การปฏิวัติเขียว

การปฏิวัติเขียว หรือ การปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งที่สาม เป็นชุดการริเริ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่างค.ศ. 1950 ถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ส่งผลให้หลายพื้นที่ในโลกมีผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งปรากฏชัดช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960[1] การปฏิวัติเขียวนำไปสู่การใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น ธัญพืชพันธุ์ให้ผลผลิตสูง (high-yielding varieties, HYVs) โดยเฉพาะข้าวสาลีพันธุ์แคระและข้าว ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีทางการเกษตรและการใช้น้ำอย่างควบคุม (มักเกี่ยวข้องกับชลประทาน) และวิธีเพาะปลูกแบบใหม่ที่ใช้เครื่องจักร องค์ประกอบสำคัญของการปฏิวัติเขียวได้แก่ การใช้เทคโนโลยีล่าสุด, การใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของการเพาะปลูก, การใช้เมล็ดพันธุ์ให้ผลผลิตสูง, การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเหมาะสม และการจัดรูปที่ดิน คำว่า "การปฏิวัติเขียว" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยวิลเลียม เอส. กอด ผู้บริหารหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐในค.ศ. 1968[2][3]

เทคโนโลยีการเกษตรหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เช่น สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์, ปุ๋ย และพืชผลพันธุ์ให้ผลผลิตสูง ทำให้การผลิตอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมากในเขตซีกโลกใต้ (Global South)

มูลนิธิฟอร์ดและมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาการปฏิวัติเขียวช่วงแรกในประเทศเม็กซิโก[4][5] หนึ่งในผู้นำการปฏิวัติเขียวคนสำคัญคือ นอร์แมน บอร์ล็อก นักวิชาการเกษตรชาวอเมริกันผู้ได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งการปฏิวัติเขียว"[6][7] และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำค.ศ. 1970[8] บอร์ล็อกได้รับการยกย่องว่าช่วยเหลือผู้คนกว่าพันล้านคนให้รอดพ้นจากความอดอยาก[9][10] โดยการพัฒนาธัญพืชพันธุ์ให้ผลผลิตสูง, การขยายโครงสร้างพื้นฐานทางชลประทาน, การปรับเทคนิคการจัดการให้เป็นสมัยใหม่ และการกระจายเมล็ดพันธุ์ผสม ปุ๋ยสังเคราะห์และสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์สู่เกษตรกร การปฏิวัติเขียวได้รับการตอบรับแบบผสม บอร์ล็อกโทษว่าความล้มเหลวเกิดจากการเมือง[11] ทั้งนี้เมื่อการพัฒนาพันธุ์ธัญพืชใหม่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาถึงขีดจำกัด นักวิชาการเกษตรบางส่วนจึงหันมาใช้การสร้างสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่พบในธรรมชาติเรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (genetically modified organism, GMO) บางครั้งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การปฏิวัติยีน (Gene Revolution)[12]

อ้างอิง แก้

  1. Hazell, Peter B.R. (2009). The Asian Green Revolution. IFPRI Discussion Paper. Intl Food Policy Res Inst. GGKEY:HS2UT4LADZD.
  2. Gaud, William S. (8 March 1968). "The Green Revolution: Accomplishments and Apprehensions". AgBioWorld. สืบค้นเมื่อ 8 August 2011.
  3. Marie-Monique Robin, The World According to Monsanto: Pollution, Corruption, and the Control of the World's Food Supply (The New Press, 2010) p. 308 แม่แบบ:ISBN?
  4. Wright, Angus, "Downslope and North: How Soil Degradation and Synthetic Pesticides Drove the Trajectory of Mexican Agriculture through the Twentieth Century" in Christopher R. Boyer, A Land Between Waters: Environmental Histories of Modern Mexico. Tucson: University of Arizona Press 2012, pp. 22-49.
  5. Gary Toenniessen et al. "Building an alliance for a green revolution in Africa." Annals of the New York academy of sciences 1136.1 (2008): 233–42. online
  6. Scott Kilman and Roger Thurow. "Father of 'Green Revolution' Dies". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  7. Dowswell, C. (15 October 2009). "Norman Ernest Borlaug (1914–2009)". Science. 326 (5951): 381. doi:10.1126/science.1182211. PMID 19833952. S2CID 36826133.
  8. "Norman Borlaug - Biographical". NobelPrize.org. สืบค้นเมื่อ July 10, 2021.
  9. "Norman Borlaug". scienceheroes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-08. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
  10. MacAray, David (15 October 2013). "The Man Who Saved a Billion Lives". The Huffington Post.
  11. Hurt, R. Douglas, The Green Revolution in the Global South: Science, Politics and Unintended Consequences. Tuscaloosa: University of Alabama Press 2020, 31.
  12. Hurt, The Green Revolution in the Global South, p.161