สถานะเพศ[1] (อังกฤษ: gender) หรือ เพศสภาพ คือลักษณะต่าง ๆ ที่บ่งบอกความเป็นชาย (masculinity) และความเป็นหญิง (femininity) ซึ่งอาจหมายถึง เพศทางชีววิทยา (เช่น เพศชาย เพศหญิง เพศกำกวม) โครงสร้างทางสังคมที่อาศัยความเป็นเพศ (เช่น บทบาทประจำเพศ และบทบาททางสังคมด้านอื่น ๆ) หรือ อัตลักษณ์ทางเพศ (หรือ เพศเอกลักษณ์, gender identity) แล้วแต่บริบท[2][3][4] ผู้ที่ไม่มองว่าตนเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิงมักเรียกรวม ๆ ว่าเป็นเพศทางเลือก มีคำเรียกหลายอย่าง เช่น non-binary, genderqueer บางวัฒนธรรมจะมีบทบาทโดยเฉพาะของเพศที่สาม เช่น กลุ่มฮิจรา ในเอเชียใต้ เป็นต้น

องค์การอนามัยโลก ให้ความหมายของสถานะเพศ เอาไว้ว่า "คุณลักษณะของผู้หญิงและผู้ชายในบทบาทประกอบสร้างทางสังคม พฤติกรรม กิจกรรมและคุณลักษณะที่ให้สังคมพิจารณาว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง"[4] ในขณะที่คำว่า เพศ (Sex) มีความหมายในลักษณะทางชีววิทยาของบุคคล ที่แบ่งเป็นเพศหญิง และเพศชาย

เพศภาวะมิใช่เป็นเพียงการแบ่งเพศชาย เพศหญิง ทางกายวิภาคและสรีรวิทยาเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการถูกกำหนดโดยสังคมและวัฒนธรรมที่กำหนดความเป็นหญิง-ชาย ความความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหญิงชาย ลักษณะเฉพาะประจำเพศ (gender stereotype) และความเป็นตัวตนของหญิงชายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

ส่วนภาษาไทย อาจมีคนแปลความหมายของคำว่า gender ว่า "เพศภาวะ" "เพศสภาวะ" "ความเป็นหญิงชาย" "บทบาทหญิงชาย" "มิติหญิงชาย" หรือ "เพศทางสังคม"[5][6]

ดูเพิ่ม

แก้

หนังสือและบทความ

แก้
  • สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา. (2558). การวิเคราะห์เรื่องเพศภาวะในสังคมไทย: มุมมองทางประวัติศาสตร์ (สุชีลา ตันชัยนันท์, แปล). ใน สุชีลา ตันชัยนันท์ (บก.), จิตร ภูมิศักดิ์และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย (น. 38-46). กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก.

ออนไลน์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557. 284 หน้า. หน้า 105. ISBN 978-616-7073-94-1
  2. Udry, J. Richard (November 1994). "The Nature of Gender" (PDF). Demography. 31 (4): 561–573. doi:10.2307/2061790. JSTOR 2061790. PMID 7890091.
  3. Haig, David (April 2004). "The Inexorable Rise of Gender and the Decline of Sex: Social Change in Academic Titles, 1945–2001" (PDF). Archives of Sexual Behavior. 33 (2): 87–96. doi:10.1023/B:ASEB.0000014323.56281.0d. PMID 15146141. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 June 2012.
  4. 4.0 4.1 "What do we mean by "sex" and "gender"?". World Health Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2017. สืบค้นเมื่อ 26 November 2015.
  5. ความรู้ที่ใช้เป็นฐานคิดสำหรับการปฏิบัติ 14 ข้อ[ลิงก์เสีย]
  6. เพศวิถี : นิยามความหมาย และพัฒนาการกรอบแนวคิด เก็บถาวร 2011-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์