ชายผู้เห็นภรรยาเป็นหมวก

หนังสือโดย โอลิเวอร์ แซ็กส์
(เปลี่ยนทางจาก The Man Who Mistook His Wife for a Hat)

ชายผู้เห็นภรรยาเป็นหมวก (อังกฤษ: The Man Who Mistook His Wife for a Hat) เป็นหนังสือที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1985 ของประสาทแพทย์ โอลิเวอร์ แซ็กส์ อธิบายประวัติผู้ป่วยของเขาบางคน ชื่อหนังสือมาจากกรณีศึกษาของชายผู้มีภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (visual agnosia)[1] คือ "ชายผู้สำคัญผิดว่าภรรยาตนเป็นหมวก" ซึ่งมีการใช้ไปเป็นเรื่องอุปรากรที่เปิดฉากในปี ค.ศ. 1986

ชายผู้เห็นภรรยาเป็นหมวก
ผู้ประพันธ์โอลิเวอร์ แซ็กส์
ประเทศสหรัฐ
ภาษาภาษาอังกฤษ
หัวเรื่องประสาทวิทยา, จิตวิทยา
ประเภทประวัติผู้ป่วย
สำนักพิมพ์Summit Books (ประเทศสหรัฐอเมริกา)
Gerald Duckworth (ประเทศอังกฤษ)
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1985
ชนิดสื่อหนังสือ
หน้า233 (พิมพ์ครั้งที่ 1)
ISBN0-671-55471-9
OCLC12313889
616.8 19
LC ClassRC351 .S195 1985
เรื่องก่อนหน้าA Leg to Stand On (ค.ศ. 1984) 
เรื่องถัดไปSeeing Voices (ค.ศ. 1989) 

หนังสือมี 24 บทที่แบ่งออกเป็น 4 ภาค แต่ละภาคเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นหนึ่งของหน้าที่ในสมอง เช่น เรื่องความบกพร่องและเรื่องความเกินที่มีใน 2 ภาคแรก (โดยมีการเน้นที่สมองซีกขวา) ในขณะที่ภาคที่ 3 และภาคที่ 4 พรรณนาถึงสิ่งที่ปรากฏโดยอัตวิสัยกับคนไข้ โดยกล่าวถึงเหตุการณ์ที่มีการระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตโดยไม่มีสาเหตุ การรับรู้ที่เพี้ยนไป และความสามารถและลักษณะที่น่าอัศจรรย์ในบุคคลพิการทางสมอง[2]

เนื้อความ

แก้

บทต่าง ๆ ในหนังสือ เช่น

  • "The Lost Mariner" (นาวิกโยธินผู้หลงทาง) เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิมมี่ จี ผู้ได้สูญเสียความสามารถในการสร้างความจำใหม่เนื่องจากโรค Korsakoff's syndrome (กลุ่มอาการหลงลืมเนื่องจากการเสพสุรา) เขาไม่สามารถจำสิ่งที่เกิดในชีวิตของเขาได้เริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รวมทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่พึ่งเกิดขึ้น 2-3 นาทีก่อน เขาเชื่อว่าตนยังอยู่ในปี ค.ศ. 1945 (ทั้งที่จริง ๆ อยู่ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1980) และดูเหมือนจะมีพฤติกรรมเหมือนกับคนหนุ่มฉลาดปกตินอกเหนือจากความไม่สามารถระลึกถึงอดีตและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเขา จิมมี่ต้องดิ้นรนที่จะหาความหมาย ความพอใจ และความสุขในชีวิตของเขา ท่ามการการหลงลืมที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องว่ากำลังทำอะไรอยู่จากขณะหนึ่งไปสู่อีกขณะหนึ่ง
  • "The President's Speech" (ปาฐกถาของประธานาธิบดี)[3] เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนไข้ภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) และภาวะเสียการระลึกรู้เกี่ยวกับน้ำเสียง (tonal agnosia) ในหอผู้ป่วยหนึ่ง ที่กำลังฟังปาฐกถาโดยประธานาธิบดีที่เคยเป็นดาราไม่ได้ออกชื่อคนหนึ่ง เชื่อว่าคืออดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน คนไข้กลุ่มแรกหัวเราะเพราะเหตุแห่งปาฐกถานั้น ซึ่งคุณหมอแซ็กส์อ้างว่ามีสีหน้าและน้ำเสียงของประธานาธิบดีที่ "ไม่จริงใจ" เป็นเหตุ (คือคนไข้ไม่สามารถเข้าใจถึงคำที่พูดได้ แต่สามารถอ่านสีหน้าและน้ำเสียงได้) ส่วนหญิงคนหนึ่งในคนไข้กลุ่มที่สองวิจารณ์ถึงโครงสร้างคำพูดว่า "พูดใช้สำนวนที่ไม่ดี ใช้คำอย่างไม่ถูกต้อง ถ้าเขาไม่มีสมองเสียหายก็คงจะมีอะไรที่จะต้องหลบซ่อน" คุณหมอสรุปว่า คนทั่วไปกลับถูกหลอกโดยคำพูดของประธานาธิบดีคนนี้ แต่ว่าคนไข้มีสมองเสียหายกลับไม่ถูกหลอก
  • "The Disembodied Lady" (หญิงผู้ไร้ร่าง) เป็นกรณีของหญิงผู้สูญเสียประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) ทั้งหมด เป็นประสาทสัมผัสเกี่ยวกับตำแหน่งของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเปรียบเทียบกับอวัยวะที่อยู่ใกล้ ๆ กัน
  • "On the Level" (ต้องใช้ระดับน้ำ) เป็นอีกกรณีหนึ่งของคนไข้ที่มีการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) เสียหาย คุณหมอแซ็กส์ได้สัมภาษณ์คนไข้คนหนึ่ง ซึ่งมีปัญหาในการเดิน คือ ไม่สามารถเดินได้โดยไม่ล้ม แล้วพบว่า คนไข้ได้สูญเสียประสาทสัมผัสเกี่ยวกับความสมดุลของร่างกายเนื่องจากอาการคล้าย ๆ กับโรคพาร์กินสันที่ได้ทำความเสียหายให้กับหูชั้นใน เมื่อคนไข้ ได้เปรียบเทียบประสาทสัมผัสของตนกับเครื่องวัดระดับน้ำของช่างไม้ ก็ได้เสนอการสร้างเครื่องมือที่คล้าย ๆ กันเพื่อประกอบกับแว่นตา ซึ่งทำให้เขาสามารถรู้ความสมดุลร่างของตนโดยใช้ตา ซึ่งต่อมากลายเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในคนไข้อีกหลายคนในสถานพยาบาลแห่งนั้น
  • "The Twins" (แฝด) เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนไข้โรคออทิซึมที่มีความสามารถพิเศษ (autistic savant หรือ ปราชญ์ออทิซึม) คือ คุณหมอแซ็กส์ได้พบกับแฝดชายพี่น้องคู่หนึ่งซึ่งไม่สามารถจะอ่านหรือคูณเลขได้ แต่ว่า กลับเล่น "เกม" หาจำนวนเฉพาะ (เลขที่หารได้ด้วยหนึ่งและตัวของมันเองเท่านั้น) ได้ ในขณะที่แฝดคู่นี้สามารถบอกเลขเช่นนี้ตั้งแต่หลักเลข 6 ตัวจนถึง 20 ตัว คุณหมอแซ็กส์กลับต้อง (โกง) ใช้หนังสือเลขจำนวนเฉพาะเพื่อที่จะเล่นเกมนี้กับแฝดพี่น้อง เหตุการณ์นี้ได้ถูกถ่ายทอดในภาพยนตร์เรื่อง House of Cards (ค.ศ. 1993) ซึ่งแสดงนำโดยทอมมี่ ลี โจนส์ แฝดคู่นี้ยังสามารถนับจำนวนไม้ขีด 111 อันที่ตกลงที่พื้นอีกด้วย และให้สังเกตการณ์โดยฉับพลันได้อีกด้วยว่า 111 เป็น 37 สามครั้ง แต่เรื่องนี้ได้รับการตั้งข้อสงสัยโดยมาโกโตะ ยามางูจิ ผู้ไม่เชื่อว่าหนังสือเลขจำนวนเฉพาะจะมีอย่างที่คุณหมอกล่าวไว้ และระบุว่า รายงานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อกล่าวถึงแต่การรับรู้จำนวนโดยประมาณเมื่อมีการนับวัตถุเป็นจำนวนมาก[4][5] ส่วนปราชญ์ออทิซึมแดเนียล แทมเม็ตชี้ว่า เนื่องจากแฝดพี่น้องเป็นเจ้าของกล่องไม้ขีด จึงอาจจะได้นับจำนวนไม้ขีดไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่า จำนวน 111 เป็น "เลขที่สวยเป็นพิเศษและมีรูปเหมือนกับไม้ขีด"[6]
  • "The Dog Beneath the Skin" (สุนัขใต้ผิวหนัง) เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักเรียนแพทย์อายุ 22 ที่คุณหมอเรียกว่า "สตีเฟ่น ดี" หลังจากที่ได้เสพยาแอมเฟตามีน โคเคน และ Phencyclidine ผู้ตื่นขึ้นมาพบว่า มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไวขึ้นเป็นพิเศษ[7] หลังจากที่พิมพ์หนังสือเล่มนี้ไปแล้วหลายปี คุณหมอได้เปิดเผยในภายหลังว่า จริง ๆ แล้วคุณหมอเองนั่นแหละคือนักศึกษาแพทย์สตีเฟ่น ดี[8]

ในสื่อ

แก้
  • คริสโตเฟอร์ รอเล็นซ์ได้เขียนเนื้อเพลงของอุปรากรกำกับโดยไมเคิล มอร์ริส ใช้ชื่อของหนังสือนี้ (The Man Who Mistook His Wife for a Hat) ซึ่งเปิดฉากเป็นครั้งแรกในมหานครลอนดอนในปี ค.ศ. 1986 ต่อมาอุปรากรเรื่องนี้ได้ถูกนำไปออกอากาศทางโทรทัศน์ในประเทศอังกฤษ
  • คนไข้ในบทหนึ่งของหนังสือเป็นชายชื่อว่าจิมมี่ จี ผู้มีภาวะเสียความจำส่วนอดีต (anterograde amnesia) ซึ่งเป็นชื่อเหมือนกับจอห์น จี ผู้เป็นตัวละครหลักที่มีความเสียหายทางสมองอย่างเดียวกันในภาพยนตร์ "ภาพหลอนซ่อนรอยมรณะ"
  • ในนวนิยาย (ค.ศ. 2011) 11/22/63 ของสตีเฟน คิง มีตัวละครชื่อว่าเจกที่กล่าวว่า ไม่ใช่ "ชายผู้ถือเอาภรรยาของตนว่าเป็นหมวก" แต่ว่าเป็น "ชายผู้คิดว่าตนอยู่ในปี ค.ศ. 1958"

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Sacks 1985.
  2. Sacks 1985, p. 163.
  3. "The President's Speech". Junkfood for Thought. 1 April 2008. สืบค้นเมื่อ 17 August 2009.
  4. Yamaguchi, Makoto (2006). "Questionable Aspects of Oliver Sacks' (1985) Report" (PDF). Journal of Autism and Developmental Disorders. 37 (7): 1396–1396. doi:10.1007/s10803-006-0257-0. PMID 17066308.
  5. Yamaguchi, Makoto (2007). "Response to Snyder's "Comments on Priming Skills of Autistic Twins and Yamaguchi (2006) Letter to the Editor: 'Questionable Aspects of Oliver Sacks' (1985) Report"" (PDF). Journal of Autism and Developmental Disorders. 37 (7): 1401. doi:10.1007/s10803-007-0397-x.[ลิงก์เสีย]
  6. Wilson, Peter (31 January 2009). "A savvy savant finds his voice". The Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-26. สืบค้นเมื่อ 12 March 2009.
  7. Sacks 1985, p. 149.
  8. Sacks 2007, p. 158.
  9. Music Reviews, United Kingdom: BBC.

บรรณานุกรม

แก้