คอเลกซ์แทรน (อังกฤษ: Colextran - INN) (ชื่อการค้า Dexide, Nolipid, Rationale, Pulsar)[2] เป็นยาลดไขมันในกระแสเลือดกลุ่มไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (bile acid sequestrant) โครงสร้างเป็นสารประกอบอีเทอร์ (ether) ของเดกซ์แทรน (dextran) และไดเอทิลเอทาโนลามีน  (diethylethanolamine)[3]

คอเลกซ์แทรน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าDexide, Nolipid
AHFS/Drugs.comInternational Drug Names
ช่องทางการรับยาการรับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • UK: Rx-only
  • US: ℞-only
  • In general: ℞ (Prescription only)
ตัวบ่งชี้
  • Dextran 2- (dietylamino) etyl eter
เลขทะเบียน CAS
ChemSpider
  • none
KEGG
ECHA InfoCard100.132.944
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC12 H23 NO6 X2[1]
มวลต่อโมล277.315[1]
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ข้อบ้งใช้ แก้

คอเลกซ์แทรนใช้สำหรับรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low-density lipoprotein cholesterol; LDL-C) ในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ โดยใช้ร่วมกับการควบคุมอาหาร[2][4]

กลไกการออกฤทธิ์ แก้

คอเลกซ์แทรนออกฤทธิ์โดยจับกับกรดน้ำดีในทางเดินอาหาร โดยประจุบวกของพอลิเมอร์ในโมเลกุลของคอเลกซ์แทรนจะจับกับประจุลบบนหมู่คาร์บอกซิลิกของกรดน้ำดี เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ไม่มีฤทธิ์[5] โดยสารประกอบเชิงซ้อนที่เกิดขึ้นนี้จะถูกกำจัดออกมากับอุจจาระในลำดับถัดมา ด้วยกลไกดังกล่าวของคอเลกซ์แทรนทำให้ปริมาณกรดน้ำดีในร่างกายลดลง ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นให้ตับสร้างกรดน้ำดีเพิ่มโดยการดึงเอาคอเลสเตอรอลที่มีในกระแสเลือดมาสร้างเป็นกรดน้ำดี เป็นผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดลดลงได้ในที่สุด[4]

ขนาดที่ใช้ในการรักษา แก้

ขนาดของคอเลกซ์แทรนที่แนะนำ คือ 1.0-1.5 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 8 กรัมต่อวัน[4]

ข้อห้ามใช้ แก้

ห้ามใช้คอเลกซ์แทรนในผู้ป่วยท่อน้ำดีอุดตัน, ผู้ป่วยทางเดินอาหารอุดกั้น, ผู้ที่แพ้ยานี้, และหญิงตั้งครรภ์[4]

การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา แก้

คอเลกซ์แทรนมีผลรบกวนการดูดซึมยาอื่นหลายชนิด เช่น เพนนิซิลิน (Penicillin), ดิจ็อกซิน (Digoxin), ไนโตรฟูแรนโตอิน (Nitrofurantoin) และลดประสิทธิภาพของยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) เป็นต้น ดังนั้น จึงควรรับประทานยาอื่นก่อนคอเลกซ์แทรนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือรับประทานหลังคอเลกซ์แทรนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Joinhands Science Park. "COLEXTRAN". สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
  2. 2.0 2.1 Truven Health Analytics Inc. (January 5, 2011). "Colextran Hydrochloride". สืบค้นเมื่อ December 14, 2014.
  3. Drug.com. "Colextran". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Vademecum.es. "Colextrán". สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.
  5. US Patents and Trademark Office (April 2, 2012). "Formulations of Viable Cells for Oral Delivery: US 20120027811 A1". สืบค้นเมื่อ December 13, 2014.