คาซิริวิแมบ/อิมดีวิแมบ
คาซิริวิแมบ/อิมดีวิแมบ (อังกฤษ: Casirivimab/imdevimab) หรือชื่อทางการค้าคือ REGEN-COV[2] เป็นยาที่พัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐ รีเจนเนอรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ เป็น "ค็อกเทลแอนติบอดี" สังเคราะห์ที่ออกแบบมาเพื่อยับยั้งไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของการระบาดทั่วของโควิด-19[5][6] ประกอบด้วยสารภูมิต้านทานโมโนโคลน 2 ชนิด ได้แก่ คาซิริวิแมบ (REGN10933) และอิมดีวิแมบ (REGN10987) ที่ต้องผสมเข้าด้วยกัน[2][7][8] การรวมกันของสองชนิดมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการหนีภูมิโดยการกลายพันธุ์[9] มีจำหน่ายทั้งในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ร่วม (co-packaged) และผลิตภัณฑ์ร่วม (co-formulated) อัตราส่วน 1:1[10]
ส่วนผสมประกอบด้วย | |
---|---|
คาซิริวิแมบ | สารภูมิต้านทานโมโนโคลนต่อต้านกับโปรตีนส่วนหนามของ SARS-CoV-2 |
อิมดีวิแมบ | สารภูมิต้านทานโมโนโคลนต่อต้านกับโปรตีนส่วนหนามของ SARS-CoV-2 |
ข้อมูลทางคลินิก | |
ชื่อทางการค้า | REGEN-COV, Ronapreve |
ชื่ออื่น | REGN-COV2 |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ช่องทางการรับยา | หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้าทางชั้นใต้ผิวหนัง |
รหัส ATC |
|
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ตัวบ่งชี้ | |
DrugBank | |
KEGG | |
การใช้ยาสองชนิดร่วมกันได้รับการอนุมัติเพื่อใช้ทางการแพทย์ในญี่ปุ่น ในสหราชอาณาจักร และในประเทศอื่น ๆ ภายใต้ชื่อทางการค้า Ronapreve[1][4][11][12]
การทดลอง
แก้ในการทดลองทางคลินิกของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยาคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบที่ให้พร้อมกัน แสดงผลให้เห็นว่าลดการเข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 หรือการเข้ารับการตรวจในห้องฉุกเฉิน ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการลุกลามของโรค ภายใน 28 วันหลังจากการรักษาเมื่อเทียบกับยาหลอก[3] ความปลอดภัยและประสิทธิผลของการวิจัยการรักษานี้ ยังคงมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง[3]
ข้อมูลที่สนับสนุนการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) สำหรับคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบนั้น อิงจากการทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม, อำพรางสองฝ่าย และควบคุมด้วยยาหลอกในผู้ใหญ่ 799 คนซึ่งไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีอาการของโควิด-19 เล็กน้อยถึงปานกลาง[3] จากผู้เข้าร่วมเหล่านี้มี 266 คนได้รับคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบ 2,400 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำเพียงครั้งเดียว (ชนิดละ 1,200 มก.), มี 267 คนได้รับคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบ 8,000 มิลลิกรัม (ชนิดละ 4,000 มก.) และมี 266 คนได้รับยาหลอก ภายในสามวันหลังจากได้รับผลการทดสอบการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นบวก[3]
จุดยุติหลักสำหรับการทดลองที่กำหนดไว้ล่วงหน้าคือการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามเวลาของปริมาณเชื้อไวรัสจากค่าพื้นฐาน[3] การลดปริมาณไวรัสในผู้เข้าร่วมที่รักษาด้วยคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบนั้น มากกว่าในผู้เข้าร่วมที่ได้รับยาหลอกในวันที่เจ็ด[3] อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่สำคัญที่สุดที่แสดงว่าการใช้คาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบร่วมกันอาจมีประสิทธิภาพมาจากจุดยุติทุติยภูมิที่กำหนดไว้ล่วงหน้าของการเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเข้ารับการตรวจในห้องฉุกเฉินภายใน 28 วันหลังการรักษา[3] สำหรับผู้เข้าร่วมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการลุกลามของโรค ผู้เข้าร่วมที่ได้รับคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบ โดยเฉลี่ยการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเข้ารับการตรวจในห้องฉุกเฉิน 3% เทียบกับ 9% ในผู้เข้าร่วมที่ได้รับยาหลอก[3] ผลกระทบต่อปริมาณไวรัส การลดการรักษาในโรงพยาบาล และการเข้ารับการตรวจในห้องฉุกเฉินมีความคล้ายคลึงกันในผู้เข้าร่วมที่ได้รับยาคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบอย่างใดอย่างหนึ่ง[3]
กำลังมีการประเมิน REGEN-COV ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2563 โดยเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองรีคัฟเวอรี[13] และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ได้มีการประกาศผลการวิจัยครั้งแรกพร้อมหลักฐานที่พิสูจน์ประสิทธิภาพของการรักษา
การนำมาใช้
แก้REGEN-COV ผลิตขึ้นที่โรงงานของบริษัทรีเจนเนอรอน ในเมืองเรนส์ซเลียร์ รัฐนิวยอร์ก[14] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตบริษัทเริ่มย้ายสายการผลิตที่มีอยู่ไปยังเมืองลิเมอริก ของไอร์แลนด์[15]
รีเจนเนอรอน มีข้อตกลงกับบริษัทโรช (เจเนนเทค)[16] เพื่อผลิตและทำการตลาด REGEN-COV นอกสหรัฐ[17][18]
สังคมและวัฒนธรรม
แก้เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563 บริษัทรีเจนเนอรอน ประกาศว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐในขณะนั้นได้รับ "ยา REGN-COV2 ขนาด 8 กรัมเพียงหนึ่งโดส" หลังจากมีผลทดสอบการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นบวก[19][20] บริษัทจัดหายาให้เพื่อตอบสนองต่อคำขอ "การใช้อย่างการุณย์ (compassionate use)" (การอนุญาตให้ใช้ชั่วคราว) จากแพทย์ของประธานาธิบดี[19]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 เกรก แอบบอตต์ ผู้ว่าการรัฐเท็กซัสได้รับ REGEN-COV หลังจากมีผลตรวจสำหรับโควิด-19 เป็นบวก[21]
เศรษฐกิจ
แก้เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2564 รัฐบาลสหรัฐ ตกลงซื้อยา 1.25 ล้านโดสเป็นเงิน $2.625 พันล้านดอลลาร์ ในราคา $2,100 ดอลลาร์ต่อโดส[22][23] ในวันที่ 14 กันยายน มีการซื้อยาอีก 1.4 ล้านโดสในราคาเดียวกัน รวมเป็นเงิน $2.94 พันล้านดอลลาร์[24]
วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564 รัฐบาลเยอรมนีจัดซื้อยา 200,000 โดสเป็นเงิน €400 ล้านยูโร ในราคา €2,000 ยูโรต่อโดส[25]
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 บริษัทโรช อินเดีย และบริษัทสิปลา (Cipla; सिप्ला) ประกาศว่ายาจะมีจำหน่ายในอินเดียในราคา ₹59,750 รูปีต่อโดส[26]
วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564 องค์การอนามัยโลกได้เรียกร้องให้ผู้ผลิตและรัฐบาลต่าง ๆ จัดการกับต้นทุนที่สูงของยา และเรียกร้องให้มีการแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อทำให้เกิดการผลิตยาชีววัตถุคล้ายคลึงกัน องค์การอนามัยโลกยังกล่าวด้วยว่ายูนิเทด (Unitaid) กำลังเจรจากับบริษัทโรช เพื่อขอราคาที่ต่ำกว่าและการกระจายอย่างยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง[27]
การวิจัย
แก้โควิด-19
แก้เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้ออกใบอนุญาตการใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) สำหรับยาคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบให้ใช้ร่วมกันสำหรับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม (88 ปอนด์) ที่มีผลบวกของการทดสอบการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 และสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคโควิด-19 ขั้นรุนแรง[3][17][10][28] ซึ่งรวมถึงผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปหรือผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังบางอย่าง[3] คาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบ ต้องได้รับการหยดเข้าทางหลอดเลือดดำ (IV) ร่วมกัน[3]
คาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบ ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากโควิด-19 หรือต้องการการบำบัดด้วยออกซิเจนเนื่องจากโควิด-19[3] ยังไม่ปรากฎประโยชน์ของยาคาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบให้เห็นในผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากโควิด-19[3] สารภูมิต้านทานโมโนโคลนเช่น คาซิริวิแมบ และอิมดีวิแมบ อาจสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางคลินิกที่แย่ลงเมื่อให้ยากับผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งต้องใช้ออกซิเจนอัตราการไหลสูงหรือการช่วยหายใจ[3] ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 EUA ได้รับการแก้ไขเพื่ออนุญาต "การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ผ่านการรับรองของผลิตภัณฑ์ร่วม (co-formulated) REGEN-COV (คาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบ) และ REGEN-COV (คาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบ) ที่มีบรรจุภัณฑ์ร่วม (co-packaged) สำหรับใช้ร่วมกัน ในการรักษาโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 40 กิโลกรัม (88 ปอนด์) โดยมีผลบวกของการทดสอบไวรัส SARS-CoV-2 โดยตรง และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อ การลุกลามของโรคโควิด-19 ที่รุนแรง, การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือการเสียชีวิต"[2][10]
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ยาเพื่อการใช้งานของมนุษย์ (CHMP) ขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ได้เริ่มทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับแอนติบอดีสูตรผสม REGN‑COV2 (คาซิริวิแมบ/อิมดีวิแมบ) ซึ่งได้รับการพัฒนาร่วมกันโดยบริษัทรีเจนเนอรอน ฟาร์มาซูติคอลส์ และบริษัทฮอฟฟ์แมน-ลา โรช (F. Hoffman-La Roche) สำหรับการรักษาและป้องกันโรคโควิด‑19[29][30] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 CHMP ได้ข้อสรุปว่ายาสูตรผสมหรือที่เรียกว่า REGN-COV2 สามารถใช้สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันที่ไม่ต้องการออกซิเจนเสริม และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการรุนแรง[31]
เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 องค์การควบคุมมาตรฐานยากลาง (CDSCO) ของอินเดีย ได้อนุมัติการใช้ในกรณีฉุกเฉินได้ให้กับบริษัทโรช (เจเนนเทค)[16] และบริษัทรีเจนเนอรอน[32] สำหรับการใช้ยาสูตรค็อกเทล คาซิริวิแมบ/อิมดีวิแมบ ภายในประเทศ การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการเกิดคลื่นลูกที่สองของการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศอินเดีย บริษัทโรช อินเดียยังเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทสิปลา (Cipla) ดังนั้นจึงอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวทำการตลาดยาในประเทศได้[33]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 องค์การอาหารและยาสหรัฐได้แก้ไขการอนุญาตการใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) สำหรับ REGEN-COV (คาซิริวิแมบและอิมดีวิแมบ, ใช้ร่วมกัน) โดยอนุญาตให้ใช้ REGEN-COV ในกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันโรค (prophylaxis) หลังการสัมผัสสำหรับโรคโควิด-19[34]
วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2564 บริษัทโรช (เจเนนเทค)[16] และบริษัทรีเจนเนอรอน ได้ประกาศว่าการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของ REGN-COV 2069 ได้บรรลุทั้งจุดยุติปฐมภูมิและทุติยภูมิ โดยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ 81% สำหรับผู้เข้าร่วมที่ไม่ติดเชื้อ และลดเวลาในการหายสำหรับผู้เข้าร่วมที่มีอาการของโรคลงเหลือ 1 สัปดาห์เทียบกับ 3 สัปดาห์ในกลุ่มยาหลอก[35]
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564 รายงานเบื้องต้นของการทดลองรีคัฟเวอรีพบว่าอัตราการเสียชีวิตลดลงจาก 30% เป็น 24% ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ผลิตแอนติบอดีเอง ซึ่งคิดเป็น 33% ของผู้เข้าร่วมทั้งหมด[36][37][38][39]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Summary of Product Characteristics for Ronapreve". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 20 August 2021. สืบค้นเมื่อ 29 August 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Casirivimab injection, solution, concentrate Imdevimab injection, solution, concentrate REGEN-COV – casirivimab and imdevimab kit". DailyMed. สืบค้นเมื่อ 18 March 2021.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 "Coronavirus (COVID-19) Update: FDA Authorizes Monoclonal Antibodies for Treatment of COVID-19". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 21 November 2020. สืบค้นเมื่อ 21 November 2020. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 4.0 4.1 "Japan becomes first country to approve Ronapreve (casirivimab and imdevimab) for the treatment of mild to moderate COVID-19". Roche (Press release). 20 July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 29 August 2021.
- ↑ Kelland, Kate (14 September 2020). "Regeneron's antibody drug added to UK Recovery trial of COVID treatments". Reuters. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
- ↑ "Regeneron's COVID-19 Response Efforts". Regeneron Pharmaceuticals. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
- ↑ Morelle, Rebecca (14 September 2020). "Antibody treatment to be given to Covid patients". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
- ↑ "Safety, Tolerability, and Efficacy of Anti-Spike (S) SARS-CoV-2 Monoclonal Antibodies for Hospitalized Adult Patients With COVID-19". ClinicalTrials. 3 September 2020. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
- ↑ Baum A, Fulton BO, Wloga E, Copin R, Pascal KE, Russo V, และคณะ (August 2020). "Antibody cocktail to SARS-CoV-2 spike protein prevents rapid mutational escape seen with individual antibodies". Science. 369 (6506): 1014–1018. Bibcode:2020Sci...369.1014B. doi:10.1126/science.abd0831. PMC 7299283. PMID 32540904.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Fact Sheet For Health Care Providers Emergency Use Authorization (EUA) Of Casirivimab And Imdevimab" (PDF). U.S. Food and Drug Administration (FDA). June 2021.
- ↑ "Regulatory approval of Ronapreve". Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 20 August 2021. สืบค้นเมื่อ 29 August 2021.
- ↑ "First monoclonal antibody treatment for COVID-19 approved for use in the UK" (Press release). Medicines and Healthcare products Regulatory Agency (MHRA). 20 August 2021. สืบค้นเมื่อ 29 August 2021.
- ↑ "RECOVERY COVID-19 phase 3 trial to evaluate Regeneron's REGN-COV2 investigational antibody cocktail in the UK". Recovery Trial. 14 September 2020.
- ↑ Williams, Stephen (3 October 2020). "Experimental drug given to President made locally". The Daily Gazette.
- ↑ Stanton, Dan (11 September 2020). "Manufacturing shift to Ireland frees up US capacity for Regeneron's COVID antibodies". BioProcess International.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Genentech and Regeneron Collaborate to Significantly Increase Global Supply of REGN-COV2 Investigational Antibody Combination for COVID-19" (Press release). Genentech. 19 August 2020. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021 – โดยทาง Business Wire.
- ↑ 17.0 17.1 "Regeneron Reports Positive Interim Data with REGEN-COV Antibody Cocktail used as Passive Vaccine to Prevent COVID-19" (Press release). Regeneron Pharmaceuticals. 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 19 March 2021 – โดยทาง PR Newswire.
- ↑ "Roche and Regeneron link up on a coronavirus antibody cocktail". CNBC. 19 August 2020. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
- ↑ 19.0 19.1 Thomas, Katie (2 October 2020). "President Trump Received Experimental Antibody Treatment". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.
- ↑ Hackett DW (3 October 2020). "8-Gram Dose of COVID-19 Antibody Cocktail Provided to President Trump". www.precisionvaccinations.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2020.
- ↑ Schneider, Avie (17 August 2021). "Texas Gov. Greg Abbott Tests Positive For The Coronavirus". NPR. สืบค้นเมื่อ 17 August 2021.
- ↑ "U.S. to buy 1.25 million additional doses of Regeneron's COVID-19 antibody cocktail". Reuters. 12 January 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ "Regeneron announces U.S. government agreement to purchase additional COVID-19 antibody cocktail doses" (Press release). Tarrytown, New York: Regeneron. 12 January 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
- ↑ "U.S. to buy 1.4 mln additional doses of Regeneron's COVID-19 therapy". Reuters. 14 September 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ "Coronavirus: Germany to use new antibody-based drug". DW. 24 January 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ "Roche's Antibody Cocktail launched in India at Rs 59,750/dose". The Indian Express. 25 May 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ "On new recommendation for treatment of COVID-19 patients: WHO calls for equitable access to casirivimab and imdevimab for COVID-19". World Health Organization. 24 September 2021. สืบค้นเมื่อ 30 September 2021.
- ↑ "Casirivimab And Imdevimab Emergency Use Authorization (EUA)" (PDF). U.S. Food and Drug Administration (FDA). July 2021.
- ↑ "EMA starts rolling review of REGN‑COV2 antibody combination (casirivimab / imdevimab)" (Press release). European Medicines Agency (EMA). 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021. Text was copied from this source which is © European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ "EMA reviewing data on monoclonal antibody use for COVID-19" (Press release). European Medicines Agency (EMA). 4 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "EMA issues advice on use of REGN-COV2 antibody combination (casirivimab / imdevimab)" (Press release). European Medicines Agency (EMA). 26 February 2021. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.
- ↑ "India approves Roche/Regeneron antibody cocktail to treat Covid-19 – India News". The Times of India. 5 May 2021. สืบค้นเมื่อ 8 June 2021.
- ↑ "Roche receives Emergency Use Authorisation in India for its investigational Antibody Cocktail (Casirivimab and Imdevimab) used in the treatment of Covid-19". Cipla. สืบค้นเมื่อ 6 May 2021.
- ↑ "FDA authorizes REGEN-COV monoclonal antibody therapy for post-exposure prophylaxis (prevention) for COVID-19". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 30 July 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "Phase III prevention trial showed subcutaneous administration of investigational antibody cocktail casirivimab and imdevimab reduced risk of symptomatic COVID-19 infections by 81%". streetinsider.com. 12 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2021. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
- ↑ Kupferschmidt, Kai (16 June 2021). "Monoclonal antibodies cut risk of dying from COVID-19 – but only in some patients". Science.
A paper with the results will be made available on the medRxiv preprint server later today, the researchers say.
- ↑ Group, RECOVERY Collaborative; Horby, Peter W.; Mafham, Marion; Peto, Leon; Campbell, Mark; Pessoa-Amorim, Guilherme; Spata, Enti; Staplin, Natalie; Emberson, Jonathan R.; Prudon, Benjamin; Hine, Paul (2021-06-16). "Casirivimab and imdevimab in patients admitted to hospital with COVID-19 (RECOVERY): a randomised, controlled, open-label, platform trial" (ภาษาอังกฤษ). pp. 2021.06.15.21258542. doi:10.1101/2021.06.15.21258542v1.
- ↑ "RECOVERY trial finds Regeneron's monoclonal antibody combination reduces deaths for hospitalised COVID-19 patients who have not mounted their own immune response — RECOVERY Trial". www.recoverytrial.net. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
- ↑ "Another life-saving Covid treatment found". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Casirivimab". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.
- "Imdevimab". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.
- "Casirivimab and Imdevimab EUA Letter of Authorization" (PDF). องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA).
- "Frequently Asked Questions on the Emergency Use Authorization of Casirivimab + Imdevimab" (PDF). องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA).