คนโด อิซามิ (ญี่ปุ่น: 近藤勇โรมาจิKondō Isami 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1834 - 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1868) เป็นซามูไรและข้าราชการชาวญี่ปุ่นในช่วงปลายยุคเอโดะ มีชื่อเสียงในฐานะของหัวหน้ากลุ่มซามูไรชินเซ็งงูมิ ซึ่งเป็นกลุ่มซามูไรหัวรุนแรงที่จงรักภักดีต่อรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ

คนโด อิซามิ
近藤 勇
คนโด อิซามิ (ค.ศ. 1834–1868)
หัวหน้ากลุ่มชินเซ็งงูมิ
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1863 – ค.ศ. 1868
ก่อนหน้าไม่มี
(เป็นหัวหน้ากลุ่มร่วมกับเซริซาวะ คาโมและนิอิมิ นิชิกิเป็นเวลาสั้น ๆ ช่วงก่อตั้ง)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มิยางาวะ คัตสึโงโร

09 พฤศจิกายน ค.ศ. 1834(1834-11-09)
หมู่บ้านคามิอิชิฮาระ จังหวัดมูซาชิ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิตพฤษภาคม 17, 1868(1868-05-17) (33 ปี)
ลานประหารอิตาบาชิ เขตอิตาบาชิ กรุงเอโดะ ประเทศญี่ปุ่น
สาเหตุการเสียชีวิตการตัดศีรษะ
ที่ไว้ศพร่าง: วัดรีวเง็นจิ โอซาวะ มิตากะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ศีรษะ: วัดโฮโซจิ อากาซากิ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น
เชื้อชาติญี่ปุ่น
คู่อาศัยมิยูกิ
โอโกะ
คู่สมรสมัตสึอิ ซึเนะ (สมรส 1860–1868)
บุตร
บุพการี
  • มิยางาวะ ฮิซาจิโร (บิดา)
  • มิยางาวะ มิโยะ (มารดา)
ญาติคนโด ชูซูเกะ (บิดบุญธรรม)
คนโด ฟูเดะ (มารดาบุญธรรม)
คนโด อิซาตาโร (หลานชาย)
ความสัมพันธ์มิยางาวะ ริเอะ (พี่สาว)
มิยางาวะ โอโตโงโร (พี่ชาย)
มิยางาวะ โซเบ (พี่ชาย)
คนโด ยูโงโร (หลานชาย)
เป็นที่รู้จักจากหัวหน้ากลุ่มชินเซ็งงูมิ
ชื่ออื่นชิมาซากิ คัตสึตะ
ชิมาซากิ อิซามิ ฟูจิวาระ โนะ โยชิตาเกะ
นามแฝงโอกูโบะ สึโยชิ
โอกูโบะ ยามาโตะ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้รัฐบาลเอโดะ
สังกัดโรชิงูมิ (เดิม)
มิบูโรชิงูมิ (เดิม)
ชินเซ็งงูมิ
ประจำการค.ศ. 1863–1868
ยศวากาโดชิโยริ
บังคับบัญชามิบูโรชิงูมิ (เดิม)
ชินเซ็งงูมิ
ผ่านศึกกรณีอิเกดายะ
กรณีคิมมง
สงครามโบชิง

ภูมิหลัง

แก้

คนโด อิซามิ มีชื่อจริงเมื่อแรกเกิดว่า "คัตสึโงะโร" เป็นบุตรของมิยางาวะ ฮิซาจิโร[1] ชาวนาผู้มีถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านคามิ-อิชิฮาระ ในแคว้นมูซาชิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เมืองโจฟุ จังหวัดโตเกียว[2] เขามีพี่ชายอยู่ 2 คน คนโตชื่อโอโตจิโร (音次郎; ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโอโตโงโร 音五郎) คนรองชื่อคุเมโซ (粂蔵; ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโซเบ 惣兵衛)[3] คัตสึโงโรเริ่มฝึกหัดวิชาดาบที่โรงฝึกชิเอคัง ซึ่งเป็นโรงฝึกหลักของเพลงดาบสายเท็นเน็นริชินรีว เมื่อ ค.ศ. 1848[4]

ในวัยหนุ่มนั้นคัตสึโงโรถูกกล่าวขวัญถึงจากความเป็นผู้รักการอ่าน เขาชอบอ่านเรื่องโรนินทั้งสี่สิบเจ็ดและพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊กมากเป็นพิเศษ[5] ชื่อเสียงของคัตสึโงโรเป็นที่กล่าวขวัญอย่างยิ่งจากความเป็นผู้คงแก่เรียน ความสามารถในการกำราบโจรที่พยายามเข้ามาปล้นบ้านของครอบครัวเขา และการได้รับความดูแลเอาใจใส่อย่างดีจากคนโด ชูซูเกะ ผู้สืบทอดเพลงดาบเท็นเน็นริชินรีวรุ่นที่ 3[6] ชูซูเกะไม่รอช้าที่จะรับเด็กหนุ่มคัตสึโงโรเป็นลูกบุญธรรมในปี ค.ศ. 1849 และได้เปลี่ยนชื่อของเด็กหนุ่มคนนั้นเป็น "ชิมาซากิ คัตสึตะ" (島崎勝太)[7] ตามบันทึกของอดีตศาลเจ้าโงซุ-เท็นโนชะ (牛頭天王社 - ปัจจุบันเรียกว่า ศาลเจ้าฮิโนยาซากะ 日野八坂神社) ชื่อของคัตสึตะได้ถูกบันทึกไว้ด้วยชื่อเต็มและชื่อเรียกทั่วไปว่า "ชิมาซากิ อิซามิ ฟูจิวะระ (โนะ) โยชิตาเกะ" เอกสารดังกล่าวบันทึกในปี ค.ศ. 1858 จึงกล่าวได้ว่าคัตสึตะมีชื่อว่าอิซามิอย่างน้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1858[8]

อิซามิแต่งงานกับโอสึเนะผู้เป็นภรรยาเมื่อ ค.ศ. 1860[9] การแต่งงานดังกล่าวสร้างประโยชน์ให้แก่คนโดอย่างยิ่ง เนื่องจากโอสึเนะนั้นเป็นบุตรสาวของมัตซูอิ ยาโซโงโร (松井八十五郎) หนึ่งในซามูไรผู้ขึ้นตรงต่อตระกูลชิมิซะ-โทกูงาวะ [10] ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1861[11] อิซามิได้รับสืบทอดตำแหน่งผู้สืบทอด (宗家四代目 "โซเกะ โนะ ยนได") เพลงดาบเท็นเน็นริชินรีว รุ่นที่ 4 ได้รับนาม "คนโด อิซามิ" อย่างเป็นทางการ และได้เป็นผู้ดูแลโรงฝึกดาบชิเอคัง[12] ในปีต่อมาคนโดก็ได้บุตรสาวชื่อ "ทามาโกะ" (1862–1886) [13] เขามีหลานตาในภายหลังเพียงคนเดียวชื่อ "คนโด ฮิซาตาโร" ซึ่งได้เสียชีวิตในการรบระหว่างสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น[14]

 
เสื้อเกราะอ่อนซึ่งคนโดเคยใช้ใส่ป้องกันตนเอง

กล่าวกันว่าคนโดมีดาบคาตานะประจำกายชื่อว่า "โคเต็ตสึ" (虎徹) ซึ่งตีขึ้นโดยนางาโซเนะ โคเต็ตสึ ช่างตีดาบผู้มีชื่อเสียงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 อย่างไรก็ตาม ฐานะความเป็นเจ้าของดาบโคเต็ตสึเล่มนั้นของคนโดยังคงเป็นที่ถกเถียงอย่างมาก กล่าวตามปึกเอกสารเกี่ยวกับช่างทำดาบโคเท็ตสึของยาสุ คิซึ ดาบของคนโดนั้นแท้จริงแล้วอาจตีขึ้นโดยมินาโมโตะ โนะ คิโยมาโระ ช่างดาบผู้มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยเดียวกับคนโด[15]

แม้ว่าคนโดจะไม่เคยทำงานใดๆ ให้แก่รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะเลย ก่อนที่เขาจะก่อตั้งกลุ่มชินเซ็นงูมิขึ้น แต่ครั้งหนึ่งคนโดก็เคยได้รับการเสนอชื่อให้เป็นครูฝึกอยู่ในสถาบันโคบุโชะในปี ค.ศ. 1862 [16] สถาบันโคบุโชะแห่งนี้เป็นโรงเรียนฝึกหัดวิชาการทหารโดยเฉพาะ สำหรับฝึกหัดการทหารในขั้นต้นแก่บรรดาผู้จงรักภักดีต่อโชกุน รัฐบาลโชกุนได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1855 เพื่อปฏิรูปการทหารหลังจากการมาเยือนญี่ปุ่นครั้งแรกของนายพลเรือเพอร์รีด้วยเรือดำ[17]

ยุคชินเซ็นงูมิ

แก้

ในปี ค.ศ. 1863 รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะได้รวบรวมกลุ่มโรนินหรือซามูไรไร้นายขึ้นเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เพื่อเป็นหน่วยคุ้มกันโชกุนโทกูงาวะ อิเอโมจิ ในช่วงที่พำนักในนครหลวงเกียวโต[18] คอนโดได้เข้าร่วมในองค์กรนี้ภายใต้ชื่อกลุ่ม "โรชิงูมิ" พร้อมกับฮิจิกาตะ โทชิโซ ผู้เป็นเพื่อนสนิท และเหล่าสมาชิกของสำนักดาบชิเอคังอีกหลายคน คือ ยามานามิ เคซูเกะ, โอกิตะ โซจิ, ฮาราดะ ซาโนซูเกะ, นางากูระ ชิมปาจิ, โทโด เฮซูเกะ, และอิโนอูเอะ เก็มซาบูโร ภายหลังเมื่อคิโยกาวะ ฮาจิโร ผู้นำกลุ่มโรชิงูมิโดยพฤตินัย ได้เปิดเผยเป้าประสงค์ที่แท้จริงว่าต้องการรวบรวมผู้คนเป็นกำลังสนับสนุนพระจักรพรรดิ คนโด, ฮิจิกาตะ, เซริซาวะ คาโม (อดีตผู้ติดตามของเจ้าแคว้นมิโตะ), และผู้คนอีกจำนวนไม่มาก จึงอยู่ที่เกียวโตและตั้งกลุ่มของตนเองแทนในชื่อกลุ่ม "มิบูโรชิงูมิ"[19] ซึ่งรับคำสั่งโดยตรงในการปฏิบัติงานจากรัฐบาลโชกุน[20] โดยมีมัตซึไดระ คาตาโมริ ไดเมียวแห่งแคว้นไอสึ เป็นผู้ควบคุมดูแลบุคคลเหล่านี้ กลุ่มมิบูโรชิงูมิได้รับหน้าที่ให้เป็นตำรวจพิเศษรักษาพระนครเกียวโต[21]

ในเหตุการณ์ "คินมง โนะ เซเฮ็ง" หรือการรัฐประหารในวันที่ 18 สิงหาคมของปีนั้น กลุ่มของคนโดได้รับการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ชินเซ็งงูมิ"[22] และเป็นที่รู้จักทั่วไปจากการเข้าทำการจับกุมกลุ่มผู้ขับไล่ชาวต่างชาติกลุ่มหนึ่งในเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ ค.ศ. 1864 ซึ่งคดีดังกล่าวถูกเรียกขานในชื่อ "คดีร้านอิเกดะ" (อิเกยาดาจิเค็ง) [23]

วันที่ 10 เดือน 7 ทางจันทรคติ ค.ศ. 1867[24] คนโดพร้อมด้วยสมาชิกกลุ่มชินเซ็งงูมิทั้งหมด ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮาตาโมโตะ หรือซามูไรที่ขึ้นตรงต่อโชกุน[25]

สงครามโบะชิงและมรณกรรม

แก้
 
คนโด อิซามิ ในยุทธการโคชู-คัตซึนูมะ
ภาพศีรษะของคนโด อิซามิ หลังถูกประหารชีวิต ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นช่วง ค.ศ. 1868

หลังสิ้นสุดยุทธการโทบะ-ฟูชิมิในเดือนมกราคม ค.ศ. 1868 คนโดได้กลับมาที่นครเอโดะ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "วากาโดชิโยริ" (ตำแหน่งนี้อาจแปลความหมายได้ว่า "ผู้อาวุโสชั้นผู้น้อย" - "Junior Elders) อันก่อให้เกิดความแตกแยกภายในการบริหารงานของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะอย่างรวดเร็ว[26] กองกำลังของเขาได้ทำการสู้รบกับกองกำลังที่ถูกส่งมาจากราชสำนักของพระจักรพรรดิอีกหลายครั้ง แต่กลับประสบความพ่ายแพ้ในหลายสมรภูมิ ทั้งในการรบที่เมืองคัตซึนูมะ และที่เมืองนางาเรยามะ คนโดถูกกองทัพฝ่ายในพระนามจักรพรรดิเมจิจับเป็นเชลย และได้ถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะในวันที่ 17 เดือน 5 ตามจันทรคติ ปี ค.ศ. 1868[27]

ตามบันทึกของทานิ ทาเตกิ คนโดถูกไต่สวนถึงคดีการลอบสังหารซากาโมโตะ เรียวมะ ซามูไรชาวแคว้นโทซะผู้มีบทบาทในการเจรจาให้ฝ่ายโชกุนยอมถวายอำนาจคืนแก่พระจักรพรรดิ แต่คนโดปฏิเสธความเกี่ยวข้องของตนเองและชินเซ็งงูมิในคดีนี้ ก่อนที่จะถูกประหารชีวิตจากคดีดังกล่าวในที่สุด แม้หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1870 อิมาอิ โนบูโอะ อดีตสมาชิกกลุ่มมิมาวาริงูมิ จะสารภาพว่าตนเป็นผู้ก่อคดีลอบสังหารซากาโมโตะ เรียวมะ แต่ทานิก็ค้านว่าคนโดไม่ได้ถูกกล่าวหาอย่างผิดๆ ในคดีนี้ จะอย่างไรก็ดี แม้จะมีการสันนิษฐานจากหลากหลายทฤษฎีอันเป็นที่ยอมรับ แต่การจะหาว่าใครเป็นผู้บงการตัวจริงในคดีนี้ก็ยังเป็นเรื่องที่ลึกลับและยังไม่มีข้อสรุปมาจนถึงทุกวันนี้

สุสานของคนโดปรากฏอยู่หลายแห่ง โดยมากเชื่อว่าสุสานแห่งแรกของคนโดถูกสร้างขึ้นที่วัดเท็นเนจิ (天寧寺) ในแคว้นไอสึ โดยฮิจิกาตะ โทชิโซ[28] กล่าวกันว่าฮิจิกาตะซึ่งเพิ่งฟื้นตัวจากการบาดเจ็บที่เท้าในยุทธการอุซึโนะมิยะ เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษาโดยส่วนตัวในการเตรียมการและจัดสร้างสถานที่แห่งนี้[28] ส่วนนาม "คังเท็นอินเด็นจุนจูเซงิไดโคจิ" (貫天院殿純忠誠義大居士) ซึ่งเป็นนามหลังเสียชีวิตของคนโด เชื่อว่าตั้งให้โดยมัตสึไดระ คาตาโมะริ[28]

เชิงอรรถ

แก้
  1. Ōishi Manabu 大石学, Shinsengumi: saigo no bushi no jitsuzō 新選組: 最後の武士の実像. (Tokyo: Chuōkōron-shinsha, 2004), p. 21
  2. Kojima Masataka 小島政孝. Shinsengumi yowa 新選組余話. (Tokyo: Kojima-Shiryōkan 小島資料館, 1991), p.10
  3. Ōishi, p. 22
  4. Shinsengumi dai zenshi 新選組大全史. (Tokyo; Shin Jinbutsu Oraisha, 2003) p.27; Ōishi, p. 22.
  5. Kojima, p.14
  6. Shinsengumi dai zenshi, p.27
  7. Kojima, p.95-96.
  8. Ōishi, p. 22.
  9. Shinsengumi dai zenshi, p.35
  10. Ōishi, p. 24.
  11. ตรงกับวันที่ 27 เดือน 8 ศักราชบุงคีว ปีที่ 1 เมื่อนับตามปฏิทินจันทรคติของญี่ปุ่น ดูที่ Ōishi, p. 24.
  12. Shinsengumi dai zenshi, p.27; Ōishi, p. 24.
  13. Shinsengumi dai zenshi, p.36; Ōishi, p. 24.
  14. Romulus Hillsborough. Shinsengumi: The Shogun's Last Samurai Corps. (North Clarendon: Tuttle Publishing, 2005), p. 183
  15. Yasu Kizu, Swordsmith Nagasone Kotetsu Okisato (Hollywood: W.M. Hawley Publications, 1990), p. 9
  16. "Kondō Hijikata to Okita no Shinsengumi" 近藤・土方・沖田の新選組. Rekishi Dokuhon, December 2004, p.62.
  17. G. Cameron Hurst III. Armed martial arts of Japan. (New Haven: Yale University Press, 1998), pp. 148-152.
  18. Shinsengumi dai zenshi, p.38
  19. Kojima, p. 39-40
  20. Yamakawa Hiroshi 山川浩. Kyōto Shugoshoku Shimatsu 京都守護職始末. ed. Tōyama Shigeki (Tokyo: Heibonsha, 1966), p. 87
  21. Shinsengumi dai zenshi, p.45
  22. Shinsengumi dai zenshi, p.52-53
  23. Shinsengumi dai zenshi, p.56-59
  24. June 10, 1867 by the lunar calendar. See Ōishi, p. 160.
  25. Ōishi, p. 160.
  26. 近藤勇 KONDO
  27. Kojima, p.91
  28. 28.0 28.1 28.2 "天寧寺「近藤勇の墓」". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.

อ้างอิง

แก้
  • Hurst, G. Cameron III. Armed martial arts of Japan. New Haven: Yale University Press, 1998.
  • Kikuchi Akira 菊池明. Shinsengumi 101 no Nazo 新選

組101の謎. Tokyo: Shin Jinbutsu Oraisha, 2000.

  • Kojima Masataka 小島政孝. Shinsengumi yowa 新選組余話. Tokyo: Kojima-Shiryōkan 小島資料館, 1991
  • Ōishi Manabu 大石学. Shinsengumi: saigo no bushi no jitsuzō 新選組: 最後の武士の実像. Tokyo: Chūōkōron-shinsha, 2004.
  • Yasu Kizu. Swordsmith Nagasone Kotetsu Okisato. Hollywood: W.M. Hawley Publications, 1990.
  • "Kondō Hijikata to Okita no Shinsengumi" 近藤・土方・沖田の新選組. Rekishi Dokuhon, December 2004.
  • Shinsengumi dai zenshi 新選組大全史. Tokyo; Shin Jinbutsu Oraisha, 2003. ISBN 4404030657
  • Shinsengumi Jiten 新選組事典. Tokyo: Shin Jinbutsu Oraisha, 1978.