วงศ์โคลงเคลง

วงศ์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก Melastomataceae)

วงศ์โคลงเคลง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Melastomataceae) เป็นชื่อวงศ์ของพืชดอกใบเลี้ยงคู่ที่ส่วนใหญ่พบในพื้นที่เขตร้อน (สองในสามของสกุลนี้มาจากพื้นที่เขตร้อนในโลกใหม่) ประกบด้วยสกุลประมาณ 175 สกุล และชนิดเท่าที่รู้จักประมาณ 5115 ชนิด[3][4] ลักษณะเด่นคือ ใบเป็นใบเดี่ยวติดตรงข้าม กลีบดอกเด่นชัด รังไข่เชื่อมติดกับฐานดอก มีระยางค์ยื่นออกมาตรงโคนอับเรณู

วงศ์โคลงเคลง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Turonian - ปัจจุบัน[1]
Pleroma semidecandrum, syn. Tibouchina semidecandra, ที่ Strybing Arboretum ซานฟรานซิสโก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: อันดับชมพู่
วงศ์: วงศ์โคลงเคลง
Juss.[2]
สกุลต้นแบบ
Melastoma
L.
สกุล

ดูข้อความ

ลักษณะประจำวงศ์ แก้

วงศ์โคลงเคลงเป็นวงศ์ของไม้พุ่ม ไม้ต้น ไม้ล้มลุก หรือไม้เลื้อย ซึ่งไม่มีหูใบ ใบเป็นใบเดี่ยวติดตรงข้าม บางทีพบมีหลายใบติดรอบข้อ ดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 3, 4 หรือ 5 กลีบ แกนอับเรณูยืดยาวหรือเป็นรยางค์ อับเรณูแตกโดยมีรูที่ปลาย รังไข่ติดใต้วงกลีบหรือกึ่งใต้วงกลีบมี 4 หรือ 5 ช่อง ไข่อ่อนจำนวนมากติดที่แกนผนังรังไข่ ผลแห้งแบบแก่แตก หรือผลมีเนื้อหลายเมล็ด

อนุกรมวิธาน แก้

ภายใต้ระบบการจัดประเภท APG III เจ็ดสกุลจากวงศ์พลองเหมือด (Memecylaceae) ถูกรวมอยู่ในสกุลนี้แล้ว[2]

ชนิดและการกระจายพันธุ์ แก้

กระจายพันธุ์ในเขตร้อน ทั่วโลกพบ 211 สกุล ในประเทศไทยพบ 15 สกุล ได้แก่

  • สกุลพลอง (Memecylon) ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็กมีเนื้อไม้ เช่น
  • สกุลก้ามกุ้ง (Phyllagathis) ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ไม่มีลำต้น มีเหง้าใต้ดิน มักพบบนก้อนกินริมลำธารที่มีความชื้น ในป่าดิบแล้ง ในประเทศไทยพบ 5 ชนิด[7] ได้แก่

สกุลอื่น ๆ แก้

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 มีสกุลในวงศ์โคลงเคลงที่ได้รับการยอมรับ 167 สกุล:[8]

อ้างอิง แก้

  1. "Myrtales". www.mobot.org. สืบค้นเมื่อ 2023-07-20.
  2. 2.0 2.1 Angiosperm Phylogeny Group (2009), "An update of the Angiosperm Phylogeny Group classification for the orders and families of flowering plants: APG III", Botanical Journal of the Linnean Society, 161 (2): 105–121, doi:10.1111/j.1095-8339.2009.00996.x
  3. Ulloa Ulloa, Carmen; Almeda, Frank; Goldenberg, Renato; Kadereit, Gudrun; Michelangeli, Fabián A.; Penneys, Darin S.; Stone, R. Douglas; Veranso-Libalah, Marie Claire (2022), Goldenberg, Renato; Michelangeli, Fabián A.; Almeda, Frank (บ.ก.), "Melastomataceae: Global Diversity, Distribution, and Endemism", Systematics, Evolution, and Ecology of Melastomataceae (ภาษาอังกฤษ), Cham: Springer International Publishing, pp. 3–28, doi:10.1007/978-3-030-99742-7_1, ISBN 978-3-030-99741-0, สืบค้นเมื่อ 2023-05-04
  4. Christenhusz, M. J. M.; Byng, J. W. (2016). "The number of known plants species in the world and its annual increase". Phytotaxa. Magnolia Press. 261 (3): 201–217. doi:10.11646/phytotaxa.261.3.1.
  5. "เอนอ้า, สกุล". สารานุกรมพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. 1 กุมภาพันธ์ 2561.
  6. "เคลง, สกุล". สารานุกรมพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. 26 สิงหาคม 2559.
  7. "ก้ามกุ้ง, สกุล". สารานุกรมพืชในประเทศไทย. กลุ่มงานพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. 30 พฤษภาคม 2559.
  8. "Melastomataceae Juss". Plants of the World Online. Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 30 October 2023.
  9. LaMotte, R.S. (1952). Catalogue of the Cenozoic plants of North America through 1950. Geological Society of America Memoirs. Vol. 51. Geological Society of America. doi:10.1130/MEM51.

บรรณานุกรม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้