การเปลี่ยนชื่อนครในประเทศอินเดีย
การตั้งชื่อใหม่ของเมืองในประเทศอินเดียเริ่มมีขึ้นในปี 1947 ภายหลังสิ้นสุดการปกครองของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ทุกการเปลี่ยนชื่อที่ได้รับการยอมรับในทางการจะต้องผ่านการรับรองของรัฐบาลกลางในนิวเดลีเสมอ
นอกจากการตั้งชื่อใหม่ของเมืองแล้ว ยังมีการตั้งชื่อใหม่ของรัฐและดินแดนสหภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนชื่อจากการสะกดคำท้องถิ่นและ/หรือของอังกฤษ เช่นการเปลี่ยนชื่อของทราวันคอร์-โคชิน (Travancore-Cochin) ไปเป็นเกรละในปี 1956 และมีกรณีการเปลี่ยนชื่อจากรูปแบบการสะกดภาษาอังกฤษจาก โอริสสา (Orissa) เป็น โอฑิศา (Orisha) ในปี 2011[1] และจาก ปอนดิเชอร์รี (Pondicherry) เป็น ปุทุเจรี (Puducherry)
สาเหตุ
แก้การสร้างมาตรฐานการสะกด
แก้ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีภาษาท้องถิ่นจำนวนมาก การสะกดชื่อเป็นภาษาอังกฤษของสถานที่ต่าง ๆ จึงมีความหลากหลายตามการออกเสียงของแต่ละท้องถิ่นไปด้วย เช่นกรณีของ กิลลันดี (Quilandy) - โกยิลลันฑี (Koyilandy), คานันนอร์ (Canannore) - กานนูร์ (Kannur) และ รังกิยา (Rangiya) - รังคิยา (Rangia) ส่งผลให้ในการสะกดชื่อสถานที่อาจมีหลายแบบทั้ง ๆ ที่เป็นชื่อของสถานที่เดียวกัน ชาวอินเดียจำนวนหนึ่งเชื่อว่าการมีชื่อสะกดหลายแบบเช่นนี้สร้างความสับสนและอาจเกิดปัญหาได้[2]
การเปลี่ยนชื่อในภาษาท้องถิ่น
แก้ภายหลังการจัดการแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบนของประเทศอินเดียหลังได้รับเอกราชภายใต้รัฐบัญญัติว่าด้วยการจัดการรัฐ ปี 1956 ได้มีการเปลี่ยนชื่อของรัฐจำนวนหนึ่ง เช่น ทราวันคอร์-โคชิน (Travancore-Cochin) เป็น เกรละ, มัธยภารัต (Madhya Bharat) เป็น มัธยประเทศ ในปี 1959[3] รัฐมัทราส เป็น ทมิฬนาฑู ในปี 1969, รัฐไมซอร์ เป็น กรณาฏกะ ในปี 1973 และ อุตตรานจัล (Uttaranchal) เป็น อุตตราขัณฑ์ ในปี 2007
การเปลี่ยนชื่อในภาษาอังกฤษ
แก้การเปลี่ยนชื่อในการสะกดด้วยภาษาอังกฤษของชื่อสถานที่เป็นไปเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเพื่อให้เป็นไปตามการออกเสียงของภาษาอังกฤษแบบอินเดีย เช่นกรณีของ "กัลกัตตา" (Calcutta) เป็น "โกลกาตา" (Kolkata) ในขณะที่ชื่อในภาษาท้องถิ่นซึ่งคือภาษาเบงกอลยังคงเดิม (কলকাতা Kôlkata) แต่การสะกดชื่อในภาษาอังกฤษเปลี่ยนเพื่อสะท้อนการออกเสียงของภาษาท้องถิ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนชื่อรูปแบบนี้ในเมืองใหญ่เช่นกัลกัตตานำไปสู่ข้อโต้แย้งถึงความจำเป็นและความสับสนที่อาจตามมา[4]
ตัวอย่างสำคัญ
แก้รัฐ
แก้- ทราวันคอร์-โคชิน → เกรละ (1 พฤศจิกายน 1956)
- มัธยภารัต / มัธยภารตะ → มัธยประเทศ (1 พฤศจิกายน 1959)
- มัทราส → ทมิฬนาฑู (14 มกราคม 1969)
- ไมซอร์ → กรณาฏกะ (1 พฤศจิกายน 1973)
- อุตตรานจัล → อุตตราขัณฑ์ (1 มกราคม 2007)
- โอริสสา → โอฑิศา (4 พฤศจิกายน 2011)
เมือง
แก้เมืองสำคัญที่มีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการภายใต้การรับรองของรัฐบาลอินเดียหลังได้รับเอกราช เช่น:
- ชพัลปุระ (Jabalpur; ฮินดี: जबलपुर) จาก จับบัลพอร์ (Jubbulpore) แก้ไขการสะกดเมื่อปี 1947
- ชาชเมา (Jajmau; ฮินดี: जाजमऊ) จาก จาเจสโมว (Jajesmow) แก้ไขการสะกดเมื่อปี 1948[5]
- กานปุระ (Kanpur; ฮินดี: कानपुर) จาก คอว์นพอร์ (Cawnpore) แก้ไขการสะกดเมื่อปี 1948
- วโทฑรา (Vadodara; คุชราต: વડોદરા) จาก บาโรดา (Baroda) แก้ไขการสะกดเมื่อปี 1974
- ติรุวนันตปุรัม (Thiruvananthapuram; มลยาฬัม: തിരുവനന്തപുരം) จาก ตริวันดรัม (Trivandrum) แก้ไขการสะกดเมื่อปี 1991
- มุมไบ (มราฐี: मुंबई) จาก บอมเบย์ เปลี่ยนชื่อในปี 1995[6]
- เจนไน (ทมิฬ: சென்னை) จาก มัทราส เปลี่ยนชื่อในปี 1996
- โกลกาตา (เบงกอล: কলকাতা) จาก กัลกัตตา เปลี่ยนชื่อในปี 2001
- เบงกาลุรู (กันนาดา: ಬೆಂಗಳೂರು) จาก บังกาลอร์ เปลี่ยนการสะกดในปี 2007 [7]
- คุรุคราม (ฮินดี: गुरुग्राम) จาก คุรคาว ในปี 2016
- ปรยาคราช (ฮินดี: प्रयागराज) จาก อัลลอฮาบาด ในปี 2018
บางเมืองมีการเปลี่ยนชื่อใหม่จากชื่อโบราณ เช่น:
การเปลี่ยนชื่อที่มีการเสนอ
แก้ต่อไปนี้เป็นรายชื่อของสถานที่ที่มีการเสนอเปลี่ยนชื่อบางส่วน:
รัฐ
แก้- กัว เป็น โควาปุรี (Govapuri)[10]
- เกรละ เป็น เกรลัม (Keralam)[11]
- นาคาแลนด์ เป็น นาคันจี (Naganchi)[12]
- เวสต์เบงกอล เป็น บังกลา (Bangla)[13]
เมือง
แก้รัฐพิหาร
แก้เดลี
แก้- นิวเดลี เป็น อินทรปรัสถ์ (Indraprastha)
รัฐคุชราต
แก้- อะห์เมดาบาด เป็น กรรณาวตี (Karnavati)[14]
รัฐหิมาจัลประเทศ
แก้รัฐเกรละ
แก้- ติรุวนันตปุรัม เป็น อนันตปุรี (Ananthapuri)[16]
รัฐมัธยประเทศ
แก้รัฐมหาราษฏระ
แก้- เอารังคาบาด เป็น ฉัตรบดีสัมภะจีมหาราชนคร (Chatrapati Sambhaji Maharaj Nagar)[14]
- ขุลดาบาด เป็น รัตนประภา (Ratnaprabha)
- ปูเณ เป็น ชิชาปุระ (Jijapur)
- โอสมานาบาด เป็น ธารศิวะ (Dharashiv)[14]
- อิสลามปุระ เป็น อิศวรปุระ (Ishwarpur)[14]
รัฐเตลังคานา
แก้- ไฮเดอรายาด เป็น ภัคยนคร (Bhagyanagar)[18]
- การิมนคร เป็น การิปุรัม (Karipuram)[18]
- นิซามาบาด เป็น อินทูร์ (Indur)[19]
รัฐอุตตรประเทศ
แก้- มุซัฟฟาร์นคร เป็น ลักษมีนคร (Laxmi Nagar)[20]
รัฐอานธรประเทศ
แก้- วิสาขาปัตนัม เป็น วิสาขะ (Visakha)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ India and the World Bank: The Politics of Aid and Influence - Page 126 Jason A. Kirk - 2011 "Orissa (Note: This state was officially renamed Odisha in March 2011)"
- ↑ [1]
- ↑ The Hindu Nationalist Movement and Indian Politics, 1925 to the 1990s. - Page 134 Christophe Jaffrelot 1999 - "The new state included Madhya Bharat, the Bhopal region, the former Vindhya Pradesh, Mahakoshal and Chhattisgarh (the last two regions forming the Hindi-speaking parts in the former Madhya Pradesh; see map, pp. xxii-xxiii)."
- ↑ Mira Kamdar Planet India: How the Fastest Growing Democracy Is Transforming ... 2007 Author's introduction Page xi "India's information-technology capital's new name, should it be adopted, will mean “town of boiled beans.” The name changes are not without controversy among Indians. In several instances, the name change represents a struggle between a cosmopolitan elite and a local, regional-language populace over defining the city in ways that go far beyond a simple change of name."
- ↑ "David Rumsey: Geographical Searching with MapRank Search (beta)". Rumsey.mapranksearch.com. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2012.
- ↑ Beam, Christopher (12 กรกฎาคม 2006). "How Bombay became Mumbai. - Slate Magazine". Slate.com. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2012.
- ↑ Staff (21 สิงหาคม 2007). "Bangalore now Bengaluru". Oneindia.com. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2019.
- ↑ Temples and legends of Himachal Pradesh - Page 38 Pranab Chandra Roy Choudhury - 1981 "Mandi takes the name from Mandavya. The name of the place was first Mandav Nagar and then corrupted into Mandi."
- ↑ Gazetteer of the Nellore District: Brought Up to 1938 - Page 151 Government Of Madras Staff, Government of Madras - 1942 "... of the Ramayana (2000 — 1500 BC) was a dense jungle, while the town of Nellore, which came into existence only several centuries later, was known as Simhapuri (Lion's town), from the supposed existence of lions in the adjacent forests."
- ↑ Anand Mishra (13 พฤศจิกายน 2018). "Failed game-changers become name-changers". Deccan Herald.
- ↑ Press Trust of India (14 กรกฎาคม 2010). "Kerala to become 'Keralam'?". The Times of India.
- ↑ 12.0 12.1 Vibha Sharma; Shahira Naim (17 ตุลาคม 2018). "Allahabad is now Prayagraj, Yogi's Cabinet renames historic city". The Tribune. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2023.
- ↑ "West Bengal renaming: Centre says hasn't approved name change; Mamata Banerjee writes to PM Modi". The Times of India. 3 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2023.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 "As Gujarat sets to rename Ahmedabad to Karnavati, Shiv Sena demands name change of Osmanabad and Aurangabad". Hindustan Times. 9 พฤศจิกายน 2018.
- ↑ "10 Indian cities that changed their names". The Times of India. 23 ตุลาคม 2018.
- ↑ "Tharoor votes for 'Ananthapuri'". The Times of India. 2 พฤษภาคม 2018.
- ↑ "Now, Indore to become Indur, Bhopal Bhojpal". The Times of India. 18 ธันวาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2010.
- ↑ 18.0 18.1 PTI (5 ธันวาคม 2018). "BJP to rename Hyderabad, Karimnagar if it forms govt in Telangana: UP CM Yogi Adityanath". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2019.
- ↑ ANI (20 สิงหาคม 2019). "BJP lawmaker demands change of Nizamabad's name to 'Indur'". Business Standard India. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2020.
- ↑ Maulshree Seth (10 พฤศจิกายน 2018). "Muzaffarnagar will be renamed Lakshmi Nagar soon, says BJP MLA". The Indian Express. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2023.