มังโยงานะ
มังโยงานะ (ญี่ปุ่น: 万葉仮名; โรมาจิ: Man'yōgana) เป็นระบบการเขียนในสมัยโบราณของภาษาญี่ปุ่นโดยอักษรจีนหรือคันจิ ช่วงเวลาที่เริ่มใช้ระบบการเขียนนี้ไม่ทราบแน่ชัด แต่ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชื่อ "มังโยงานะ" นี้ ได้จากชื่อหนังสือ “มังโยชู” (ญี่ปุ่น: 万葉集; โรมาจิ: Man'yōshū) อันเป็นวรรณกรรมรวมบทกวีในยุคนาระที่เขียนด้วยระบบมังโยงานะ
มังโยงานะ | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | ประมาณ พ.ศ. 1193 (ค.ศ. 650)–?? |
ทิศทาง | บนลงล่าง |
ภาษาพูด | ภาษาญี่ปุ่น ภาษาโอกินาวะ |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบลูก | ฮิรางานะ คาตากานะ |
ระบบพี่น้อง | คันจิร่วมสมัย |
ประวัติ
แก้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอักษรมังโยงานะที่เก่าแก่ที่สุด คือ ดาบอินาริยามะ ซึ่งเป็นดาบเหล็กที่ขุดค้นพบที่สุสานโบราณอินาริยามาโกฟุง จังหวัดไซตามะ เมื่อ พ.ศ. 2511 และ 10 ปีหลังการขุดพบ ใน พ.ศ. 2521 ได้มีการวิเคาระห์ดาบเล่มนี้โดยการเอกซเรย์ จนพบตัวอักษรจีนสลักด้วยทองจำนวน 115 ตัว ซึ่งเขียนเป็นมังโยงานะ สันนิษฐานว่าดาบเล่มนี้ถูกตีขึ้นในปี 辛亥年 เทียบเท่ากับ พ.ศ. 1041
หลักการเขียน
แก้มังโยงานะจะใช้หลักการนำตัวอักษรจีนที่มีเสียงใกล้เคียงเสียงภาษาญี่ปุ่นของคำที่จะเขียน โดยไม่คำนึงถึงความหมายของอักษรจีนตัวนั้น หรือเรียกว่า "ชากูอง" (ญี่ปุ่น: 借音; โรมาจิ: shakuon; ทับศัพท์: ยืมเสียง) เนื่องจากมีอักษรจีนหลายตัวที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน การเลือกว่าจะใช้อักษรจีนตัวใดสำนวนภาษาของผู้เขียน เห็นได้จากหนังสือ “มันโยชู” บทที่ 17/4025 ซึ่งเขียนไว้ดังนี้
มังโยงานะ | 之乎路可良 | 多太古要久礼婆 | 波久比能海 | 安佐奈藝思多理 | 船梶母我毛 |
---|---|---|---|---|---|
คาตากานะ | シヲヂカラ | タダコエクレバ | ハクヒノウミ | アサナギシタリ | フネカヂモガモ |
แบบปัจจุบัน | 志雄路から | ただ越え来れば | 羽咋の海 | 朝凪したり | 船梶もがも |
โรมาจิ | Shioji kara | Tadakoe kureba | Hakuhi no umi | Asanagi shitari | Funekaji mogamo |
จากตัวอย่างด้านบน เสียง mo (母, 毛) และ shi (之, 思) เขียนด้วยอักษรจีนได้หลายตัว และในขณะที่คำส่วนมากเขียนโดยถอดเสียงเป็นพยางค์ ๆ โดยไม่คำนึงถึงความหมาย (เช่น 多太 tada และ 安佐 asa เป็นต้น) แต่คำว่า umi (海) และ funekaji (船梶) เป็นการเขียนโดยใช้ความหมายของอักษรจีนตัวนั้น ไม่ใช้การถอดเสียง
เสียงภาษาญี่ปุ่นบางพยางค์จะถูกแทนด้วยอักษรจีนที่กำหนดเอาไว้เป็นกฎการสะกดคำ (orthographic) ในยุคนาระ ที่เรียกว่า "โจไดโตกูชูกานาซูไก" (ญี่ปุ่น: 上代特殊仮名遣; โรมาจิ: Jōdai Tokushu Kanazukai) ซึ่งช่วยให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาสรุปได้ว่า เสียงในภาษาญี่ปุ่นยุคเก่าซึ่งแทนด้วยอักษรมังโยงานะนั้น อาจเริ่มมีมาตรฐานตั้งแต่ในครั้งนั้นเป็นต้นมา
ประเภท
แก้สำหรับมังโยงานะ มีวิธีจับคู่ตัวอักษรจีนกับเสียงภาษาญี่ปุ่นอยู่หลายวิธี
- ชากูองกานะ (ญี่ปุ่น: 借音仮名; โรมาจิ: Shakuon-kana) แปลตามตัวอักษรได้ว่า อักษรยืมเสียง หลักการคล้ายกับ "เสียงอง" ของคันจิ คือ การออกเสียงคันจิของตัวนั้นตามเสียงภาษาจีน อักษรจีนหนึ่งตัว อ่านออกเสียงได้ทั้งพยางค์เดียว และสองพยางค์
จำนวนพยางค์ | อักษรเดียวสมบูรณ์ | อักษรเดียวบางส่วน |
---|---|---|
1 พยางค์ | 以 (い), 呂 (ろ), 波 (は) | 安 (あ), 楽 (ら), 天 (て) |
2 พยางค์ | 信 (しな), 覧 (らむ), 相 (さが) |
- ชักกุงกานะ (ญี่ปุ่น: 借訓仮名; โรมาจิ: Shakkun-kana) แปลตามตัวอักษรได้ว่า อักษรยืมความหมาย หลักการคล้ายกับ "เสียงคุน" ของคันจิ คือ การออกเสียงคันจิในภาษาญี่ปุ่นตามความหมายของคันจิตัวนั้น
จำนวนพยางค์ | อักษรเดียวสมบูรณ์ | อักษรเดียวบางส่วน | อักษร 2 ตัว | อักษร 3 ตัว |
---|---|---|---|---|
1 พยางค์ | 女 (め), 毛 (け), 蚊 (か) | 石 (し), 跡 (と), 市 (ち) | 嗚呼 (あ), 五十 (い), 可愛 (え), 二二 (し), 蜂音 (ぶ) | |
2 พยางค์ | 蟻 (あり), 巻 (まく), 鴨 (かも) | 八十一 (くく), 神楽声 (ささ) | ||
3 พยางค์ | 慍 (いかり), 下 (おろし), 炊 (かしき) |
– | K | S | T | N | F | M | Y | R | W | G | Z | D | B | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
a | 阿安英足 | 可何加架香蚊迦 | 左佐沙作者柴紗草散 | 太多他丹駄田手立 | 那男奈南寧難七名魚菜 | 八方芳房半伴倍泊波婆破薄播幡羽早者速葉歯 | 万末馬麻摩磨満前真間鬼 | 也移夜楊耶野八矢屋 | 良浪郎楽羅等 | 和丸輪 | 我何賀 | 社射謝耶奢装蔵 | 陀太大嚢 | 伐婆磨魔 |
i1 | 伊怡以異已移射五 | 支伎岐企棄寸吉杵來 | 子之芝水四司詞斯志思信偲寺侍時歌詩師紫新旨指次此死事准磯為 | 知智陳千乳血茅 | 二人日仁爾迩尼耳柔丹荷似煮煎 | 比必卑賓日氷飯負嬪臂避臂匱 | 民彌美三水見視御 | 里理利梨隣入煎 | 位為謂井猪藍 | 伎祇芸岐儀蟻 | 自士仕司時尽慈耳餌児弐爾 | 遅治地恥尼泥 | 婢鼻弥 | |
i2 | 貴紀記奇寄忌幾木城 | 非悲斐火肥飛樋干乾彼被秘 | 未味尾微身実箕 | 疑宜義擬 | 備肥飛乾眉媚 | |||||||||
u | 宇羽于有卯烏得 | 久九口丘苦鳩来 | 寸須周酒州洲珠数酢栖渚 | 都豆通追川津 | 奴努怒農濃沼宿 | 不否布負部敷経歴 | 牟武無模務謀六 | 由喩遊湯 | 留流類 | 具遇隅求愚虞 | 受授殊儒 | 豆頭弩 | 夫扶府文柔歩部 | |
e1 | 衣依愛榎 | 祁家計係價結鶏 | 世西斉勢施背脊迫瀬 | 堤天帝底手代直 | 禰尼泥年根宿 | 平反返弁弊陛遍覇部辺重隔 | 売馬面女 | 曳延要遥叡兄江吉枝 | 礼列例烈連 | 廻恵面咲 | 下牙雅夏 | 是湍 | 代田泥庭伝殿而涅提弟 | 弁便別部 |
e2 | 気既毛飼消 | 閉倍陪拝戸経 | 梅米迷昧目眼海 | 義気宜礙削 | 倍毎 | |||||||||
o1 | 意憶於應 | 古姑枯故侯孤児粉 | 宗祖素蘇十 | 刀土斗度戸利速 | 努怒野 | 凡方抱朋倍保宝富百帆穂 | 毛畝蒙木問聞 | 用容欲夜 | 路漏 | 乎呼遠鳥怨越少小尾麻男緒雄 | 吾呉胡娯後籠児悟誤 | 俗 | 土度渡奴怒 | 煩菩番蕃 |
o2 | 己巨去居忌許虚興木 | 所則曾僧増憎衣背苑 | 止等登澄得騰十鳥常跡 | 乃能笑荷 | 方面忘母文茂記勿物望門喪裳藻 | 与余四世代吉 | 呂侶 | 其期碁語御馭凝 | 序叙賊存茹鋤 | 特藤騰等耐抒杼 |
พัฒนาการ
แก้อักษรคันจิในระบบมังโยงานะ ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นอักษรฮิรางานะและคาตากานะ
อักษรฮิรางานะดัดแปลงมาจากอักษรมังโยงานะที่เขียนด้วยพู่กันในรูปแบบอักษรหวัด วัตถุประสงค์เดิมของอักษรฮิรางานะ คือ เพื่อให้สตรีซึ่งสังคมไม่ยอมได้ให้รับการศึกษาสูง ได้อ่านออกเขียนได้ วรรณกรรมในยุคเฮอังส่วนใหญ่ที่ผู้แต่งเป็นสตรีถูกเขียนด้วยอักษรฮิรางานะ
ส่วนอักษรคาตากานะก็ดัดแปลงมาจากอักษรมังโยงานะเช่นกัน แต่ตัดเฉพาะบางส่วนของอักษรมังโยงานะมาเป็นอักษรคาตากานะหนึ่งตัว อักษรคาตากานะกำเนิดในสำนักสงฆ์ยุคเฮอัง ใช้เสมือนการย่ออักษรมังโยงานะเพื่อให้ง่ายต่อพระสงฆ์ในการศึกษาพระคัมภีร์
ตัวอย่างเช่น เสียง ru เขียนเป็นอักษรฮิรางานะว่า る ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมังโยงานะ 留 แต่เขียนเป็นอักษรคาตากานะว่า ル ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมังโยงานะ 流 โดยอักษรมังโยงานะใช้เขียนแทนเสียง ru ทั้งคู่
การที่เสียงภาษาญี่ปุ่นหนึ่งพยางค์สามารถเขียนด้วยอักษรคันจิหลายตัวนั้น ทำให้เกิดอักษรเฮ็นไตงานะ (ญี่ปุ่น: 変体仮名; โรมาจิ: hentaigana) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอักษรฮิรางานะขึ้นมา แต่ได้ถูกเลิกใช้อย่างเป็นทางการไปใน พ.ศ. 2443
ปัจจุบัน อักษรมังโยงานะยังคงปรากฏอยู่ในชื่อสถานที่ต่าง ๆ ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะบนเกาะคีวชู การใช้อักษรคันจิอีกประเภทที่มีลักษณะคล้ายกับมังโยงานะคืออาเตจิ (当て字, 宛字 ateji) ซึ่งเป็นการเขียนคำยืมจากภาษาต่างประเทศ โดยใช้แทนเสียงมากกว่าความหมาย ตัวอย่างเช่น 倶楽部 (kurabu คลับ) และ 珈琲 (kōhii กาแฟ) เป็นต้น ปัจจุบันนี้ยังคงมีใช้กันอยู่ในป้ายร้านค้า
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ตารางมังโยงานะ (ภาษาญี่ปุ่น) เก็บถาวร 2007-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน