การอนุรักษ์นก เป็นสาขาวิชาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ที่เกี่ยวข้องกับนกที่ถูกคุกคาม โดยมนุษย์มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อนกหลายสปีชีส์ ซึ่งกว่าร้อยสปีชีส์ได้สูญพันธุ์ไปแล้วในประวัติศาสตร์ แม้ว่าการสูญพันธุ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างน่าทึ่งที่สุดได้เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อมนุษย์ตั้งรกรากที่หมู่เกาะเมลานีเชีย, พอลินีเชีย และไมโครนีเชีย โดยในระหว่างนั้นมีนกประมาณ 750–1,800 สปีชีส์ต้องสูญพันธุ์[1] ตามรายงานของสถาบันเฝ้าระวังภัยโลก ประชากรนกจำนวนมากกำลังลดลงทั่วโลก โดย 1,200 สปีชีส์จะสูญพันธุ์ในศตวรรษหน้า[2] เหตุผลที่ใหญ่ที่สุดที่อ้างถึงคือการสูญเสียถิ่นฐานธรรมชาติ[3] ส่วนภัยคุกคามอื่น ๆ ได้แก่ การล่าสัตว์เกินกำหนด, การตายโดยไม่ได้ตั้งใจเนื่องจากการชนกับโครงสร้าง, สัตว์หลงติดอวนจากการจับปลาด้วยสายยาว, มลพิษ, การชิงและการล่าเหยื่อโดยแมวที่เลี้ยง,[4] การรั่วไหลของน้ำมัน รวมทั้งการใช้สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทางรัฐบาลพร้อมกับองค์การการกุศลเพื่อการอนุรักษ์จำนวนมากได้ทำงานเพื่อปกป้องนกในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการออกกฎหมาย, การอนุรักษ์และการฟื้นฟูถิ่นฐานธรรมชาติของนก ตลอดจนการสร้างประชากรในที่กักขังเพื่อเริ่มใหม่

การสูญพันธุ์ของนกกระจอกริมทะเลสีทึบเกิดจากการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย

ดูบทความนกยุคก่อนประวัติศาสตร์ปลายควอเทอร์นารีสำหรับนกที่สาบสูญไปในยุคก่อนประวัติศาสตร์และช่วงต้นของประวัติศาสตร์ ซึ่งมักเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (เช่น เริ่มต้นด้วยการปฏิวัติยุคหินเก่าปลาย) สำหรับนกที่สูญพันธุ์ไปแล้วในยุคปัจจุบัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 1500) ดูรายชื่อนกที่สูญพันธุ์

ภัยคุกคามต่อนก แก้

การสูญเสียที่อยู่อาศัย แก้

ภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดสำหรับนกที่ถูกคุกคามคือการทำลายและการสร้างความแตกแยกของแหล่งที่อยู่[5] การสูญเสียป่าไม้, ที่ราบ และระบบธรรมชาติอื่น ๆ ไปสู่การเกษตร, เหมือง และการพัฒนาเมือง, การระบายน้ำของที่ลุ่มน้ำขัง และพื้นที่ชุ่มน้ำอื่น ๆ ตลอดจนการทำไม้ลดโอกาสในการอยู่อาศัยของสัตว์หลายชนิด นอกจากนี้ แหล่งที่อยู่ที่เหลือมักจะมีขนาดเล็กเกินไปหรือถูกสร้างความแตกแยกจากการก่อสร้างถนนหรือสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ที่ทำให้ประชากรในหมู่เกาะที่ถูกสร้างความแตกแยกเหล่านี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เฉพาะที่ มิหนำซ้ำ พันธุ์ไม้หลายชนิดยังแสดงความสามารถที่จำกัดในการกระจายและครอบครองส่วนป่าใหม่ที่แตกออกมา (ดูบทความชีวภูมิศาสตร์ของเกาะ)[6] การสูญเสียป่าดิบชื้นเนื่องจากป่าเหล่านี้มีสัตว์หลายชนิดมากที่สุดแต่กำลังถูกทำลายอย่างรวดเร็ว การสูญเสียที่อยู่อาศัยมีความเกี่ยวข้องในการสูญพันธุ์หลายครั้ง รวมถึงนกหัวขวานปากงาช้าง (ที่ถกเถียงกันเพราะ "การค้นพบใหม่"), นกกระจิบบาคแมน และนกกระจอกริมทะเลสีทึบ

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น แก้

 
หมาจิ้งจอกอาร์กติกได้เข้าสู่หมู่เกาะอะลูเชียนที่ทำลายล้างประชากรของนกอ็อก โดยที่นี่นกอ็อกเล็ตเล็กที่สุดได้ถูกเอาตัวไป

ในอดีต ภัยคุกคามที่เกิดจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่นำเข้ามาอาจทำให้นกสูญพันธุ์ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนหมู่เกาะ และมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ก็อยู่บนเกาะเช่นกัน ซึ่งหลายสปีชีส์เกาะมีวิวัฒนาการโดยปราศจากผู้ล่า และทำให้สูญเสียพฤติกรรมต่อต้านผู้ล่าไปมาก[7] ขณะที่มนุษย์เดินทางไปทั่วโลก พวกเขาก็นำสัตว์ต่างถิ่นจำนวนมากที่รบกวนสปีชีส์ของเกาะเหล่านี้มาด้วย บางชนิดเป็นผู้ล่าเหยื่อที่ไม่คุ้นเคย เช่น หนู, แมวจร และหมู โดยเป็นคู่แข่งเหมือนกับนกสปีชีส์อื่น ๆ หรือสัตว์กินพืชที่ทำให้แหล่งเพาะพันธุ์เสื่อมโทรม ส่วนโรคก็มีบทบาทเช่นกัน โดยเชื่อกันว่ามาลาเรียในนกเป็นสาเหตุหลักของการสูญพันธุ์หลายครั้งในรัฐฮาวาย[8] ซึ่งโดโดเป็นตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดของสปีชีส์ที่อาจถูกผลักดันให้สูญพันธุ์โดยชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (แม้ว่าการล่าสัตว์ของมนุษย์ก็มีบทบาทเช่นกัน) ส่วนสปีชีส์อื่น ๆ ที่ตกเป็นเหยื่อของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ได้แก่ นกกระจิบไรออล, นกฮันนีครีปเปอร์หน้าดำ และมิลเลอร์เบิร์ดลีซาน ตลอดจนหลายสปีชีส์มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น โคคาโค, โรบินดำ, อีกามาเรียนา และเป็ดฮาวาย

การล่าและการแสวงผลประโยชน์ส่วนตัว แก้

มนุษย์เอารัดเอาเปรียบนกมาช้านาน และบางครั้งการแสวงผลประโยชน์ส่วนตัวนี้ส่งผลให้นกสูญพันธุ์ การล่ามากเกินไปเกิดขึ้นในบางกรณีกับสายพันธุ์ไร้เดียงสาที่ไม่คุ้นเคยกับมนุษย์ เช่น นกโมอาของประเทศนิวซีแลนด์[9] ส่วนในกรณีอื่น ๆ มันเป็นการล่าระดับอุตสาหกรรมที่นำไปสู่การสูญพันธุ์ และครั้งหนึ่ง นกพิราบแพสเซนเจอร์เคยเป็นสายพันธุ์นกที่มีจำนวนมากที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ (อาจเคยเกิดขึ้น) ซึ่งการล่ามากเกินไปได้ลดจำนวนสายพันธุ์ที่ครั้งหนึ่งเคยมีจำนวนเป็นพันล้านจนสูญพันธุ์[10] แรงกดดันในการล่าอาจมาจากอาหาร, กีฬา, ขนนก หรือแม้แต่จากการที่นักวิทยาศาสตร์เก็บตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ และการสะสมนกอ็อกใหญ่สำหรับพิพิธภัณฑ์ได้ผลักดันสายพันธุ์ที่หายากอยู่แล้วให้สูญพันธุ์

อ้างอิง แก้

  1. Steadman D, (2006). Extinction and Biogeography in Tropical Pacific Birds, University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-77142-7.
  2. "Worldwatch Paper #165: Winged Messengers: The Decline of Birds". Worldwatch Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-17. สืบค้นเมื่อ 2006-07-21.
  3. "Help Migratory Birds Reach Their Destinations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-30. สืบค้นเมื่อ 2006-07-21.
  4. "Protect Backyard Birds and Wildlife: Keep Pet Cats Indoors". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-04. สืบค้นเมื่อ 2006-07-21.
  5. Gill, F. (1995). Ornithology. W.H Freeman and Company, New York. ISBN 0-7167-2415-4.
  6. Moore, R., Robinson, W., Lovette, I., & Robinson, T. (2008). Experimental evidence for extreme dispersal limitation in tropical forest birds. Ecology Letters, 11(9):960–968. doi:10.1111/j.1461-0248.2008.01196.x
  7. Blumstein, D., Daniel, J. (2005). "The loss of anti-predator behaviour following isolation on islands." Proceedings of the Royal Society of London Series B-Biological Sciences 272: 1663–1668.
  8. Atkinson, C., Dusek, R., Woods, K., Iko, W. (2000). "Pathogenicity of avian malaria in experimentally-infected Hawaii Amakihi." Journal of Wildlife Diseases 36(2):197–204.
  9. Holdaway, R., Jacomb, C. (2000). "Rapid Extinction of the Moas (Aves: Dinornithiformes): Model, Test, and Implications." Science 287(5461): 2250 – 2254.
  10. Eckert, Allan W. (1965). The Silent Sky: The Incredible Extinction of the Passenger Pigeon. Lincoln NE: IUniverse.com. ISBN 0-595-08963-1.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้