คือ เสนอให้เมต้าระงับสิทธิ์การเป็นผู้ดูแลระบบในวิกิพีเดียไทยได้

ข้อเสนอ
  1. นโยบายนี้จะต้องบังคับใช้โดย คอต. และโดยหลักปฏิบัติโดยทั่วไป จะไม่มีผลย้อนหลังในทางร้ายต่อบุคคล (แต่สามารถส่งผลในทางดีต่อบทความหรือบุคคลก็ได้ - หลักกฎหมายอาญา) ดังนั้นไม่ว่าใครเคยถูกใครกระทำอะไร คงต้องขอให้อภัยกันก่อน ทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำขอให้เปิดใจให้กว้างต่อกัน
    • en:Natural law ผู้ดูแลจะถูกระงับสิทธิ์โดย คอต. ในกรณีร้ายแรงตามสามัญสำนึกได้ก็ต่อเมื่อทำความผิดหลังมี คอต. แล้ว (1 ม.ค. 55) ความผิดที่กระทำก่อนมี คอต. มิใช่ว่าเอาโทษมิได้ อาจเอาโทษได้โดย Wikimedia Steward โดย คอต. อาจทำคำร้องพร้อมข้อเสนอแนะไปยัง Steward ให้พิจารณาเพราะ คอต. ไม่มีอำนาจในการพิจารณาข้อพิพาทก่อนหน้านั้น (ให้อภัยกันเถิดถ้าทำได้ แบบนี้จะยุ่งกันไปใหญ่)
    • en:Positive law กรณีที่เป็นข้อบัญญัติโดยเฉพาะของนโยบายนี้ ก็ต้องทำผิดหลังนโยบายนี้ประกาศใช้เป็นทางการแล้ว (ราว มี.ค. 55)
  2. ต้องนิยามพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของผู้ดูแล (จากหน้านโยบายที่แล้ว เรานิยามการไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือว่างเว้นละเลยจากวิกิพีเดียจนเป็นเหตุให้ระงับสิทธิ์) ในหน้านโยบายนี้เราก็จะนิยามว่าการกระทำใดของผู้ดูแลที่ไม่เหมาะสมอย่างร้ายแรงและเป็นเหตุให้ต้องระงับสิทธิ์ แน่นอนว่าหลายเรื่องยังไม่เกิดก็ไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่เรื่องที่เกิดแล้วหรือเกิดบ่อยๆ ก็สามารถนำมาทำความเข้าใจตกลงกันตั้งเป็นกติกาได้ เปิดให้ใส่ข้องความต่างๆ ที่ต้องการเป็นข้อหาข้อหาไปเป็นเวลา 14 วัน (หลังนโยบายนี้ออกมาแล้วก็แก้ไขเพิ่มเติมภายหลังได้ทุกเมื่อเช่นเดียวกับนโยบายอื่นๆ)
    • หากใครไม่สะดวกใจจะเสนอเอง ฝากผมหรือฝากคนอื่นเขียนลงมาก็ได้ แต่ไม่อยากให้ใช้ไอพีหรือผู้ใช้ใหม่ เพราะอาจสร้างความปั่นป่วน (ป.ล. วิกิพีเดียภาษาไทยมี check user แล้วนะครับ โปรดอย่าใช้หลายบัญชีในทางที่ผิด)
    • อาจแยกพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ออกได้เป็น พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อบทความ และต่อบุคคล (เฉพาะทางวิกิพีเดียเท่านั้น นอกนั้นไม่รับพิจารณา ถ้าผู้ดูแลไปตีหัวผู้ใช้ใหม่นอกวิกิพีเดีย ก็ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ คอต. ไม่ตามไปให้ถูกตีหัวด้วยอีกคน ถ้าผู้ดูแลไปเขียนอะไรไม่เหมาะสมลงหนังสือพิมพ์ คอต. ก็ไม่อาจตามไปแก้ไขหนังสือพิมพ์นั้นได้ - พื้นที่หน้าหนึ่งเขาเป็นแสนๆบาท ไม่มีงบนะครับ)
  3. เมื่อได้ข้อหาทั้งหมด ก็นำมาเขียนสรุปรวมกัน แล้วอาจให้โหวตแยกเป็นข้อๆ ไป
  4. แจ้งผู้ดูแลทั้งหมดให้รับทราบถึงกติกาใหม่ (หากไม่สะดวกใจที่จะรับกติกาใหม่ก็อาจลาออกได้ ถ้ากติกาโหดเกินไป เช่น ต้องแถลงสินทรัพย์ของตนเอง คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก่อน/หลังดำรงตำแหน่ง คงลาออกทั้งคณะฯ -- โดยผมคงลาออกก่อนเป็นคนแรกนับแต่มีผลโหวต :P)

--taweethaも 18:22, 17 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

รายการพฤติกรรมไม่พึงประสงค์
  1. ประพฤติตนไม่เหมาะสม ใช้คำพูดไม่เหมาะสม กล่าวหา ว่าร้าย เสียดสี กดขี่ข่มเหง ใช้คำถามเชิงให้ร้าย ลำเอียง ร่างนโยบายอย่างไม่เป็นธรรม --B20180 06:44, 19 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
    • ทั้งหมดเป็นข้อหาแบบ subjective ต้องพิจารณาโดย คอต. / เห็นด้วยโดยส่วนใหญ่ ยกเว้น 2 กรณี คือ (1) กล่าวหา น่าจะเป็นกล่าวหาโดยปราศจากมูลเหตุหรือหลักฐาน หรือกล่าวหาในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน (2) ร่างนโยบายไม่เป็นธรรม อันนี้ไม่ชัดเจนเพราะปกติแล้วนโยบายต่างๆ ย่อมออกมาได้โดยการรับรองของชุมชน ทุกคนมีสิทธิ์เสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง จึงอยากให้คุณ B20180 ขยายความเพิ่มเติมครับ --taweethaも 10:09, 19 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
      • กล่าวหา คือ การกล่าวหาโดยปราศจากมูลเหตุหรือหลักฐาน ดังที่คุณทวีธรรมกล่าวมาครับ (ส่วนกล่าวหาในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ยังไม่เคยพบประเด็นนี้จึงเว้นไว้ให้คนอื่นพิจารณาดูก่อนก็ได้ครับ)
      • ร่างนโยบายอย่างไม่เป็นธรรม คือ การเขียน หรือนำนโยบายมาใช้โดยที่ยังไม่ได้รับการรับรองจากชุมชน ตลอดจนการร่างนโยบายโดยมิได้คำนึงถึงการเอื้ออำนวยต่อชุมชนโดยรวมอย่างเท่าเทียม ครับ --B20180 10:17, 19 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
        • ขอแปลความว่า บังคับใช้นโยบายที่ยังไม่มีการรับรอง เสนอนโยบายโดยมีผลประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องแอบแฝง เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนหรือกระทบกระเทือนต่อผู้เขียนและ/หรือผู้อ่านวิกิพีเดีย (ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแสดงความเห็นส่วนตนโดยสุจริตที่อาจต่างจากเสียงส่วนใหญ่) --taweethaも 12:05, 19 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)
สรุป

เป็นอันว่าความตามข้อเสนอข้างต้นว่าด้วยพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ได้รับการรับรองในหลักการ และจะเขียนลงสู่หน้านโยบายต่อไป --taweethaも (พูดคุย) 20:11, 2 มีนาคม 2555 (ICT)