สาวัตถี (บาลี: Sāvatthī สาวัตถี; สันสกฤต: श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

สาวัตถี
ซากมูลคันธกุฎี ที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวัน
สาวัตถีตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
สาวัตถี
แสดงที่ตั้งภายในรัฐอุตตรประเทศ
สาวัตถีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
สาวัตถี
สาวัตถี (ประเทศอินเดีย)
ที่ตั้งรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
พิกัด27°31′1.5″N 82°3′2.2″E / 27.517083°N 82.050611°E / 27.517083; 82.050611พิกัดภูมิศาสตร์: 27°31′1.5″N 82°3′2.2″E / 27.517083°N 82.050611°E / 27.517083; 82.050611
พื้นที่อำเภอสาวัตถี

เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น

ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น[1]

ต้นกำเนิดของสาวัตถี แก้

ชื่อของเมืองมาจากชื่อของฤๅษีชื่อ สวัตถะ หรืออีกนัยหนึ่งเมืองสาวัตถีมาจากคำภาษาบาลีที่แปลว่า มีสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเพียบพร้อมทุกอย่าง หรือจากตำนานที่ว่าเมื่อพ่อค้ามาที่เมืองนี้มักถูกถามว่ามีข้าวของอะไรมาขายบ้าง ซึ่งคำว่าทุกอย่างมาจากภาษาบาลีว่า "สพฺพํ อตฺถิ" ซึ่ง สพฺพํ แปลว่า ทุกอย่าง หรือมาจากภาษาสันสกฤตว่า สรฺวํ อสฺติ จึงกลายมาเป็นชื่อเมืองนี้ว่า สาวัตถี หรือศราวัสตี[2]

เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล แก้

 
สาวัตถีกับสถานที่ท่าพระพุทธศาสนาอื่น ๆ

เมืองสาวัตถีมีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองหลวงของแคว้นโกศลมาแต่ก่อนพุทธกาล ในสมัยพุทธกาลเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง เมืองสาวัตถีในการปกครองของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีความสงบและรุ่งเรืองมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจำพรรษาที่เมืองแห่งนี้มากที่สุดกว่า 25 พรรษา สาเหตุสำคัญที่พระพุทธเจ้าเลือกเมืองนี้เป็นสถานที่จำพรรษานานที่สุดเพราะว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระญาติกับพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ โดยพระนางเวเทหิอัครมเหสี ของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระภคินีของพระเจ้าปเสนทิโกศล (พระเจ้ามหาโกศล พระราชบิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งพระนางเวเทหิไปอภิเษกสมรสกับพระเจ้าพิมพิสาร และมอบเมืองในแคว้นกาสีให้พระเจ้าพิมพิสารเพื่อเป็นของขวัญ ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์เป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระเจ้าพิมพิสาร) ทำให้พระพุทธเจ้าสามารถมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเมืองสาวัตถีได้สะดวก เพราะพระเจ้าปเสนทิโกศลย่อมมีความเกรงใจในพระศาสดาของพระเจ้าพิมพิสารซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์เอง ซึ่งต่อมาคัมภีร์พระพุทธศาสนากล่าวว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้สดับพระธรรมเทศนาจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน และเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญองค์หนึ่ง โดยเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นสหชาติ[3] (คือเกิดปีเดียวกันกับพระพุทธเจ้า) และมีความรักเคารพและมีความสนิทสนมกับพระพุทธองค์มาก โดยทรงสร้างมหาสังฆารามถวายคือ ราชการามมหาวิหาร ซึ่งความสนิทสนมของพระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระพุทธองค์นั้น ปรากฏในหลายเหตุการณ์เช่น ทรงเข้ามาจูบกอดพระบาทของพระพุทธเจ้า (ส่วนใหญ่เหตุการณ์เหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ใน ธรรมเจดีย์สูตร[4] โดยพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งพระสูตร แสดงถึงเหตุผลที่พระองค์ทรงรักและเคารพพระพุทธเจ้า โดยเปรียบเทียบกับลัทธิศาสนาอื่นไปด้วย) หรือตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเคยกล่าวตักเตือนพระเจ้าปเสนทิโกศลว่ากินจุเหมือนหมู[5] ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความสนิทสนมกับพระพุทธองค์ได้อย่างดี และถึงแม้พระเจ้าปเสนทิโกศลจะศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า แต่ทว่าพระองค์ไม่ได้กีดกั้นผู้นับถือศาสนาอื่นแต่อย่างใด และยังคงให้ความอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นเป็นอย่างดี

นอกจากนี้ เมืองสาวัตถี มีมหาอุบาสกมหาอุบาสิกาหลายคน เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี[6], นางวิสาขามหาอุบาสิกา[7] ซึ่งมีความเคารพรักศรัทธาสร้างมหาสังฆารามวัดเชตวันมหาวิหาร (ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี) และวัดบุพพารามมหาวิหาร (ของนางวิสาขา[8]) และให้การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ด้วยเหตุหลายประการดังกล่าว พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาประทับที่เมืองนี้มากที่สุด โดยมาทรงประทับอยู่ถึง 25 พรรษา โดยแบ่งเป็น 19 พรรษาที่วัดเชตวันมหาวิหาร และอีก 6 พรรษาที่วัดบุพพาราม

เนื่องด้วยพระพุทธองค์ประทับที่เมืองสาวัตถีนานที่สุด จึงทำให้เป็นเมืองที่เกิดพระสูตรมากมาย เช่น มงคลสูตร ธรรมนิยามสูตร รวมไปถึงกาลามสูตร ที่ตรัสแสดง ณ เกสปุตตนิคม ก็อยู่ในอาณาเขตของแคว้นโกศลด้วย

ในช่วงปลายพุทธกาล ได้เกิดเหตุการณ์ที่พระเจ้าอชาตศัตรู ทำปิตุฆาต ปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระองค์เอง ทำให้พระนางเวเทหิ อัครมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารเสียพระทัยจนสิ้นพระชนม์ตามกันไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงกริ้วพระเจ้าอชาตศัตรูมาก จึงสั่งยึดเมืองในแคว้นกาสีที่พระเจ้ามหาโกศลยกให้พระเจ้าพิมพิสารคืน โดยทรงถือว่า ผู้ฆ่าพ่อไม่มีสิทธิ์ได้รับสมบัติพ่อ และได้ทำสงครามกัน ผลัดกันแพ้ชนะ จนสุดท้ายพระเจ้าปเสนทิโกศลชนะ จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ แต่ไม่ประหารชีวิตเพราะเห็นแก่เป็นพระนัดดา แต่สั่งให้สละราชสมบัติแทน และต่อมาก็ทรงให้พระเจ้าอชาตศัตรูกลับไปครองราชสมบัติอีกด้วยคงเห็นพระทัย โดยในครั้งนั้นได้ทรงส่งพระราชธิดาของพระองค์ให้ไปอภิเษกด้วย ทั้งสองแคว้นจึงกลัยมามีสัมพันธไมตรีกันอีกครั้ง ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์กลับเป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระปเสนทิโกศล[9]

ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าปเสนทิโกศล ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะพระราชโอรสของพระองค์เองยึดอำนาจ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงม้าหนีไปเมืองราชคฤห์กับนางสนมคนหนึ่ง โดยหวังให้พระเจ้าอชาตศัตรูช่วยเหลือเพื่อนำราชสมบัติคืน แต่พระองค์เสด็จมาถึงเมืองราชคฤห์ในเวลากลางคืน ช่วงนั้นเป็นเวลาปิดประตูเมืองไม่สามารถเข้าประตูเมืองได้ ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตหน้าประตูเมืองในคืนนั้นเองเพราะทรงชราภาพมีพระชนม์มากถึง 80 พรรษา และเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางไกลแถมยังต้องประทับค้างแรมอยู่ข้างนอกที่มีอากาศหนาว นางสนมที่ได้ติดตามพระองค์ก็ร้องไห้คร่ำครวญ เมื่อถึงเวลาเช้าพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งพึ่งทราบข่าวจึงอัญเชิญพระศพไว้ถวายพระเพลิงเสร็จสิ้นไปด้วยดี แต่ยังไม่ทันที่จะยกทัพไปรบกับพระเจ้าวิฑูฑภะ พระเจ้าอชาตศัตรูก็ได้ข่าวว่าพระเจ้าวิฑูฑภะกับกองทัพได้ถูกน้ำหลากพัดหายไป หลังจากบุกโจมตีกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะและทำการกวาดล้างศากยะวงศ์จนหมดสิ้น(โดยเฉพาะในกรุงกบิลพัสดุ์และเป็นต้นตระกูลของพระพุทธองค์)เนื่องจากแค้นที่ถูกพวกศากยะวงศ์ดูหมิ่นว่าตนเป็นลูกจัณฑาล

เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าวิฑูฑภะ สาวัตถีก็ขาดพระราชาปกครอง แต่ว่าเนื่องจากพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงพระประสูติมาจากพระนางเวเทหิ ผู้เป็นพระภคินีและเป็นพระภาคิไนยของพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งมีเชื้อสายแห่งราชวงศ์โกศล ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูผู้มีเชื้อสายราชวงศ์โกศลจึงมีสิทธิ์ที่จะปกครองแคว้น จึงยกทัพไปบุกเข้ายึดเมืองสาวัตถีพร้อมกับแคว้นโกศลมาไว้ในอำนาจและผนวกแคว้นโกศลและแคว้นสักกะที่อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศลมาเข้ากับแคว้นมคธมาด้วยกัน ทำให้เมืองสาวัตถีจึงสิ้นสุดความสำคัญในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้นโกศล หลังจากนั้นการค้า ฯลฯ อำนาจต่าง ๆ ได้ไปรวมศูนย์ที่เมืองราชคฤห์และสุดท้ายที่เมืองปาฏลีบุตรในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้น แต่วัดเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางศาสนาอยู่ แต่ทว่าจนในที่สุดหลังพุทธศตวรรษที่ 18 เมืองสาวัตถีได้เสื่อมความสำคัญและถูกทิ้งร้างไปโดยสิ้นเชิงจนเหลือแต่ซากโบราณสถานในปัจจุบัน

สาวัตถีในปัจจุบัน แก้

กำแพงเมืองสาวัตถีโบราณยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานคงเหลืออยู่มากมาย เช่น ซากบ้านของบิดาพระองคุลีมาล, ซากคฤหาสถ์ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี, และวัดเก่าแก่ที่สร้างอุทิศแก่ พระติรธังกร (ศาสดาองค์แรกของศาสนาเชน) บริเวณนอกเขตเมืองสาวัตถียังมีสถานที่สำคัญเช่น ซากยมกปาฏิหาริย์สถูป (สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์) และวัดเชตวันมหาวิหาร (พระอารามที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษามากที่สุดในพุทธกาล) ซึ่งเป็นสถานที่แสวงบุญสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีวัดที่ประเทศต่างๆ ที่นับถือศาสนาพุทธมาสร้างไว้ ได้แก่ ประเทศไทย เกาหลีใต้ ศรีลังกา พม่า ธิเบตและจีน

วัดพุทธนานาชาติ แก้

4.1 วัดไทยเชตวันมหาวิหาร 939

ซึ่งในมหามงคลสมัย พระบาทสมเด็จพะเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี นับได้ว่าทรงครองราชย์นานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด และในวโรกาสที่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา พสกนิกรใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ มีสมานฉันท์ที่จะจัดสร้างอนุสรณ์สถาน คือ วัดไทยเชตวันมหาวิหาร ในพุทธภูมิขึ้น และได้เลือกสถานที่ที่มีทำเลเหมาะสมที่ซึ่งพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษานานที่สุด (25 พรรษา) เพื่อเป็นศูนย์รวมใจชาวพุทธไทยทั้งชาติ ร่วมกันน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศล

และตามนโยบายการขยายงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล ดำริที่จะสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ในสมัยพระสุเมธาธิบดี เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตในขณะนั้น และได้สืบสานให้ต่อเนื่องใน พ.ศ. 2545-ถึงปัจจุบัน มีพระเทพโพธิวิเทศ (วีรยุทฺโธ) เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ได้ดำริให้พระครูปริยัติโพธิวิเทศ (คมสรณ์) ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสวัดไทยเชตวันมหาวิหาร โดยสร้างขึ้นในวันที่ 9 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ซึ่งวัดตั้งอยู่ในปริมณฑลโบราณสถานวัดพระเชตวันมหาวิหาร ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมหาอุบาสกสร้างถวายพระพุทธเจ้า ทรงจำพรรษา 19 พรรษา กับมหาสถูปยมกปาฏิหาริย์ สารีปุตตสถูป และโมคคัลลานะสถูป มีพื้นที่เริ่มแรก จำนวน 38 ไร่ (เท่ากับมงคล 38 ที่พระพุทธเจ้าแสดง) โดยสังกัดมหานิกาย

4.2 วัดบุพพาราม (วัดป่า)

4.3 วัดไทยสาวัตถีพุทธวิปัสสนา

4.4 ศูนย์ปฏิบัติธรรมแดนมหามงคลชัย

อ้างอิง แก้

  1. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
  2. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต).พุทธสถานในอินเดีย - เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2541.
  3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ธรรมเจติยสูตร ที่ ๙ - พระพุทธเจ้ากับพระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระชนม์เท่ากัน. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  4. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ธรรมเจติยสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[2]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  5. ธัมมปทัฏฐกถา นาควรรควรรณนา๔. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล. อรรถกถาพระไตรปิฏก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[3]> (วิกิซอร์ซ). เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  6. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[4]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  7. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต วรรคที่ ๗. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[5]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  8. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[6]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  9. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ปฐมสังคามวัตถุสูตรที่ ๔. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[7]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52

บรรณานุกรม แก้

  • Brown, Robert L. (1984). "The Śrāvastī Miracles in the Art of India and Dvāravatī". Archives of Asian Art. 37: 79–95.
  • Buswell, R.E.; Lopez, D.S. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-15786-3.
  • Chandra, Moti (2011). Trade And Trade Routes In Ancient India. Abhinav Publications. ISBN 978-81-7017-055-6.
  • Fogelin, Lars (2015). An Archaeological History of Indian Buddhism. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-026692-9.
  • Fogelin, Lars (2006). Archaeology of Early Buddhism. AltaMira Press. ISBN 978-0-7591-0750-2.
  • Higham, C. (2014). Encyclopedia of Ancient Asian Civilizations. Infobase. ISBN 978-1-4381-0996-1.
  • Huntington, Susan L.; Huntington, John C. (2014). The Art of Ancient India: Buddhist, Hindu, Jain. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-3617-4.
  • Law, B.C. (1935). Sravasti in Indian Literature. Memoirs of the Archaeological Survey of India: Number 50, ASI.
  • Ling, T. (1973). The Buddha: Buddhist Civilization in India and Ceylon. Temple Smith. ISBN 978-0-85117-034-3.
  • Marshall, John H (1914). Excavations at Saheth Maheth, Annual Report of the Archaeological Survey of India: 1910–11. ASI.
  • Sinha, K.K. (1967). Excavations at Sravasti: 1959. Monographs of the Department of Ancient Indian History, Culture and Archaeology, BHU.
  • J. Ph. Vogel (1908), The Site of Sravasti, The Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain and Ireland, pp. 971-975, JSTOR 25210665
  • Yung-hsi, Li (1959). The Life of Hsuan Tsang by Huili (Translated). Chinese Buddhist Association, Beijing. (a more recent, abridged translation)
  • Li, Rongxi, trans. (1995). A Biography of the Tripiṭaka Master of the Great Ci’en Monastery of the Great Tang Dynasty. Numata Center for Buddhist Translation and Research. Berkeley, California. ISBN 1-886439-00-1 (a recent, full translation)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:Ppn แม่แบบ:RBK