กิจกรรมทางเพศของเกย์
กิจกรรมทางเพศของเกย์ คือกิจกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย โดยไม่คำนึงถึงรสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ[1] กิจกรรมเหล่านี้อาจรวมถึงการร่วมเพศทางทวารหนัก การร่วมเพศแบบไม่สอดใส่ และการร่วมเพศทางปาก จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายได้รับการรายงานจากการสำรวจน้อยอย่างมีนัยยะสำคัญ[2][3]
ลักษณะ
แก้จากท่วงท่าทางเพศต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย พบว่าหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายไม่ได้รับการรายงานที่มากเพียงพอจากการสำรวจอันเนื่องมาจากอคติต่อความพึงพอใจในสังคม[2][3]
การร่วมเพศทางทวารหนัก
แก้ในอดีตการร่วมเพศทางทวารหนักถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมทางเพศที่ผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายนิยมปฏิบัติกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายจำนวนมากไม่นิยมทำกิจกรรมดังกล่าว แต่มีความพึงพอใจที่ทำกิจกรรมอย่างอื่นแทนทั้งการร่วมเพศทางปาก, การฟรอต หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองระหว่างกันแทน[4][5][6]
ในบรรดาผู้ชายที่มีการร่วมทางเพศทางทวารหนัก ฝ่ายที่สอดใส่จะถูกนิยามว่ารุก ขณะที่ฝ่ายที่ถูกสอดใส่จะถูกนิยามว่ารับ ส่วนฝ่ายที่มีความพึงพอใจกับทั้ง 2 บทบาทจะถูกนิยามว่าโบท[7] และเมื่อหากมีการทำกิจกรรมแบบไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยพฤติกรรมดังกล่าวจะถูกนิยามว่าแบร์แบ็ก การรับรู้ถึงความสุข และความเจ็บปวดอาจจะมาพร้อมกันในระหว่างที่ร่วมเพศทางทวารหนัก แม้ว่าปลายเส้นประสาทของทวารหนักจะทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจแต่ที่จะทำให้อีกฝ่ายเกิดความเสียวสุดยอดทางเพศระหว่างทำกิจกรรมนั้นสามารถทำได้โดยการไปกระตุ้นจุดของต่อมลูกหมากซึ่งอยู่ภายในทวารหนักของผู้ชาย[8][9] จากการศึกษาของ National Survey of Sexual Health and Behavior (NSSHB) พบว่าผู้ชายที่เป็นฝ่ายถูกสอดใส่มีแนวโน้มจะถึงจุดสุดยอดในช่วงสุดท้ายของการทำกิจกรรมเท่ากับผู้ชายที่เป็นฝ่ายที่สอดใส่[10] และจากการศึกษาโดยการสุ่มตัวอย่างคนโสดในสหรัฐพบว่าอัตราการถึงจุดสุดยอดของผู้ชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันถึงแม้ว่าจะมีรสนิยมที่แตกต่างกัน[11] สำหรับความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่พึงพอใจระหว่างร่วมเพศทางทวารหนัก[12] จากผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 24 ถึงร้อยละ 61 ของชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศมีความรู้สึกเจ็บในการทำกิจกรรมดังกล่าวและมันได้กลายเป็นปัญหาทางเพศที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน[12]
จากผลสำรวจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความถี่ของการร่วมเพศทางทวารหนักกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายพบว่ามีความแตกต่างกันเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งก็มีบางช่วงที่มีร้อยละสูงกว่าช่วงอื่นๆ[7][13][14][15] จากรายงานพบว่าชายรักร่วมเพศ และชายรักร่วมสองเพศจำนวนมากพบว่าตนเองเคยมีส่วนร่วมในการร่วมเพศทางทวารหนักมาทั้งชีวิต[7] และจากการศึกษาในกลุ่มชายรักร่วมเพศพบว่าผู้ชายที่ชอบสอดใส่กับผู้ชายที่ชอบถูกสอดใส่มีร้อยละที่ใกล้เคียงกัน[7][16] ซึ่งอย่างไรก็ตามผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายขณะที่เป็นฝ่ายถูกสอดใส่มักจะมีคำถามเกี่ยวกับความเป็นชายในระหว่างทำกิจกรรม[17][18]
การร่วมเพศแบบไม่สอดใส่และการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง
แก้ในการร่วมเพศแบบไม่สอดใส่นั้นสามารถทำได้หลายวิธีอาทิ การฟรอต คือกิจกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายโดยการเอาอวัยวะเพศของทั้งสองฝ่ายมาเสียดสีกัน[19] ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของการฟรอตเทจ วิธีการดังกล่าวสามารถสร้างความพึงพอใจได้มากกว่าเนื่องจากอวัยวะเพศของทั้งสองฝ่ายถูกกระตุ้นในเวลาที่พร้อมกัน ซึ่งทั้งคู่สามารถที่จะสร้างน่าพึงพอใจจากการเสียดสีพร้อมกันจากเส้นประสาทของเส้นสองสลึงที่อยู่ตรงใต้ช่องปัสสาวะซึ่งอยู่บริเวณหัวองคชาตของอวัยวะเพศชายของแต่ละคน
การร่วมเพศแบบไม่สอดใส่โดยการเสียดสีบริเวณทวารหนัก หรือการด็อกกิง (หมายถึงการเอาอวัยวะเพศสอดใส่เข้าไปในหนังหุ้มปลายของอีกฝ่าย) ก็ถือเป็นกิจกรรมทางเพศแบบไม่สอดใส่อีกรูปแบบหนึ่งระหว่างผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย
การทำกิจกรรมทางเพศโดยใช้มือก็ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางเพศแบบไม่สอดใส่ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย โดยมีทั้งแฮนด์จ็อบซึ่งก็คือการใช้มือเพื่อกระตุ้นอวัยวะเพศชายหรือถุงอัณฑะของอีกฝ่าย และการฟิงเกอร์ริงซึ่งก็คือการใช้นิ้วสวนเข้าไปทางทวารหนักของคู่ตนเอง
ซึ่งผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายสามารถใช้เซ็กซ์ทอยประกอบได้ โดยอิงจากการสำรวจทางออนไลน์ของชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศจำนวน 25,294 คน พบว่าร้อยละ 49.8 ได้เคยใช้ไวเบรเตอร์ โดยผู้ชายส่วนมากที่ใช้ไวเบรเตอร์ในขณะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองร้อยละ 86.2 ในขณะผู้ชายบางส่วนใช้กับคู่ของตนเองกันพบว่า ร้อยละ 65.6 ได้ใช้ไวเบรเตอร์โดยไม่มีการสอดใส่ ขณะที่ร้อยละ 59.4 พบว่ามีการใช้ตลอดการมีกิจกรรมทางเพศ[20]
การร่วมเพศทางปาก
แก้ลักษณะของการร่วมเพศทางปากระหว่างผู้ชายกับผู้ชายอาจจะมีความแตกต่างกันไปทั้งการกระตุ้นผ่านทางอวัยวะเพศ (เฟอเลชิโอ), ถุงอัณฑะ (ทีแบ็กกิง) หรือรูทวารหนัก (เอนิลิงกัส) เวลลิงส์และคณะได้ทำการรายงานผลของ "ความสมดุลระหว่าง 'รักร่วมเพศ' กับ การร่วมเพศทาง'ทวารหนัก' ในกลุ่มผู้ชายเป็นเรื่องปกติทั้งในกลุ่มบุคคลและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ" ซึ่งจากการสำรวจแบบออนไลน์ของกลุ่มชายรักร่วมเพศจำนวน 18,000 คนในทวีปยุโรปพบว่า "การร่วมเพศทางปากเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด ตามมาด้วยการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองร่วมกัน ขณะที่การร่วมเพศทางทวารหนักอยู่ในอันดับที่สาม"[4] และจากผลการสำรวจในปีค.ศ. 2011 โดย The Journal of Sexual Medicine พบว่าผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันในกลุ่มผู้ชายที่เป็นคนรักร่วมเพศและรักร่วมสองเพศในสหรัฐ ผลสำรวจในลักษณะพฤติกรรมพบว่า การจูบอีกฝ่ายทางปากร้อยละ 74.5 ตามมาด้วยการร่วมเพศทางปากร้อยละ 72.7 และการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองระหว่างกันร้อยละ 68.4 ซึ่งทั้งสามพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยที่สุดจากการสำรวจตามลำดับ โดยร้อยละ 63.2 ของกลุ่มตัวอย่างได้รายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของตนเองที่แตกต่างกัน 5 ถึง 9 พฤติกรรมในช่วงของการมีกิจกรรมครั้งสุดท้าย[21]
ความเสี่ยงสุขภาพ
แก้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) หลายชนิดอาจเป็นผลมาจากกิจกรรมทางเพศ จากการศึกษาปีค.ศ. 2007 ได้รายงานว่ามีการสำรวจประชากรครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งซึ่งก็ได้ข้อสรุปว่า "ชายรักร่วมเพศโดยส่วนใหญ่มีจำนวนคู่นอนที่ไม่มีการป้องกันในแต่ละปีใกล้เคียงกับจำนวนของคู่ชายและหญิงรักต่างเพศ"[22][23]
เอดส์เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี[24][25][26] จากผลสำรวจของทั่วโลกพบว่าประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 ของการติดเชื้อมาจากผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย[27] โดยอย่างไรก็ตามปีค.ศ. 2009 ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และยุโรปกลาง พบว่าการติดเชื้อเอชไอวีติดต่อโดยผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายมากกว่าช่องทางการติดต่ออื่นๆ[28] ในสหรัฐจากผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีรายใหม่จำนวน 38,739 รายพบว่าเป็นกลุ่มชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศในร้อยละ 70 ของกลุ่มผู้ติดเชื้อทั้งหมด[29] จากจำนวนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีในสหราชอาณาจักรจำนวน 5,164 ราย ในปีค.ศ. 2016 นั้นพบว่าร้อยละ 54 เป็นชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศ[30] ซึ่งในปีค.ศ. 2017 สถิตินี้มีตัวเลขที่ลดลงในลอนดอนตามที่รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุขของประเทศอังกฤษประจำปีค.ศ. 2017[31][32] ความเกี่ยวโยงของเชื้อเอชไอวีกับกลุ่มชายรักร่วมเพศและผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายอาจเห็นชัดได้จากบทบาททางเพศที่มองผู้ชายว่าต้องมีลักษณะที่เข้มแข็งและอดทน จากทั้งหมดทำให้ผู้ชายบางส่วนได้เข้าถึงการรักษาที่ค่อนข้างช้า[33] ในด้านการครอบคลุมของการให้บริการเพื่อป้องกันเชื้อเอชไอวียังมีอัตราที่ต่ำสำหรับชายรักร่วมเพศและผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังมีให้เห็นแม้กระทั่งในประเทศที่มีรายได้ทางเศรษฐกิจสูง[33]
ซิฟิลิสเป็นโรคที่แพร่จากคนสู่คนผ่านการสัมผัสโดยตรงกับบริเวณที่เกิดซิฟิลิส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่อวัยวะเพศภายนอก, ช่องคลอด หรือทวารหนัก[34] ในปีค.ศ. 2006 จากเคสของผู้ป่วยโรคซิฟิลิสในสหรัฐทั้งหมดพบว่าเป็นผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายในร้อยละ 64[34] ผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายมีอัตราการติดโรคซิฟิลิสมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งการติดโรคซิฟิลิสกลับมีอัตราที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการติดเชื้อเอชไอวี[35] แต่ในทางกลับกันจากการสำรวจในสหรัฐพบว่าในกลุ่มชายผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายครึ่งหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างมีอัตราการติดโรคซิฟิลิสก็มีเชื้อเอชไอวีเช่นเดียวกัน จากผลการศึกษาบางชิ้นโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกได้ข้อสรุปผลของการเพิ่มขึ้นของโรคดังกล่าวมาจากสาเหตุมาจากการที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยที่มากขึ้นในกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย[36] แม้ว่าจะมีผลการศึกษาโดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนระดับประเทศซึ่งบทสรุปพบว่าอัตราการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายเพิ่มขึ้นและไม่ลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และความถี่ของการร่วมเพศทางทวารหนักในมีกิจกรรมทางเพศครั้งสุดท้ายของกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายก็ลดลงเป็นอย่างมาก[37]
จากผลการสำรวจของสหรัฐพบว่าเอชไอวี, ซิฟิลิส และหูดที่ทวารหนักพบได้บ่อยในผู้ชายที่เพิ่งร่วมเพศกับผู้ชาย (MSM) มากกว่าผู้ชายที่เพิ่งร่วมเพศกับผู้หญิงเท่านั้น (MSW) ในทางกลับกันเริมที่อวัยวะเพศชายกลับพบได้น้อยในกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย แต่กลับพบได้มากในกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้หญิง ในส่วนของคลามิเดีย, ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV), หนองในแท้ และเหา พบว่าไม่มีความแตกต่างมากนักกับกลุ่มผู้ชายทั้งสองกลุ่ม[38]
สิทธิตามกฎหมาย
แก้การกระทำบางอย่างหรือทั้งหมดเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย ยังถูกจัดว่าเป็นอาชญากรรมในเขตอำนาจการปกครองของบางประเทศทั้งในปัจจุบันและในอดีต จากรายงานประจำเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ของ International Lesbian, Gay, Bisexual, Trans and Intersex Association (ILGA) พบว่ากิจกรรมทางเพศอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผู้ชายกับผู้ชายถือเป็นความผิดทางอาญาใน 67 ประเทศจาก 193 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ และอีก 1 เขตอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นอิสระคือหมู่เกาะคุก ในขณะที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 2 ประเทศ คือประเทศอิรักและประเทศอียิปต์ถือการกระทำดังกล่าวเป็นอาชญากรรมโดยพฤตินัยแต่ไม่ได้ระบุในกฎหมาย[39] ในประเทศอียิปต์นั้นไม่มีกฎหมายต่อต้านการรักร่วมเพศ แต่ชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศจะถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายอื่น อาทิเหตุการณ์ไคโร 52[40][41] ที่เป็นเหตุการณ์ที่โด่งดัง ในประเทศสมาชิกสหประชาชาติอย่างน้อย 6 ประเทศได้แก่ ประเทศบรูไน, ประเทศอิหร่าน, ประเทศมอริเตเนีย, ประเทศไนจีเรีย (เฉพาะไนจีเรียตอนเหนือ), ประเทศซาอุดีอาระเบีย และประเทศเยเมน กิจกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายมีโทษประหารชีวิต[39] ในปี ค.ศ. 2007 พบว่ามี 5 ประเทศประหารชีวิตบุคคลหนึ่งที่มีโทษฐานกระทำพฤติกรรมรักร่วมเพศ[39] ในปีค.ศ. 2020 ILGA ได้กำหนดให้ประเทศอิหร่านและประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีรายงานว่ามีการประหารชีวิตบุคคลรักร่วมเพศ[39] ในประเทศอื่นเช่นประเทศเยเมนและประเทศอิรักได้มีการวิสามัญฆาตกรรมกลุ่มคนรักร่วมเพศซึ่งดำเนินการโดยกองกำลังติดอาวุธ อาทิ รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์หรืออัลกออิดะฮ์[39] แต่ทั้งนี้ประเทศอื่นหลายประเทศได้เคยมีกฎหมายดังกล่าวในอดีตแต่ถูกยกเลิกไปโดยเฉพาะตั้งแต่ปีค.ศ. 1945[42][43] ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องยากที่จะบังคับใช้[44] และบ่อยกว่านั้นไม่ได้บังคับใช้ในเหตุการณ์ทั่วไป[43]
อ้างอิง
แก้- ↑ Eaton, A.D.; Scheadler, T.R.; Bradley, C.; McInroy, L.B. (September 2023). "Identity development, attraction, and behaviour of heterosexually identified men who have sex with men: scoping review protocol". Systematic Reviews. Springer Nature. 12 (184). doi:10.1186/s13643-023-02355-6. ISSN 2046-4053. PMC 10542689. PMID 37777815. S2CID 263231942.
- ↑ 2.0 2.1 Turner CF, Ku L, Rogers SM, Lindberg LD, Pleck JH, Sonenstein FL (May 1998). "Adolescent sexual behavior, drug use, and violence: increased reporting with computer survey technology". Science. 280 (5365): 867–73. Bibcode:1998Sci...280..867T. doi:10.1126/science.280.5365.867. PMID 9572724.
- ↑ 3.0 3.1 Coffman, Katherine B.; Coffman, Lucas C.; Ericson, Keith M. Marzilli (2013). "The Size of the LGBT Population and the Magnitude of Anti-Gay Sentiment are Substantially Underestimated". Management Science. 63 (10): 3168–3186. doi:10.1287/mnsc.2016.2503. S2CID 35207796.
- ↑ 4.0 4.1 Kaye Wellings; Kirstin Mitchell; Martine Collumbien (2012). Sexual Health: A Public Health Perspective. McGraw-Hill International. p. 91. ISBN 978-0335244812. สืบค้นเมื่อ August 29, 2013.
- ↑ Goldstone, Stephen E.; Welton, Mark L. (2004). "Sexually Transmitted Diseases of the Colon, Rectum, and Anus". Clin Colon Rectal Surg. 17 (4): 235–239. doi:10.1055/s-2004-836944. PMC 2780055. PMID 20011265.
- ↑ Edwin Clark Johnson, Toby Johnson (2008). Gay Perspective: Things Our Homosexuality Tells Us about the Nature of God & the Universe. Lethe Press. p. 139. ISBN 978-1-59021-015-4. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 Steven Gregory Underwood (2003). Gay Men and Anal Eroticism: Tops, Bottoms, and Versatiles. Harrington Park Press. ISBN 978-1-56023-375-6. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
- ↑ Rosenthal, Martha (2012). Human Sexuality: From Cells to Society. Cengage Learning. pp. 133–135. ISBN 978-0618755714. สืบค้นเมื่อ September 17, 2012.
- ↑ Komisaruk, Barry R.; Whipple, Beverly; Nasserzadeh, Sara; Beyer-Flores, Carlos (2009). The Orgasm Answer Guide. JHU Press. pp. 108–109. ISBN 978-0-8018-9396-4. สืบค้นเมื่อ November 6, 2011.
- ↑ Mona Chalabi (20 August 2015). "The Gender Orgasm Gap". FiveThirtyEight.
- ↑ Garcia Justin R (2014). "Variation in Orgasm Occurrence by Sexual Orientation in a Sample of U.S. Singles". The Journal of Sexual Medicine. 11 (11): 2645–2652. doi:10.1111/jsm.12669. PMC 6035747. PMID 25131299.
- ↑ 12.0 12.1 Joel J. Heidelbaugh (2007). Clinical men's health: evidence in practice. Elsevier Health Sciences. p. 273. ISBN 978-1-4160-3000-3. สืบค้นเมื่อ October 14, 2011.
- ↑ "Increases in Unsafe Sex and Rectal Gonorrhea Among Men Who Have Sex With Men – San Francisco, California, 1994–1997". Center for Disease Control. January 29, 1999. สืบค้นเมื่อ May 1, 2021.
- ↑ Laumann, E., Gagnon, J.H., Michael, R.T., and Michaels, S. The Social Organization of Sexuality: Sexual Practices in the United States. 1994. Chicago: University of Chicago Press (Also reported in the companion volume, Michael et al., Sex in America: A Definitive Survey, 1994).
- ↑ "Anal Sex Safety and Health Concerns". WebMD. สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
- ↑ Breyer, Benjamin N.; Smith, James F.; Eisenberg, Michael L.; Ando, Kathryn A.; Rowen, Tami S.; Shindel, Alan W. (July 2010). "The Impact of Sexual Orientation on Sexuality and Sexual Practices in North American Medical Students". The Journal of Sexual Medicine. 7 (7): 2391–2400. doi:10.1111/j.1743-6109.2010.01794.x. PMC 3607668. PMID 20384941.
- ↑ John H. Harvey; Amy Wenzel; Susan Sprecher (2004). The handbook of sexuality in close relationships. Routledge. pp. 355–356. ISBN 978-0805845488. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ Odets, Walt (1995). In the Shadow of the Epidemic: Being Hiv-negative in the Age of AIDS. Duke University Press. pp. 191–192. ISBN 978-0822316381. สืบค้นเมื่อ July 6, 2013.
- ↑ "The New Sex Police". The Advocate. Here. 2005-04-12. pp. 39–40, 42. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
- ↑ Reece M; Rosenberger JG; Schick V; Herbenick D; Dodge B; Novak DS (2010). "Characteristics of vibrator use by gay and bisexually identified men in the United States". The Journal of Sexual Medicine. 7 (10): 3467–76. doi:10.1111/j.1743-6109.2010.01873.x. PMID 20561168.
- ↑ Rosenberger Joshua G (2011). "Sexual Behaviors and Situational Characteristics of Most Recent Male‐Partnered Sexual Event among Gay and Bisexually Identified Men in the United States". The Journal of Sexual Medicine. 8 (11): 3040–3050. doi:10.1111/j.1743-6109.2011.02438.x. PMID 21883941.
- ↑ "Sexual Behavior Does Not Explain Varying HIV Rates Among Gay And Straight Men - Medical News Today". medicalnewstoday.com. 13 September 2007. สืบค้นเมื่อ February 10, 2015.
- ↑ Goodreau SM, Golden MR (October 2007). "Biological and demographic causes of high HIV and sexually transmitted disease prevalence in men who have sex with men". Sex Transm Infect. 83 (6): 458–462. doi:10.1136/sti.2007.025627. PMC 2598698. PMID 17855487.
- ↑ Sepkowitz KA (June 2001). "AIDS—the first 20 years". N. Engl. J. Med. 344 (23): 1764–1772. doi:10.1056/NEJM200106073442306. PMID 11396444.
- ↑ Weiss RA (May 1993). "How does HIV cause AIDS?". Science. 260 (5112): 1273–1279. Bibcode:1993Sci...260.1273W. doi:10.1126/science.8493571. PMID 8493571.
- ↑ Cecil, Russell (1988). Textbook of Medicine. Philadelphia: Saunders. pp. 1523, 1799. ISBN 978-0-7216-1848-7.
- ↑ "Men who have sex with men (MSM) and HIV/AIDS | AVERT". avert.org. สืบค้นเมื่อ February 10, 2015.
- ↑ "2009 AIDS epidemic update". Joint United Nations Programme on HIV/AIDS and World Health Organization. November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2011. สืบค้นเมื่อ September 28, 2011.
- ↑ Center for Disease Control (CDC) (12 November 2019). "HIV and Gay and Bisexual Men". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
- ↑ "HIV statistics | Terrence Higgins Trust". www.tht.org.uk (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ 2018-08-23.
- ↑ "Public Health England 2017 Report on HIV/AIDS in UK gay and bisexual men" (PDF).
- ↑ "HIV and AIDS in the United Kingdom (UK)". AVERT (ภาษาอังกฤษ). 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-08-23.
- ↑ 33.0 33.1 "UNAIDS data 2021". 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 34.0 34.1 "Syphilis & MSM (Men Who Have Sex With Men) – CDC Fact Sheet". Centers for Disease Control and Prevention. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2017. สืบค้นเมื่อ May 1, 2021.
- ↑ "Reported STDs in the United States — 2014 National Data for Chlamydia, Gonorrhea, and Syphilis" (PDF). Centers for Disease Control and Prevention. 2019-01-16.
- ↑ M Hourihan; H Wheeler; R Houghton; B T Goh (2004). "Lessons from the syphilis outbreak in homosexual men in east London". Sex Transm Infect. 80 (6): 509–511. doi:10.1136/sti.2004.011023. PMC 1744940. PMID 15572625.
- ↑ Andrew E. Grulich; และคณะ (2014). "Homosexual experience and recent homosexual encounters: the Second Australian Study of Health and Relationships". Sexual Health. 11 (5): 439–50. doi:10.1071/SH14122. PMID 25376997.
- ↑ Thomas W. Gaither; และคณะ (2015). "The Influence of Sexual Orientation and Sexual Role on Male Grooming-Related Injuries and Infections". J Sex Med. 12 (3): 631–640. doi:10.1111/jsm.12780. PMC 4599875. PMID 25442701.
- ↑ 39.0 39.1 39.2 39.3 39.4 ILGA (14 December 2020). "State-Sponsored Homophobia report - 2020 global legislation overview update" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). pp. 11, 25, 38, 85, 115, 131. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-12-15. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
- ↑ Asal, Victor; Sommer, Udi (2016). Legal Path Dependence and the Long Arm of the Religious State: Sodomy Provisions and Gay Rights across Nations and over Time (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. pp. 19–20, 65. ISBN 978-1-4384-6325-4.
- ↑ Tolino, Serena (2020). "LGBTQI Rights in the Middle East and North Africa". The Oxford Handbook of the Sociology of the Middle East (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-008748-7.
- ↑ Hildebrandt, Achim (2014). "Routes to decriminalization: A comparative analysis of the legalization of same-sex sexual acts". Sexualities. 17 (1–2): 230–253. doi:10.1177/1363460713511105. S2CID 145575130.
- ↑ 43.0 43.1 Kane, Melinda D. (2015). "Decriminalizing Homosexuality: Gaining Rights through Sodomy Law Reform". The Ashgate Research Companion to Lesbian and Gay Activism. Routledge. p. 277. ISBN 978-1-315-61314-7.
- ↑ Dupont, Wannes (2019). "Pas de deux, out of step: Diverging chronologies of homosexuality's (de)criminalisation in the Low Countries". Tijdschrift voor Genderstudies. 22 (4): 321–338. doi:10.5117/TVGN2019.4.001.DUPO. S2CID 213698186.