การสงครามนอกประเทศ

การสงครามนอกประเทศ (อังกฤษ: expeditionary warfare) คือการนำทหารของรัฐไปรบในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห่างจากฐานที่ตั้งไว้ กำลังรบนอกประเทศเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดสมัยใหม่ของหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว ตามหลักโดยพื้นฐานแล้ว กำลังรบนอกประเทศต้องพึ่งพาตนเองด้วยความสามารถในการส่งกำลังบำรุงของหน่วยขึ้นตรง และมีอาวุธสนับสนุนเต็มรูปแบบ

ในสมัยโบราณ

แก้
 
อเล็กซานเดอร์มหาราชรบในประเทศอินเดีย

ตัวอย่างแรกสุดของการสงครามนอกประเทศมาจากการรุกรานของชนทะเล ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับสมาพันธรัฐผู้จู่โจมทางทะเลแห่งสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล ที่ล่องเรือเข้าไปในชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สงบทางการเมือง และพยายามที่จะเข้าหรือควบคุมดินแดนของอียิปต์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเก้า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่ 8 ของฟาโรห์แรเมซีสที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ

 
จักรวรรดิอเล็กซานเดอร์มหาราช

ยุทธวิธีการตีโฉบฉวยได้ขยายไปสู่ปฏิบัติการการสงครามนอกประเทศที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งใช้เรือรบสำหรับการขนส่งกองทหารและการส่งกำลังบำรุงในการทัพที่ปะทะกับจักรวรรดิเปอร์เซีย

แบบอย่างต่อไปของการสงครามนอกประเทศในสมัยโบราณของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน คือชาวคาร์เธจที่แนะนำสองมิติใหม่ให้กับการใช้กองกำลังทัพเรือ โดยการจัดเตรียมปฏิบัติการไม่เพียงแต่รวมกำลังทางเรือและทางบก แต่ยังรวมถึงการรวมกองกำลังหลายชาติทางยุทธศาสตร์ในช่วงปฏิบัติการทางบก เมื่อแฮนนิบัลประสบความสำเร็จที่เลื่องลือที่สุดในการระเบิดขึ้นของสงครามพิวนิกครั้งที่สองจากการเดินทัพ ซึ่งรวมถึงช้างศึก ที่ข้ามจากคาบสมุทรไอบีเรีย ผ่านเทือกเขาพิรินีและเทือกเขาแอลป์ เข้าสู่ตอนเหนือของอิตาลี

ตามแบบฉบับของคาร์เธจ ชาวโรมันใช้ปฏิบัติการนอกประเทศอย่างกว้างขวางเพื่อขยายอาณาจักร และมีอิทธิพลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนรวมถึงที่อื่น ๆ ตลอดจนการพิชิตบริเตนของโรมันซึ่งไม่ได้เป็นเพียงปฏิบัติการนอกประเทศที่ถูกจำกัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการยึดครองระยะยาวและการตั้งถิ่นฐานของชาวโรมันในดินแดนต่าง ๆ

 
การทัพฮั่นปะทะกับซฺยงหนูแสดงเป็นสีแดง

ราชวงศ์ฮั่นของจีนโบราณยังมีชื่อเสียงในการสงครามนอกประเทศเพื่อจัดการกับชาวซฺยงหนูเร่ร่อนในช่วงสงครามฮั่น–ซฺยงหนู ภายใต้พระราชโองการจักรพรรดิฮั่นอู่ ฝ่ายฮั่นได้เปิดฉากการตีโฉบฉวยทางไกลหลายครั้งลึกเข้าไปในดินแดนซฺยงหนู การโจมตีของนายพลชาวฮั่นผู้มีชื่อเสียงอย่างเว่ย์ ชิง และฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ โดยทั้งสองได้รับการบันทึกสำหรับกองทหารที่ส่งไปปฏิบัติการนอกประเทศที่ประสบความสำเร็จหลายครั้งระหว่าง 127 ถึง 119 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งในที่สุดก็ผนวกระเบียงเหอซีและขับไล่ซฺยงหนูออกจากเทือกเขาฉีเหลียน กองกำลังฮั่นนอกประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทหารม้าและโดยทั่วไปแล้วจะจัดเรียงเป็นแถวตอน พวกเขายังเดินทางข้ามระยะทางกว้างใหญ่บ่อยครั้ง–กล่าวกันว่าฮั่ว ชฺวี่ปิ้ง ได้เดินทาง 2,000 ลี้ ประมาณ 620 ไมล์ ในระหว่างการตีโฉบฉวยครั้งหนึ่งของเขา

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้