กระทรวงมุรธาธร
กระทรวงมุรธาธร เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวงในอดีต ได้รับการสถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาพระราชลัญจกรและหนังสือราชการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์[1][2]
Ministry of the Privy Seal | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 เมษายน พ.ศ. 2435 4 มีนาคม พ.ศ. 2455 (ครั้งที่ 2) 7 เมษายน พ.ศ. 2475 (ครั้งที่ 3) | (ครั้งที่ 1)
กระทรวงก่อนหน้า |
|
ยุบเลิก | 23 กันยายน พ.ศ. 2439 1 เมษายน พ.ศ. 2469 (ครั้งที่ 2) 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (ครั้งที่ 3) | (ครั้งที่ 1)
หน่วยงานสืบทอด |
|
ประวัติ
แก้เดิมกรมพระอาลักษณ์เป็นหน่วยงานราชเลขานุการด้านหนังสือของพระมหากษัตริย์ ต่อมานสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2435 โดยได้จัดตั้งกระทรวงมุรธาธรขึ้น และแบ่งส่วนราชการพร้อมทั้งกำหนดขอบเขตหน้าที่ใหม่ให้ชัดเจนดังนี้
- กรมพระอาลักษณ์ ปฏิบัติงานด้านเอกสารและหนังสือ
- กรมรัฐมนตรีสภา ปฏิบัติงานประชุมเสนาบดี
- กรมราชเลขานุการ ปฏิบัติงานรับใช้พระมหากษัตริย์ในราชการส่วนพระองค์
ในพ.ศ. 2439 ได้มีการยุบกระทรวงมุรธาธรเข้ากับกระทรวงวัง และรวมเอากรมทั้งสามไว้ในความรับผิดชอบของราชเลขานุการ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตั้งกระทรวงมุรธาธรขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2455 แต่ให้มีเฉพาะ กรมพระอาลักษณ์และกรมราชเลขานุการ ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นกรมราชเลขาธิการ ส่วนกรมรัฐมนตรีสภานั้นไม่ได้ตั้งขึ้นแต่ให้งานด้านนี้อยู่ในบังคับบัญชาของราชเลขาธิการ และกรมทั้งสองนี้ร่วมกันรับผิดชอบการประชุมเสนาบดีมาโดยตลอด เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 แล้วจึงมีการโอนกรมพระอาลักษณ์ไปอยู่กับคณะรัฐมนตรี (ปัจจุบันคือ กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี) เหลือแต่กรมราชเลขาธิการ[3] (ปัจจุบันคือ กรมราชเลขานุการในพระองค์ สังกัดสำนักพระราชวัง)
รายพระนามเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
แก้ลำดับ (สมัย) |
รูป | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา | พ.ศ. 2436 | 23 กันยายน พ.ศ. 2439[4] | |
2 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ | 1 เมษายน พ.ศ. 2455[5] | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2466 | |
3 | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2466[6] | 1 เมษายน พ.ศ. 2469[7] | |
4 | เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) | 7 เมษายน พ.ศ. 2475[8] | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475[9] |
อ้างอิง
แก้- ↑ "การปฏิรูปการปกครองส่วนกลางของรัชกาลที่ 5". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-22. สืบค้นเมื่อ 2021-07-12.
- ↑ ประวัติกระทรวงคมนาคม ในระหว่าง พ.ศ.2418 ถึง พ.ศ.2435[ลิงก์เสีย]
- ↑ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2561). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นจาก https://www2.soc.go.th/?page_id=159
- ↑ ประกาศ ยกเลิกตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
- ↑ ประกาศ แยกหน้าที่กรมราชเลขานุการ และตั้งกระทรวงมุรธาธร และเปลี่ยนเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ
- ↑ ประกาศ ตั้งผู้แทนเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศและเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร
- ↑ ประกาศ เรื่อง เลิกกระทรวงมุรธาธร
- ↑ ประกาศ เปลี่ยนนามกรมราชเลขาธิการเป็นกระทรวงมุรธาธร
- ↑ ประกาศ ผลัดเปลี่ยนเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่าง ๆ และรวมกระทรวง