ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ตองงา

ญี่ปุ่นและตองงามีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่กรกฎาคม ค.ศ. 1970[1] ญี่ปุ่นเป็นผู้นำด้านการให้ความช่วยเหลือตองงาในด้านเทคโนโลยี[1] รัฐบาลญี่ปุ่นอธิบายถึงความสัมพันธ์กับตองงาว่า "ดีเยี่ยม" และเพิ่มเติมว่าราชวงศ์ญี่ปุ่นและราชวงศ์ตองงามีพัฒนาการของความสัมพันธ์ที่จริงใจและส่วนตัวในแต่ละปี[1] ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในสี่ประเทศที่มีสถานทูตในนูกูอาโลฟา ขณะที่ตองงาก็มีสถานทูตในโตเกียว

ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ตองงา
Map indicating location of Japan and Tonga

ญี่ปุ่น

ตองงา

ในช่วงต้น ค.ศ. 2009 ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่สี่ที่มีสถานทูตในตองงา (ต่อจากออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน) โดยในเดือนมีนาคม ยาซูโอะ ทากาเสะเป็นเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำตองงาคนแรก[2] และเขายังเป็นเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นที่มีถิ่นพำนักในประเทศพอลินีเซียคนแรกอีกด้วย[3]

การเปิดสถานทูตนำมาสู่คำอธิบายของการเพิ่มขึ้นของความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของญี่ปุ่นในแปซิฟิก[4][5]

การเยี่ยมเยียนระหว่างรัฐ แก้

ในเดือนพฤษภาคม 2009 นายกรัฐมนตรีตองงาเฟเลติ เซเวเลได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะในการสนทนาระดับภูมภาคเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ[6]

สมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูโปอูที่ 4 (พระมหากษัตริย์ตองงาระหว่าง ค.ศ. 1965–2006) เคยเสด็จเยือนญี่ปุ่นเจ็ดครั้ง[1]

การค้า แก้

ใน ค.ศ. 2013 ตองงาส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟักทองและปลาทูน่าคิดเป็นมูลค่า 146 ล้านเยน ขณะที่ตองงานำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรคิดเป็นมูลค่า 460 ล้านเยน และญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของตองงา[1]

คณะผู้แทนทางทูต แก้

ญี่ปุ่นส่งเอกอัครราชทูตที่เป็นข้าราชการทางการทูตมายังตองงาเท่านั้น ในทางกลับกันตองงาเคยมีเอกอัครราชทูตเป็นเชื้อพระวงส์ได้แก่เจ้าชายตูโปโตอา อูลูกาลาลา (ค.ศ. 2010–12) ซึ่งดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมารในขณะนั้น[7]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Japan-Tonga Relations", Japanese Ministry of Foreign Affairs
  2. "King attends reception for new Japanese Embassy" เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Matangi Tonga, May 30, 2009
  3. "First resident Japanese Ambassador in Tonga" เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Matangi Tonga, March 20, 2009
  4. "Japan to lay out new development assistance to Pacific at PALM". Radio New Zealand International. May 21, 2009. สืบค้นเมื่อ October 6, 2011.
  5. "Pacific Leaders call on Japan for leadership in Water and Sanitation" เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Matangi Tonga, May 21, 2009
  6. "Emperor Akihito welcomes Pacific Islands leaders" เก็บถาวร 2011-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Matangi Tonga, May 22, 2009
  7. "Tonga's Crown Prince New Ambassador to Japan | Pacific Islands Report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-11. สืบค้นเมื่อ 2021-11-11.