ไดโอดเปล่งแสง
(เปลี่ยนทางจาก LED)
ไดโอดเปล่งแสง (อังกฤษ: light-emitting diode อักษรย่อว่า LED) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกไดโอด ที่สามารถเปล่งแสงในช่วงสเปกตรัมแคบ เมื่อถูกไบอัสทางไฟฟ้าในทิศทางไปข้างหน้า ปรากฏการณ์นี้อยู่ในรูปของ electroluminescence สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุกึ่งตัวนำที่ใช้ และเปล่งแสงได้ใกล้ช่วงอัลตราไวโอเลต ช่วงแสงที่มองเห็น และช่วงอินฟราเรด ผู้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงขึ้นเป็นคนแรก คือ นิก โฮโลยัก (Nick Holonyak Jr.) แห่งบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก (General Electric Company) โดยได้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงในช่วงแสงที่มองเห็น และสามารถใช้งานได้ในเชิงปฏิบัติเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1962 [1]
ตัวแปรต่าง ๆ ในการเลือกใช้ LED
แก้- color (wavelength)
- เป็นตัวบอกสี ซึ่งหมายถึงขนาดของความยาวคลื่นที่ LED เปล่งแสงออกมา เช่น
- สีฟ้า จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 468nm
- สีขาว จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 462nm
- สีเหลือง จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 468nm
- สีเขียว จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 565nm
- สีแดง จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 630nm เป็นต้น
- lens
- เป็นตัวบอกประเภทและวัสดุที่ใช้ทำ เช่น
- color diffused lens
- water clear lens
- millicandela rating
- เป็นตัวบอกค่าความสว่างของแสงที่ LED เปล่งออกมา ยิ่งมีค่ามากยิ่งสว่างมาก
- voltage rating
- อัตราการทนความต่างศักย์ไฟฟ้า ที่ LED รับได้และไม่พัง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-20. สืบค้นเมื่อ 2005-12-27.