คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะวิชาที่ได้รับการประกาศจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการสถาปนาเป็นคณะที่ 2 ในวิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยรับผิดชอบหลักสูตร วิชาด้านวิทยาศาสตร์ และยังจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ กับวิชาพื้นฐานด้านพลศึกษาให้กับนิสิตคณะอื่นในวิทยาเขตศรีราชาด้วย

คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Faculty of Science at Sriracha,
Kasetsart University
ตราพระพิรุณทรงนาค
ตราประจำคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา
ชื่อย่อวท.ศรช.
สถาปนาวิทยาลัยชุมชนศรีราชา
วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 (27 ปี 273 วัน)
คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (24 ปี 109 วัน)
คณบดีผศ.ดร.ภัทรวดี สุ่มทอง นาคมี
ที่อยู่
199 หมู่ 6 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
สี███ สีน้ำเงิน [1]
มาสคอต
อะตอม
เว็บไซต์https://sci.src.ku.ac.th

ประวัติ แก้

พุทธศักราช 2498 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับอนุญาตการใช้พื้นที่บริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์เชิงเขาน้ำซับจากกระทรวงมหาดไทย ลงนามโดยจอมพลผิน ชุณหวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงในขณะนั้น ตั้งเป็นสถานีวิจัยศรีราชาเพื่อใช้พื้นที่วิจัยและฝึกงานของนิสิตสังกัดคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 500 ไร่ (ปัจจุบันเหลือเพียง 199 ไร่)

ภายหลังที่รัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีเป้าหมายให้เป็นเขตอุตสาหกรรมหลัก เขตพาณิชยกรรม และการค้า เขตส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เขตพัฒนาเมืองและชุมชน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมทางวิชาการ จึงได้ปรับ เปลี่ยนพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งแต่เดิมเป็นสถานีวิจัยและฝึกงานให้เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตแห่งใหม่เพื่อเป็นสถานศึกษาทำการผลิต และพัฒนากำลังคนระดับสูง ตอบสนองแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดเตรียมการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ในแนวคิดการจัดการศึกษาที่มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนเฉพาะสาขาที่สนองตอบความต้องการกำลังคนของ ภาคตะวันออก ภายหลังคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนศรีราชา เพื่อทำหน้าที่เตรียมการเรียนการสอน วางแผนจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แต่ภายหลังคณะกรรมการได้เห็นชอบใช้ชื่อโครงการจัดตั้งคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมแทนโครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาเขตศรีราชา โดยมีโครงการจัดตั้งคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการ โครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา) ทั้งนี้โครงการจัดตั้งคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้เปิดรับนิสิตสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในปีการศึกษา 2540 เป็นรุ่นแรก และสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ในปีการศึกษา 2541 [2]

คณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ได้รับการอนุมัติจากมติของสภามหาวิทยาลัยให้เป็นคณะวิชาที่เกิดจากการแบ่งส่วนราชการภายในของวิทยาเขตศรีราชา ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เพื่อดำเนินการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นิสิต ณ วิทยาเขตศรีราชา มีสีเขียวหัวเป็ด เป็นสีประจำคณะ ต่อมาสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชาในการประชุมครั้งที่ 10/2554 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554 และได้เปลี่ยนสีประจำคณะเป็นสีน้ำเงิน

ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555 และปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายใน ใหม่ ประกอบด้วย

ปี พ.ศ. 2556 คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี เพิ่มเติมจำนวน 3 สาขาวิชา ประกอบด้วยเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี จำนวน 3 สาขาวิชา ประกอบด้วย

ปี พ.ศ. 2557 สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557อนุมัติให้คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา บรรจุหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติไว้ในแผนแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2555 – 2559 ซึ่งจะทำการเปิดสอนในปีการศึกษา 2557 ภาคปลาย

สัญลักษณ์ประจำคณะ แก้

  • ปรัชญา คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มุ่งสู่การจัดการองค์กรนวัตกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • วิสัยทัศน์ คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา องค์กรแห่งนวัตกรรม และการพัฒนากำลังคนชั้นนำในภาคตะวันออก เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • สีประจำคณะ คือ สีน้ำเงิน [3]

การศึกษา แก้

การจัดการศึกษาและหลักสูตร แก้

คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 6 หลักสูตรและระดับปริญญาโท 1 หลักสูตรดังต่อไปนี้

โครงสร้างหลักสูตร แก้

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาฟิสิกส์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคปกติและภาคพิเศษ)
  • สาขาวิชาวิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลและคณิตศาสตร์ประกันภัย[4][5]
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล (หลักสูตร ปรับปรุง พ.ศ. 2566)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

ส่วนงานภายในคณะ แก้

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประกอบด้วย 1 สำนักงาน 3 ภาควิชา ประกอบด้วย

ผลงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา แก้

ประเภท จำนวน
จำนวนบทความวิจัย
International & National
Journal Publications
226
Conference 320
รวม 546
จำนวนทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิบัตร 3
อนุสิทธิบัตร 2
รวม 5

จากสถิติข้อมูลของสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ข้อมูลถึงปี พ.ศ. 2564)[6] พบว่าคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีบทความวิจัยตีพิมพ์ จำนวน 546 เรื่อง แบ่งเป็นตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ (International & National Journal Publications) จำนวน 226 เรื่อง และที่นำเสนอในการประชุมและสัมมนา (Conference) อีกจำนวน 320 เรื่อง

นอกจากนี้ยังมีจำนวนทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) จำนวน 5 รายการ ซึ่งแบ่งเป็นประเภทสิทธิบัตร (Patent) จำนวน 3 รายการ, และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) อีกจำนวน 2 รายการ

ในส่วนของรางวัล (Award) ที่ได้รับ มีจำนวน 49 รางวัล แบ่งเป็นประเภทเกียรติบัตร จำนวน 23 รางวัล, ประเภทงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ จำนวน 17 รางวัล, และประเภทรางวัลจากงานประชุมวิชาการ อีกจำนวน 9 รางวัล

ทำเนียบคณบดี แก้

นับตั้งแต่ก่อตั้งคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจนมาเป็นคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มีผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี ดังนี้

ทำเนียบผู้อำนวยการโครงการจัดตั้ง รักษาการคณบดี และคณะบดีคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามผู้อำนวยการ รักษาการ และคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง

1. รองศาสตราจารย์ ไพโรจน์ อุตรพงศ์ (ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้ง) [7] 8 พฤษภาคม 2540 - 2542
2. รองศาสตราจารย์ ไพโรจน์ อุตรพงศ์ (รักษาการคณบดี) พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545
3. รองศาสตราจารย์ ดร.มิ่งขวัญ มิ่งเมือง พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รุจา อรุณบรรเจิดกุล พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชัย ตนัยอัชฌาวุฒ พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2554
ทำเนียบคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชัย ตนัยอัชฌาวุฒ พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557
2. อาจารย์ ดร.สมจิตต์ ปาละกาศ พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรวดี สุ่มทอง นาคมี พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น

บทบาทและการส่งเสริมพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์ แก้

คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนในการส่งเสริม พัฒนา และผลักดันงานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศให้ทัดเทียมและเป็นที่ยอมรับ โดยผ่านโครงการในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เช่น

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Academic Excellence Center : AEC)[8]

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา (Academic Excellence Center : AEC) วิสัยทัศน์ "ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในระดับสากล เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม" โดยมีพันธกิจ 3 ประการ ดังนี้

  • ศูนย์พัฒนาและรับรองทักษะดิจิทัลสากล
  • ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
  • หน่วยบริการทดสอบทางสิ่งแวดล้อม

ครุยวิทยฐานะของคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา แก้

ครุยวิทยฐานะ

ครุยวิทยฐานะของคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา แบ่งเป็นสองชั้น ตามพระราชกฤษฎีกาครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[9][10][11] เป็นชุดครุยแบบเดียวกับคณะวิทยาศาสตร์ บางเขน โดยครุยวิทยฐานะดังกล่าวมีลักษณะเป็นชุดครุยแบบมีหมวก ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในประเทศแถบตะวันตก[12][13]

ครุยวิทยฐานะ
ครุยมหาบัณฑิต
(คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา)
ครุยบัณฑิต
(คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา)
  • ครุยมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท)
    • พู่หมวกและกระดุมบนหมวกสีดำ
    • ครุยสีดำ ไม่มีแถบกำมะหยี่ที่สาบด้านหน้าและแขนครุย ปลายแขนครุยมีลักษณะแบบถุง มีช่องสอดแขนออกที่บริเวณเหนือข้อศอก
    • ผ้าคล้องคอด้านในสีเขียว ด้านนอกสีดำ ขลิบขอบผ้าคล้องคอด้านนอกสุดด้วยแถบสีเขียว ทาบรอบคอด้วยแถบกำมะหยี่สีน้ำเงินคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา
  • ครุยบัณฑิต (ระดับปริญญาตรี)
    • พู่หมวกและพู่ประดับครุยสีน้ำเงินคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา กระดุมบนหมวกสีดำ
    • ครุยสีดำ ไม่มีแถบกำมะหยี่ที่สาบด้านหน้าและแขนครุย ไม่มีผ้าคล้องคอ ความยาวแขนครุยอยู่บริเวณข้อมือ
    • ประดับเข็มเกียรตินิยมบริเวณหน้าอกด้านซ้าย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่งเข็มสีทอง อันดับสองเข็มสีเงิน)
 
เข็มเกียรตินิยมอันดับสอง
สีประจำคณะ ชื่อปริญญา และอักษรย่อ

สีประจำคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา คือ “สีน้ำเงิน” ซึ่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และครุยวิทยฐานะ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550

คณะ สีประจำคณะ ชั้นปริญญา ชื่อปริญญา อักษรย่อ อ้างอิง
คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา   สีน้ำเงิน • โท
• ตรี
• วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
• วิทยาศาสตรบัณฑิต
• วท.ม.
• วท.บ.
[14]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  2. คู่มือนิสิตคณะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2542
  3. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
  4. https://eduserv.src.ku.ac.th/admission/pdf/S02.pdf เก็บถาวร 2022-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ปรับเปลี่ยนรายชื่อหลักสูตรคณิตศาสตร์ประยุกต์ เป็น วิทยาการวิเคราะห์ข้อมูลและคณิตศาสตร์ประกันภัย
  5. https://admission.ku.ac.th/media/announcements/2022/01/25/65-TCAS-exchange2.pdf เปลี่ยนแปลงชื่อหลักสูตรและสาขาวิชา การรับสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  6. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ผลงานคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา เรียกดูวันที่ 2020-05-05
  7. หอจดหมาเหตุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสสตร์ วิทยาเขตศรีราชา คำสั่งมหาวิทยาลัย ที่ ๑๐๖๐/๒๕๔๐ เรื่องแต่งตั้งผู้บริหารโครงการจัดตั้ง คณะและสำนักของวิทยาเขตศรีราชา สั่ง ณ วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๐, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566
  8. https://sci.src.ku.ac.th/aec/ "ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Academic Excellence Center : AEC)"
  9. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก ลว. 19 มีนาคม 2550 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และครุยวิทยฐานะ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2550 เก็บถาวร 2019-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-10-16
  10. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 36 ก ลว. 26 เมษายน 2543 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2543 เก็บถาวร 2020-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-10-16
  11. หอประวัติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “พิธีพระราชทานปริญญาบัตร” เรียกดูวันที่ 2019-10-15
  12. ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และข้อปฏิบัติของผู้ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เรียกดูวันที่ 2019-10-17
  13. คณะอนุกรรมการฝ่ายฝึกซ้อมและจัดขบวน พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปี พ.ศ. 2556 คู่มือปฏิบัติงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปี พ.ศ. 2556 เรียกดูวันที่ 2019-10-17
  14. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 16 ก ลว. 19 มีนาคม 2550 พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และครุยวิทยฐานะ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2550 เก็บถาวร 2019-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-10-16

แหล่งข้อมูลอื่น แก้