ในกายวิภาคมนุษย์เพศชาย หัวองคชาตเป็นโครงสร้างคล้ายหัวอยู่บริเวณส่วนปลายสุดขององคชาตมนุษย์ เป็นบริเวณการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศที่ไวที่สุดของมนุษย์เพศชาย และเป็นแหล่งของความพึงใจทางเพศหลักทางกายวิภาคศาสตร์[1][2] ในทางกายวิภาคศาสตร์ถือเป็นอวัยวะที่มีต้นกำเนิดเหมือนกันกับหัวปุ่มกระสัน[3][4] หัวองคชาตเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น โดยอาจมีลักษณะทั้งแบบเรียบ มีหนาม ยืดยาว หรือแยกออกเป็นแฉก[5] ภายนอกถูกบุด้วยเยื่อเมือกทำให้มีพื้นผิวเรียบและมันวาว ในมนุษย์ หัวองคชาตเป็นส่วนต่อเนื่องของคอร์ปุส สปอนจิโอซุมขององคชาต ที่ด้านบนสุดมีรูท่อปัสสาวะและที่ฐานก่อตัวขึ้นเป็นคอของหัวองคชาต บริเวณด้านท้องมีแนวของแถบเนื้อเยื่อที่มีความยืดหยุ่น เรียกว่า เส้นสองสลึง ในผู้ชายที่ไม่ได้ขริบส่วนดังกล่าวนี้จะถูกหุ้มด้วยหนังหุ้มปลายทั้งหมดหรือบางส่วน ในผู้ใหญ่ โดยทั่วไปหนังหุ้มปลายจะสามารถร่นกลับลงมาได้ทั้งโดยการใช้มือหรือบางครั้งอาจมีการร่นลงมาโดยอัตโนมัติในระหว่างการแข็งตัวขององคชาต[6]

หัวองคชาต
หัวองคชาตมนุษย์ (มองจากด้านบน)
หัวองคชาต (มองจากด้านท้อง)
รายละเอียด
คัพภกรรมปุ่มอวัยวะสืบพันธุ์
ระบบระบบอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงด้านบนขององคชาต
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำด้านบนขององคชาต
ประสาทเส้นประสาทด้านบนขององคชาต
ตัวระบุ
ภาษาละตินGlans penis
TA98A09.4.01.007
TA23668
FMA18247
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์
กายวิภาคภายในของหัวองคชาตมนุษย์:
1. พังผืดองคชาต
2. คอร์ปุส คาเวอร์โนซุม
3. ร่องคอ
4. คอของหัวองคชาต
5. หนังหุ้มปลายองคชาต
6. หัวองคชาต
7. รูท่อปัสสาวะ
8. แอ่งรูปท้องเรือของท่อปัสสาวะชาย
9. ทูนิกา อัลบูจินีขององคชาต
10. คอร์ปุส สปอนจิโอซุม
11. ท่อปัสสาวะ

ในภาษาอังกฤษ หัวองคชาตใช้คำว่า "glans" และสำหรับภาษาอังกฤษแบบบริติชอาจใช้คำว่า “bellend” ได้อย่างไม่เป็นทางการ โดยคำว่า "glans" มาจากคำในภาษาละตินว่า glans ("ลูกโอ๊ก") และ penis ("ขององคชาต")

กายวิภาคศาสตร์ แก้

โครงสร้าง แก้

 
แผนภาพของหลอดเลือดแดงขององคชาตและหัวองคชาต
 
หัวองคชาตเป็นส่วนขยายของคอร์ปุส สปอนจิโอซุม

หัวองคชาตเป็นเนื้อเยื่อพองยุบได้คล้ายฟองน้ำที่ก่อตัวขึ้นบนปลายกลมมนของคอร์ปุส คาเวอร์โนซุม พีนิสทั้งสองแท่ง[7] ขยายขึ้นไปทางด้านบนมากกว่าด้านล่าง นับเป็นหมวกที่ขยายออกมาของคอร์ปุส สปอนจิโอซุม[8] ส่วนที่คล้ายฟองน้ำนั้นล้อมรอบท่อปัสสาวะภายในองคชาตของเพศชายไว้ โดยเป็นช่องทางที่ใช้สำหรับการหลั่งน้ำอสุจิด้วย[9] หัวองคชาตถูกปกคลุมด้วยเยื่อบุผิวสความัสแบบเป็นชั้นและชั้นแน่นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเทียบได้กับชั้นหนังแท้ของผิวหนังทั่วไป[10] ภายนอกบุด้วยเยื่อเมือกซึ่งทำให้พื้นผิวและลักษณะปรากฏเรียบ ชั้นปาปิลลารีของชั้นหนังแท้นั้นมีการผสานเข้ากับเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่แน่นและก่อตัวขึ้นเป็นทูนิกา อัลบูจินีของคอร์ปุส สปอนจิโอซุมใต้หัวองคชาต[10] การเพิ่มขึ้นของการไหลเวียนในหลอดเลือดแดงในระหว่างการแข็งตัวขององคชาตจะทำให้เนื้อเยื่อพองยุบได้ถูกเติมเต็มด้วยเลือด ทำให้หัวองคชาตมีขนาดใหญ่ขึ้นและไวต่อสัมผัสมากขึ้น[11] โดยขณะที่องคชาตจะแข็งทื่อเมื่อแข็งตัว แต่ส่วนหัวองคชาตจะยังคงอ่อนนุ่มอยู่เล็กน้อย[12] ซึ่งวัสดุที่มีลักษณะเป็นนวมนุ่มของหัวองคชาตนั้นจะช่วยซับแรงกระแทกในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ได้[13] ชนาดตามสัดส่วนของหัวองคชาตสามารถแตกต่างกันไปได้อย่างมาก แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วรูปทรงของหัวองคชาตจะเหมือนกับลูกโอ๊ก แต่ผู้ชายบางคนอาจมีเส้นรอบวงของหัวองคชาตมากกว่าลำ ทำให้องคชาตมีลักษณะคล้ายเห็ดแทน ขณะที่คนอื่นทั่วไปอาจมีเส้นรอบวงแคบกว่าและรูปร่างจึงคล้ายกับอุปกรณ์แหย่ (probe) มากกว่า[12] ผู้วิจัยบางรายเสนอว่า หัวองคชาตวิวัฒนาการจนกลายเป็นรูปลูกโอ๊ก รูปเห็ด หรือรูปกรวย เพื่อทำหน้าที่หนึ่งในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ นั่นคือการกำจัดน้ำอสุจิที่ตกค้างจากคู่นอนก่อนหน้า แต่ข้อเสนอนี้นั้นไม่ได้รับการสนับสนุนเมื่อพิจารณาถึงตระกูลญาติในอันดับวานรที่มีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่ต่างกัน[14][15]

ที่ยอดสุดของหัวองคชาตเป็นรูท่อปัสสาวะภายนอกที่มีลักษณะเหมือนรอยกรีดในแนวตั้ง เรียกว่า รูท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นจุดที่น้ำปัสสาวะ น้ำอสุจิ และน้ำหล่อลื่นไหลออกจากองคชาต เส้นรอบวงที่ฐานของหัวองคชาตรวมตัวขึ้นเป็นส่วนโค้งมน เรียกว่า คอของหัวองคชาต (corona) ส่วนเว้าลึกลงไปเป็นร่อง เรียกว่า ร่องคอ (coronal sulcus) ซึ่งอยู่ด้านหลังคอขององคชาต[12] เส้นสองสลึงเป็นแถบยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อที่มีหลอดเลือดไปเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่บริเวณด้านใต้ของหัวองคชาตซึ่งเชื่อมหนังหุ้มปลายเข้ากับหัวองคชาต เส้นสองสลึงนั้นอ่อนนุ่มพอที่จะปล่อยให้มีการร่นของหนังหุ้มปลายลงและร่นกลับเมื่อไม่มีการแข็งตัวขององคชาตได้[16] ในระหว่างอ่อนตัว เส้นสองสลึงจะกระชับให้รูเปิดของหนังหุ้มปลายแคบลง[17]

การมีประสาทไปเลี้ยง แก้

หัวองคชาตและเส้นสองสลึงนั้นมีประสาทไปเลี้ยงโดยเส้นประสาทด้านบนขององคชาตและเส้นประสาทฝีเย็บ โดยทั้งสองเป็นแขนงแยกของเส้นประสาทหว่างขา[18] แขนงหลักเกิดเป็นกลุ่มท่อขนาดเล็กของเส้นประสาท ซึ่งขยายออกไปสู่เนื้อเยื่อของหัวองคชาต[18] การมีประสาทไปเลี้ยงจำนวนมากของหัวองคชาตนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นแหล่งความสุขทางเพศหลักทางกายวิภาคศาสตร์ของเพศชาย[2][19] โดยมีการโต้แย้งจากหยางและแบรดลีย์ว่า "รูปแบบที่แตกต่างกันของการมีประสาทไปเลี้ยงของหัวองคชาตนั้น เน้นย้ำถึงบทบาทของมันในฐานะโครงสร้างทางการรับสัมผัส"[2] ขณะที่รายงานของหยางและแบรดลีย์ (1998) ระบุว่า "ไม่พบว่ามีส่วนใดในหัวองคชาตที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงหนาแน่นไปกว่าบริเวณอื่น"[2] ฮาลาตาและมุนเจอร์ (1986) รายงานว่า ความหนาแน่นของปลายประสาทต่าง ๆ นั้นมีมากที่สุดในคอของหัวองคชาต[20]

ฮาลาตาและสเปท (1997) รายงานว่า "หัวองคชาตประกอบไปด้วยปลายประสาทอิสระเป็นหลัก มีอยู่มากที่ปลายกระเปาะอวัยวะสืบพันธุ์ และพบยากในเม็ดพาชีเนียนและปลายรัฟฟินี ส่วนที่ปลายประสาทเมอร์เกิลและเม็ดไมสเนอร์ (ตัวรับแรงกลที่มักพบในผิวเรียบเลี่ยนที่หนา) นั้นไม่มีอยู่"[21] กระเปาะปลายอวัยวะสืบพันธุ์ที่อยู่ทั่วหัวองคชาตจะมีจำนวนมากสุดในคอองคชาตและบริเวณใกล้เส้นสองสลึง[10] ส่วนเม็ดพาชีเนียนและปลายรัฟฟินีนั้นพบได้มากในคอของหัวองคชาต ปลายประสาทที่พบมากที่สุดคือปลายประสาทอิสระที่ปรากฏในแทบทุกหนังแท้แพพิลลีของหัวองคชาต รวมถึงทั้งที่กระจายอยู่ทั่วชั้นหนังแท้ที่อยู่ลึกลงไป[10]

การมีเลือดมาเลี้ยง แก้

หัวองคชาตรับเลือดมาจากหลอดเลือดแดงหว่างขาในผ่านแขนงหลอดเลือดแดงด้านบนขององคชาตซึ่งทอดตัวไปตามลำขององคชาต[22] ด้านหลังคอจะมีแขนงปลายของหลอดเลือดแดงด้านบนที่มีการเชื่อมต่อกันกับหลอดเลือดแดงในแนวแกนผ่านแขนงต่าง ๆ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่หัวองคชาต[23] การระบายเลือดดำจากองคชาตเริ่มต้นที่ฐานของหัวองคชาต โดยมีแขนงย่อยเล็ก ๆ จากคอองคชาตที่รวมตัวกันขึ้นเป็นข่ายหลอดเลือดดำบริเวณคอองคชาต เรียกว่า ข่ายหลอดเลือดดำเรโทรโคโรนัล (retro-coronal) หรือข่ายหลอดเลือดดำเรโทรบาลานิก (retro-balanic)[24] หลอดเลือดดำลึกด้านบนซึ่งเป็นหนึ่งในหลอดเลือดดำด้านบนขององคชาตสองเส้น ทำหน้าที่ในการรับเลือดที่ระบายออกจากหัวองคชาตและคอร์ปุส คาเวอร์โนซาผ่านหลอดเลือดดำรูปหมวกที่ล้อมรอบทั้งสามไว้[25][24]

หนังหุ้มปลาย แก้

หัวองคชาตถูกปกคลุมทั้งหมดหรือบางส่วนด้วยผิวหนังที่พับเป็นสองชั้น เรียกว่า หนังหุ้มปลาย ในผู้ใหญ่การเปิดหัวองคชาตสามารถทำได้โดยง่ายโดยการดึงให้หนังหุ้มปลายร่นลงมาด้วยตนเอง หรืออาจมีการร่นลงมาได้เองโดยอัตโนมัติในระหว่างการแข็งตัวขององคชาต ระดับของการร่นหนังหุ้มปลายจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นกับความยาวของหนังหุ้มปลาย[26] วัตถุประสงค์หลักของหนังหุ้มปลายคือปกคลุมหัวองคชาตและรูปัสสาวะ[27][28] โดยขณะเดียวกันก็ช่วยรักษาเยื่อเมือกให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชื้น[29]

ความสามารถในการร่นของหนังหุ้มปลายจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นไปตามอายุ โดยในวัยทารก หนังหุ้มปลายจะเชื่อมติดอยู่กับหัวองคชาต[30] ทำให้การร่นลงจะไม่สามารถทำได้ และจะเป็นเช่นนี้ไปจนถึงช่วงต้นของวัยเด็ก และจะมีการคับแน่นในช่วงวัยก่อนวัยรุ่น[31] จากนั้นผิวหนังจะเริ่มยืดหยุ่นขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ ทำให้จะสามารถร่นหนังหุ้มปลายลงได้อย่างสมบูรณ์เมื่อจำเป็น โดยในอายุสิบแปดปี เด็กผู้ชายส่วนใหญ่จะมีหนังหุ้มปลายที่สามารถร่นลงได้อย่างเต็มที่[32]

ในบางกรณี อาจมีการขริบหนังหุ้มปลายเกิดขึ้นด้วยเหตุผลด้านศาสนา วัฒนธรรม และการป้องกันโรค โดยการขริบเป็นหัตถการที่นำหนังหุ้มปลายองคชาตออกไปเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด[17] หัวองคชาตของผู้ที่ผ่านการขริบแล้วนั้นจะถูกเปิดออกและมีสภาพแห้งอย่างถาวร มีงานวิจัยหลายชิ้นเสนอว่าโดยทั่วไปแล้วนั้น หัวองคชาตของทั้งผู้ที่ได้รับการขริบหรือไม่ขริบนั้นมีความไวต่อความรู้สึกเท่ากัน[33][34][35]

การพัฒนา แก้

หัวองคชาตพัฒนาขึ้นจากโครงสร้างองคชาต เรียกว่า ปุ่มอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งก่อตัวขึ้นในเอ็มบริโอในทั้งสองเพศในช่วงแรกของการตั้งครรภ์[3] ในขั้นแรกนั้นจะยังไม่มีการเปลี่ยนสภาพไป ซึ่งปุ่มจะพัฒนาขึ้นไปเป็นองคชาตในระหว่างการพัฒนาระบบสืบพันธุ์หากมีฮอร์โมนเพศชายเข้ามาควบคุม เช่น แอนโดรเจน

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม การเปลี่ยนสภาพทางเพศจะถูกกำหนดโดยตัวอสุจิซึ่งมีโครโมโซมเอกซ์หรือโครโมโซมวาย (เพศชาย) อย่างใดอย่างหนึ่งบรรจุอยู่[36] โครโมโซมวายจะมียีนกำหนดเพศ (SRY) ที่จะเข้ารหัสสารการถอดรหัสสำหรับโปรตีน TDF (สารกำหนดอัณฑะ) และไปกระตุ้นการสร้างเทสโทสเตอโรนเพื่อพัฒนาให้เอ็มบริโอเป็นเพศชายต่อไป[4][37]

แม้ว่าเพศของทารกจะถูกกำหนดตั้งแต่การปฏิสนธิ[3] การเปลี่ยนสภาพภายนอกที่สมบูรณ์ของอวัยวะจะเริ่มขึ้นในประมาณสัปดาห์ที่แปดหรือเก้าหลังการปฏิสนธิ[38] บางแหล่งข้อมูลระบุว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้นภายในสัปดาห์ที่สิบสอง[39][40] ขณะที่แหล่งอื่นระบุว่าอวัยวะเพศจะเริ่มมีความชัดเจนในสัปดาห์ที่สิบสองและจะพัฒนาเต็มที่ในสัปดาห์ที่สิบหก[4] ทั้งองคชาตและปุ่มกระสันนั้นพัฒนามาจากเนื้อเยื่อเดียวกันที่จะกลายไปเป็นหัวองคชาตและลำขององคชาต การมีต้นกำเนิดร่วมครั้งเอ็มบริโอนี้ทำให้อวัยวะทั้งสองนี้เป็นคู่เหมือน (รูปแบบที่ต่างกันของโครงสร้างเดียวกัน)[4][41]

ในทารกในครรภ์เพศหญิง การขาดเทสโทสเตอโรนจะไปหยุดการเจริญเติบโตขององคชาต ทำให้ปุุ่มนั้นหดเล็กลงและกลายเป็นปุ่มกระสัน ในทารกในครรภ์เพศชาย การมีโครโมโซมวายจะนำไปสู่การพัฒนาของอัณฑะ ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่าแอนโดรเจนออกมาจำนวนมาก ฮอร์โมนเหล่านี้จะทำให้อวัยวะคงเฉยที่มีลักษณะเป็นกลางทางเพศนั้นเกิดมีความเป็นเพศชายขึ้น[3] เมื่อปุ่มได้เผชิญกับเทสโทสเตอโรนแล้ว ปุ่มจะเกิดการยืดออกและกลายเป็นองคชาต การผสานกันของรอยทบปัสสาวะและเพศซึ่งเป็นโครงสร้างรูปกระสวยที่มีส่วนทำให้เกิดร่องท่อปัสสาวะในด้านท้องของปุ่มอวัยวะสืบพันธุ์ โดยโพรงปัสสาวะและเพศจะปิดลงอย่างสมบูรณ์และกลายเป็นท่อปัสสาวะฟองน้ำและลาบิโอสโครทัลที่บวมขึ้นและกลายเป็นถุงอัณฑะ[42][4] การหลั่งของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในระยะนี้จะมีบทบาทสำคัญยิ่งในการกำหนดรูปร่างสุดท้ายขององคชาต และเมื่อหลังจากคลอดแล้ว ระดับของเทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญจนกว่าจะถึงวัยเริ่มเจริญพันธุ์

นัยสำคัญทางคลินิก แก้

เนื้อเยื่อบุผิวของหัวองคชาตประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อเยื่อเมือก โดยเบอร์ลีย์และคณะรายงานว่าการล้างหัวองคชาตด้วยสบู่มากเกินไป อาจทำให้เยื่อเมือกที่ปกคลุมหัวองคชาตอยู่นั้นแห้งและเกิดผิวหนังอักเสบแบบไม่จำเพาะได้ โดยมีลักษณะอาการเป็นการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งมักเกิดจากสารที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองหรือการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ความไวต่อสารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งรวมไปถึงการระคายเคือง อาการคัน และผื่น[43]

การอักเสบของหัวองคชาต เรียกว่า การอักเสบของปลายองคชาต (balanitis) เป็นภาวะที่สามารถรักษาได้ เกิดขึ้นในผู้ชายประมาณร้อยละ 3 ถึง 11 (มากกว่าร้อยละ 35 เป็นชายที่ป่วยเบาหวาน เอ็ดเวิร์ดรายงานว่าโดยทั่วไปแล้วจะพบในผู้ชายที่สุขอนามัยที่ไม่ดีหรือไม่ได้ขริบ โดยมีสาเหตุหลายประการ รวมถึงการระคายเคืองหรือติดเชื้อจุลชีพก่อโรคหลายชนิด อาการของการอักเสบของปลายองคชาตอาจปรากฏขึ้นอย่างทันทีทันใดหรือค่อย ๆ ปรากฏขึ้นก็ได้ โดยอาจรวมไปถึงความเจ็บปวด ระคายเคือง รอยแดงบนหัวองคชาต การระบุสาเหตุอย่างรอบคอบจำต้องมีการตรวจประวัติของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การเก็บตัวอย่างและการเพาะเชื้อ และการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อกำหนดการรักษาได้อย่างเหมาะสม[44]

รูเปิดของท่อปัสสาวะที่อยู่บนปลายของหัวองคชาตอาจเกิดการตีบ (meatal stenosis) ขึ้นได้ โดยมักพิจารณาว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากการขริบ โดยมีอุบัติการประมาณร้อยละ 2 ถึง 20 ในเด็กผู้ชายที่ผ่านการขริบแล้ว[45][46] และไม่ค่อยพบในผู้ชายที่ไม่ขริบ[47] มีอาการที่เป็นลักษณะเฉพาะคือการตีบแคบลงของรูปัสสาวะ และอาจทำให้มีการปัสสาวะบ่อยหรือแสบร้อนระหว่างปัสสาวะได้อย่างกะทันหันหรือบ่อยครั้ง[47]

สัตว์อื่น แก้

สัตว์ตัวผู้ในวงศ์เสือและแมวสามารถการถ่ายปัสสาวะไปข้างหลังได้โดยการโค้งส่วนปลายขององคชาตไปด้านหลัง[48][49] ในแมว หัวองคชาตจะถูกปกคลุมด้วยหนามขณะที่ในสุนัขจะเรียบ หนามองคชาตนี้ยังพบได้ในหัวองคชาตของไฮยีนาลายจุดทั้งตัวผู้และตัวเมีย[48] ในสุนัขตัวผู้ หัวองคชาตจะประกอบด้วยสองส่วน คือ บัลบัสแกลนดิส และ พารส์ลองกาแกลนดิส[50] หัวองคชาตของฟอสซานั้นจะยืดยาวลงมาเป็นระยะครึ่งของลำและจะมีหนามเว้นแต่ส่วนปลาย เมื่อเทียบกับองคชาตของแมวแล้ว องคชาตแมวจะสั้นกว่าและเต็มไปด้วยหนาม ขณะที่สัตว์ในวงศ์ชะมดและอีเห็นจะมีลักษณะเรียบและยาว[51] ในสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องรูปร่างของหัวองคชาตจะแตกต่างกันไปในแต่ละสปีชีส์[52][53][54] โดยสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องส่วนใหญ่จะมีหัวองคชาตที่แยกออกเป็นแฉก เว้นแต่มาโครพอดที่มีหัวองคชาตแบบไม่แบ่ง[5] นอกจากนี้ยังมีตุ่นปากเป็ดและอิคิดนาที่หัวองคชาตแบ่งออกเป็นสองแฉกด้วย[55][56]

หัวองคชาตของหนูที่อยู่ในบึงข้าว (marsh rice rat) จะมีลักษณะยาวและแข็งแรง[57] โดยมีความยาวเฉลี่ย 7.3 มม. และกว้าง 4.6 มม.[58]

ในทอมาโซไมส์อูคูชา จะมีหัวองคชาตที่มีลักษณะกลม สั้น และเล็ก และยังมีการแบ่งออกเป็นซีกซ้ายและขวา และมีร่องบนพื้นผิวด้าบนและเป็นสันที่ด้านล่าง ส่วนปลายจะปกคลุมด้วยหนาม ยกเว้นบริเวณใกล้ส่วนปลาย[59]

หนูวินเคิลมันน์สามารถถูกจำแนกได้อย่างง่ายจะบรรดาสัตว์ในวงศ์เดียวกันเนื่องจากมีหัวองคชาตบางส่วนที่เป็นรอยย่น[60]

ในม้าตัวผู้ เมื่อองคชาตแข็งตัวจะมีความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 3 ถึง 4 เท่า โดยท่อปัสสาวะจะเปิดออกภายในส่วนที่เรียกว่าแอ่งท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นถุงขนาดเล็กที่ปลายสุดของหัวองคชาต[61] หัวองคชาตของม้าจะยื่นเข้าไปภายในลำซึ่งต่างจากมนุษย์[62][63][64][65][66][67][68][69][70]

ค้างคาวพิพิสเทรลของเรซีย์มีหัวองคชาตเป็นรูปไข่และมีลักษณะแคบ[71]

หัวองคชาตของกระรอกดินเคปจะมีขนาดใหญ่และมีกระดูกองคชาตที่เห็นได้อย่างชัดเจน[72]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Olausson, Håkan; Wessberg, Johan; Morrison, India (2016). Affective Touch and the Neurophysiology of CT Afferents. Springer Science+Business Media. p. 305. ISBN 978-1-4939-6418-5. ...the most pleasurable of all body parts when stimulated sexually: the glans (or tip) of the penis.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Yang, C. C.; W.E. Bradley (July 1998). "Neuroanatomy of the penile portion of the human dorsal nerve of the penis". British Journal of Urology. 82 (1): 109–13. doi:10.1046/j.1464-410x.1998.00669.x. PMID 9698671.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 W.George, D.Wilson, Fredrick, Jean (1984). "2 - Sexual Differentiation". Fetal Physiology and Medicine. ScienceDirect (Second, Revised ed.). Butterworth-Heinemann. pp. 57–79. doi:10.1016/B978-0-407-00366-8.50008-3. ISBN 9780407003668.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Schünke, Michael; Schulte, Erik; Lamperti, Edward D.; Schumacher, Udo (2006). Thieme Atlas of Anatomy: General Anatomy and Musculoskeletal System (ภาษาอังกฤษ). Thieme. ISBN 978-1-58890-387-7.
  5. 5.0 5.1 Renfree, Marilyn; Hugh Tyndale-Biscoe (1987-01-30). Reproductive Physiology of Marsupials. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-33792-2. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  6. Keenan-Lindsay, Lisa; Sams, Cheryl; O'Connor, Constance; Perry, Shannon; Hockenberry, Marilyn; Leonard Lowdermilk, Deitra; Wilson, David (December 17, 2021). Maternal Child Nursing Care in Canada. Elsevier Health Sciences. p. 501. ISBN 9780323759205.
  7. Heide Schatten; Gheorghe M. Constantinescu (21 March 2008). Comparative Reproductive Biology. John Wiley & Sons. ISBN 978-0-470-39025-2.
  8. Lee, Shin-Hyo; Ha, Tae-Jun; Koh, Ki-Seok; Song, Wu-Chul (2019). "Ligamentous structures in human glans penis". Journal of Anatomy (ภาษาอังกฤษ). 234 (1): 83–88. doi:10.1111/joa.12896. PMC 6284436. PMID 30450557.
  9. "penis | Description, Anatomy, & Physiology | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-24.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Halata, Z.; Munger, B. L. (1986-04-23). "The neuroanatomical basis for the protopathic sensibility of the human glans penis". Brain Research. 371 (2): 205–230. doi:10.1016/0006-8993(86)90357-4. ISSN 0006-8993. PMID 3697758. S2CID 23781274.
  11. Dean, Robert C.; Lue, Tom F. (2005–2011). "Physiology of Penile Erection and Pathophysiology of Erectile Dysfunction". The Urologic Clinics of North America. 32 (4): 379–v. doi:10.1016/j.ucl.2005.08.007. ISSN 0094-0143. PMC 1351051. PMID 16291031.
  12. 12.0 12.1 12.2 "Glans Penis: Anatomy, Function, and Common Conditions". Healthline (ภาษาอังกฤษ). 2020-05-08. สืบค้นเมื่อ 2022-09-24.
  13. HSU, G‐L., et al. "The distribution of elastic fibrous elements within the human penis." BJU International 73.5 (1994): 566-571.
  14. Gallup, Gordon G., et al. "The human penis as a semen displacement device." Evolution and Human Behavior 24.4 (2003): 277-289
  15. Dixson, Alan F. (2009). Sexual Selection and the Origins of Human Mating Systems (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. p. 68. ISBN 978-0-19-156973-9.
  16. "Penis Frenulum: Location, Function & Conditions". Cleveland Clinic. สืบค้นเมื่อ 2022-09-24.
  17. 17.0 17.1 "Male circumcision: Global trends and determinants of prevalence, safety and acceptability" (PDF). World Health Organization. 2007. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-12.
  18. 18.0 18.1 Weech, David; Ameer, Muhammad Atif; Ashurst, John V. (2022), "Anatomy, Abdomen and Pelvis, Penis Dorsal Nerve", StatPearls, Treasure Island (FL): StatPearls Publishing, PMID 30247841, สืบค้นเมื่อ 2022-09-26
  19. Yang, Claire C.; Bradley, William E. (1999-01-01). "Innervation of the human glans penis". Journal of Urology. 161 (1): 97–102. doi:10.1016/S0022-5347(01)62075-5. PMID 10037378.
  20. Halata, Zdenek; Bryce L. Munger (April 1986). "The neuroanatomical basis for the protopathic sensibility of the human glans penis". Brain Research. 371 (2): 205–30. doi:10.1016/0006-8993(86)90357-4. PMID 3697758. S2CID 23781274.
  21. Halata, Zdenek; A. Spaethe (1997). Sensory innervation of the human penis. Advances in Experimental Medicine and Biology. Vol. 424. pp. 265–6. doi:10.1007/978-1-4615-5913-9_48. ISBN 978-0-306-45696-1. PMID 9361804. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-20. สืบค้นเมื่อ 2006-07-07.
  22. Clement, Pierre; Giuliano, Francois (2015). "3 - Anatomy and physiology of genital organs – men". Handbook of Clinical Neurology (ภาษาอังกฤษ). Vol. 130. Elsevier. pp. 19–37. doi:10.1016/B978-0-444-63247-0.00003-1. ISBN 978-0-444-63247-0. ISSN 0072-9752. PMID 26003237.
  23. Quartey, J. K.M. (2006), Schreiter, F.; Jordan, G.H. (บ.ก.), "Anatomy and Blood Supply of the Urethra and Penis", Urethral Reconstructive Surgery (ภาษาอังกฤษ), Berlin, Heidelberg: Springer, p. 14, doi:10.1007/3-540-29385-x_3, ISBN 978-3-540-29385-9, สืบค้นเมื่อ 2022-10-29
  24. 24.0 24.1 Quartey, J. K.M. (2006), Schreiter, F.; Jordan, G.H. (บ.ก.), "Anatomy and Blood Supply of the Urethra and Penis", Urethral Reconstructive Surgery (ภาษาอังกฤษ), Berlin, Heidelberg: Springer, p. 16, doi:10.1007/3-540-29385-x_3, ISBN 978-3-540-29385-9, สืบค้นเมื่อ 2022-10-29
  25. Hsu, Geng-Long; Hsieh, Cheng-Hsing; Wen, Hsien-Sheng; Chen, Yi-Chang; Chen, Shyh-Chyan; Mok, Martin S. (2003-11-12). "Penile Venous Anatomy: An Additional Description and Its Clinical Implication". Journal of Andrology (ภาษาอังกฤษ). 24 (6): 921–927. doi:10.1002/j.1939-4640.2003.tb03145.x. PMID 14581520.
  26. Velazquez, Elsa F.; Bock, Adelaida; Soskin, Ana; Codas, Ricardo; Arbo, Manuel; Cubilla, Antonio L. (2003). "Preputial variability and preferential association of long phimotic foreskins with penile cancer: an anatomic comparative study of types of foreskin in a general population and cancer patients". The American Journal of Surgical Pathology. 27 (7): 994–998. doi:10.1097/00000478-200307000-00015. ISSN 0147-5185. PMID 12826892. S2CID 34091663.
  27. Kirby R, Carson C, Kirby M (2009). Men's Health (3rd ed.). New York: Informa Healthcare. p. 283. ISBN 978-1-4398-0807-8. OCLC 314774041.
  28. Dobanovacki D, Lucić Prostran B, Sarac D, Antić J, Petković M, Lakić T (2012). "[Prepuce in boys and adolescents: what when, and how?]". Medicinski Pregled. 65 (7–8): 295–300. doi:10.2298/MPNS1208295D. PMID 22924249.
  29. Cold, C. J.; Taylor, J. R. (1999). "The prepuce". BJU International. 83 (S1): 34–44. doi:10.1046/j.1464-410x.1999.0830s1034.x. ISSN 1464-410X.
  30. Dave, Sumit; Afshar, Kourosh; Braga, Luis H.; Anderson, Peter (2018). "CUA guideline on the care of the normal foreskin and neonatal circumcision in Canadian infants". Canadian Urological Association Journal (ภาษาอังกฤษ). 12 (2): E76–E99. doi:10.5489/cuaj.5033. ISSN 1920-1214. PMC 5937400. PMID 29381458. At birth, the inner foreskin is usually fused to the glans penis and should not be forcibly retracted
  31. Dave, Sumit; Afshar, Kourosh; Braga, Luis H.; Anderson, Peter (2018). "CUA guideline on the care of the normal foreskin and neonatal circumcision in Canadian infants". Canadian Urological Association Journal (ภาษาอังกฤษ). 12 (2): E76–E99. doi:10.5489/cuaj.5033. ISSN 1920-1214. PMC 5937400. PMID 29381458. the incidence of non- retractable physiological phimosis was 50% in grade 1 boys and decreased to 35% in grade 4 and 8% in grade 7 boys
  32. McGregor, Thomas B.; Pike, John G.; Leonard, Michael P. (2007). "Pathologic and physiologic phimosis: Approach to the phimotic foreskin". Canadian Family Physician (ภาษาอังกฤษ). 53 (3): 445–448. PMC 1949079. PMID 17872680. most foreskins will become retractile by adulthood.
  33. Bleustein, Clifford B.; James D. Fogarty; Haftan Eckholdt; Joseph C. Arezzo; Arnold Melman (April 2005). "Effect of neonatal circumcision on penile neurologic sensation". Urology. 65 (4): 773–7. doi:10.1016/j.urology.2004.11.007. PMID 15833526.
  34. Bleustein, Clifford B.; Haftan Eckholdt; Joseph C. Arezzo; Arnold Melman (April 26 – May 1, 2003). "Effects of Circumcision on Male Penile Sensitivity". American Urological Association 98th Annual Meeting. Chicago, Illinois. Archived from the original on February 7, 2005.
  35. Payne, Kimberley; Thaler, Lea; Kukkonen, Tuuli; Carrier, Serge; Binik, Yitzchak (May 2007). "Sensation and Sexual Arousal in Circumcised and Uncircumcised Men". Journal of Sexual Medicine. 4 (3): 667–674. doi:10.1111/j.1743-6109.2007.00471.x. PMID 17419812.
  36. Arulkumaran, Sabaratnam; Regan, Lesley; Papageorghiou, Aris; Monga, Ash; Farquharson, David (2011-06-23). Oxford Desk Reference: Obstetrics and Gynaecology (ภาษาอังกฤษ). OUP Oxford. ISBN 978-0-19-162087-4.
  37. "Genetic Mechanisms of Sex Determination | Learn Science at Scitable". www.nature.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-23.
  38. Merz, Eberhard; Bahlmann, F. (2004). Ultrasound in Obstetrics and Gynecology. Vol. 1. Thieme Medical Publishers. ISBN 978-1-58890-147-7.
  39. C.L.Lachelin, Gillian (1991). "Chapter 4 - Sexual differentiation". Introduction to Clinical Reproductive Endocrinology. ScienceDirect. Butterworth-Heinemann. pp. 36–41. doi:10.1016/B978-0-7506-1171-8.50008-8. ISBN 9780750611718.
  40. Merz, Eberhard; Bahlmann, F. (2004). Ultrasound in Obstetrics and Gynecology. Vol. 1. Thieme Medical Publishers. ISBN 978-1-58890-147-7
  41. Sloane, Ethel (2002). Biology of Women (ภาษาอังกฤษ). Delmar Thomson Learning. ISBN 978-0-7668-1142-3.
  42. Sloane, Ethel (2002). Biology of Women. Cengage Learning. ISBN 978-0-7668-1142-3. Archived from the original on 13 June 2013. Retrieved 27 October 2015.
  43. "Contact Dermatitis: Irritants, Allergies, Symptoms & Treatment". Cleveland Clinic. สืบค้นเมื่อ 2022-09-25.
  44. "Balanitis: Types, Symptoms, Causes, Treatments, Prevention & Relief". Cleveland Clinic. สืบค้นเมื่อ 2022-09-25.
  45. Sorokan SK, Finlay JC, Jefferies AL (2015). "Newborn male circumcision". Paediatrics & Child Health. 20 (6): 311–320. doi:10.1093/pch/20.6.311. PMC 4578472. PMID 26435672. สืบค้นเมื่อ 20 October 2017.
  46. Koenig JF (22 September 2016). "Meatal stenosis". EMedicine. สืบค้นเมื่อ 2 October 2017.
  47. 47.0 47.1 "Meatal Stenosis: Symptoms, Diagnosis & Treatment - Urology Care Foundation". www.urologyhealth.org. สืบค้นเมื่อ 2022-09-25.
  48. 48.0 48.1 R. F. Ewer (1973). The Carnivores. Cornell University Press. pp. 116–. ISBN 978-0-8014-8493-3. สืบค้นเมื่อ 8 February 2013.
  49. Reena Mathur (2010). Animal Behaviour 3/e. Rastogi Publications. ISBN 978-81-7133-747-7. สืบค้นเมื่อ 10 February 2013.[ลิงก์เสีย]
  50. Howard E. Evans; Alexander de Lahunta (7 August 2013). Miller's Anatomy of the Dog. Elsevier Health Sciences. ISBN 978-0-323-26623-9.
  51. Köhncke, M.; Leonhardt, K. (1986). "Cryptoprocta ferox" (PDF). Mammalian Species (254): 1–5. doi:10.2307/3503919. JSTOR 3503919. สืบค้นเมื่อ 19 May 2010.
  52. Australian Mammal Society (December 1978). Australian Mammal Society. Australian Mammal Society. pp. 73–. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
  53. Wilfred Hudson Osgood; Charles Judson Herrick (1921). A monographic study of the American marsupial, Caēnolestes …. University of Chicago. pp. 64–. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
  54. The Urologic and Cutaneous Review. Urologic & Cutaneous Press. 1920. pp. 677–. สืบค้นเมื่อ 25 December 2012.
  55. Mervyn Griffiths (2 December 2012). The Biology of the Monotremes. Elsevier Science. ISBN 978-0-323-15331-7.
  56. Libbie Henrietta Hyman (15 September 1992). Hyman's Comparative Vertebrate Anatomy. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-87013-7.
  57. Hooper and Musser, 1964, p. 13
  58. Hooper and Musser, 1964, table 1
  59. Voss, 2003, p. 11
  60. Bradley, R.D.; Schmidley, D.J. (1987). "The glans penes and bacula in Latin American taxa of the Peromyscus boylii group". Journal of Mammalogy. 68 (3): 595–615. doi:10.2307/1381595. JSTOR 1381595.
  61. "The Stallion: Breeding Soundness Examination & Reproductive Anatomy". University of Wisconsin-Madison. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-16. สืบค้นเมื่อ 7 July 2007.
  62. Mating Males: An Evolutionary Perspective on Mammalian Reproduction. Cambridge University Press. 30 June 2012. ISBN 978-1-107-00001-8. สืบค้นเมื่อ 5 May 2013.
  63. Bassert, Joanna M; McCurnin, Dennis M (2013-04-01). McCurnin's Clinical Textbook for Veterinary Technicians - Joanna M Bassert, Dennis M McCurnin - Google Boeken. ISBN 978-1-4557-2884-8. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  64. Research, Equine (2005-07-01). Horseman's Veterinary Encyclopedia, Revised and Updated - Equine Research - Google Boeken. ISBN 978-0-7627-9451-5. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  65. Weese, Scott; Graham Munroe, Dr; Munroe, Graham (2011-03-15). Equine Clinical Medicine, Surgery and Reproduction - Graham Munroe BVSc (Hons) PhD Cert EO DESM Dip ECVS FRCVS, Scott Weese DVM DVSc DipACVIM - Google Boeken. ISBN 978-1-84076-608-0. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  66. König, Horst Erich; Hans-Georg, Hans-Georg; Bragulla, H (2007). Veterinary Anatomy of Domestic Mammals: Textbook and Colour Atlas - Google Boeken. ISBN 978-3-7945-2485-3. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  67. Hedge, Juliet (2004). Horse Conformation: Structure, Soundness, and Performance - Equine Research - Google Boeken. ISBN 978-1-59228-487-0. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.[ลิงก์เสีย]
  68. Evans, Warren J; Borton, Anthony; Hintz, Harold; Dale Van Vleck, L (1990-02-15). The Horse - Google Boeken. ISBN 978-0-7167-1811-6. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  69. Schatten, Heide; Constantinescu, Gheorghe M (2008-03-21). Comparative Reproductive Biology - Heide Schatten, Gheorghe M. Constantinescu - Google Boeken. ISBN 978-0-470-39025-2. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  70. McKinnon, Angus O; Squires, Edward L; Vaala, Wendy E; Varner, Dickson D (2011-07-05). Equine Reproduction - Google Boeken. ISBN 978-0-470-96187-2. สืบค้นเมื่อ 2013-08-16.
  71. Bates et al., 2006, pp. 306–307
  72. Skurski, D., J. Waterman. 2005. "Xerus inauris", Mammalian Species 781:1-4.



แหล่งข้อมูลอื่น แก้