เกย์
เกย์ (อังกฤษ: Gay) เป็นศัพท์ที่โดยหลักสื่อถึงบุคคลที่มีรสนิยมหรือพฤติกรรมแบบรักร่วมเพศ เดิมมีความหมายว่า 'ไร้กังวล', 'ร่าเริง' หรือ 'สดใสและสะดุดตา'[1]
ในขณะที่คำที่ใช้สื่อถึงชายที่มีรสนิยมรักร่วมเพศสืบไปถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ความหมายนี้เริ่มพบได้ทั่วไปในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[2] ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ เกย์ ซึ่งใช้ได้ทั้งคำคุณศัพท์และคำนาม สื่อถึงสังคม, การกระทำ และวัฒนธรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักร่วมเพศ ในคริสต์ทศวรรษ 1960 เกย์ กลายเป็นคำที่นิยมในกลุ่มชายรักร่วมเพศเพื่อกล่าวถึงรสนิยมทางเพศ[3] ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า เกย์ ถูกแนะนำโดยกลุ่มLGBTสายหลักและระเบียบงานสารบรรณเพื่อกล่าวถึงการดึงดูดคนที่มีรสนิยมรักร่วมเพศ[4][5] ถึงแม้ว่าคำนี้มักใช้กับผู้ชายก็ตาม[6] ในขณะที่คำจำกัดความทางเพศอย่างเลสเบียน ก็ใช้เฉพาะกลุ่มผู้หญิงรักเพศเดียวกัน
การใช้คำว่าเกย์ในภาษาไทย จะหมายความถึงเฉพาะผู้ชายที่รักร่วมเพศเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่รักสองเพศ (รักและมีเพศสัมพันธ์ได้กับทั้งชายและหญิง; ไบเซ็กชวล) ก็มักถูกเรียกว่าเป็นเกย์เช่นกัน ในประเทศไทยมีการแบ่งชนิดของเกย์ตามรสนิยมในการร่วมเพศ ได้แก่ เกย์รุก หรือ เกย์คิง คือเกย์ที่เป็นฝ่ายสอดใส่ในการร่วมเพศ, เกย์รับ หรือ เกย์ควีน คือเกย์ที่เป็นฝ่ายถูกสอดใส่ในการร่วมเพศ และ โบท คือเกย์ที่เป็นมีความพึงพอใจทั้งสองอย่างในการร่วมเพศ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Hobson, Archie (2001). The Oxford Dictionary of Difficult Words (1st ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0195146738.
- ↑ Harper, Douglas (2001–2013). "Gay". Online Etymology dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2006. สืบค้นเมื่อ 13 February 2006.
- ↑ "Gay". Oxford English Dictionary. Oxford University Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2018. สืบค้นเมื่อ 13 February 2018.
- ↑ "GLAAD Media Reference Guide - Terms To Avoid". GLAAD. 25 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2012. สืบค้นเมื่อ 21 April 2012.
- ↑ "Avoiding Heterosexual Bias in Language". American Psychological Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2015. สืบค้นเมื่อ 14 March 2015. (Reprinted from American Psychologist, Vol 46(9), Sep 1991, 973-974 เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ "GLAAD Media Reference Guide" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2011. สืบค้นเมื่อ 25 September 2011.
อ่านเพิ่ม
- Cory, Donald Webster (1951). The Homosexual in America: A Subjective Approach. Greenberg. p. 107. Chapter 9 ("Take My Word For It") includes a valuable discussion of the term "gay.".
- Leap, William (1995). Beyond the Lavender Lexicon: Authenticity, Imagination, and Appropriation in Lesbian and Gay Language. Taylor & Francis. p. 360. ISBN 978-2-88449-181-5.