การแทรกแซงสามฝ่าย


การแทรกแซงสามฝ่าย (อังกฤษ: Triple Intervention, ญี่ปุ่น: 三国干渉) คือการแทรงแทรงทางการทูตโดยจักรวรรดิรัสเซีย, จักรวรรดิเยอรมัน และประเทศฝรั่งเศส เมื่อ 23 เมษายน ค.ศ.1895 เกี่ยวกับข้อสัญญาในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ที่ญี่ปุ่นได้ลงนามกับราชวงศ์ชิงของจีนเพื่อยุติสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง สนธิสัญญาดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นได้เข้าครอบครองคาบสมุทรเหลียวตงตลอดจนเมืองท่าสำคัญอย่างพอร์ทอาเทอร์ รัสเซียซึ่งมีเขตอิทธิพลอยู่ในจีนอยู่แล้วเกิดความกังวลใจถึงการรุกคืบของญี่ปุ่น รัสเซียได้ชักชวนเยอรมันและฝรั่งเศสร่วมกดดันให้ญี่ปุ่นคืนดินแดนดังกล่าวแก่จีนแลกกับการที่ญี่ปุ่นจะได้รับค่าปฏิกรรมสงครามจากจีนมากขึ้นอีก 30 ล้านตำลึง รวมเป็น 230 ล้านตำลึง (จากเดิม 200 ล้านตำลึง)[1] ญี่ปุ่นได้มีปฏิกิริยาตอบโต้การแทรกแซงครั้งนี้และกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นในปี 1904[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Kowner, Historical Dictionary of the Russo-Japanese War, p. 375.
  • Connaughton, R.M. (1992) [1988]. The war of the rising sun and tumbling bear: A military history of the Russo-Japanese War 1904-5 (Reprint ed.). Routledge. ISBN 978-0415071437.
  • Kowner, Rotem (2006). Historical Dictionary of the Russo-Japanese War. Scarecrow Press. ISBN 0-8108-4927-5.