ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล (16 กันยายน 2450 - 7 ธันวาคม 2530) เป็นราชบัณทิตในสำนักวิทยาศาสตร์รุ่นแรกที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณทิต ในวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2485 ตั้งแต่วัยหนุ่ม เป็นอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านเป็นผู้มีความรู้ทางด้านชีววิทยาเป็นอย่างดียิ่งคนหนึ่ง ได้เขียนตำราทางชีววิทยาสำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาไว้มาก นับว่าเป็นผู้บุกเบิกในการเขียนตำราเรียนทางด้านชีววิทยาในประเทศไทย ซึ่งสมัยนั้นยังไม่มีศัพท์บัญญัติทางวิทยาศาสตร์หรือชีววิทยาเหมือนในปัจจุบันนี้ จึงนับว่าเป็นงานเขียนตำราที่ยากยิ่งสำหรับในยุคนั้น เพราะต้องคิดสร้างศัพท์ขึ้นมาใช้เองด้วย แต่ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล ก็ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะ เขียนตำราเรียนทางด้านชีววิทยาให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาของชาติเป็นอย่างมาก


คลุ้ม วัชโรบล

เกิด16 กันยายน พ.ศ. 2450
จังหวัดเพ็ชรบุรี
เสียชีวิต7 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (80 ปี)
สัญชาติไทย
อาชีพอดีตอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้แล้ว ศ.ดร.คลุ้ม วัชโรบล ยังถือได้ว่าเป็นนักวิชาการไทยคนแรก ๆ ที่สนใจศึกษาศาสตร์ที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันไม่สามารถอธิบายได้ เช่น วิญญาณหรือผี, การระลึกชาติได้ และพลังจิต โดยศึกษาร่วมกับนักวิชาการชาวแคนาดา เอียน สตีเวนสัน

ประวัติ

แก้

ศาสตราจารย์ ดร.คลุ้ม วัชโรบล เป็นบุตรของขุนสมานประหาสกิจ (นอกราชการ) และนางแป้น เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2450 ที่จังหวัดเพ็ชรบุรี เป็นคนมีสติปัญญาเฉียบแหลม เรียนข้ามชั้นและสอบได้ที่ 1 มาโดยตลอด รวมทั้งเรียนม.4 และม.5 ชั้นละเพียงครึ่งปี ในระหว่างปีพ.ศ.2468-2470 เรียนที่คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากสอบได้ที่ 1 แล้วยังได้เงินรางวัลเรียนดี 100 บาท

ประวัติการศึกษา

แก้


พ.ศ. 2457 โรงเรียนวัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี
พ.ศ. 2458 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนพรานหลวง หัดโขน
พ.ศ. 2462 โรงเรียนกล่อมพิทยากร วัดพระเชตุพน
พ.ศ. 2464 โรงเรียนวัดบวรนิเวศชั้น ม.4
พ.ศ. 2465 โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์
พ.ศ. 2468 คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2471 B.Se. Honours และ A.R.C.S. จาก Royal College of Science,Imperial College of Science and Technology, University of London
พ.ศ. 2475 Ph.D.


ประวัติการทำงาน

แก้


- ได้กลับจากประเทศอังกฤษและมาเป็นอาจารย์ในแผนกชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในตำแหน่ง อาจารย์ผู้ช่วย โดยสอบคัดเลือกตามพระราชกฤษฎีกาการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา
- เป็นศาสตราจารย์ หัวหน้าแผนกชีววิทยา และหัวหน้าแผนกวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เป็นอาจารย์สอนวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทศาสตร์ ให้แก่แผนกเตรียมการแพทย์ วิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ และกายภาพบำบัด
- เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ให้แก่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ โรงเรียนจิตรลดา
- ในการฉลอง 50 ปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม 2510 ได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เพื่อเป็นเกียรติในการที่สอนวิชาชีววิทยา ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมานาน
- ออกจากราชการวันที่ 1 ตุลาคม 2510 แล้วรักษาการในตำแหน่ง หัวหน้าแผนกวิชาชีววิทยา และดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาชีววิทยาจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2512
- 31 กรกฎาคม 2515 ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์อุปการะคุณ


ผลงานทางวิชาการ

แก้


1) The Alimentary Canal of the larva of Ptinus tectus (Boield) Coleoptera, Ptinidae, with special reference ti silk production.
2) The excretion of Guanine by Arachnids.
3) ได้ศึกษาและแต่งตำราเรียนเกี่ยวกับสัตว์ในเมืองไทย คือ Macrobrachiun carcinus, Pheretima peguana และ Rana tigrina.
4) เขียนบทความเรื่อง "หญิงก็ได้ ชายก็ดี" และ "ยุง" ลงใน "สมุดที่ระลึกวันราชบัณฑิตตยสถาน 31 มีนาคม 2486" และ "สมุดที่ระลึกวันราชบัณฑิตยสถาน 31 มีนาคม 2487"


เกียรติคุณ

แก้
  • 30 กันยายน พ.ศ. 2485 ราชบัณฑิตในสำนักวิทยาศาสตร์รุ่นแรก ที่ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตในวิชาวทิยาศาสตร์ชีวภาพ


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๔๒, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๑, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้