สภาขุนนาง

สภาสูงของรัฐสภาสหราชอาณาจักร
(เปลี่ยนทางจาก House of Lords)

สภาขุนนาง[2] (อังกฤษ: House of Lords) เป็น สภาสูงในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ขุนนางฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรผู้ทรงเกียรติแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือในที่ประชุมรัฐสภา (the Right Honourable the Lords Spiritual and Temporal of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland in Parliament assembled) ประกอบด้วยขุนนางมีบรรดาศักดิ์จำนวนเจ็ดถึงแปดร้อยคน ทุกคนมาจากการแต่งตั้งและสืบตระกูล ทำหน้าที่ร่วมกับกับสภาสามัญชนซึ่งเป็นสภาล่างซึ่งมีสมาชิกทั้งหมดจากการเลือกตั้ง

ขุนนางฝ่ายศาสนจักรและอาณาจักรผู้ทรงเกียรติแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือในที่ประชุมรัฐสภา

The Right Honourable the Lords Spiritual and Temporal of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland in Parliament assembled
ตราสภาขุนนาง
ธงสภาขุนนาง
ธงสภาขุนนาง
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
บารอนแมคฟาลว์ แห่งอัลคลุยธ์
ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2021
บารอนการ์ดิเนอร์ แห่งคิมเบิล
ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2021
ลอร์ดทรู, อนุรักษนิยม
ตั้งแต่ 6 กันยายน 2022
บารอนเนสสมิทธ์ แห่งบาซิลดอน, แรงงาน
ตั้งแต่ 27 พฤษภาคม 2015
โครงสร้าง
สมาชิก766[1][b]
House of Lords composition.svg
กลุ่มการเมือง
  ประธานสภาขุนนาง (1)
ขุนนางฝ่ายศาสนจักร
  บิชอป (25)[a]
ขุนนางฝ่ายอาณาจักร
รัฐบาลในสมเด็จฯ
  อนุรักษนิยม (256)
ฝ่ายค้านอันภักดีในสมเด็จฯ
  แรงงาน (167)
ฝ่ายค้านอื่น ๆ
  เสรีประชาธิปไตย (84)
  สหภาพประชาธิปไตย (5)
  สหภาพอัลสเตอร์ (2)
  กรีน (2)
  ชาติเวลส์ (1)
  ไม่สังกัดพรรค (39)
ครอสเบนช์
  ครอสเบนช์ (184)
ที่ประชุม
House_of_Lords_2011.jpg
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์
เว็บไซต์
http://www.parliament.uk/lords/
หมายเหตุ
  1. ขุนนางฝ่ายศาสนจักรนั่งกับขุนนางอาณาจักรฝ่ายรัฐบาล
  2. ไม่รวมสมาชิกสภาขุนนาง 42 คนที่ลาหยุดหรือถูกพักมิให้เข้าร่วมการประชุมได้

ก่อนมีการตราพระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1911 ที่ลดทอนอำนาจของสภาขุนนาง สภาขุนนางมีหน้าที่เป็นสภาสูงในรัฐสภา โดยเมื่อร่างกฎหมายใด ๆ ผ่านการลงมติจากสภาสามัญชนแล้ว จะต้องนำมาให้สภาขุนนางทำการลงมติอีกครั้ง หากสภาขุนนางมีมติไม่รับร่างกฎหมายนั้น ก็จะไม่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ รวมไปถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี อาจเป็นสมาชิกสภาขุนนางและบริหารประเทศผ่านสภาขุนนางได้ แต่ในปัจจุบันสภาขุนนางมีอำนาจให้คำปรึกษาและตรวจสอบการทำงานของรัฐสภา โดยเฉพาะการพิจารณาเพื่อผ่านร่างกฎหมาย โดยสภาขุนนางมีอำนาจที่จะระงับการบังคับใช้กฎหมายได้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้รัฐบาล สภาสามัญชน และประชาชนร่วมกันพิจารณาและทบทวนถึงความจำเป็นของร่างกฎหมายนั้น ๆ อย่างรอบคอบ แต่หากสภาสามัญชนเห็นว่าร่างกฎหมายนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยได้ทันทีโดยไม่ต้องนำเข้าที่ประชุมสภาขุนนาง นอกจากนี้สภาขุนนางยังมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และป้องกันมิให้มีกฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ และสิทธิมนุษยชน ซึ่งในประเทศอื่น ๆ จะมีศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่แทน จนกระทั่งมีการตั้งศาลสูงสุดแห่งสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2009

สมาชิกสภาขุนนางแบ่งเป็นสี่ประเภท คือ

  1. ขุนนางตลอดชีพ (Life Peers) - มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ผ่านการเสนอจากนายกรัฐมนตรี และจะดำรงตำแหน่งไปตลอดชีวิต ปัจจุบัน สมาชิกประเภทนี้มีจำนวนมากที่สุด
  2. ขุนนางสืบตระกูล (Hereditary Peers) - มาจากการสืบทอดตำแหน่งทางสายโลหิต เดิมสภาขุนนางมีแต่สมาชิกประเภทนี้เท่านั้น ในสมัยหลังๆสมาชิกประเภทนี้ลดจำนวนลง โดย "พระราชบัญญัติรัฐสภา ค.ศ. 1999" (Parliament Act 1999) กำหนดให้มีเพียงเก้าสิบสองคนเท่านั้น ในการนี้ ให้เก้าสิบคนมาจากการสรรหากันเองโดยสมาชิกสืบตระกูลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนแล้ว อีกสองคน คือ "สมุหพระราชวัง" (Lord Great Chamberlain) และ "สมุหพระราชมนเทียร" (Grand Marshal)
  3. ขุนนางศาสนา (Spiritual Peers) - มาจากตัวแทนของศาสนจักร เช่น บิชอปและอาร์ชบิชอปต่างๆ (โดยจะต้องมาจากคริสตจักรแห่งอังกฤษเท่านั้น)
  4. ขุนนางกฎหมาย (Law Lords) - เป็นสมาชิกที่มีความรู้ด้านกฎหมาย และทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักรจนถึง ค.ศ. 2009 มียี่สิบหกคน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Lords by party, type of peerage and gender". Parliament of the United Kingdom.
  2. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิมพ์คำว่า House of Lords