โกศล

(เปลี่ยนทางจาก Kosala)

อาณาจักรโกศล (สันสกฤต: कोसल राज्य) เป็นอาณาจักรโบราณของอินเดีย ปัจจุบันตั้งอยู่ราวแคว้นอวัธ ในรัฐอุตตรประเทศ

อาณาจักรโกศล

कोसल राज्य
c. 7th century BCE[1]–5th century BCE
Kosal and other kingdoms of the late Vedic period.
Kosal and other kingdoms of the late Vedic period.
Kosal and other Mahajanapadas in the Post Vedic period.
เมืองหลวงสาวัตถี และ อโยธยา
ภาษาทั่วไปSanskrit
ศาสนา
Hinduism
Buddhism
Jainism
การปกครองราชาธิปไตย
Maharaja 
ยุคประวัติศาสตร์Bronze Age, Iron Age
• ก่อตั้ง
c. 7th century BCE[1]
• สิ้นสุด
5th century BCE
ก่อนหน้า
ถัดไป
Black and red ware culture
Magadha
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของIndia
Nepal

เริ่มต้นจากการเป็นแคว้นเล็ก ๆ ในช่วงปลายยุคพระเวท โดยอยู่ติดกับแคว้นวิเทหะ[2]

จากคัมภีร์โบราณทางพุทธศาสนา อังคุตตรนิกาย โกศลเป็นหนึ่งใน 16 แคว้นของมหาชนบท เมืองหลวงของแคว้นโกศลในสมัยพุทธกาลคือ สาวัตถี พระเจ้าผู้ปกครองแผ่นดินคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ในยุคนี้เป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมาก แคว้นกาสีในสมัยนั้นก็ขึ้นกับแคว้นโกศล มีหลักฐานมากแห่งทั้งทางฝ่ายพุทธและอื่น ๆ แสดงว่าแคว้นสักกะแห่งกษัตริย์ศากยวงศ์ของพระพุทธเจ้าก็อยู่ภายใต้อำนาจหรือความคุ้มครองของแคว้นโกศล เมืองและสถานที่ ที่ปรากฏในพระคัมภีร์พุทธศาสนา เช่น เมืองสาเกต อโยธยา เสตัพยา เกสปุตตะของชาวกาลามะ หมู่บ้านอิจฉานังคละ และป่าอันธวันใกล้สาวัตถี[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Samuel 2010, p. 50.
  2. Michael Witzel (1989), Tracing the Vedic dialects in Dialectes dans les litteratures Indo-Aryennes ed. Caillat, Paris, 97–265.
  3. พระราชธรรมมุนี (เกียรติ สุกิตฺติ)เกี่ยวกับอินเดีย ; มหาชนบท16แคว้นในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล ; จดหมายเล่าเรื่องอนาคาริกธัมมปาละ ; คำบูชาประทักษิณเวียนเทียน ณ สังเวชนียสถาน 4 แห่ง ; ประจักษ์พยานเรื่องกรรมและตายแล้วเกิด ; นำเที่ยวสถานที่ทางพระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร์พริ้นท์, 2549. 278 หน้า. หน้า 20-24.