คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็น 1 ใน 9 คณะของสถาบัน เดิมเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐม" ก่อนจะโอนมาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและยกฐานะเป็น "คณะเทคโนโลยีการเกษตร" ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 ปัจจุบันปรับรูปแบบการศึกษาจากเดิม เปลี่ยนเป็นการศึกษาในรูปแบบของโมดูลหลักสูตร มีทั้งสิ้น 7 หลักสูตรในระดับปริญญาตรี

คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
School of Agricultural Technology
King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang
คณบดีผศ.ดร.ธงชัย พุฒทองศิริ
ที่อยู่
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
วารสารเกษตรพระจอมเกล้า[1]
สี  สีเขียว
เว็บไซต์www.agri.kmitl.ac.th

นอกจากนี้ยังมีการเปิดการเรียนการสอนในภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร ในวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ซึ่งมีทั้งในระดับปริญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา[2]

ประวัติ

แก้
 
อนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหารฯ

คณะเทคโนโลยีการเกษตรเดิมเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐม" สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2513 โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐมได้ย้ายมาตั้งที่เขตลาดกระบังกรุงเทพฯและได้มีเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร" โดยคำว่า "เจ้าคุณทหาร" มีไว้เพื่อ เป็นอนุสรณ์แด่เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เนื่องจากทายาทของท่านเจ้าคุณทหารคือ ท่านเลี่ยมและคุณหลวงพรตพิทยพยัต สามี ได้บริจาคที่ดิน 1,041 ไร่ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2500 ซึ่งกรมอาชีวศึกษาได้ใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร และได้รับการสถาปนาเป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2517 ต่อมาวิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารได้โอนจากกรมอาชีวศึกษา[3] กระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทบวงมหาวิทยาลัย ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 และได้รับการยกฐานะเป็น "คณะเทคโนโลยีการเกษตร" เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2524[4] พร้อมกับสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์

สถาปัตยกรรม

แก้
 
โรงอาหารกลางน้ำ ได้รับคัดเลือกให้เป็นอาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์ในปี พ.ศ. 2559

ในช่วงปี พ.ศ. 2508 - 2513 โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร ได้เป็น 1 ใน 25 แห่งของโรงเรียนและวิทยาลัยในกลุ่มช่างอุตสาหกรรมและกลุ่มเกษตรกรรม ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา จากธนาคารโลก ซึ่งบริษัทออกแบบจุนโซ ซาคาคุระ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ออกแบบอาคารเรียน โดยบริษัทดังกล่าวเป็นของจุนโซ ซาคาคุระซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศญี่ปุ่นในยุคนั้น ทำให้อาคารที่ก่อสร้างในยุคนั้นมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ในรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ คือกลุ่มอาคารเรียนกลางน้ำ (ปัจจุบันถูกรื้อถอน กลายเป็นลานจอดรถ หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ "วร บุนนาค") โรงอาหารกลางน้ำ และหอประชุมใหญ่ของสถาบัน ในฝั่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ปัจจุบัน[5]

ในปี พ.ศ. 2559 อาคารโรงอาหารกลางน้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สร้างเสร็จ พ.ศ. 2513) ได้รับคัดเลือกให้เป็น "อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์" จาก สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับอีก 3 อาคารที่ก่อสร้างในช่วงโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวะศึกษา พ.ศ. 2508 - 2513[5]

หน่วยงานและหลักสูตร

แก้

ภาควิชาและหลักสูตรก่อนปี พ.ศ. 2564

แก้

ภาควิชาและหลักสูตรในการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ลงไป ก่อนปรับเปลี่ยนไปใช้การเรียนการสอนแบบโมดูล (Modular System)

ภาควิชา ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
เทคโนโลยีการผลิตพืช เก็บถาวร 2017-08-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์[6]
    • วิชาเอกพืชไร่
    • วิชาเอกพืชสวนและภูมิทัศน์
    • วิชาเอกกีฏวิทยา
    • วิชาเอกโรคพืช
    • วิชาเอกปฐพีวิทยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์[7]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช[8]
  • สาขาวิชาพืชสวน[8]
  • สาขาวิชาพืชไร่[8]
  • สาขาวิชาปฐพีวิทยา[8]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร[8]

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์[9]
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช[10]
เทคโนโลยีการผลิตสัตว์และการประมง เก็บถาวร 2020-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์[11]
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง[12]
นวัตกรรมการสื่อสารและพัฒนาการเกษตร (เทคนิคเกษตร)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร[13]
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร[14]

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร[15]

-

การเรียนการสอนแบบโมดูล (Modular System)

แก้

ในปี พ.ศ. 2564 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นรูปแบบโมดูล (Modular System) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของตนตามกลุ่มวิชาในลักษณะโมดูล (Module) โดยลดวิชาบังคับ และเพิ่มวิชาเลือก โดยแต่ละโมดูลจะมีความสมบูรณ์ในตัวของวิชานั้นเอง ไม่ต้องเรียนจากโมดูลอื่นมาก่อน น้ำหนักรายวิชาละ 6-9 หน่วยกิต ซึ่งแต่เดิมจะต้องเรียนหลายวิชา (วิชาละ 3 หน่วยกิต) ต่อเนื่องกันในหลายเทอมจนครบถ้วนเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้เริ่มใช้งานการเรียนการสอนแบบโมดูลกับนักศึกษาที่เข้าศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2564

สำหรับสาขาวิชาที่เริ่มใช้การเรียนการสอนในรูปแบบโมดูลในปี พ.ศ. 2564 ประกอบไปด้วย[16]

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์
    • สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากรประมง
    • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร
    • สาขาวิชาการจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด
    • สาขาวิชาภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท)[17]
    • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
    • สาขาวิชาสัตวศาสตร์เพื่ออุตสาหกรรม
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากร
    • สาขาวิชาการสื่อสารและวิทยาการสารสนเทศทางการเกษตร
    • สาขาวิชานวัตกรรมพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ระดับปริญญาเอก)
    • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และการจัดการทรัพยากร[18]

โครงการ 2 ปริญญา Agrinovator (ระดับปริญญาตรี)

เป็นโครงการความร่วมมือกันระหว่างคณะเทคโนโลยีการเกษตร กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในรูปแบบสหวิทยาการทั้งในด้านของเกษตรศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี แต่ได้รับวุฒิถึง 2 วุฒิ คือ วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) การจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด และ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ ปัจจุบันอยู่ในช่วงเปิดรับลงทะเบียนล่วงหน้าสำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตร[19]

สัญลักษณ์ประจำคณะ

แก้
 
ดอกบุนนาค ดอกไม้ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.
  • สัญลักษณ์คณะ คือ คันไถ และดอกบุนนาค
  • ดอกไม้ประจำคณะ คือ ดอกบุนนาค[20]
  • สีประจำคณะ คือ   สีเขียว และ     สีเขียว ขาว เหลือง

สถานที่

แก้

แต่เดิมพื้นที่ทั้งหมดของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นพื้นที่ของโรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารซึ่งก็คือคณะเทคโนโลยีการเกษตรในปัจจุบัน ทำให้มีอาณาเขตพื้นที่ที่กว้างขวาง ครอบคลุมฝั่งตะวันออกของสถาบันเกือบทั้งหมด และถูกแบ่งคั่นด้วยเส้นทางรถไฟสายตะวันออกทำให้คณะเทคโนโลยีการเกษตรประกอบด้วยฝั่งทิศเหนือและทิศใต้

ปัจจุบันได้มีการแบ่งเนื้อที่ของคณะเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาและจัดตั้งคณะพร้อมทั้งวิทยาลัยต่าง ๆ[21] ทำให้ปัจจุบันมีสถานที่และกลุ่มอาคารหลัก ประกอบไปด้วย

ปัจจุบัน

แก้
  • อาคารเจ้าคุณทหาร อยู่ในพื้นที่ทิศใต้ของคณะ ต่อเนื่องกับคลองประเวศบุรีรมย์เป็นอาคารที่มีลักษณะคล้ายกับรวงผึ้งหากมองจากภายนอก และเมื่อมองจากมุมสูง จะพบว่ามีการแบ่งเป็น 4 โถงอาคาร เชื่อมต่อกันด้วยอาคารหลักที่มีลานสำหรับทำกิจการมอยู่ตรงกลาง
  • โรงอาหารกลางน้ำ เป็นอาคารที่ยื่นออกไปกลางสระน้ำทิศใต้ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร เป็นสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยประเทศญี่ปุ่น[5]ตั้งแต่ยุคก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าและยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน โดยถูกใช้งานในรูปแบบอเนกประสงค์ ทั้งเป็นศูนย์อาหาร โรงฝึกงาน และหอประชุมตามโอกาสต่าง ๆ[22]
  • อนุสาวรีย์เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นอนุสรณ์สำหรับท่านเจ้าคุณทหารที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ซึ่งท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต บุตรสาวของท่านเจ้าคุณทหารมอบพื้นที่ให้ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเพื่ออุทิศให้กับงานด้านการศึกษา[23] ซึ่งชื่อของท่านได้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อสถาบัน คือคำว่า เจ้าคุณทหาร โดยอนุสาวรีย์ดังกล่าวสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2517[24]
  • อนุสาวรีย์อาจารย์ ดร.ปิฏฐะ บุนนาค ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารท่านแรก ตั้งอยู่กลางสวนปาล์มพฤษบูชา เพื่ออุทิศให้ท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต้นปาล์ม[25][26]
  • สโมสรนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร ตั้งอยู่ด้านหลังอาคารเจ้าคุณทหาร ประกอบไปด้วยตัวอาคารของสโมสรนักศึกษา ลานกิจกรรม และสนามบาส ต่อเนื่องกับสวนปาล์มพฤกษบูชาที่เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์อาจารย์ ดร.ปิฏฐะ บุนนาค
  • สตูดิโอริมน้ำ นิเทศศาสตร์เกษตร เป็นอาคารปฏิบัติการด้านนิเทศศาสตร์ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร[27] ซึ่งปรับปรุงมาจากตัวอาคารปฏิบัติการเดิมของสาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร[28] ซึ่งแต่เดิมสังกัดอยู่กับคณะเทคโนโลยีการเกษตร ภาควิชาเทคนิคเกษตร
  • แปลงปฏิบัติการทางการเกษตร อยู่ในพื้นที่ทิศเหนือของคณะ เป็นพื้นที่แปลงทดลองเกี่ยวกับการเกษตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ติดอยู่กับอาคารบุนนาค และวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ
  • ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หลักสูตรสัตวศาสตร์ อยู่ในพื้นที่ต่อเนื่องจากแปลงปฏิบัติการทางการเกษตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร ใช้สำหรับการปฏิบัติการด้านปศุสัตว์ของสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์
อนุสาวรีย์เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ในปี พ.ศ. 2566 พร้อมด้วยสวนหย่อมที่ออกแบบโดยสมาคมศิษย์เก่าฯตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559

ในอดีต

แก้
  • กลุ่มอาคารเรียนกลางน้ำ เป็นอาคารเรียนของคณะเทคโนโลยีการเกษตรที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำ ด้านหลังอนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหารฯ หรือเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ปัจจุบันถูกรื้อถอนและพัฒนาเป็นลานจอดรถของหอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
  • อาคารบุนนาค แต่เดิมถูกใช้เป็นอาคารเรียนรวมและห้องปฏิบัติการทางการเกษตรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยมีเนื้อที่ติดกับแปลงปฏิบัติการทางการเกษตร ปัจจุบันอาคารในทิศเหนือ (ติดถนนฉลองกรุง) ถูกปรับปรุงอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานและใช้ในการเรียนการสอนของคณะบริหารธุรกิจ

ศิษย์เก่า

แก้

สมาคมศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นสมาคมที่จดจัดตั้งเป็นสมาคมตามกฎหมายตั้งแต่ พ.ศ. 2529[29] มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่จบการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร ทุกหลักสูตร จะถือว่ามีคุณสมบัติในการเป็นสมาชิกสามัญของสมาคมโดยปริยาย[30]

งานเกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์

แก้

ในทุก ๆ ปี คณะเทคโนโลยีการเกษตร และสมาคมศิษย์เก่าคณะเทคโนโลยีการเกษตร จะร่วมกันจัดงานเกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยจะมีการวางพวงมาลาแด่อนุสาวรีย์เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะเทคโนโลยีการเกษตร 11 กุมภาพันธ์ของทุกปี[31][32] การจัดนิทรรศการทางวิชาการ เพื่อนำเสนอผลงานการวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษา[33] การเสวนา การอบรม การนำเสนอผลงานและการบรรยายทางวิชาการ[34] นอกจากนี้ยังมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งจากนักศึกษาเองและเกษตรกร เพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร ทั้งพืช ผัก ผลไม้ สัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เครื่องมือทางการเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ[35]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า
  2. "หลักสูตรที่เปิดรับนักศึกษาใหม่ – Prince of Chumphon" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 29 2 มีนาคม 2522, พระราชบัญญัติ โอนกิจการบริหารบางส่วนของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทบวงมหาวิทยาลัย (ratchakitcha.soc.go.th)
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 70 ฉบับพิเศษ 8 พฤษภาคม 2524, พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งคณะเทคโนโลยีการเกษตร และสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2524 (ratchakitcha.soc.go.th)
  5. 5.0 5.1 5.2 แวววิเชียร อภิชาติวรพันธุ์, 2559. "ที่มาแนวคิดโรงเรียนและวิทยาลัยเทคนิค “ต้นแบบ” ภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา พ.ศ. 2508-2513", วารสารหน้าจั่ว: ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย, 13(174-203)
  6. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  7. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เก็บถาวร 2017-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "หลักสูตรปริญญาโท ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 2017-09-07.
  9. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เก็บถาวร 2017-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. ปรัชญาดุษฏรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2554
  11. หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  12. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  13. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เก็บถาวร 2018-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  15. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
  16. ประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี แบบ Portfolio รอบที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี คณะเทคโนโลยีการเกษตร ประจำปีการศึกษา 2564
  17. "ปริญญาโท – SCHOOL OF AGRICULTURAL TECHNOLOGY" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-17.
  18. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑฺต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และการจัดการทรัพยากร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 (kmitl.ac.th)
  19. "Agrinovator – Agricultural X Engineering KMITL" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-19. สืบค้นเมื่อ 2021-10-17.
  20. สีและดอกไม้ประจำคณะ เก็บถาวร 2009-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  21. "คืบหน้า !! สจล. เผย 'รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร' พร้อมให้บริการประชาชนปี 2567 รุดผนึกพันธมิตร 'ธนาคารกรุงไทย' หนุน ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ขับเคลื่อนงานโรงพยาบาลครบวงจร". mgronline.com. 2021-08-24.
  22. "Docomomo Thailand". www.docomomothailand.org.
  23. "อนุสรณ์"ท่านเจ้าคุณทหาร" ผู้มีประโยชย์กับสถาบันฯเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". www.agri.kmitl.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-28.
  24. "อนุสรณ์"ท่านเจ้าคุณทหาร" ผู้มีประโยชย์กับสถาบันฯเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". www.agri.kmitl.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-28.
  25. "รวมเรื่องเกี่ยวกับปาล์ม หนังสืออนุสรณ์ ดร.ปิฏฐะ บุนนาค". www.su-usedbook.com.
  26. "ชมสวนแสนปาล์ม - GotoKnow". www.gotoknow.org.
  27. "Nitedkaset KMITL Open House 2017". CAMPHUB. 2017-11-01.
  28. "ภาควิชานวัตกรรมการสื่อสารและพัฒนาการเกษตร – SCHOOL OF AGRICULTURAL TECHNOLOGY" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  29. Agrikmitl, Admin. "ประวัติสมาคมศิษย์เก่า". agrikmitlalumni.com.
  30. Agrikmitl. "ข้อบังคับสมาคมฯ". agrikmitlalumni.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. "09-02-2561-1 พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหาร ในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาคณะ เทคโนโลยีการเกษตร สจล. (11 กุมภาพันธ์) ณ บริเวณสวนป่าบุนนาค - ข่าว ประชาสัมพันธ์ คณะเทคโลยีการเกษตร สจล". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  32. Dangintawat, Suchada. "พิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์ท่านเจ้าคุณทหาร(เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์)". School of Engineering. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
  33. "เที่ยวงาน เกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์ 2563". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
  34. "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". chaokhun.crsc.kmitl.ac.th.
  35. "งานเกษตรเจ้าคุณทหารแฟร์ 2565". Pantip.