คำแดง

สปีชีส์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก Rhododendron arboreum)
คำแดง
ดอกคำแดง
ต้นคำแดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Ericaceae
สกุล: Rhododendron
สกุลย่อย: Vireya
สปีชีส์: R.  arboreum[1]
ชื่อทวินาม
Rhododendron arboreum
Sm. (1805)

คำแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhododendron arboreum) เป็นไม้ชนิดหนึ่ง จำพวกกุหลาบพันปี ในวงศ์กุหลาบป่า (Ericaceae)

คำแดง เป็นหนึ่งในชนิดของกุหลาบพันปี หรือกุหลาบป่าที่พบได้ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย, เนปาล, ภูฏาน, พม่า และจีนในมณฑลยูนนานและกุ้ยโจว (สามารถแบ่งออกได้เป็นสกุลย่อยและชนิดย่อยต่าง ๆ) สำหรับในประเทศไทย นับเป็นพืชดอกที่งดงามมากที่สุดและหายากมากที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะมีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัดอยู่เฉพาะในเขตอากาศหนาวเย็นบนพื้นที่ชุ่มชื้น เช่น สันเขา หรือหน้าผา ในระดับความสูงประมาณ 1,600-2,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในประเทศไทยพบได้ในป่าดิบเขาทางภาคเหนือ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และอุทยานแห่งชาติขุนแจ จังหวัดเชียงราย เป็นต้น

ผลิดอกในระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม แต่ช่วงที่ดอกบานเต็มที่คือปลายเดือนกุมภาพันธ์ คำแดงเป็นต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 2-12 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอเพราะอิทธิพลของแรงลม เปลือกตะปุ่มตะป่ำ ใบสีเขียวเข้มมีรูปร่างคล้ายหอก ยาว 7-14 เซนติเมตร ออกเรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง กุหลาบพันปีมีดอกสีแดงเลือดนกเข้นข้นสะดุดตา ดอกเป็นช่อทรงกลมที่ปลายกิ่ง โดยมีใบเรียงแผ่วนต่อกันเป็นจานรองแลดูงดงามคล้ายดอกกุหลาบ แต่ละช่อมีดอกออกรวมกันตั้งแต่ 4-12 ดอก เมื่อบานมีขนาด 3-5 เซนติเมตร มีขนสั้น ๆ สีแดงปกคลุม ดอกทรงกรวยแกมรูประฆัง ปลายแยกเป็น 5-6 กลีบ กลีบค่อนข้างกลม ส่วนโคนกลีบดอกเชื่อมกันทั้งหมด และในช่วงที่ออกดอกบานนั้น น้ำหวานภายในดอกจะเป็นอาหารของนกและแมลงชนิดต่าง ๆ อีกด้วย[2] [3]

คำแดง เป็นไม้ประจำประเทศเนปาล โดยสีแดงในธงชาติเนปาล หมายถึง สีแดงของดอกคำแดง[4]

คำแดง แม้จะเป็นไม้ที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในพื้นที่สูงในเขตหนาว แต่ก็สามารถนำมาเพาะปลูกได้ในพื้นที่ราบ แต่ก็ปลูกเลี้ยงค่อนข้างยาก นอกจากความงดงามแล้วยังมีคุณสมบัติสามารถดูดซึมสารพิษในอากาศได้อีกด้วย[5]

ชนิดย่อย แก้

  • Rhododendron arboreum subsp. cinnamomeum ใบมีขนสีน้ำตาลคล้ายอบเชย[6]]]
  • Rhododendron arboreum subsp. zeylanicum พบที่ศรีลังกา นับเป็นชนิดย่อยที่หายาก
  • Rhododendron arboreum subsp. cinnamomeum var. album ดอกสีขาวและจุดสีแดงสดคล้ายเลือดเล็ก ๆ บนพื้นผิวด้านในของกลีบดอก
  • Rhododendron arboreum subsp. delavayi สีแดงสด เป็นชนิดย่อยที่พบได้ในประเทศไทย[2]
  • Rhododendron arboreum Sm. subsp. nilagiricum (Zenker) Tagg พบได้ในรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[7]

อ้างอิง แก้

  1. Source: RBG, Edinburgh
  2. 2.0 2.1 "กุหลาบพันปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ 2013-09-17.
  3. ปฐมบท, "พินัยกรรมธรรมชาติ" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 4 มกราคม 2556
  4. P. 509 Encyclopaedia of Political Parties By O P Ralhan
  5. กุหลาบพันปี
  6. P. F. Fyson, B.A., Indian Educational Service, F.L.S. Professor of Botany, Presidency College, Madras. (1915), The flora of the Niligiri and Pulney Hill-Tops (Above 6,500 Feet), Being the Wild and Commoner Introduced Flowering Plants Round the Hill-Stations of Kodaikanal, Ootacamund, Kotagiri and Kodaikanal, with 286 full page illustrations and 4 maps, vol. II, Madras: Superintendent, Government Press, p. 179{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. Chamberlain, D. F. 1982. A revision of Rhododendron II. Subgenus Hymenanthes. Notes Roy. Bot. Gard. Edinburgh 39:331.Rhododendron arboreum Sm. subsp. nilagiricum (Zenker) Tagg เก็บถาวร 2014-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rhododendron arboreum ที่วิกิสปีชีส์