การออกแบบอย่างชาญฉลาด

(เปลี่ยนทางจาก Intelligent design)

การออกแบบอย่างชาญฉลาด (อังกฤษ: intelligent design, ID) เป็นสมมติฐานที่มองว่าสิ่งมีชีวิตดูเหมือนว่าจะได้รับการออกแบบโดยสิ่งมีชีวิตทรงปัญญา มากกว่าที่จะเกิดขึ้นด้วยกับกระบวนทางธรรมชาติแบบสุ่มโดยไร้ทิศทาง โดยพิจารณาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตมีความซับซ้อนที่ลดทอนไม่ได้ (irreducible complexity) และจักรวาลมีการปรับแต่งอย่างดี (fine tune) เกินกว่าจะเป็นเพียงความบังเอิญหรือเดาสุ่มโดยไม่มีจุดหมาย[1] [2]ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่อาจมีคำอธิบายที่ดีอย่างอื่นนอกจากการที่ถูกออกแบบโดยความฉลาด และไม่ได้เกิดจากกระบวนการที่ทางวัตถุที่มืดบอดไม่ได้รับการชี้นำ เช่น การคัดเลือกโดยธรรมชาติ[3] นักการศึกษา นักปรัชญา และวงการวิทยาศาสตร์ ได้แสดงหลักฐานให้เห็นแล้วว่าแนวคิดนี้เป็นข้อถกเถียงเชิงภววิทยาและอภิปรัชญา โดยในวงการวิทยาศาสตร์จะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายตามลักษณะความเชื่อ ฝ่ายที่เชื่อเรื่องการสร้างจะอยู่ในซีกของฝั่งที่เรียกว่าครีเอชั่นนิสท์ (creationist) และอีกฝ่ายที่เชื่อว่าไม่มีผู้สร้าง แต่ยึดเอาทฤษฎีวิวัฒนาการเป็นคำอธิบายจะอยู่ในซีกของนักวิวัฒนาการ (Evolutionist) ซึ่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ฝ่ายที่สองจะมีความคิดไปในทางวิทยาศาสตร์ที่มีแนวคิดแบบปรัชญาวัตถุนิยมและธรรมชาตินิยม ซึ่งเชื่อเรื่องธรรมชาตินิยมเชิงกระบวนการ (methodological naturalism)

Stephen Meyer
Dr.James Tour

นักวิทยาศาสตร์ฝ่ายการออกแบบอันชาญฉลาดในปัจจุบัน ประกอบด้วย ดร.สตีเฟน เมเยอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[4], ดร.ดักราสจ์ แอ็กซ์[5], ดร. เจมส์ ทัวร์ นักเคมี 10 อันดับต้นของโลก[6] เป็นต้น ซึ่งได้รับแรงบรรดาลใจจากนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในช่วงปฏิวัติวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น นิโคลัส โคเปอร์นิคัส, ฟรานซิส เบคอน[7], กาลิเลโอ กาลิเลอิ[8], เรอเน เดการ์ต[9], ไอแซก นิวตัน, ไมเคิล ฟาราเดย์[10], หลุยส์ อังกัสซิซ[11], เจมส์ แม็กซ์เวล[12], โรเบิร์ต บอล์ย[13] พวกเขาเป็นผู้บุกเบิกวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่เชื่อพระเจ้าทั้งสิ้น.

คำกล่าวของเหล่านักวิทยาศาสตร์ผู้ปฏิวัติวทยาศาสตร์สมัยใหม่ แก้

“การที่จะรู้จักพระราชกิจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า พระปรีชาญาณ ความยิ่งใหญ่ และฤทธิ์เดชของพระองค์ได้ อีกทั้งเพื่อการซาบซึ้งอย่างเหลือล้นต่อการสรรสร้างกฎเกณฑ์ของพระองค์ เป็นแน่แท้ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือความสุขสำราญและการสดุดีอย่างยอมจำนนต่อพระผู้อยู่จุดสูงสุด ความโง่เขลามิอาจซาบซึ้งในสิ่งดังกล่าวได้นอกเสียแต่ว่าต้องใช้ความรู้”[14] “จักรวาลสร้างมาเพื่อเราโดยพระผู้สร้างที่ดีและมีระเบียบอย่างสูงสุด”[15]

- นิโคลัส โคเปอร์นิคัส


“เราสรุปได้ว่าพระเจ้าเป็นที่รู้จักคราแรกผ่านธรรมชาติ และจากนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นที่รู้จักผ่านหลักคำสอน ทั้งโดยธรรมชาติในการงานของพระองค์ และโดยหลักคำสอนในพระวจนะที่พระองค์ทรงเปิดเผย”[16]

- กาลิเลโอ กาลิเลอิ

“ความรู้วิทยาศาสตร์อันน้อยนิดโน้มน้าวจิตใจของมนุษย์ไปสู่ลัทธิอเทวนิยม(ปฏิเสธพระเจ้า) แต่ความรู้วิทยาศาสตร์ที่ลึกซึ้งจะนำจิตใจของมนุษย์มาสู่การเชื่อพระเจ้า”[17]

- ฟรานซิส เบคอน


“โดย 'พระเจ้า' ที่ข้าพเจ้าเข้าใจ คือตัวตนที่ไร้ขอบเขต เป็นอิสระ ทรงวิทยปัญญาอย่างที่สุด ทรงอำนาจสูงสุด และเป็นผู้ที่สร้างทั้งตัวฉันเองและสิ่งทั้งปวง”[18]

- เรอเน เดการ์ต


“ระบบที่สวยงามที่สุดของดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดาวหางนี้ สามารถดำเนินไปได้โดยคำแนะนำและการปกครองของผู้มีวิทยปัญญาเท่านั้น...พระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรสูงสุดเป็นผู้ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ ไร้ขอบเขต [และ] สมบูรณ์แบบที่สุด”[19]

- ไอแซค นิวตัน

ข้อโต้แย้งการออกแบบโดยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แก้

ยกตัวอย่างการโต้แย้งการออกแบบของฝั่ง (ID) ว่าเป็นอย่างไร เช่น ข้อโต้แย้งที่สร้างขึ้นจากงานวิจัยของ ดร.ดักราสจ์ แอ็กซ์ ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ในการโต้แย้งทฤษฎีวิวัฒนาการ ในเรื่องของโอกาสของการกลายพันธุ์

ในการที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่งที่มีฟังชั่นใหม่ ๆ เป็นสัตว์ใหม่ ๆ มันต้องมีข้อมูลทางพันธุกรรมใหม่ให้กับสิ่งมีชิวิต โดยเฉพาะการระเบิดในยุคแคมเบรียน มันไม่ใช่แค่การระเบิดทางชีวภาพ แต่มันเป็นการระเบิดของข้อมูล (Information) กลไกของวิวัฒนาการไม่สามารถอธิบายได้ว่า กลไกแบบใดสามารถสร้างรหัสพันธุกรรมใหม่ ๆให้กับสิ่งมีชีวิตได้[ต้องการอ้างอิง] เพราะข้อมูลพันธุกรรมจำเป็นต่อการสร้างโปรตีน ฉะนั้นหากอยากได้รูปแบบสัตว์ที่มีหน้าที่ใหม่ๆ ระนาบร่างกายใหม่ๆ จำเป็นมีโปรตีนใหม่ๆ และโปรตีนจำเป็นต้องมีรหัสพันธุกรรมใหม่ๆ ไม่มีรหัสใหม่ ไม่มีโปรตีนใหม่ ไม่มีสิ่งมีชีวิตใหม่ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า การเกิดขึ้นอย่างฉับพลันไม่รูปแบบสมบูรณ์ของสัตว์ยุคแคมเบรียนปรากฏขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งมีงานวิจัยจากนักชีววิทยาโมเลกุลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อย่าง ดักราสจ์ แอ็กซ์ (Douglas Axe) ได้คำนวณโอกาสการกลายพันธุ์โดยบังเอิญ "สำหรับให้ได้มาซึ่งหนึ่งโปรตีนที่พับตัวใช้งานได้ เป็นตัวเลขประมาณ 10^77 นั่นคือโอกาสความเป็นไปได้ทั้งหมดสำหรับ 1 โปรตีนที่ใช้งานได้ภายในโอกาสทั้งหมด 1 ตามด้วย 0 จำนวน 77 ตัวที่จะล้มเหลว ซึ่งนั่นเป็นตัวเลขที่มากกว่าจำนวนอะตอมในกาแล็คซีทางช้างเผือกที่มีค่าประมาณ 10^65 เสียอีก[20][21]

การออกแบบอันชาญฉลาดเป็นแนวคิดทางศาสนาหรือไม่? แก้

การออกแบบอันชาญฉลาด (Intelligent design (ID)) กับ ความเชื่อในเรื่องการสรรค์สร้าง หรือ รังสรรค์นิยม (Creationism) แม้จะมีส่วนที่เหมือนกันตรงที่ว่าเป้าหมายต่างบ่งชี้ไปถึงว่า จักรวาล ชีวิตและสรรพสิ่ง ล้วนแต่มีผู้สร้าง แต่จุดต่างกันอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่ความเชื่อในการสรรค์สร้าง ใช้สิ่งที่เป็นหลักฐานบ่งชี้คือพระคัมภีร์ ซึ่งความเชื่อในเรื่องการสร้างเป็นไปตามบทปฐมกาลของไบเบิล[22] ส่วนการออกแบบอันชาญฉลาดใช้หลักฐานและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานบ่งชี้อันนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่า ทุกสิ่งดูเหมือนว่าจะมีผู้ออกแบบเสียมากกว่าจะเกิดขึ้นโดยกระบวนการทางวัตถุที่มืดบอดไร้ทิศทาง ดังนั้นจำเป็นต้องมีผู้ออกแบบผู้ทรงปัญญา (Intelligent designer)[23]

ในปี 2004 แอนโทนี ฟลิว (Antony Flew) นักปรัชญาผู้ปฏิเสธพระเจ้าชื่อดังแห่งมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง (University of Reading) wได้เป็นข่าวกระฉ่อนไปทั่วโลก เมื่อในที่สุดช่วงท้ายชีวิตของเขา เขาปฏิเสธคำมั่นสัญญาชั่วชีวิตที่มีต่อลัทธิอเทวนิยม (Atheism) และยืนยันความเป็นจริงของการต้องมีผู้สร้างบางอย่าง โดยฟลิวได้อ้างถึงหลักฐานของการออกแบบอันชาญฉลาดที่มีอยู่ใน DNA สิ่งที่ทำให้เขาต้องเปลี่ยนความคิดในครั้งนี้ก็เนื่องมาจากการโต้แย้งของ “นักทฤษฎีการออกแบบชาวอเมริกัน” ผู้ที่เป็นเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ซึ่งนำฟลิวที่เคยไม่เชื่อว่ามีผู้สร้าง ต้องหันมาเชื่อเรื่องผู้สร้างจากหลักฐานการออกแบบใน DNA[24][25]

ตั้งแต่นั้นมา ผู้อ่านชาวอังกฤษได้เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการออกแบบอัจฉริยะ (ID) ส่วนใหญ่จากรายงานของสื่อเกี่ยวกับการต่อสู้ของศาลในสหรัฐฯ เกี่ยวกับการสอนนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างถูกกฎหมาย ตามรายงานส่วนใหญ่ มักจะรายงานว่า ID เป็นทางเลือก "ที่สร้างขึ้นจากความศรัทธา" ที่มีต่อวิวัฒนาการที่อิงตามศาสนาเพียงอย่างเดียว แต่ทว่านี่เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพระาตรงกันข้ามกับรายงานของสื่อ ID ไม่ใช่แนวคิดทางศาสนา แต่เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่มีหลักฐานอ้างอิงเกี่ยวกับต้นกำเนิดของชีวิต อย่างที่ตามคำกล่าวของนักชีววิทยาผู้นิยมดาร์วิน อย่าง ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins) แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บอกว่า ระบบสิ่งมีชีวิต “นั้นดูเหมือนว่าจะได้รับการออกแบบมาอย่างมีจุดประสงค์” แต่สำหรับนักดาร์วินสมัยใหม่ ลักษณะที่บ่งชี้ถึงการถูกออกแบบนั้นเป็นเรื่องลวงตา เพราะสำหรับพวกเขา กระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติที่ไร้ทิศทางอย่างหมดจดซึ่งกระทำต่อการกลายพันธุ์แบบสุ่มนั้นเพียงพอแล้วที่จะสร้างโครงสร้างที่คล้ายการออกแบบที่ซับซ้อนซึ่งพบในสิ่งมีชีวิต

ในทางตรงกันข้าม ID ถือได้ว่ามีคุณสมบัติของการอธิบายระบบสิ่งมีชีวิตและจักรวาลที่อธิบายได้ดีที่สุดโดยสร้างขึ้นจากความฉลาดในการออกแบบ ทฤษฎีนี้ไม่ได้ท้าทายแนวคิดเรื่องวิวัฒนาการในนิยามที่ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา หรือแม้แต่บรรพบุรุษร่วมกัน แต่มันขัดแย้งกับความคิดของดาร์วินที่ว่าสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพนั้นมืดบอดโดยสิ้นเชิงและไร้ทิศทาง

มีสิ่งที่บ่งชี้ถึงการออกแบบอันชาญฉลาดอะไรบ้างอะไรบ้าง? แก้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักชีววิทยาได้ค้นพบโลกที่สวยงามของนาโนเทคโนโลยีภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นวงจรที่ซับซ้อน ที่จับเลื่อนใน DNA (Sliding clamp, DNA clamp) กังหันผลิตพลังงาน (energy-generating turbines) และเครื่องจักรขนาดเล็ก ตัวอย่างเช่น เซลล์แบคทีเรียที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์โรตารี่ที่เรียกว่าแฟลเจลลาร์มอเตอร์ ซึ่งหมุนที่ 100,000 รอบต่อนาที เครื่องยนต์เหล่านี้ดูเหมือนได้รับการออกแบบโดยวิศวกร โดยมีชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่แตกต่างกันมากมาย (ทำจากโปรตีน) รวมถึงโรเตอร์ สเตเตอร์ โอริง บูช ข้อต่อตัว U และเพลาขับ

นักชีวเคมี ไมเคิล บีฮี (Michael Behe) ​​ชี้ให้เห็นว่าแฟลเจลลาร์มอเตอร์ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันที่ประสานกันของ 30 ส่วนโปรตีน นำโปรตีนเหล่านี้ออกและโรตารี่มอเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ในคำพูดของบีฮีเขาบอกว่า ยานยนต์นั้นเป็นซึ่งที่เรียกว่า "ความซับซ้อนที่ลดทอนไม่ได้" (Irreducibly complex)

สิ่งนี้ได้สร้างปัญหาให้กับกลไกของดาร์วิน การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะรักษาหรือ "เลือก" ข้อได้เปรียบเชิงฟังก์ชันที่เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์แบบสุ่ม ทว่ามอเตอร์แฟลเจลลาร์จะไม่สามารถทำงานนอกเสียจากว่าจะมีชิ้นส่วนทั้งหมด 30 ชิ้นครบพร้อมกันทั้งหมด ดังนั้นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจะสามารถทำการ "เลือก" มอเตอร์ได้ก็ต่อเมื่อมันเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ครบครันแล้วเท่านั้น แต่การคัดเลือกไม่สามารถผลิตมอเตอร์มาอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้นตอนตามที่ดาร์วินอ้างได้

การคัดเลือกโดยธรรมชาติโดยอ้างว่าสามารถสร้างระบบที่ซับซ้อนจากโครงสร้างที่เรียบง่ายกว่าโดยคงไว้ซึ่งชุดของรูปแบบกลางการเปลี่ยนผ่านได้ แต่ทว่าซึ่งแต่ละส่วนต้องทำหน้าที่บางอย่างอยู่เสมอ ด้วยแฟลเจลลาร์มอเตอร์ แต่โครงสร้างขั้นกลางที่สำคัญส่วนใหญ่ไม่มีหน้าที่ในการเลือกเพื่อเก็บรักษา ซึ่งกลไกที่ดาร์วินได้เสนอให้มาแทนที่สมมติฐานการออกแบบโดยเฉพาะ นั่นก็คือการคัดเลือกโดยธรรมชาติไม่สามารถอธิบายที่มาของแฟลเจลลาร์มอเตอร์ได้

มีคำอธิบายที่ดีกว่านี้หรือไม่? จากประสบการณ์ที่เป็นเอกภาพของเรา เราทราบสาเหตุเพียงประเภทเดียวที่จะสามารถสร้างระบบที่ซับซ้อนอย่างไม่อาจลดทอนได้ขึ้นมาได้ นั่นคือ ผู้ที่มีสติปัญญาที่ชาญฉลาดเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่เราพบกับระบบที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นวงจรรวมหรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน และเรารู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบคือต้องมีผู้ที่มีสติปัญญาอันชาญฉลาดในการออกแบบเข้ามามีบทบาทเสมอ

พิจารณาข้อโต้แย้งพื้นฐานเพิ่มเติมสำหรับการออกแบบ ในปี 1953 ครั้งที่วัตสันและคริกได้อธิบายโครงสร้างของโมเลกุลดีเอ็นไว้ได้ชัดเจน พวกเขาก็ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจ สายโซ่ของสารเคมีที่มีลำดับอย่างแม่นยำซึ่งเรียกว่านิวคลีโอไทด์ใน DNA ที่แบกรับข้อมูล และส่งคำแนะนำในการประกอบซึ่งเป็นข้อมูลในรหัสดิจิทัลสี่ตัวสำหรับใช้ในการสร้างโมเลกุลโปรตีนที่เซลล์ต้องการเพื่อความอยู่รอด คริกจึงได้พัฒนา "สมมติฐานลำดับ" (sequence hypothesis) ซึ่งเบสเคมีในฟังก์ชันดีเอ็นเอก็เหมือนกับตัวอักษรในภาษาเขียนหรือสัญลักษณ์ในรหัสคอมพิวเตอร์ ดังที่ดอว์กินส์ได้กล่าวไว้ว่า "รหัสเครื่องของยีนนั้นเหมือนกับคอมพิวเตอร์อย่างน่าประหลาด"

คุณสมบัติทางข้อมูลของเซลล์อย่างน้อยก็บ่งชี้ถึงการได้รับการออกแบบ ทว่าจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีทฤษฎีใดเลยเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางเคมีที่ไร้เจตจำนงใด ๆ ที่สามารถอธิบายที่มาของข้อมูลดิจิทัลที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์ที่มีชีวิตเซลล์แรกได้เลย เพราะอะไรน่ะหรือ อันเนื่องจากว่ามันมีข้อมูลในเซลล์มากเกินไปที่จะสามารถถูกอธิบายได้ด้วยกับบังเอิญเพียงอย่างเดียว

ข้อมูลใน DNA (และ RNA) ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่ามันขัดต่อคำอธิบายด้วยแรงทางเคมีที่จำเป็น มันเหมือนกับการพูดว่า การเขียนพาดหัวข่าวนั้นเกิดขึ้นจากแรงดึงดูดระหว่างหมึกกับกระดาษเข้าด้วยกัน แต่ทว่า มันเห็นได้ชัดว่าในกรณีของการเขียนข้อมูลชึ้นนั้นมันมีอย่างอื่นมากกว่านั้นที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง

DNA ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ เรารู้จากประสบการณ์ของเราดีว่าซอฟต์แวร์นั้นมาจากโปรแกรมเมอร์ที่เขียนมันเสมอ เราทราบดีว่าข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นอักษรอียิปต์โบราณหรือแม้แต่สัญญาณวิทยุ เมื่อสืบสาวกลับไปยังแหล่งที่มา พวกมันมักเกิดขึ้นมาจากแหล่งที่เป็นผู้ที่มีสติปัญญาอย่างชาญฉลาดเสมือ ดังที่ เฮนรี เควสท์เลอร์ (Henry Quastler) นักทฤษฎีข้อมูลผู้บุกเบิก ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ข้อมูลมักเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่มีสติสัมปชัญญะ” ดังนั้นการค้นพบข้อมูลดิจิทัลใน DNA จึงเป็นเหตุที่แน่ชัดในการอนุมานว่าผู้ทรงปัญญานั้นมีบทบาทสำคัญในต้นกำเนิด

ดังนั้น ID จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนา แต่ขึ้นอยู่กับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับเหตุและผลซึ่งเป็นพื้นฐานของการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเกี่ยวกับอดีต ซึ่งต่างจากรังสรรค์นิยม เพราะว่า ID เป็นการอนุมานจากข้อมูลทางชีววิทยา

ถึงกระนั้น ID อาจให้การสนับสนุนความเชื่อเกี่ยวกับเทววิทยา แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลในการล้มล้าง ผู้คนมักสับสนระหว่างหลักฐานของทฤษฎีกับนัยที่อาจเป็นไปได้ ครั้งหนึ่งนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์หลายคนเริ่มแรกปฏิเสธทฤษฎีบิ๊กแบง เพราะมันดูเหมือนจะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่อยู่เหนือธรรมชาติ ในการทำให้เกิดสสาร อวกาศ และเวลาขึ้นมาได้ แต่ในที่สุดวิทยาศาสตร์ก็ต้องยอมรับด้วยกับการจำนนต่อหลักฐานที่สนับสนุนอย่างมาก

วันนี้ อคติที่คล้ายกันกำลังเผชิญหน้า ID อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีใหม่นี้ยังต้องได้รับการประเมินบนพื้นฐานของหลักฐาน ไม่ใช่ความพึงพอใจทางปรัชญา ดังที่ศาสตราจารย์ฟลิวได้แนะนำไว้ว่า “เราต้องปฏิบัติตามหลักฐาน ไม่ว่ามันจะนำไปสู่ที่ใด”[26]

อ้างอิง แก้

  1. Robert A. Herrmann, The two meanings for modern intelligent design (2009)
  2. "Intelligent design - New World Encyclopedia". www.newworldencyclopedia.org.
  3. "CSC - Top Questions: Questions About Intelligent Design: What is the theory of intelligent design?". Center for Science and Culture. Seattle, WA: Discovery Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-06-16.
  4. "Stephen C. Meyer". Stephen C. Meyer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. Axe, Douglas. "Douglas Axe". Discovery Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "James Tour", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-02-10, สืบค้นเมื่อ 2022-02-16
  7. Whitney, David (2011-05-22). "To Believe or Deceive? Sir Francis Bacon, Religion, and the New Science". VoegelinView (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. Zanatta, Alberto; Zampieri, Fabio; Basso, Cristina; Thiene, Gaetano. "Galileo Galilei: Science vs. faith". Global Cardiology Science & Practice. 2017 (2): 10. doi:10.21542/gcsp.2017.10. ISSN 2305-7823. PMC 5871402. PMID 29644222.
  9. Hatfield, Gary (2018), Zalta, Edward N. (บ.ก.), "René Descartes", The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Summer 2018 ed.), Metaphysics Research Lab, Stanford University, สืบค้นเมื่อ 2022-02-16
  10. Russell, Michael Faraday: Physics and Faith.
  11. Guyot, Memoir of Louis Agassiz: 1807–1873.
  12. Hutchinson, “James Clerk Maxwell and the Christian Proposition.”
  13. "The Faith of a Great Scientist: Robert Boyle's Religious Life, Attitudes, and Vocation - Articles". BioLogos.
  14. "Poland: The Knight Among Nations". Book by Louis E. Van Norman (p. 290), 1907; later quoted in "The Language of God: A Scientist Presents Evidence for Belief", book by Francis Collins (pp. 230-231), 2006.
  15. Nicolaus Copernicus, On the Revolution of the Heavenly Spheres, Preface and Book I, trans, John F. Dobson and Selig Brodetsky (1974), 149-73; Milton Munitz ed., Theories of the Universe: From Babylonian Myth to Modern Science (Simon & Schuster, 1965).
  16. Galileo, Letter to the Grand Duchess Christina of Tuscany (1615), Verses 272-279 ;Paul Halsall, Letter to the Grand Duchess Christina of Tuscany(1615) (abridged) by Galileo Galilei, Aug 1997, p.4-5
  17. Bacon, Francis (1625). The Essayes Or Covnsels, Civill and Morall, of Francis Lo. Vervlam, Viscovnt St. Alban. London. p. 90.
  18. R. Descartes, Descartes: Meditations on First Philosophy: With Selections from the Objections and Replies Cambridge Texts in the History of Philosophy, Edit by John Cottingham, Cambridge University Press 1996, p.31
  19. Isaac Newton, Life of Sir Isaac Newton, Principia (1864), p.35. and Newton, The Mathematical Principles of Natural Philosophy, trans. Motte, p. 388.
  20. "Axe". bio-complexity.org.
  21. Axe, Douglas D. (2004-08-27). "Estimating the prevalence of protein sequences adopting functional enzyme folds". Journal of Molecular Biology. 341 (5): 1295–1315. doi:10.1016/j.jmb.2004.06.058. ISSN 0022-2836. PMID 15321723.
  22. "creationism | Definitions, History, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  23. "intelligent design | History & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ).
  24. "Intelligent Design is not Creationism". Discovery Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2006-02-09.
  25. "Is God Real?". EveryStudent.com (ภาษาอังกฤษ).
  26. "Intelligent Design is not Creationism". Discovery Institute (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2006-02-09.