บทบาททางเพศ
บทบาททางเพศ (อังกฤษ: gender role หรือ sex role)[1] คือบทบาททางสังคม ครอบคลุมทั้งพฤติกรรมและทัศนคติของแต่ละคนที่เชื่อว่าเหมาะสม เป็นที่ยอมรับและน่าชื่นชมโดยใช้เพศสภาพเป็นตัวกำหนด[2][3] บทบาททางเพศนั้นเน้นแนวคิดของความเป็นผู้หญิงและความเป็นผู้ชาย[2] แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นและรูปแบบหลากหลาย ซึ่งอาจแตกต่างไปแล้วแต่วัฒนธรรม
หลายกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวสิทธิสตรีพยายามเปลี่ยนแปลงบทบาททางเพศนี้ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นการกดขี่หรือไม่ถูกต้อง
ประวัติ
แก้องค์การอนามัยโลกอธิบายความหมายของบทบาททางเพศไว้ว่า เป็นบทบาทที่สังคมกำหนดไว้ว่าเป็นพฤติกกรม การกระทำ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับผู้ชายและผู้หญิง[4] อย่างไรก็ตามยังมีการโต้เถียงกันอยู่ว่าบทบาททางเพศนั้น สังคมเป็นผู้กำหนดมากน้อยแค่ไหนและบทบาทที่สังคมกำหนดนั้นเด็ดขาดหรือเปลี่ยนแปลงได้[5][6][7][8][9] เพราะฉะนั้นคำนิยามที่แท้จริงของบทบาททางเพศนั้นยากที่จะอธิบาย
ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ในการออกคะแนนเสียงเลือกตั้งในหลายประเทศในโลกจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 หรือ 20[10][11][12] และยังมีหญิงบางส่วนที่ยังไม่มีสิทธิ์จนเข้าศตวรรษที่ 21[13] ผู้หญิงทั่วโลกยังไม่ได้รับการปกป้องหรืออิสรภาพภายใต้กฎหมาย และผู้ชายที่ถูกมองว่าเป็นคนหาเลี้ยงครอบครัว มักไม่ได้ลาพักเมื่อลูกคลอด(Paternity leave)[14]
อย่างไรก็ตามบทบาททางเพศบางอย่างก็มีผลทางบวกและการไม่มีบทบาททางเพศเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยาก แม้บทบาททางเพศอาจถูกใช้เป็นค่านิยมทางเพศที่ไม่ดี บางครั้งก็เป็นประโยชน์ในการกำหนดและตรวจสอบพฤติกรรมที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ยิ่งไปกว่านั้นการเติมเต็มบทบาททางเพศนี้ก็เกี่ยวโยงกับการมีความภูมิใจในตนที่มากขึ้นและในทางกลับกัน[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ Levesque R.J.R. (2011) Sex Roles and Gender Roles. In: Levesque R.J.R. (eds) Encyclopedia of Adolescence. Springer, New York, NY. ISBN 978-1-4419-1695-2. Retrieved January 22, 2018.
- ↑ 2.0 2.1 Sandra Alters, Wendy Schiff (2009). Essential Concepts for Healthy Living. Jones & Bartlett Publishers. p. 143. ISBN 0763756415. สืบค้นเมื่อ January 3, 2018.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ David S. Gochman (2013). Handbook of Health Behavior Research II: Provider Determinants. Springer Science & Business Media. p. 424. ISBN 1489917608. สืบค้นเมื่อ January 3, 2018.
- ↑ "What do we mean by "sex" and "gender"?". WHO.int. World Health Organization. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2015. สืบค้นเมื่อ 18 August 2015.
- ↑ The social construction of race. The Atlantic. https://www.theatlantic.com/national/archive/2013/05/the-social-construction-of-race/275974/
- ↑ Henry, S. (2009) Social construction of crime. In J. Miller (Ed.), 21st Century criminology: A reference handbook. (pp. 296-306). Thousand Oaks: SAGE Publications, Inc. doi:10.4135/9781412971997.n34
- ↑ Hacking, I (1999) The social construction of what?. Harvard University Press.
- ↑ http://www.aifs.gov.au/conferences/aifs7/francis.html
- ↑ Francis, B. (2000) Is gender a social construct or a biological imperative? Family Futures : Issues in Research and Policy 7th Australian Institute of Family Studies Conference http://www.aifs.gov.au/conferences/aifs7/francis.html
- ↑ 'New Zealand women and the vote', URL: http://www.nzhistory.net.nz/politics/womens-suffrage เก็บถาวร 2014-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, (Ministry for Culture and Heritage), updated 17 July 2014.
- ↑ Karlsson Sjögren, Åsa, Männen, kvinnorna och rösträtten: medborgarskap och representation 1723-1866 [Men, women and suffrage: citizenship and representation 1723-1866], Carlsson, Stockholm, 2006 (in Swedish)
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ 2018-04-21.
- ↑ "In Saudi Arabia, a Quiet Step Forward for Women". The Atlantic. Oct 26 2011
- ↑ James Poniewozik (10 June 2014). "it's time for paternity leave for working fathers". TIME.com. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
- ↑ Frome, P. & Eccles (1996) Gender roles identity and self-esteem. Poster presented at the biannual meeting of the Society for Research on Adolescence.