กุหลาบพันปี

(เปลี่ยนทางจาก Rhododendron)

กุหลาบพันปี (อังกฤษ: Azalea) เป็นชื่อสกุลของไม้ดอกในสกุล Rhododendron ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae) มีมากกว่า 1,000 ชนิด

กุหลาบพันปี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 52–0Ma Ypresian - ปัจจุบัน[1]
Rhododendron caucasicum
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับกุหลาบป่า
Ericales
วงศ์: วงศ์กุหลาบป่า
Ericaceae
วงศ์ย่อย: Ericoideae
Ericoideae
เผ่า: Rhodoreae
Rhodoreae
สกุล: กุหลาบพันปี
Rhododendron
L.[2]
ชนิดต้นแบบ
Rhododendron ferrugineum
L.
สกุลย่อย[3]

อดีตสกุลย่อย:

ชื่อพ้อง[4]
รายการ
    • Anthodendron Rchb.
    • Azaleastrum Rydb.
    • × Azaleodendron Rodigas
    • Biltia Small
    • Candollea Baumg.
    • Chamaecistus Regel
    • Chamaerhododendron Bubani
    • Chamaerhododendros Duhamel
    • Diplarche Hook.f. & Thomson
    • Dulia Adans.
    • Haustrum Noronha
    • Hochenwartia Crantz
    • Hymenanthes Blume
    • Iposues Raf.
    • × Ledodendron F.de Vos
    • Ledum Ruppius ex L.
    • Loiseleria Rchb.
    • Menziesia Sm.
    • Osmothamnus DC.
    • Plinthocroma Dulac
    • × Rhodazalea Anon.
    • Rhodora L.
    • Rhodothamnus Lindl. & Paxton
    • Stemotis Raf.
    • Theis Salisb. ex DC.
    • Therorhodion Small
    • Tsusiophyllum Maxim.
    • Vireya Blume
    • Waldemaria Klotzsch

ศัพทมูลวิทยา

แก้

คำว่า Rhododendron มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ῥόδον rhódon หมายถึง "กุหลาบ" และ δένδρον déndron หมายถึง "ต้นไม้" ส่วนในภาษาไทย "กุหลาบพันปี" มาจากการที่มีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบ (แต่มิได้เป็นไม้จำพวกกุหลาบแต่อย่างใด) และลำต้นที่มักมีมอสส์เกาะ คล้ายกับมีอายุเป็นพันปี จึงเป็นที่มาของชื่อ[5][6]

ลักษณะ

แก้

เป็นไม้พุ่ม กระจายพันธุ์ในแถบทวีปเอเชีย, อเมริกาเหนือ, ยุโรป และออสเตรเลีย โดยเฉพาะในทวีปเอเชียจะพบตามภูเขาสูงตามแถบแนวเทือกเขาหิมาลัยที่อยู่จากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร โดยพบได้จนถึงจีนตอนใต้ และเกาหลี จนถึงญี่ปุ่น[7]

กุหลาบพันปีชนิด Rhododendron arboreum ยังเป็นไม้ดอกประจำประเทศเนปาลอีกด้วย[8]

ชนิดที่พบในประเทศไทย

แก้
  • คำขาวเชียงดาว (Rhododendron ludwigianum) เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบเฉพาะบนเขาหินปูน ที่ระดับความสูง 1,800-2,200 เมตร ของดอยเชียงดาว และดอยอินทนนท์ เท่านั้น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม[11]
  • กุหลาบแดงมลายู (Rhododendron malayanum) มีลักษณะดอกสีแดง เป็นไม้พุ่มขึ้นอิงอาศัยกับต้นไม้ใหญ่ มีความสูงของต้น 1-2 เมตร พบในภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย บนภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป ขึ้นตามคบไม้ในป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้น[12]
  • กุหลาบพันปีลังกาหลวง (Rhododendron microphyton) มีลักษณะดอกสีขาวมีจุดสีแดง พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป ออกดอกและผลช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม[11]
  • คำขาว (Rhododendron moulmainense) มีลักษณะดอกสีขาวมีขนาดใหญ่กว่าดอกคำแดง พบได้ตั้งแต่พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เช่น ยอดเขาบนอุทยานแห่งชาติเขาหลวง
  • กุหลาบแดง (Rhododendron simsii) พบในภาคอีสานที่ระดับความสูง 1,000-1,600 เมตร[13]
  • นมวัวดอย (Rhododendron surasianum) ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่งช่อละ 3-4 ดอก กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมชมพู เป็นไม้เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบที่จังหวัดเชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอนบางบริเวณ บนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400-1,600 เมตร ขึ้นบนพื้นที่ลาดชันที่ชุ่มชื้นในป่าดิบเขา[14]
  • กุหลาบป่า (Rhododendron taliense) ดอกมีสีขาวครีมจนถึงสีเหลือง ลักษณะดอกเป็นช่ออัดแน่นแบบร่ม ดอกย่อยมีจำนวน 10–15 ดอก ในประเทศไทยพบเฉพาะยอดเขาสูงในภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์, ดอยผ้าห่มปก, ดอยเชียงดาว, ดอยลังกาหลวง เท่านั้น[15]
  • กายอม หรือ กุหลาบขาว (Rhododendron veitchianum) มีลักษณะเป็นกาฝาก อาศัยเกาะอยู่กับต้นไม้ใหญ่ ซอกหิน หรือโขดหิน ที่มีความชุ่มชื้นสูง จะพบได้ตั้งแต่พื้นที่ป่าดิบเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Dillhoff, R. M.; Leopold, E. B.; Manchester, S. R. (2005). "The McAbee flora of British Columbia and its relations to the Early-Middle Eocene Okanagan Highlands flora of the Pacific Northwest" (PDF). Canadian Journal of Earth Sciences. 42 (2): 151–166. Bibcode:2005CaJES..42..151D. doi:10.1139/e04-084. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.
  2. Linnaeus, C. (1753). "Rhododendron". Species Plantarum. Vol. Tomus I. Stockholm: Laurentii Salvii. p. 392. สืบค้นเมื่อ 15 June 2014.
  3. Goetsch, Eckert & Hall (2005).
  4. "Rhododendron L." Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. 2017. สืบค้นเมื่อ 16 September 2020.
  5. 5.0 5.1 กุหลาบพันปี
  6. ῥόδον, δένδρον. Liddell, Henry George; Scott, Robert; A Greek–English Lexicon at Perseus Project
  7. ปฐมบท, "พินัยกรรมธรรมชาติ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 4 มกราคม 2556
  8. "ป่ากุหลาบพันปี เนปาล ความงามบนเทือกเขาหิมาลัย จากเอ็มไทย.คอม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  9. "กุหลาบพันปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  10. "ดอกไม้ป่าในประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-30. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  11. 11.0 11.1 จากฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
  12. กุหลาบแดง จากราชบัณฑิตยสถาน
  13. สมุนไพรไทย: กุหลาบแดง
  14. นมวัวดอย จากมหาวิทยาลัยมหิดล[ลิงก์เสีย]
  15. "กุหลาบป่า จากมหาวิทยาลัยมหิดล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้