ข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์

ข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์ (อังกฤษ: Acromioclavicular joint; AC joint) เป็นหนึ่งในสองข้อต่อในบริเวณส่วนไหล่ที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และปลายอโครเมียนของกระดูกสะบัก (acromion of scapula) และเป็นข้อต่อที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของไหล่และต้นแขน

ข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์
(Acromioclavicular joint)
มุมมองจากทางด้านหน้าของไหล่ซ้าย แสดงโครงสร้างต่างๆของข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์
ตำแหน่งของเอ็นคอราโคคลาวิคิวลาร์และเอ็นคอราโคคลาวิคิวลาร์
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินarticulatio acromioclavicularis
MeSHD000173
TA98A03.5.03.001
TA21744
FMA25898
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

หน้าที่การทำงาน

แก้

ข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์จะช่วยเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล (glenohumeral joint) ซึ่งเป็นข้อต่อหลักของไหล่ โดยการช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักไปในแนวด้านหน้า-หลัง แนวบน-ล่าง และแนวรอบแกนหมุน จึงทำให้สามารถยกแขนให้สูงขึ้นเหนือศีรษะ หรือเอื้อมหยิบจับวัตถุที่ไกลออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เอ็นรอบข้อต่อ

แก้

ข้อต่ออโครมิโอคลาวิคิวลาร์จะมีเอ็นรอบข้อต่อเพื่อเพิ่มเสถียรภาพอยู่ด้วยกันสามชุด ได้แก่

  • เอ็นอโครมิโอคลาวิคิวลาร์ (Acromioclavicular ligament) เป็นเอ็นบางๆที่หุ้มแคปซูลข้อต่อของข้อต่อนี้โดยตรง โดยจะมีทั้งเอ็นที่อยู่ทางด้านบนและด้านล่างของข้อต่อ ทำหน้าที่ช่วยในการเชื่อมต่อของกระดูกไหปลาร้าและปลายอโครเมียน
  • เอ็นคอราโคอโครเมียล (Coracoacromial ligament) เป็นเอ็นหนาที่ยึดระหว่างปลายอโครเมียนและปุ่มโคนอยด์ (conoid tubercle) ซึ่งทั้งสองจุดอยู่บนกระดูกสะบัก เอ็นนี้นอกจากจะเสริมเสถียรภาพของข้อต่อแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของแนวโค้งคอราโคอโครเมียล (coracoacromial arch) ที่ป้องกันส่วนหัวของกระดูกต้นแขน (humerus) จากแรงกดหรือการกระทบกระเทือนจากด้านบนของไหล่อีกด้วย
  • เอ็นคอราโคคลาวิคิวลาร์ (Coracoclavicular ligament) เป็นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกไหปลาร้ากับปุ่มโคนอยด์บนกระดูกสะบัก และประกอบด้วยเอ็นสองส่วน คือเอ็นโคนอยด์ (conoid ligament) และเอ็นทราปีซอยด์ (trapezoid ligament) แม้ว่าเอ็นนี้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้างหลักของข้อต่อ แต่เอ็นนี้จะช่วยยึดให้กระดูกไหปลาร้าอยู่ใกล้กับกระดูกสะบักมากขึ้น

รูปประกอบเพิ่มเติม

แก้

อ้างอิง

แก้
  • Clinically Oriented Anatomy, 5th ed. Keith L. Moore and Arthur F. Dalley.