ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ Nubbkao สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

  มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello Nubbkao! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 07:44, 23 ตุลาคม 2559 (ICT)

ต้องการแหล่งที่มาสำหรับภาพที่คุณอัปโหลด แก้

ขอขอบคุณที่คุณได้อัปโหลดภาพดังต่อไปนี้:

ซึ่งบอตคุงได้พบว่าภาพดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงเจ้าของภาพ ซึ่งหากเป็นภาพที่นำมาจากเว็บไซต์ อย่าลืมที่จะระบุลิงก์ไปที่หน้าของภาพนั้น หรือหน้าที่ใช้ภาพดังกล่าว โดยทางวิกิพีเดียนั้นมีนโยบายที่เคร่งครัดในเรื่องลิขสิทธิ์ และภาพดังกล่าวจะถูกลบทิ้งภายใน 7 วัน หากไม่มีการระบุ สัญญาอนุญาต และ แหล่งที่มา

  • หากไม่ทราบหรือไม่แน่ใจ กรุณาศึกษานโยบายการใช้ภาพ และสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย
  • สำหรับภาพที่คุณได้อัปโหลดไว้แล้วและเพื่อป้องกันการถูกลบ สามารถเข้าไปแก้ไขและระบุเพิ่มเติมได้ที่หน้าของภาพดังกล่าว และคลิกแก้ไขเหมือนการแก้ไขบทความตามปกติ
  • สำหรับครั้งต่อไปที่คุณอัปโหลดภาพ ให้ระบุได้จากหน้าอัปโหลดโดยตรง ในกล่องคำอธิบายโดยย่อ

ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือและร่วมเขียนในวิกิพีเดีย ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งเตือนอัตโนมัติโดยบอตคุง หากคุณพบว่านี่เป็นข้อผิดพลาด หรือมีข้อสงสัย กรุณาพูดคุยได้ที่นี่ --บอตคุง | แจ้งผู้ดูแล 18:33, 30 ตุลาคม 2559 (ICT)

พระยาแสนซ้าย แก้

จากที่เห็นคุณNubbkaoได้สร้างประวัติพระยาแสนซ้าย จึงขออนุญาตนำข้อมูลจากอ.ชัยวุฒิ ไชยชนะที่ได้อธิบายเกี่ยวเจ้าเมืองแพร่ ลำดับเจ้าเมืองแพร่ตามที่คณะทำงานจัดทำหนังสือ "เชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ สมัย" ได้รวบรวมไว้นั้น มีความถูกต้องแล้ว (มีเจ้าหลวง 5 พระองค์) เพียงแต่เมื่อสืบค้นลึกลงไปแล้ว พบว่า เจ้าเมืองลำดับที่ 1พระยาศรีสุริยวงศ์ กับลำดับที่ 2 พระยาเทพวงศ์ (เจ้าหลวงลิ้นทอง) ต่างมีตำแหน่งเป็นพระเมืองไชยมาก่อน และต้องใช้ปีที่ดำรงตำแหน่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เสียใหม่...ความกระจ่างในเรื่องเจ้าเมืองแพร่ มาจากหลักฐานสำคัญที่ภูเดช แสนสา ได้อ่านจากพับสาของพระสยาม สิริปัญโญ วัดดอยจำค่า อำเภอสูงเม่น เขียนลงในบทความเรื่องเจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม โดยข้อความจากพับสา เมื่อนำมาตรวจสอบกับหลักฐานทางราชการสมัย ร.3-ร.5 ซึ่งระบุปีการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน จะได้เห็นช่วงเวลาการดำรงตำแหน่งของเจ้าหลวงเมืองแพร่ ดังนี้ 1) "จุลศักราชได้ ๑๑๓๕ ตัว ปีกดสี เจ้าหลวงลิ้นทองเสวยเมืองอยู่ได้ ๔๕ ปี เถิงสวัรคต ว่าง ๑ ปี" อธิบายได้โดย...ปีกดสี ช่วงนั้น ตรงกับ พ.ศ. 2303 และ 2363 เราทราบแล้วว่าพระญาอินทวิไชยราชาครองเมืองปี 2359 ดังนั้นปีที่เป็นไปได้ในประโยคนี้ คือ 2303 ส่วนคำว่าเจ้าหลวงลิ้นทองเดิมคงมาจากคำว่าพระเมืองไชย เมื่อใช้ว่าเจ้าหลวงลิ้นทองจึงทำให้เข้าใจว่าเป็นเจ้าหลวงเพียง 1 องค์ แต่บัดนี้เห็นชัดว่า พระเมืองไชยมี 2 องค์ เจ้าหลวงลิ้นทองในประโยคนี้ถ้าใช้คำว่าพระเมืองไชยแทน จะเห็นปีที่พระเมืองไชย (พระยาศรีสุริยวงศ์) ขึ้นครองเมืองแพร่ คือ ปี 2303 2) "เจ้าหลวงอินทวิไชยผู้เป็นลูกขึ้นแทนอยู่ได้ ๓๑ ปี ว่าง ๑ ปี" จากประโยคนี้ เราทราบแล้วว่าพระญาอินทวิไชยราชาครองเมือง 2359 นับไปอีก 31 ปี ได้ปีที่สวรรคตปี 2390 ซึ่งตรงกับหลักฐาน "พระยาแพร่ถึงแก่กรรม" ในสมัย ร.3 ในปี 2390 พอดี ดังนั้น เมื่อย้อนกลับไป พระญาเทพวงศ์ (เจ้าหลวงลิ้นทอง) ครองเมืองตั้งแต่ปี 2330-2357 เว้น 1 ปี สยามถึงแต่งตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ (ปี 2330 คือปีที่ ร.1 ให้พระเมืองไชย (พระยาศรีสุริยวงศ์) อยูกรุงเทพมหานคร) 3) "เจ้าหลวงพิมพิสารขึ้นแทนอยู่ได้ 38 ปี ว่าง 2 ปี" จากประโยคนี้ต่อจาก 2) จะเห็นว่าว่างปี 2390 อยู่ 1 ปี (ตามคำกราบบังคมทูล ร.3 พระยาแพร่ถึงแก่กรรมต้นปี) พระญาพิมพิสานราชาครองเมืองแพร่ตั้งแต่ปี 2391 นับไป 38 ปี ถึงปี 2429 ตรงกับหลักฐานในราชกิจจานุเบกษาแจ้งข่าวพระยาแพร่ถึงแก่อนิจกรรม ณ วันอังคาร เดือนสิบเอ็ด แรมเจ็ดค่ำ ปีจออัฐศก จ.ศ. 1248 4) "เจ้าหัวหน้าเทพวงส์ตนเปนลูกขึ้นแทนอยู่ได้ 10 ปี ปีเต่ายีจุลสักกราชได้ ๑๒๖๔ ตัว เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ วัน ๖ เงี้ยวปล้น หนีปีนั้นแล้วแล รวมเจ้าหลวง ๔ ตนนี้ กินเมือง ๑๒๙ ปี ว่างอยู ๔ ปี" จากประโยคนี้ จะพบว่าคำว่าว่าง ๒ ปี กับว่าง ๔ ปี (ไม่แน่ใจว่าเลขในพับสาเป็น 4 หรือ 5 เพราะเขียนคล้ายกัน ที่ถูกคือ 4) อยู่สลับกัน โดยว่าง 4 ปี จะต้องอยู่ในประโยคที่เกี่ยวกับพระญาพิมพิสานราชา เพราะเมื่อนับจากปี 2429 ไป 4 ปี จะตรงกับปี 2433 อันเป็นปีที่พระยาอุปราชเทพวงษ์ได้รับการแต่งตั้งเป็น "พระยาพิริยวิไชยฯ" และเมื่อนับไปอีก 10 ปี เป็นปี 2443 เป็นปีที่พระยาพิริยวิไชยฯ ได้เลื่อนยศเป็นเจ้าประเทศราชนามว่า "เจ้าพิริยเทพวงษ์ดำรงอุดรสถานฯ" เหตุที่นับการครองเมืองถึงปี 2443 เพราะเมืองแพร่เข้าสู่การรวมในพระราชอาณาเขตรสยามเต็มตัวแล้ว ตามกฎหมาย คือ "ข้อบังคับสำหรับการปกครองมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ร.ศ. ๑๑๙" ลงวันที่ 30 มิ.ย. ปี 2443...ส่วนคำว่าว่าง 2 ปี คือเจ้าหลวงบริหารในนามเค้าสนามหรือสภาขุนนาง (แต่เดิมสภาขุนนางกับเจ้าหลวงแยกจากกันชัดเจน พระเมืองราชาเป็นเจ้านายทำหน้าที่กำกับดูแลเค้าสนาม) ซึ่งมีข้าหลวงประจำนครแพร่คือ พระยาไชยบูรณ์ร่วมบริหารด้วย 2 ปี นับจากปี 2443 คือปี 2445 เป็นปีที่เกิดเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ เจ้าหลวงลี้ภัยไปหลวงพระบาง ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปอยู่แส้ว สรุปการครองเมืองของเจ้าหลวงเมืองแพร่ คือ 1) พระเมืองไชย (2303-2330) 2) พระญาเทพวงศ์ (2330-2357) ว่าง ๑ ปี 3) พระญาอินทวิไชยราชา (2359-2390) ว่าง ๑ ปี 4) พระญาพิมพิสานราชา (2391-2429) ว่าง ๔ ปี 5) เจ้าพิริยเทพวงษ์ดำรงอุดรสถานฯ (2433-2445) โดยหมายเหตุไว้ว่าปี 2443 ได้มีกฏหมายบังคับให้อำนาจเจ้าหลวงจำกัดอยู่เพียงเค้าสนามหลวง มีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยของวงษ์ตระกูล บำรุงสาธารณะประโยชน์ของบ้านเมือง ส่วนอำนาจการปกครองนั้นมีข้าหลวงของสยามร่วมดำเนินการด้วย ซึ่งเจ้าหลวงไม่ได้มีอำนาจเต็มเหมือนอดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากครั้งที่แล้ว พบในใบลานว่าปี 2442 และปี 2443 พระญาแพร่ผู้มีนามว่า พระเมืองไชย ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และยังพบข้อมูลที่คณะทำงานจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์เมืองแพร่ของ อบจ. กล่าวถึงพระยาแพร่ในปี 2345 อ่านจากใบลานชื่อวิสุทธิมรรค...เราจะทราบปีที่พระเมืองไชยสวรรคต (ใช้คำนี้ตามภาษาล้านนา) ได้จากประโยค 1) "เจ้าหลวงลิ้นทอง (เข้าใจคลาดเคลื่อนมาจากพระเมืองไชย) เสวยเมืองอยู่ได้ 45 ปี" เมื่อนำเลข 45 บวกกับปีที่ครองเมืองคือ 2303 จะได้ปี 2348 ซึ่งพบหลักฐานว่า เจ้าบุษบาราชเทวีกับบุตร 2 คนทำบุญที่วัดหลวงตามตำนานวัดหลวงสมเด็จ จึงได้ปีที่พระเมืองไชยดำรงตำแหน่งเจ้าหลวง คือ 2303-2348 ขณะเดียวกันก็ได้ปีที่พระญาเทพวงศ์ (เจ้าหลวงลิ้นทอง) ดำรงตำแหน่งเจ้าหลวงคือ ปี 2348-2357 โดยในช่วงปี 2330-2348 พระญาเทพวงศ์ ดำรงตำแหน่งพระเมืองไชย รักษาการตำแหน่งเจ้าหลวง นับเป็นเวลาถึง 18 ปี ตรงนี้เองที่พระราชพงศาวดาร ร.4 กล่าวนามพระญาเทพวงศ์ว่า "พระเมืองใจ" ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์ จึงจัดทำเนียบเจ้าเมืองในก๊กแพร่ (ตามบรรดาศักดิ์สยาม) ดังนี้ 1) พระยาศรีสุริยวงศ์ (พระเมืองไชย) ปีที่ครองเมือง 2303 พิราลัย 2348 หมายเหตุ หลังสงครามเก้าทัพได้พำนักที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี 2330 2) พระยาเทพวงศ์ (เจ้าน้อยอุปเสน) ปีที่ครองเมือง 2348 พิราลัย 2357 หมายเหตุ ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าเมืองแพร่ ขณะดำรงตำแหน่งพระเมืองไชย ระหว่างปี 2330-2348 3) พระยาอินทวิไชยราชา (เจ้าหนานอินทวิไชย) ปีที่ครองเมือง 2359 พิราลัย 2390 หมายเหตุ รักษาการเจ้าเมือง (ดำรงตำแหน่งเจ้าหลวงโดยพฤตินัย) ในปี 2358 4) พระยาพิมพิสารราชา (เจ้าพิมพิสาร) ปีที่ครองเมือง 2391 พิราลัย 2429 หมายเหตุ รักษาการเจ้าเมือง (ดำรงตำแหน่งเจ้าหลวงโดยพฤตินัย) ในปี 2390 5) เจ้าพิริยเทพวงษ์ดำรงอุดรสถานประชานุบาลยุติธรรมสถิตยผริตบุราธิบดีเจ้านครเมืองแพร่ (เจ้าน้อยเทพวงษ์) ปีที่ครองเมือง 2433 พิราลัย 2455 หมายเหตุ รักษาการเจ้าเมือง (ดำรงตำแหน่งเจ้าหลวงโดยพฤตินัย) ในปี 2429 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาพิริยวิไชยอุดรวิไสยวิผารเดชบรมนฤเบศร์สยามิศร์สุจริตภักดีเจ้าเมืองแพร่ ในปี 2433 เลื่อนเป็นเจ้าประเทศราชในปี 2443 และลี้ภัยไปหลวงพระบางหลังเหตุการณ์เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ในปี 2445 อนึ่งนามเจ้าเมืองแพร่ "พระยาศรีสุริยวงศ์" เป็นนามจริงที่ปรากฏในจดหมายทัพสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในปี 2314 คู่กับพระยาพิชัยดาบหัก จึงเป็นข้อมูลว่าสาเหตุที่ ร.1 ให้เจ้าเมืองแพร่พำนักอยู่ที่กรุงเทพมหานคร คงเป็นเพราะเหตุการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงหลังก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ มากกว่ากลัวไปเข้ากับพม่า ดังที่พระเมืองไชย (พระยาศรีสุริยวงศ์) บันทึกในใบลานว่า "กรุงเทพพะมหานครใหม่" ซึ่งแพร่กับพิไชยอยู่ในฝ่ายพระเจ้าตากสิน คณะทำงานจัดทำหนังสือของ อบจ. พบใบลานระบุปี 2342 ว่า "พระเมืองไชยริกขิตตะยามเมื่อสัฏฐิตอยู่ยังกุงเทพพะมหานครใหม่" และบทความของภูเดช ได้นำใบลานที่ค้นพบโดยภัทรพงค์ เพาะปลูก พุทธิคุณ ก่อกอง และทักษ์ วังสาร ระบุปี 2343 "พระญาแพล่ ตนนามปญตินครไชยวงสา ได้สร้างเขียนไว้โชตกะวรพุทธสาสนายามเมื่อได้ลงมาสถิตอยู่ในเมืองกุงเทพพระมหานครใหม่" เป็นหลักฐานการใช้นามพระเมืองไชย และพระญาแพร่ ไม่ใช่พระยาเมืองไชยหรือพระยามังไชย ขณะที่พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ได้ใช้ว่า "พระยาแสนซ้าย" ซึ่งเป็นตำแหน่งเดิมของล้านนาสมัยพม่าปกครอง...เจ้าเมืองแพร่องค์สืบต่อจากพระเมืองไชย คือ เจ้าน้อยอุปปเสน ซึ่งเป็นบุตรเขยของพระเมืองไชย โดยก่อนหน้าที่จะรับตำแหน่งเจ้าหลวงได้มีตำแหน่งแสนซ้ายหรือพระเมืองไชยเช่นกัน ปรากฏในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 "พระเมืองใจบุตรพระยาแสนซ้ายเป็นพระยาแพร่" ที่เรียกว่าบุตรเพราะล้านนาสืบความเป็นทายาทโดยฝ่ายหญิง บุตรเขยก็จะเรียกว่าบุตรได้เช่นกัน

    • สรุปพระยาแสนซ้ายคือพระยาศรีสุริยวงศ์(พระเมืองไชย) ใช้ในระหว่างปีพ.ศ.2330-2348 ขณะเป็นเจ้าเมืองแพร่จางวางอยู่กรุงเทพฯ และในช่วงพ.ศ.2330-2348พระเมืองไชย(พระยาเทพวงศ์)บุตรเขยก็รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองแพร่มีตำแหน่งเดิมเป็นแสนซ้ายเช่นกัน ขอคุณNubbkaoช่วยแก้ไขให้ถูกต้องด้วยครับ--พีรวงค์ (คุย) 00:10, 22 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

เรื่องพระยาแสนซ้ายเป็นคนๆ เดียวกับพระยาอุปเสนหรือพระยาเทพวงศ์ลิ้นทอง เป็นข้อสันนิษฐานของ อ.ชัยวุฒิ ไชยชนะครับ พระยาแสนซ้ายมีตัวตนจริง ขอให้ท่านพีรวงศ์ลองหาบทความเรื่องเจ้าผู้ครองนครแพร่ประเทศราชของสยาม ของ อ.ภูเดช แสนสา ในหนังสือหมุดหมายประวัติศาสตร์ล้านนาดูครับ--Nubbkao (คุย) 11:40, 25 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ