กล้องดีเอสแอลอาร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กล้องดีเอสแอลอาร์ (อังกฤษ: D-SLR) เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิทัล มีลักษณะเหมือนกล้องประเภท SLR ที่ใช้ฟิล์ม เพียงแต่ใช้เซ็นเซอร์ในการรับภาพแทนฟิล์ม

ส่วนประกอบ
แก้กล้อง D-SLR มักนำตัวกล้องที่ใช้ฟิล์มแบบ 35mm. SLR มาดัดแปลงให้เป็นกล้องดิจิทัล โดยเปลี่ยนฝาหลัง และแทนที่ฟิล์มด้วยเซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
- เซ็นเซอร์รับภาพ หรือเรียกว่า Image Sensor ใช้ในการรับสัญญาณภาพ แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัล
- Exposure modes ใช้ในการเปลี่ยนโหมดการถ่าย หรือ โหมดการทำงาน
- ปุ่มกดชัตเตอร์ ใช้ในการสั่งให้ชัตเตอร์ทำงาน
- แฟลช ใช้ในการเพิ่มแสงให้ภาพ หรือ ทำให้เกิดแสงสะท้อน เป็นประกายในตา ในกล้องรุ่นโปร มักจะไม่มีส่วนประกอบนี้ ต้องใช้แฟลชแยกมาเสียบใช้งานที่ Horse Shoe
- Horse Shoe ในกรณีที่แฟลตในตัวเครื่องไม่เพียงพอสามารถต่อเพิ่มแฟลตได้
- ไฟแสดงสถานะการตั้งเวลาถ่ายภาพ เป็นไฟLEDกะพริบตามเวลาการตั้งถ่ายภาพ
- เลนส์ถ่ายภาพ มีหลายชนิด ตามการใช้งาน และ ชนิดของ Lens mount
- ปุ่มเปิดปิด ใช้สำหรับเปิดปิดกล้อง
- เซลล์วัดแสงแฟลต เป็นอุปกรณ์ทำจาก CCD ใช้วัดแสงจากวัตถุเพื่อชดเชยแฟลต และตั้งค่า Guide Number
- ช่องมองภาพ ใช้สำหรับมองภาพ ซึ่งภาพจะถูกสะท้อนผ่านกระจกสะท้อน ที่อยู่ด้านหน้าเซ็นเซอร์รับภาพ
- USB Socket เป็นช่องสำหรับเสียบสายยูเอสบีเพื่อย้ายข้อมูลจากกล้องไปยังคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
- ช่องเสียบหม้อแปลง เป็นช่องนำเข้าไฟจากหม้อแปลง
- หน้าจอLCD สำหรับแสดงภาพ และการตั้งค่า โดยกล้องบางรุ่น จะมีหน้าจอแยกกัน เพื่อแสดงรายละเอียด ที่แตกต่างกัน
- ช่องต่อขาตั้ง เป็นช่องสำหรับต่อกับขาตั้งกล้อง หรือ กริปแนวตั้ง
- ช่องใส่การ์ดความจำ สำหรับใส่การ์ดความจำ
- ปุ่มคอนโทรลคำสั่ง โดยส่วนใหญ่เป็นปุ่มสี่ทิศทาง ใช้สำหรับเลื่อนปรับค่าต่าง ๆ
- วงล้อปรับค่า เป็นวงล้อด้านบนของกล้อง ใช้สำหรับปรับค่าโดยเฉพาะ เช่น รูรับแสง ค่าชดเชยแสง
- วงล้อโฟกัส เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับระยะโฟกัสของเลนส์
- วงล้อซูม เป็นวงล้ออยู่บนเลนส์ ใช้สำหรับปรับอัตราขยายของเลนส์
- รังถ่าน ใช้สำหรับใส่แบตเตอรี่ของกล้อง
- แบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงานของกล้อง โดยส่วนใหญ่จะเป็น Lithium ion polymer battery หรือ Nickel metal hydride battery
- ช่องต่อออกสัญญาณวิดีโอ เป็นสายสัญญาณขนาดเล็กใช้ต่อกับโทรทัศน์ผ่านช่องComposite
รูปแบบการทำงาน
แก้- เลนส์กล้อง
- กระจกสะท้อน
- แผ่นบังเซนเซอร์
- เซนเซอร์รูปภาพ
- เลนส์รวมแสง
- ปริซึมห้าเหลี่ยม
- เลนส์ใกล้ตาของช่องมองภาพ
หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ
แก้หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ คือ การที่แสงสะท้อนจากวัตถุเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็ก ๆ ของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงกันข้ามเป็นภาพหัวกลับ อันเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราณ ปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพได้พัฒนามาโดยลำดับ เช่น มีการนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่ช่องรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องให้มากขึ้น ทางด้านตรงกันข้ามของเลนส์เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิล์ม สามารถปรับตัวเลนส์เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรมปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่าง ๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิด-ปิด ม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบกับฟิล์มตามความเหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพเพื่อช่วยในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้เกิดความสวยงาม
หลักการทำงานของกล้องรูเข็ม
แก้กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวดิจิทัล (D-SLR) ใช้กระจกสะท้อน สำหรับการแสดงภาพที่กำลังจะถ่ายผ่านช่องมองภาพ ภาพตัดขวางด้านซ้ายมือ นั่นแสดงให้เห็นถึงเส้นทางของแสงที่เดินทางผ่านเลนส์ (1) และสะท้อนผ่านกระจกสะท้อนภาพ (2) และ ฉายบนแผ่นปรับโฟกัส (5) จากนั้นลดขนาดภาพผ่าน เลนส์ลดขนาดภาพ (6) และสะท้อนใน ปริซึมห้าเหลี่ยม ทำให้ภาพปรากฏที่ช่องมองภาพ (8) เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ จะทำให้กระจกสะท้อนจะกระเด้งตามลูกศรขึ้นไป และช่องระนาบโฟกัส (3) เปิดออก และภาพฉายลงบน เซ็นเซอร์รับภาพ (4) เช่นเดียวกับที่ปรากฏบนระนาบโฟกัส
ดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพ
แก้ส่วนประกอบและการทำงานของดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยมีส่วนสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
- ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดภาพ ทั้งดวงตาและกล้องถ่ายภาพจะมีส่วนที่เป็นเลนส์ ในดวงตาของมนุษย์ ก่อนที่แสงจะตกกระทบเลนส์ต้องผ่านชั้นของเยื่อที่เรียกว่าคอร์เนีย (Cornea) ทำหน้าที่ช่วยเลนส์ในการหักเหแสงให้ภาพตกลงบนจอตาพอดี เลนส์ของกล้องถ่ายภาพมีระบบกลไก เปิด-ปิด ให้แสงผ่านเข้าไปยังแกหลังควบคุมเวลาด้วยชัตเตอร์ (Shutter) ส่วนดวงตาควบคุมด้วยหนังตา (Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะแฟรม (Diaphragm) สามารถปรับให้เกิดช่องรับแสง (Aperture) ขนาดต่างๆ เช่นเดียวกับดวงตาจะมีส่วนที่เรียกว่าม่านตา (Iris) ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมเรียกรูม่านตาหรือพิวพิล (Pupil) เป็นทางให้แสงผ่าน สามารถปรับให้มีขนาดต่าง ๆ กันโดยอัตโนมัติ เช่น ในที่ที่มีแสงสว่างมากรูม่านตามจะปรับให้มีขนาดเล็ก ส่วนในที่ที่มีแสงสลัว ๆ รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดกว้างขึ้น
- ส่วนที่ไวแสง ได้แก่ ส่วนที่เป็นฉากหลังในกล้องถ่ายภาพจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสง ได้แก่ ฟิล์มส่วนในดวงตา ได้แก่ จอตาเป็นฉากรับภาพ เรียกว่า เรตินา (Retina) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานประสาท ประกอบด้วยเส้นประสาทไวต่อแสงและเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น ทำให้ทราบถึงรูปร่าง ขนาด ลักษณะของพื้นผิว
ขนาดของเซ็นเซอร์รับภาพกับคุณภาพของภาพ
แก้เซ็นเซอร์ที่ใช้ในกล้อง DSLR แต่ละค่าย จะมีขนาดที่แตกต่างกันไปตามการออกแบบของผู้ผลิต หากแบ่งกล้อง DSLR ออกตามขนาดของเซ็นเซอร์ จะสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่
- กล้อง DSLR ที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาดเล็กกว่าฟิล์ม หรือเรียกง่าย ๆ ว่ากล้องตัวคูณ กล้อง DSLR ประเภทนี้จะใช้เซ็นเซอร์รับภาพที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดฟิล์ม 35 มม. โดยมักจะเทียบเป็นขนาดเท่ากับฟิล์ม APS เช่น ในกล้องแคนนอน EOS 50D จะมีขนาดเซ็นเซอร์เท่ากับ 22.3x14.9 มม. ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับฟิล์ม APS-C ในขณะที่ฟิล์ม 35 มม. มีขนาด 36x24 เลยถูกเรียกว่าเป็นเซ็นเซอร์ขนาด APS-C และด้วยเหตุที่เซ็นเซอร์มีขนาดเล็กกว่าฟิล์ม 35 มม. ทำให้เวลาที่นำเลนส์มาใส่กับกล้องชนิดนี้ องศารับภาพของเลนส์ตัวเดิมจะแคบลง เช่น กล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด 22.3x14.9 มม. ซึ่งเล็กกว่าขนาดของฟิล์ม 35 มม. อยู่ 1.6 เท่า ทำให้เวลานำเลนส์ทางยาวโฟกัส 50 มม. มาใส่กับกล้องตัวคูณ องศารับภาพของเลนส์ 50 มม. ก็จะกลายเป็นเท่ากับเลนส์ 80 มม. ในกล้องฟิล์มแทน (มาจาก 50x1.6) คือมีมุมที่แคบลง
- กล้อง DSLR ที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาดเท่าฟิล์ม (Full Frame) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กล้องฟูลเฟรม (Full Frame) กล้องชนิดนี้จะใช้เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่เท่ากับฟิล์ม 35 มม. คือใช้เซ็นเซอร์ขนาด 36x24 มม. ทำให้ได้สัดส่วนของภาพที่เท่ากับกล้องฟิล์ม เวลาที่นำเลนส์มาสวมจึงไม่ต้องคูณค่าใด ๆ เข้าไปเหมือนกับกล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ขนาด APS-C เลนส์ที่นำมาใช้จึงมีองศารับภาพเท่าเดิม ข้อแตกต่างที่สำคัญคือเซ็นเซอร์ชนิด Full Frame จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า ทำให้รับสัญญาณแสงได้ดีกว่า คุณภาพของภาพจึงดีกว่าและมีจุดรบกวน (Noise) ที่ต่ำกว่า อีกทั้งระยะชัดหรือ Depth of Field ของภาพที่ได้จากกล้อง Full Frame ก็มีน้อยกว่า ทำให้สามารถเบลอฉากหลังได้ง่ายกว่ากล้องตัวคูณ ส่วนข้อเสียของกล้องแบบ Full Frame ก็คือ มีราคาที่แพงกว่ากล้องตัวคูณมาก ทั้งยังใช้ได้เฉพาะกับเลนส์ซีรีส์ EF (Canon) เท่านั้น ส่วน F Mount (Nikon) ยังคงสามารถใช้เลนส์ร่วมกับ DX Format ได้ โดย Nikon ใช้ชื่อรูปแบบ Full Frame ว่า FX Format
ชนิดของเซ็นเซอร์รับภาพ
แก้โดยจะพบชนิดของเซ็นเซอร์รับภาพอยู่ 4 ชนิด คือ CCD CMOS MOS และ JFET LBCAST
- CCD (Charge Coupled Device) หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ชนิดนี้คือ บนตัวของ CCD จะประกอบด้วยเซลรับแสงจำนวนมาก ซึ่งเซลรับแสงแต่ละตัวจะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่งเข้าสู่วงจรเปลี่ยนค่าอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัลอีกที ข้อดีของเซ็นเซอร์ชนิดนี้คือ ให้คุณภาพที่ดีกว่าแบบ CMOS เพียงแต่ใช้กระบวนการผลิตที่ซับซ้อนกว่า จึงทำให้มีต้นทุนในการผลิตสูงกว่า CMOS ปัจจุบันเซ็นเซอร์แบบ CCD นิยมใช้ในกล้องดิจิทัลแบบคอมแพ็ค
- CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor) เซ็นเซอร์ชนิดนี้จะมีวงจรแปลงสัญญาณแสงอยู่บนตัวเซ็นเซอร์ ทำให้มีพื้นที่ในการรับแสงน้อยกว่า CCD มีข้อดีคือสามารถผลิตขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตชิปในปัจจุบันได้ทันที จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ ประกอบกับปัจจุบันเซ็นเซอร์ชนิด CMOS ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นมาก ทั้งด้านคุณภาพและการประหยัดพลังงาน ทำให้ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตกล้องมากขึ้น กล้องรุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันต่างก็ใช้เซ็นเซอร์รับแสงแบบ CMOS กันทั้งสิ้น
- MOS (Metal Oxide Semiconductor) มีคุณสมบัติใกล้เคียง CMOS แต่ไม่มีคุณสมบัติของการประหยัดพลังงาน ซึ่งพบเซ็นเซอร์รับภาพ ชนิดนี้ได้ในกล้อง DSLR จาก Olympus
- JFET (Junction Field Effect Transistor) LBCAST (Lateral Buried Charge Accumulator & Sensor Transistor array) มีลักษณะใกล้เคียงกับ CCD แต่จะคุณสมบัติในการส่งผ่านข้อมูลได้เร็วกว่า ซึ่งจะพบได้ในกล้อง Nikon D2Hs และกล้องDSLRระดับสูงจาก Nikon