คาตากานะ
คาตากานะ (ญี่ปุ่น: 片仮名, カタカナ โรมาจิ: katakana) เป็นตัวอักษรสำหรับแทนเสียงในภาษาญี่ปุ่นประเภทหนึ่ง และสามารถนำไปเขียนแทนเสียงภาษาต่างประเทศได้เช่นกัน คาตากานะได้รับการนำไปเขียนภาษาไอนุซึ่งเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยอยู่ทางภาคเหนือของเกาะฮกไกโด
คาตากานะ | |
---|---|
![]() | |
ชนิด | อักษรพยางค์ |
ภาษาพูด | ภาษาญี่ปุ่น ภาษาโอกินาวะ ภาษาไอนุ[1] ภาษาปาเลา[2] |
ช่วงยุค | ประมาณ พ.ศ. 1343 (ค.ศ. 800)–ปัจจุบัน |
ระบบแม่ | |
ระบบพี่น้อง | ฮิรางานะ, เฮ็นไตงานะ |
ช่วงยูนิโคด | U+30A0–U+30FF |
ISO 15924 | Kana |
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด |
การใช้แก้ไข
คาตากานะมีสัญลักษณ์ 48 ตัว ในยุคแรกรู้จักในนาม การเขียนของผู้ชาย คาตากานะใช้กับคำยืมที่ไม่ได้มาจากภาษาจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งการเลียนเสียง ชื่อจากภาษาอื่น การเขียนโทรเลข และการเน้นคำ (แบบเดียวกับการใช้อักษรตัวใหญ่ในภาษาอังกฤษ) ก่อนหน้านั้นคำยืมทั้งหมดเขียนด้วยคันจิ ใช้ในหลายกรณี ได้แก่
- ใช้เขียนคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ ชื่อชาวต่างประเทศ และชื่อสถานที่ในต่างประเทศซึ่งเป็นวิสามานยนาม เช่น ホテル (โฮเตรุ หรือ Hotel)
- ใช้เขียนคำซึ่งเลียนเสียงในธรรมชาติ เช่น ワン ワン (วัง วัง เสียงเห่าของสุนัข)
- ใช้เขียนชื่อญี่ปุ่น (和名) ของสัตว์และแร่ธาตุ เช่น カルシウム (คารูซิอูมุ หรือ แคลเซียม)
- ใช้ในเอกสารใช้ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (ใช้ร่วมกับตัวอักษรคันจิ)
- ใช้ในโทรเลข และระบบคอมพิวเตอร์ในช่วงก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 ซึ่งยังไม่มีการใช้ระบบตัวอักษรหลายไบต์ (เช่น ยูนิโคด)
ที่มาแก้ไข
ตัวอักษรคาตากานะนั้นสร้างขึ้นในยุคเฮอัง (平安時代) โดยนำมาจากส่วนหนึ่งของตัวคันจิพัฒนามาจาก อักษรจีนที่ใช้โดยพระภิกษุเพื่อแสดงการออกเสียงอักษรจีนที่ถูกต้องเมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ในช่วงแรกมีสัญลักษณ์หลายตัวที่แสดงเสียงเดียวกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป อักษรถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ราว พ.ศ. 1900 มีสัญลักษณ์ 1 ตัว ต่อ 1 พยางค์เท่านั้น คำว่า คาตากานะ หมายถึงอักษรพยางค์ที่เป็นส่วน (ของคันจิ)
ตารางคาตากานะแก้ไข
สระและพยัญชนะ | yōon | ||||||
ア อะ | イ อิ | ウ อุ | エ เอะ | オ โอะ | ャ ยะ | ュ ยุ | ョ โยะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
カ คะ | キ คิ | ク คุ | ケ เคะ | コ โคะ | キャ เคียะ | キュ คิว | キョ เคียว |
サ ซะ | シ ชิ | ス ซุ | セ เซะ | ソ โซะ | シャ ชะ | シュ ชุ | ショ โชะ |
タ ทะ | チ ฉิ | ツ ทสึ | テ เทะ | ト โทะ | チャ ฉะ | チュ ฉุ | チョ โฉะ |
ナ นะ | ニ นิ | ヌ นุ | ネ เนะ | ノ โนะ | ニャ เนียะ | ニュ นิว | ニョ เนียว |
ハ ฮะ | ヒ ฮิ | フ ฟุ, ฮุ | ヘ เฮะ | ホ โฮะ | ヒャ เฮียะ | ヒュ ฮิว | ヒョ เฮียว |
マ มะ | ミ มิ | ム มุ | メ เมะ | モ โมะ | ミャ เมียะ | ミュ มิว | ミョ เมียว |
ヤ ยะ | ยิ1 | ユ ยุ | เยะ1 | ヨ โยะ | |||
ラ ระ | リ ริ | ル รุ | レ เระ | ロ โระ | リャ เรียะ | リュ ริว | リョ เรียว |
ワ วะ | (ヰ) ウィ วิ | วุ1 | (ヱ) ウェ เวะ | (ヲ) ウォ โวะ | |||
ン อึง | |||||||
ガ กะ | ギ กิ | グ กุ | ゲ เกะ | ゴ โกะ | ギャ เกียะ | ギュ กิว | ギョ เกียว |
ザ สะ | ジ จิ | ズ สุ | ゼ เสะ | ゾ โสะ | ジャ จะ | ジュ จุ | ジョ โจะ |
ダ ดะ | ヂ จิ | ヅ ดสึ | デ เดะ | ド โดะ | ヂャ จะ | ヂュ จุ | ヂョ โจะ |
バ บะ | ビ บิ | ブ บุ | ベ เบะ | ボ โบะ | ビャ เบียะ | ビュ บิว | ビョ เบียว |
パ พะ | ピ พิ | プ พุ | ペ เพะ | ポ โพะ | ピャ เพียะ | ピュ พิว | ピョ เพียว |
(ヷ) ヴァ va “bwa” | (ヸ) ヴィ vi “bwi” | ヴ vu “bwu” | (ヹ) ヴェ ve “bwe” | (ヺ) ヴォ vo “bwo” | ヴャ vya “bwya” | ヴュ vyu “bwyu” | ヴョ vyo “Bwyo” |
シェ เชะ | |||||||
ジェ เจะ | |||||||
チェ เชะ | |||||||
ティ ทิ | トゥ ทุ | テュ ทิว | |||||
ディ ดิ | ドゥ ดุ | デュ ดิว | |||||
ツァ ทสะ | ツィ ทสิ | ツェ เทฺสะ | ツォ โทฺซะ | ||||
ファ ฟะ | フィ ฟิ | フェ เฟะ | フォ โฟะ | フュ ฟิว |
ยูนิโคดแก้ไข
คะตะกะนะ Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+30Ax | ゠ | ァ | ア | ィ | イ | ゥ | ウ | ェ | エ | ォ | オ | カ | ガ | キ | ギ | ク |
U+30Bx | グ | ケ | ゲ | コ | ゴ | サ | ザ | シ | ジ | ス | ズ | セ | ゼ | ソ | ゾ | タ |
U+30Cx | ダ | チ | ヂ | ッ | ツ | ヅ | テ | デ | ト | ド | ナ | ニ | ヌ | ネ | ノ | ハ |
U+30Dx | バ | パ | ヒ | ビ | ピ | フ | ブ | プ | ヘ | ベ | ペ | ホ | ボ | ポ | マ | ミ |
U+30Ex | ム | メ | モ | ャ | ヤ | ュ | ユ | ョ | ヨ | ラ | リ | ル | レ | ロ | ヮ | ワ |
U+30Fx | ヰ | ヱ | ヲ | ン | ヴ | ヵ | ヶ | ヷ | ヸ | ヹ | ヺ | ・ | ー | ヽ | ヾ | ヿ |
คะตะกะนะ ส่วนขยายสัทลักษณ์ Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+31Fx | ㇰ | ㇱ | ㇲ | ㇳ | ㇴ | ㇵ | ㇶ | ㇷ | ㇸ | ㇹ | ㇺ | ㇻ | ㇼ | ㇽ | ㇾ | ㇿ |