สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ สำนักงาน กปร.เป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี[3] จัดตั้งขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2536[4] มีหน้าที่ในการดำเนินงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[5] ที่มีประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ต่อมาในการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 จึงได้ย้ายมาเป็นส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
Office of the Royal Development Projects Board | |
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงาน | |
ภาพรวมสำนักงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 7 กันยายน พ.ศ. 2536 |
สำนักงานก่อนหน้า |
|
ประเภท | ส่วนราชการ |
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | 2012 ซอยอรุณอมรินทร์ 36 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 |
บุคลากร | 204 คน (พ.ศ. 2552)[1] |
งบประมาณต่อปี | 911,686,900 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
ฝ่ายบริหารสำนักงาน |
|
ต้นสังกัดสำนักงาน | นายกรัฐมนตรี |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของสำนักงาน |
สำนักงาน กปร. มีบทบาทในการเผยแพร่องค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ และความสำเร็จด้านต่างๆ จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[6]
สำนักงาน กปร. เดิมมีสำนักงานตั้งอยู่ในทำเนียบรัฐบาล ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 จึงได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่ที่ซอยอรุณอมรินทร์ 36 เขตบางพลัด[7] ที่ตั้งเดียวกับมูลนิธิชัยพัฒนา
คณะกรรมการ กปร.
แก้คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ คณะกรรมการ กปร. (Royal Projects Development Board) เป็นองค์กรพิเศษ ก่อตั้งเพื่อจัดการประสานงาน และจัดระบบรองรับการดำเนินงานสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2524 โดยการริเริ่มของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พ.ศ. 2524 โดยมี สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ทำหน้าที่ด้านธุรการและบริหาร ของ กปร.
กปร. ก่อตั้งขึ้นเนื่องจาก แต่เดิมการดำเนินงานสนองพระราชดำริของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าไปเสริมโครงการต่าง ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นไปในลักษณะต่างฝ่ายต่างทำ โดยไม่มีการประสานงานกับหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และไม่ได้เป็นประโยชน์สูงสุดตามแนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานไว้
คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประกอบด้วย
- นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
- กรรมการ ประกอบด้วย
- ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
- ปลัดกระทรวงการคลัง
- ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ปลัดกระทรวงมหาดไทย
- ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- ราชเลขาธิการ
- เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- ผู้บัญชาการทหารบก
- รองราชเลขาธิการ ที่ราชเลขาธิการมอบหมาย จำนวน 1 คน
- กรรมการและเลขานุการ
- เลขาธิการ กปร.
- กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- รองเลขาธิการ กปร.
- ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
- เจ้าหน้าที่สำนักราชเลขาธิการ ที่ราชเลขาธิการมอบหมาย จำนวน 1 คน
อ้างอิง
แก้- ↑ รายงานประจำปี 2552 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๘๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-01-15.
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2536
- ↑ โครงการพระราชดำริ "ในหลวงร.9" เพื่อความอยู่ดีกินดี-ผาสุกของประชาชน
- ↑ กปร.เผยเยาวชนสนใจนิทรรศการ ตามแนวพระราชดำริในรูปแบบ "Play and Learn"
- ↑ 30 ปี สำนักงาน กปร. : 4,100 โครงการพระราชดำริ