การประชุมใหญ่เพื่อวิจารณ์และกล่าวโทษ
การประณามต่อหน้าสาธารณะ หรือ การประชุมใหญ่สำหรับวิจารณ์และกล่าวโทษ (จีน: 批斗大会; พินอิน: pīdòu dàhuì) หรือที่นิยมแปลเป็น การประชุมดูความดิ้นรน (อังกฤษ: struggle sessions หรือ struggle meetings) หรือ ขบวนประณาม (อังกฤษ: denunciation rallies)[1] เป็นการแสดงความรุนแรงต่อหน้าสาธารณชนในสาธารณรัฐประชาชนจีนสมัยเหมา เจ๋อตง ที่ซึ่งคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "ศัตรูทางชนชั้น" จะถูกนำมาถูกทำให้อับอายต่อหน้าสาธารณะ, กล่าวหา, ทุบตี และทรมาณร่างกาย บางครั้งจนถึงแก่ชีวิต และหลายครั้งโดยคนที่เคยใกล้ชิด[2][3][4][1] การประจานต่อหน้าสาธารณะเป็นการรณรงค์ใหญ่ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด ตั้งแต่ก่อนและหลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน และเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในสมัยการปฏิวัติทางวัฒนธรรม (1966–1976) ซึ่งถูกนำมาใช้ปลูกฝังจิตวิญญาณแห่งการรณรงค์ให้ฝูงชนส่งเสริมการปฏิรูปความคิดเหมา[2][3][5][6]
การประชุมใหญ่เพื่อวิจารณ์และกล่าวโทษ | |||||||||||
องค์แป็นเช็นลามะที่ 10 แห่งทิเบต ขณะถูกวิจารณ์และกล่าวโทษเมื่อปี 1964 หลังเขียนเอกสารวิพากษ์นโยบายของโจว เอินไหลในทิเบต | |||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 批斗大会 | ||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 批鬥大會 | ||||||||||
| |||||||||||
ชื่อภาษาทิเบต | |||||||||||
อักษรทิเบต | འཐབ་འཛིང | ||||||||||
|
การประชุมเช่นนี้มักทำตามที่ทำงาน ห้องเรียน หอประชุม ที่ซึ่ง "นักเรียนต่อต้านครูอาจารย์ มิตรสหายและคนรักถูกกดดันให้ทรยศกันและกัน เด็ก ๆ ถูกชักจูงให้เปิดโปงพ่อแม่ของตนเอง" นำไปสู่การล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความเชื่อถือกันในสังคม[1][7][8]
การประณามและประจาน "ศัตรูทางชนชั้น" มักนิยมทำตามจัตุรัสสาธารณะ เต็มไปด้วยฝูงชนที่เข้ามายืนชม เหยื่อจะถูกจับนั่งคุกเข่า ยกมือขึ้นชูกำปั้น และตะโกนข้อกล่าวหาที่ตนได้รับ[4][7][8][9] วิธีเฉพาะที่ใช้ตามการประชุมเหล่านี้ อาจรวมถึงการจับกล้อนผม (阴阳头), หมวกคนโง่, "จับหย่อนลงจากที่สูงบนเชือก" (喷气式) และการโจมตีทั้งด้วยถ้อยคำหรือด้วยกำลัง[4][7]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Lu, Xing (2004). "Denunciation rallies". Rhetoric of the Chinese Cultural Revolution: The Impact on Chinese Thought, Culture, and Communication. pp. 140–141.
- ↑ 2.0 2.1 Song, Yongyi (August 25, 2011). "Chronology of Mass Killings during the Chinese Cultural Revolution (1966–1976)". Sciences Po (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-14. สืบค้นเมื่อ December 27, 2019.
- ↑ 3.0 3.1 Wang, Youqin (2001). "Student Attacks Against Teachers: The Revolution of 1966" (PDF). The University of Chicago. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-17.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Sullivan, Lawrence R. (2011). "Struggle sessions". Historical Dictionary of the Chinese Communist Party. p. 390.
- ↑ Meeting, Association for Asian Studies (1990-01-01). Violence in China: Essays in Culture and Counterculture (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. ISBN 978-0-7914-0113-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
- ↑ Fang, Jucheng; Jiang, Guinong. "第九章 颠倒乾坤的"文化大革命"" [Chapter 9 The "Cultural Revolution" that turned everything upside down]. People's Net (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-18.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Wang, Youqin. "文革"斗争会"(上)" ["Struggle sessions" in the Cultural Revolution (Part 1)] (PDF). Leaders (ภาษาจีน): 128–143. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-13 – โดยทาง The University of Chicago.
- ↑ 8.0 8.1 Wang, Youqin. "文革"斗争会"(下)" ["Struggle sessions" in the Cultural Revolution (Part 2)] (PDF). Leaders (ภาษาจีน): 110–127. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-05 – โดยทาง The University of Chicago.
- ↑ Lipman, Jonathan Neaman; Harrell, Stevan (1990). Violence in China: Essays in Culture and Counterculture. SUNY Press. pp. 154–157. ISBN 9780791401156. OCLC 18950000.