กัปตันอเมริกาแอนด์ดิอเวนเจอร์ส

กัปตันอเมริกาแอนด์ดิอเวนเจอร์ส (อังกฤษ: Captain America and The Avengers; ญี่ปุ่น: キャプテンアメリカアンドジアベンジャーズ) เป็นเกมตู้ที่ได้รับการพัฒนาและเผยแพร่โดยเดทาอีสต์ใน ค.ศ. 1991 เกมนี้มีตัวละครดิอเวนเจอร์สจากมาร์เวลคอมิกส์ในรูปแบบการวิวาทและการยิงแบบผจญภัยฉายด้านข้างเพื่อกำจัดเรดสกัลที่ชั่วร้าย เกมได้รับการจัดทำสู่ระบบเจเนซิส/เมกาไดร์ฟ, ซูเปอร์แฟมิคอม, เกมบอย และเกมเกียร์ ส่วนเวอร์ชันอื่นที่แตกต่างของดาตาอีสต์ได้รับการเปิดตัวสู่ระบบแฟมิคอม

กัปตันอเมริกาแอนด์ดิอเวนเจอร์ส
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เขด
ผู้พัฒนาเดทาอีสต์
เรียลไทม์แอสโซซิเอทส์ (ซูเปอร์แฟมิคอม + เวอร์ชันมือถือ)
ผู้จัดจำหน่ายเดทาอีสต์
ไมน์สเคป (ซูเปอร์แฟมิคอม + เวอร์ชันมือถือ)
ออกแบบฮิเดโนบุ อิโต
แต่งเพลงทัตสึยะ คิอูชิ
โชโก ซาไก
เครื่องเล่นอาร์เคด, ซูเปอร์แฟมิคอม, เมกาไดร์ฟ/เจเนซิส, เกมเกียร์, เกมบอย, แฟมิคอม
วางจำหน่ายอาร์เคด, แฟมิคอม (ค.ศ. 1991)
เจเนซิส/เมกาไดร์ฟ (ค.ศ. 1992)
ซูเปอร์แฟมิคอม, เกมเกียร์ (ค.ศ. 1993)
เกมบอย (ค.ศ. 1994)
แนวบีตเอ็มอัป, เกมแพลตฟอร์ม, แอ็กชัน
รูปแบบเล่นพร้อมกันได้ถึง 4 คน

รูปแบบการเล่น แก้

เรดสกัลได้รวบรวมกองทัพของตัวร้ายที่มีพลังพิเศษและผู้ติดตามคนอื่น ๆ ในแผนการที่จะยึดครองโลก พร้อมกับการต่อสู้กับศัตรูทั่วไป ผู้เล่นยังต้องเผชิญหน้ากับคลอว์, ลีฟวิงเลเซอร์, เวิร์ลวินด์, เซนติเนล, วิซาร์ด, กริม รีปเปอร์, แมนดาริน, จักเกอร์นอท, อัลตรอน, ครอสโบนมือสังหาร และเรดสกัลในที่สุด

ผู้เล่นสามารถเลือกที่จะเล่นเป็นหนึ่งในสี่สมาชิกของดิอเวนเจอร์ส ได้แก่ กัปตันอเมริกา, ไอรอนแมน, ฮอว์กอาย และวิชัน ตัวละครแต่ละตัวสามารถต่อสู้ด้วยมือเปล่า, เขวี้ยงไอเทมที่เลือกเมื่ออยู่บนพื้นดิน และใช้การโจมตีพิเศษระยะไกล ตลอดจนอาวุธที่ยิงออกไปได้ (โล่ของกัปตันอเมริกา และลูกศรของฮอว์กอาย) หรือลำแสงพลังงาน (ไอรอนแมน และวิชัน) ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "อเวนเจอร์สแอทแทค" ของตัวละครเหล่านั้น ส่วนสมาชิกอเวนเจอร์สอื่น ๆ ประกอบด้วยวอสป์, ควิกซิลเวอร์, วันเดอร์แมน และซับ-มารีเนอร์ ที่ปรากฏตัวเมื่อรวมพลังพิเศษ โดยตัวละครเหล่านั้นสามารถช่วยเหลือตัวละครของผู้เล่นได้ชั่วคราว

ฉากเกมส่วนใหญ่มีการต่อสู้แบบฉายด้านข้าง ด้วยการเคลื่อนไหวอิสระเหมือนในเกมนักสู้อาร์เคดแบบดั้งเดิม บางโอกาส ผู้เล่นทำการบินในแบบเกมบินและยิงแบบเลื่อนฉากด้านข้าง ไอรอนแมนและวิชันบินได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่กัปตันอเมริกาและฮอว์กอายใช้เครื่องยนต์บิน

เวอร์ชัน แก้

 
ภาพหน้าจอของเวอร์ชันอาร์เคดสำหรับผู้เล่นสองคนในปี ค.ศ. 1991

เกมอาร์เคดต้นฉบับได้รับการจำหน่ายในสองรูปแบบ เวอร์ชันหนึ่งอนุญาตให้ผู้เล่นสามารถเล่นได้พร้อมกันถึงสี่คน กับตำแหน่งของผู้เล่นแต่ละคนที่บังคับตัวละครแบบเฉพาะเจาะจง ส่วนอีกเวอร์ชันมีคุณลักษณะสำหรับผู้เล่นสองคน ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครจากที่มีอยู่สี่ตัว

พอร์ตและการตลาดที่เกี่ยวข้อง แก้

เดทาอีสต์เปิดตัวเกมเวอร์ชันประจำบ้านในอเมริกาเหนือสำหรับเซก้าเจเนซิส ที่พัฒนาร่วมกับอิสโก/โอเปราเฮาส์[1][2] เวอร์ชันนี้ได้รับการเผยแพร่ในยุโรปโดยเซก้าสำหรับเมกาไดร์ฟ เกมดังกล่าวได้รับอนุญาตในภายหลังสำหรับไมน์สเคป ซึ่งเปิดตัวพอร์ตของตัวเองของเกมอาร์เขดสำหรับระบบซูเปอร์แฟมิคอม, เกมบอย และเกมเกียร์ ทั้งนี้ รุ่นที่เผยแพร่โดยไมน์สเคปได้รับการพัฒนาโดยเรียลไทม์แอสโซซิเอทส์[3]

เดทาอีสต์ยังเปิดตัวเกมแฟมิคอมที่แตกต่างกันในชื่อเดียวกัน เวอร์ชันแฟมิคอมเป็นเกมแพลตฟอร์มแอคชันฉายด้านข้าง ตัวละครที่เล่นได้เฉพาะในเวอร์ชันนี้คือกัปตันอเมริกาและฮอว์กอาย ภารกิจของพวกเขาคือการช่วยชีวิตวิชันและไอรอนแมนจากแมนดาริน จากนั้นก็กำจัดเรดสกัล เช่นเดียวกับพอร์ตเจเนซิส/เมกาไดร์ฟ เกมแฟมิคอมได้รับการพัฒนาในประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่ได้เปิดตัวที่นั่น

รายการที่สามและสุดท้ายของดาตาอีสต์ในกัปตันอเมริกาแอนด์ดิอเวนเจอร์สที่ได้รับลิขสิทธิ์วิดีโอเกมคืออเวนเจอร์สอินกาแลกติกสตอร์ม ค.ศ. 1995 ซึ่งเป็นเกมต่อสู้เฉพาะระบบอาร์เคดซึ่งเป็นครั้งแรกที่แสดงคุณลักษณะตัวละครผู้ช่วยและท่าความสิ้นหวังทวีคูณ

การปรากฏอื่นในสื่อ แก้

ตู้เกมดังกล่าวสามารถพบเห็นได้ในภาพยนตร์ตลก ค.ศ. 1994 อย่างมนต์ร็อคหัวโจกตัวแสบ

หน้าหนึ่งของการทำงานหนังสือการ์ตูนช่องฮอว์กอาย ของแมตต์ แฟรกชัน ได้ยกงานศิลปะจากเกมอาร์เคดโดยตรง

การตอบรับ แก้

สำหรับการจารณ์เวอร์ชันเกมเกียร์ นิตยสารเกมโปรไม่สนใจเกมในฐานะ "การเลื่อนฉากที่สามารถจะลืมได้" ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียงธรรมดา ๆ[4] ส่วนนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันธลี ให้คะแนน 6.4 เต็ม 10 โดยกล่าวว่า "ดำเนินไปด้วยดีในเวอร์ชันเกมเกียร์ แม้ไม่มีตัวเลือกเล่นพร้อมกันสองผู้เล่น [ตามต้นฉบับ]"[5]

อ้างอิง แก้

  1. http://www.isco-inc.co.jp/Web_izen/game_etc.htm
  2. https://web.archive.org/web/20161220184805/http://opera-house.co.jp/works.html
  3. "Realtime Associates - Past Projects". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
  4. "Captain America and the Avengers". GamePro. No. 58. IDG. May 1994. p. 130.
  5. "Review Crew: Captain America". Electronic Gaming Monthly. No. 57. EGM Media, LLC. April 1994. p. 46.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้