กวัตโตรเชนโต
กวัตโตรเชนโต (อิตาลี: Quattrocento แปลว่า "400" หรือจากคำว่า "millequattrocento" ที่แปลว่า "1400" ) เป็นสมัยศิลปะของปลายยุคกลางโดยเฉพาะในสมัยกอทิกนานาชาติและต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ประวัติ
แก้หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 แล้วสิ่งที่ตามมาคือความยุ่งเหยิงทางการเมืองและทางการค้าที่เกิดขึ้นในยุโรป ซึ่งเป็นการเริ่มสมัยยุคกลางตอนต้นที่ยืนยาวมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 เมื่อการค้าขายเริ่มมีการฟื้นตัวขึ้น ประชากรก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น และอำนาจของพระสันตะปาปาก็มั่นคงขึ้น
ในปลายยุคกลางโครงสร้างทางการเมืองของทวีปยุโรปค่อย ๆ วิวัฒนาการจากกลุ่มชนเล็ก ๆ ที่มีหัวหน้าเผ่าปกครองมาเป็นรัฐ-ชาติที่ปกครองโดยระบบพระมหากษัตริย์ซึ่งทำให้สถานะภาพทางการเมืองโดยทั่วไปมีความมั่นคงขึ้น ในอิตาลีศูนย์กลางของเมืองก็เพิ่มความสำคัญขึ้น ในการเป็นที่พำนักอาศัยและประกอบกิจการของพ่อค้าและชนชั้นที่ทำการค้าขายผู้สามารถป้องกันตนเองได้ เงินมาแทนที่ดินในการใช้ในการแลกเปลี่ยน และผู้ที่เคยเป็นทาสที่ดิน (serfs) ก็ได้รับอิสระเพิ่มขึ้น ความเปลี่ยนแปลงของยุคกลางในอิตาลีและความเสื่อมความนิยมของระบบศักดินาเป็นการปูทางให้กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ กวัตโตรเชนโตถือกันว่าเป็นยุคคาบสมัยระหว่างสมัยกลางกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
กวัตโตรเชนโตเป็นขบวนการที่นำหน้าสมัยที่ต่อมาเป็นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี ศิลปะในยุคนี้เป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงศิลปะและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปะของตอนปลายสมัยกลางและต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่มีแนวโน้มที่เป็นศิลปะที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตนเองในการพยายามแสดงความเจริญทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจเพื่อการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการใช้คริสต์ศาสนาเป็นเครื่องมือ[1]
การวิวัฒนาการของกวัตโตรเชนโต
แก้ศิลปะกวัตโตรเชนโตทิ้งการตกแต่งด้วยโมเสกที่นิยมกันในศิลปะไบแซนไทน์ และลักษณะศิลปะที่ใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนศิลป์ในรูปแบบของหน้าต่างประดับกระจกสี, จิตรกรรมฝาผนัง, หนังสือวิจิตร และ ประติมากรรม แต่ศิลปินและประติมากร "กวัตโตรเชนโต" เริ่มนำรูปทรงของศิลปะคลาสสิกเข้ามาผสม
ศิลปินในยุคกวัตโตรเชนโต
แก้ในเมื่อสมัย "กวัตโตรเชนโต" คาบกับสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินบางคนจึงกล่าวได้ว่าเป็นทั้งศิลปินยุคกวัตโตรเชนโต และ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาพร้อมกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ Frederik Hartt. History of Italian Renaissance Art. New York: Abrams (1994)