ซัมกุก ซากี

(เปลี่ยนทางจาก Samguk Sagi)

ซัมกุก ซากี (เกาหลี삼국사기; ฮันจา三國史記; แปล พงศาวดารของสามก๊ก) เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของสามก๊กแห่งเกาหลี (อาณาจักรโคกูรยอ อาณาจักรแพคเจ และอาณาจักรชิลลา) เขียนเสร็จใน ค.ศ. 1145 โดยเป็นที่รู้จักกันดีในเกาหลีว่าเป็นพงศาวดารประวัติศาสตร์เกาหลีที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เหลือรอด

ซัมกุกซากี
ผู้ประพันธ์Kim Bu-sik
ชื่อเรื่องต้นฉบับ삼국사기 (三國史記)
ประเทศโครยอ
ภาษาจีนคลาสสิก
หัวเรื่องประวัติศาสตร์เกาหลี
ประเภทประวัติศาสตร์โบราณ
วันที่พิมพ์ค.ศ. 1145

ซัมกุก ซากี เขียนด้วยภาษาจีนคลาสสิก ซึ่งเป็นภาษาเขียนในวรรณกรรมเกาหลีโบราณ และรวบรวมภายใต้พระราชกระแสรับสั่งของพระเจ้าอินจงแห่งโครยอ (ครองราชย์ ค.ศ. 1122–1146) และดำเนินการโดย Kim Bu-sik ข้าราชการและนักประวัติศาสตร์ และกลุ่มนักวิชาการชั้นรอง สถาบันประวัติศาสตร์เกาหลีแห่งชาติ (National Institute of Korean History) นำเอกสารนี้ไปแปลงเป็นดิจิทัล และเพิ่มคำแปลในภาษาเกาหลีสมัยใหม่ในอักษรฮันกึลและข้อความต้นฉบับในภาษาจีนคลาสสิก[1]

รายละเอียด

แก้

ซัมกุก ซากี มีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์เกาหลีในสมัยสามก๊กและอาณาจักรรวมชิลลาอย่างมาก ไม่เพียงเพราะผลงานนี้และ ซัมกุก ยูซา ผลงานทางศาสนาพุทธ ที่ยังคงเป็นข้อมูลเกาหลีที่ยังเหลือรอดในสมัยนี้เท่านั้น แต่ ซัมกุก ซากี มีข้อมูลและรายละเอียดจำนวนมาก เช่น ตารางแปลในหนังสือเล่มที่ 35 และ 36 ถูกใช้ในการสร้างภาษาโคกูรยอใหม่ในเบื้องต้น[2]

ภูมิหลัง

แก้

ที่มา

แก้

ซัมกุก ซากี เขียนตามแบบของ กู ซัมกุกซา (舊三國史, ประวัติศาสตร์สามก๊กเก่า) และบันทึกประวัติศาสตร์ก่อนหน้า เช่น ฮวารัง เซกี (花郞世記, บันทึกประวัติศาสตร์ฮวารัง) ที่ส่วนใหญ่หายสาบสูญ

ส่วนแหล่งข้อมูลภายนอก ไม่มีการอ้างอิงถึงพงศาวดารญี่ปุ่น อย่างโคจิกิ (古事記) หรือนิฮงโชกิ (日本書紀) ที่เผยแพร่เมื่อ ค.ศ. 712 และ 720 ตามลำดับ โดยมีความเป็นไปได้ที่ Kim Busik เพิกเฉยต่อสิ่งนี้หรือรังเกียจที่จะอ้างแหล่งข้อมูลจากญี่ปุ่น ในทางตรงกันข้าม เขาหยิบยกข้อมูลจากพงศาวดารราชวงศ์จีนและแม้แต่บันทึกประวัติศาสตร์จีนอย่างไม่เป็นทางการขึ้นมาอย่างไม่เห็นแก่ตัว โดยเรื่องอ้างอิงที่โดดเด่นที่สุดได้แก่ เว่ย์ชู (魏書), จดหมายเหตุสามก๊ก (三國志), จิ้นชู (晉書), จิ้วถังชู (舊唐書, ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังเก่า), ซินถังชู (新唐書, ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังใหม่) และ จือจื้อทงเจี้ยน (資治通鑑)[3]

ข้อโต้แย้ง

แก้

แต่นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่วิจารณ์ว่า ซัมกุก ซากี นั้นยกให้ อาณาจักรชิลลาเป็นศูนย์กลางของสามก๊กเกาหลี และเน้นยอมรับความสัมพันธ์ที่ยอมให้จีนเป็นผู้มีอำนาจเหนือกว่า ข้อโต้แย้งนี้มาจากมูลเหตุที่ Kim Busik ผู้เรียบเรียงบันทึกดังกล่าว ระบุว่าอาณาจักรชิลลาให้ความสำคัญต่อลัทธิขงจื๊อ มากกว่า พุทธศาสนา อันเป็นการนำเสนอเพื่อเอาใจจักรพรรดิจีน และยังลดความสำคัญของอาณาจักรโคกูรยอลงจากหน้าประวัติศาสตร์เกาหลี ขณะที่ไปเน้นความสำคัญทางอาณาจักรชิลลาแทนเพื่อป้องกันการขัดแย้งกับประเทศจีน

อ้างอิง

แก้
  1. "삼국사기". 한국사 데이터베이스. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.
  2. Beckwith 2007
  3. Busik, Kim (1145). Samguk Sagi.

ข้อมูล

แก้

หนังสือ

แก้
  • Beckwith, Christopher (2007). Koguryo: The Language of Japan's Continental Relatives. Brill's Japanese Studies Library. Brill. p. 296. ISBN 9789047420286.
  • Kim, Kichung (1996). "Chap 4. Notes on the Samguk Sagi and Samguk yusa". An Introduction to Classical Korean Literature. Routledge. p. 256. ISBN 978-1563247866.
  • Lee, Peter H. (1992). Sourcebook of Korean Civilization. New York: Columbia University Press. p. 750. ISBN 978-0231079129.
  • Lee, Ki-baik; Wagner, Eward W. (1984). A new History of Korea. Harvard University Press. p. 518. ISBN 978-0674615762.
  • Sin, Chaeho (1931). "조선상고사" [History of Ancient Korea, 2 vols]. Reprinted in 단재 신 채호 전집 [Collected works of Danjae Sin Chaeho] (ภาษาเกาหลี). ed: 단재 신 채호 전집 편찬 위원회 (Compilation Committee), Seoul, Munjangsa, 1982.

เอกสาร

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้