รานีโปขรี
รานีโปขรี (เนปาล: रानी पोखरी, Rani Pokhari; แปล: บ่อน้ำราชินี) หรือชื่อเดิม นฺหูปุขู (เนวาร์: न्हू पुखू, Nhu Pukhu; แปล: บ่อน้ำใหม่) เป็นบ่อน้ำเก่าแก่ที่มนุษย์สร้างขึ้นในใจกลางนครกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล[1] บ่อน้ำมีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 บนขอบตะวันออกของนครกาฐมาณฑุในเวลานั้น ตั้งอยู่ติดกับนอกประตูเมืองเก่าพอดี บ่อน้ำรานีโปขรีมีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และมีขนาด 180 คูณ 140 เมตร[2]
รานีโปขรี | |
---|---|
รานีโปขรีเมื่อปี 2021 หลังการซ่อมแซมใหญ่จากแผ่นดินไหวปี 2015 | |
ที่ตั้ง | กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล |
พิกัด | 27°42′28″N 85°18′56″E / 27.707847°N 85.315447°E |
ชนิด | บ่อน้ำ |
ชื่อในภาษาแม่ | रानी पोखरी (เนปาล) |
สร้างเมื่อ | 1670; แม่แบบ:Ago |
พื้นที่พื้นน้ำ | 7.7 เอเคอร์ (3.1 เฮกตาร์) |
ปริมาณน้ำ | 30,000,000 ลิตร (6,600,000 imperial gallon; 7,900,000 US gallon) |
รานีโปขรีสร้างขึ้นในปี 1670 โดยกษัตริย์ปรตาป มัลละ แห่งราชวงศ์มัลละ เพื่อปลอบขวัญราชินีผู้ซึ่งกำลังเศร้าโศกจากการสูญเสียบุตรชายไปในอุบัติเหตุโดนช้างเหยียบเสียชีวิต น้ำในบ่อนี้กษัตริย์ปรตาปได้ดำริให้นำน้ำจากแหล่งน้ำและจุดบรรจบของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วเนปาลและอินเดีย เช่นจากโคไสกูณฑ์, มุกตินาถ, พทรินาถ, เกทารนาถ มาเทรวมกันไว้[3][4]
ใจกลางของบ่อน้ำเป็นโบสถ์พราหมณ์บูชาพระมาตริเกศวรมหาเทวะ (Matrikeshwor Mahadev) ปางอวตารหนึ่งของพระศิวะ นอกจากนี้ภายในยังประดิษฐานเทวรูปของพระหริศังการี (Harishankari) ซึ่งว่ากันว่าเป็นพระลักษมีและพระสรัสวดีรวมในองค์เดียวกัน ชายฝั่งของบ่อทางทิศใต้มีรูปสลักช้าง และบนหลังช้างเป็นรูปปั้นของกษัตริย์ปรตาป มัลละ และบุตรชายทั้งสอง จักรวรรเตนทระ มัลละ (Chakravartendra Malla) กับ มหิปเตนทระ มัลละ (Mahipatendra Malla) กำลังขี่ช้างอยู่ น้ำในบ่อถูกเติมให้เต็มอยู่ตลอดผ่านช่องทางไหลของน้ำจากใต้ดิน และในบ่อยังมีบ่อน้ำ (well) อีกเจ็ดบ่อภายใน[1] ที่มุมทั้งสี่ของบ่อน้ำยังมีมนเทียรย่อม ๆ อีกสี่หลัง ได้แก่โบสถ์พระไภรวะทางตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ, โบสถ์พระมหาลักษมีทางตะวันออกเฉียงใต้ และโบสถ์พระคเณศทางตะวันตกเฉียงใต้ โบสถ์ทางตะวันออกทั้งสองหลังในปัจจุบันอยู่ภายในพื้นที่ของวิทยาลัยตริจันทระ[1][5] นอกจากนี้ ในระหว่างการขุดค้นเมื่อปี 2020 ยังพบว่าที่มุมทั้งสี่ของบ่อมีธุงเคธาราอยู่[6]
โดยปกติ รานีโปขรีจะถูกล้อมด้วยรั้วเหล็กและเปิดให้เข้าภายในเพียงปีละครั้งในวันภาอีตีกา (Bhai Tika) วันสุดท้ายของเทศกาลติหาร และเทศกาล ฉัฐ ที่ซึ่งมีการเฉลิมฉลองเทศกาลยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่นี่[7]
หลังเหตุแผ่นดินไหวเนปาลปี 2015 ได้มีการก่อสร้างรานีโปขรีขึ้นใหม่ในเดือนมกราคม 2016 ที่ซึ่งแปลนเดิมจะใช้คอนเกรีตในการก่อสร้างแทนที่การก่ออิฐประกอบดินเหนียวแบบธรรมเนียม รวมถึงยังมีแผนจะสร้างร้านกาแฟริมบ่อน้ำ แผนการก่อสร้างใหม่นี้ถูกคัดค้านอย่างหนัก และมีการประท้วงโดยคนท้องถิ่นหลายครั้งจนท้ายที่สุดจึงแก้ไขแผลนการก่อสร้างบ่อน้ำใหม่ให้เป็นตามดังเดิม[8][9][10] การซ่อมแซมบ่อน้ำจึงแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Tribhuvan University Teachers' Association (June 2012). "Historical and Environmental Study of Rani Pokhari". Government of Nepal, Ministry of Environment, Science and Technology. pp. 4–5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 9 February 2014.
- ↑ Amatya, Saphalya (2003). Water & Culture (PDF). p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ Chitrakar, Anil (30 July 2010). "Infant Mortality". ECS NEPAL. Kathmandu. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ "Majestic Rani Pokhari". Republica. Kathmandu. 1 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
- ↑ Regmi, DR (1966). Medieval Nepal: A history of the three kingdoms, 1520 AD to 1768 AD. Firma K. L. Mukhopadhyay. p. 110.
- ↑ Spouts all around, but only few have running water by Binu Shrestha, The Rising Nepal, 10 February 2020, retrieved 29 September 2021
- ↑ "Chhath Puja in Ranipokhari, world's largest : ICIMOD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
- ↑ Rani Pokhari blunder, The Kathmandu Post, September 28, 2018, retrieved 14 September 2019
- ↑ Reconstruction work of Rani Pokhari resumes by Anup Ojha, The Kathmandu Post, March 6, 2019, retrieved 14 September 2019
- ↑ Bhaktapur sets an example for local-led heritage reconstruction, while Kathmandu and Patan fall short by Timothy Aryal, The Kathmandu Post, April 25, 2019, retrieved 14 September 2019
- ↑ Nepal completes reconstruction of historical 'Rani Pokhari', The Times of India, 22 October 2020, retrieved 12 August 2021