intraparietal sulcus (ตัวย่อ IPS, แปลว่า ร่องภายในสมองกลีบข้าง) อยู่ที่ผิวด้านข้างของสมองกลีบข้าง มีทั้งส่วนที่เป็นไปแนวเอียงและเป็นไปในแนวนอน IPS มีส่วนย่อยต่าง ๆ ที่มีกิจหน้าที่ต่าง ๆ กัน ที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางทางประสาทสรีรวิทยา (neurophysiology) โดยวัดการตอบสนองในระดับเซลล์เดียวของสัตว์อันดับวานร[1][2] และโดยการสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) ในมนุษย์[3] สมองส่วนนี้มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างการรับรู้และการสั่งการ (perceptual-motor) คือการสั่งการการเคลื่อนไหวตาและการเอื้อม และเกี่ยวกับความใส่ใจทางตา

Intraparietal sulcus
ผิวด้านข้างของซีกสมองด้านซ้าย มองจากด้านข้าง (Intraparietal sulcus อยู่ที่ด้านบนข้างขวา เป็นแนวนอน)
ซีกสมองด้านขวา มองจากด้านข้าง สมองกลีบข้างมีสีน้ำเงิน ส่วน Intraparietal sulcus อยู่ในแนวนอนที่ตรงกลางของสมองกลีบข้าง
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของสมองกลีบข้าง
ตัวระบุ
ภาษาละตินsulcus intraparietalis
คำย่อIPS
นิวโรเนมส์97
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_4031
TA98A14.1.09.127
TA25475
FMA83772
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

เชื่อกันว่า IPS ยังมีบทบาทในหน้าที่อื่น ๆ อีกด้วย รวมทั้ง การประมวลข้อมูลคณิตโดยสัญลักษณ์[4] ควา,จำใช้งานทางตาและพื้นที่ (visuospatial working memory)[5] และการประเมินเจตนาความตั้งใจของผู้อื่น[6]

บทบาทของ IPS ในการประมวลเลข

แก้

งานวิจัยทางพฤติกรรมบอกเป็นนัยว่า IPS มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายต่อการประมวลตัวเลขโดยขนาด (numerical magnitude processing) ขั้นพื้นฐาน และมีรูปแบบการสลับกันทั้งโดยโครงสร้างและโดยหน้าที่ระหว่าง IPS และ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ในความผิดปกติจำเพาะของทักษะทางคณิตศาสตร์ (dyscalculia [ICD-10 R81.2])[7] มีการพบว่าเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการโดยภาวะ dyscalculia มีเนื้อเทาที่น้อยกว่าใน IPS ซีกซ้าย[8]

งานวิจัยหลายงานแสดงว่า มีการทำงานทางไฟฟ้าในกลุ่มเซลล์ประสาทของ IPS โดยเฉพาะ เมื่อผู้ร่วมการทดลองกำลังทำการคำนวณเลขเท่านั้น ส่วนในกิจนอกการทดลอง พบว่า เมื่อคนไข้กล่าวถึงเลข ๆ หนึ่ง หรือแม้แต่คำพูดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับปริมาณเช่น "อีกหน่อยหนึ่ง" "มากมาย" หรือว่า "ใหญ่กว่าอีกตัวหนึ่ง" ก็จะมีการทำงานทางไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ประสาทของ IPS เดียวกันที่ทำงานเมื่อคนไข้กำลังทำการคำนวณในการทดลอง[9]

หน้าที่อื่น ๆ ของ IPS

แก้

มีเขตย่อย 5 เขตใน IPS คือ anterior (ด้านหน้า), lateral (ด้านข้าง), ventral (ด้านล่าง), caudal (ด้านท้าย), และ medial (ด้านใน)

  • LIP & VIP: มีหน้าที่เกี่ยวกับการใส่ใจทางตาและการเคลื่อนไหวตาแบบ saccade
  • VIP & MIP: การเอื้อมหรือการชี้ที่อาศัยตา
  • AIP: การจับหรือการใช้มือจัดการที่อาศัยตา
  • CIP: การรับรู้ความไกล (ความลึก) โดย stereopsis

เขตต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งแอกซอนไปยังสมองกลีบหน้าคือเขตต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ executive control

นอกจากนั้นแล้ว การทำงานของ IPS ยังมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้ลำดับการเคลื่อนไหวนิ้ว[10]

รูปภาพอื่น ๆ

แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. Colby C.E., Goldberg M.E. (1999). "Space and attention in parietal cortex". Annual Review of Neuroscience. 22: 319–349. doi:10.1146/annurev.neuro.22.1.319. PMID 10202542.
  2. Andersen R.A. (1989). "Visual and eye movement functions of the posterior parietal cortex". Annual Review of Neuroscience. 12: 377–403. doi:10.1146/annurev.ne.12.030189.002113. PMID 2648954.
  3. Culham, J.C.; Nancy G. Kanwisher (April 2001). "Neuroimaging of cognitive functions in human parietal cortex". Current Opinion in Neurobiology. 11 (2): 157–163. doi:10.1016/S0959-4388(00)00191-4.
  4. Cantlon J, Brannon E, Carter E, Pelphrey K (2006). "Functional imaging of numerical processing in adults and 4-y-old children". PLoS Biol. 4 (5): e125. doi:10.1371/journal.pbio.0040125. PMC 1431577. PMID 16594732.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) link
  5. Todd JJ, Marois R (2004). "Capacity limit of visual short-term memory in human posterior parietal cortex". Nature. 428 (6984): 751–754. doi:10.1038/nature02466. PMID 15085133.
  6. Grafton, Hamilton (2006). "Dartmouth Study Finds How The Brain Interprets The Intent Of Others". Science Daily.
  7. Ansari D., Karmiloff-Smith A. (2002). "Atypical trajectories of numver development: a neuroconstructivist perspective". Trends in Cognitive Science. 6 (12): 511–516. doi:10.1016/S1364-6613(02)02040-5. PMID 12475711.
  8. Kucian K.; และคณะ (2006). "Impaired neural networks for approximate calculation in dyscalculic children: a functional MRI study". Behavior and Brain Function. 2: 31. doi:10.1186/1744-9081-2-31. PMC 1574332. PMID 16953876.
  9. doi:10.1038/ncomms3528
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  10. PMID 12364526

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้