มุมชั่วโมง

(เปลี่ยนทางจาก Hour angle)

มุมชั่วโมง (อังกฤษ: hour angle) เป็นศัพท์ทางดาราศาสตร์ มุมชั่วโมงของเทห์ฟากฟ้าหมายถึงความแตกต่างระหว่างไรต์แอสเซนชันของเทห์ฟากฟ้า กับเวลาดาราคติในทางดาราศาสตร์และการเดินเรือดาราศาสตร์ มุมชั่วโมงเป็นหนึ่งในพิกัดที่ใช้ใน ระบบพิกัดศูนย์สูตร เพื่อระบุทิศทางของจุดบนทรงกลมท้องฟ้า มุมชั่วโมงของจุดบนทรงกลมท้องฟ้าคือมุมระหว่างระนาบสองระนาบ: ระนาบหนึ่งคือระนาบที่ประกอบด้วยแกนหมุนของโลกและจุดจอมฟ้า (ระนาบเมริเดียน) และอีกระนาบหนึ่งคือระนาบที่ประกอบด้วยแกนหมุนของโลกกับจุดนั้น

มุมชั่วโมงแสดงด้วยลูกศรสีส้มบนระนาบเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า

มุมชั่วโมงถูกกำหนดโดยเส้นเมริเดียนโดยเป็นลบทางด้านตะวันออกของเส้นเมอริเดียน และเป็นบวกทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียน หรือนับจากทางตะวันตกไปเรื่อย ๆ เป็นบวกจนถึง 360 องศา วิธีการแปลงมุมชั่วโมงและลองจิจูดคือ 24h = 360°

มุมชั่วโมงถูกนิยามในทางดาราศาสตร์เป็นระยะทางเชิงมุมจากเส้นเมริเดียนตามเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้าถึงวงกลมใหญ่บนพื้นผิวทรงกลมที่วัตถุเป้าหมายผ่านขั้วของโลก ระยะทางเชิงมุมควรคำนวณจากทิศตะวันตก[1] หน่วยที่ใช้อาจเป็นชั่วโมง องศา หรือ เรเดียน

ในด้านการเดินเรือดาราศาสตร์ ตามธรรมเนียมแล้วจะยึดตามเส้นเมริเดียนแรก เป็นมุมชั่วโมงเกรนิช (Greenwich hour angle, GHA) หรือเส้นเมอริเดียนท้องถิ่น เป็นมุมชั่วโมงท้องถิ่น (local hour angle, LHA) หรือคำนวณตามต้นยุคอ้างอิง เป็นมุมชั่วโมงดาราคติ (sidereal hour angle, SHA)

มุมชั่วโมงใช้ร่วมกับเดคลิเนชันเพื่อกำหนดพิกัดของจุดบนทรงกลมท้องฟ้าในระบบพิกัดศูนย์สูตรอย่างเที่ยงตรง[2]

ความสัมพันธ์ระหว่างมุมชั่วโมงกับไรต์แอสเซนชัน แก้

มุมชั่วโมงท้องถิ่น   คำนวณได้โดย

 

โดยที่   คือเวลาดาราคติท้องถิ่น และ   คือไรต์แอสเซนชัน

หรืออาจคำนวณโดย

 

โดยที่   คือ เวลาดาราคติเกรนิช (Greenwich sidereal time) หมายถึงเวลาดาราคติท้องถิ่นที่เกรนิช ส่วน   คือลองจิจูดของผู้สังเกตการณ์ (นับจากเส้นเมริเดียนแรกโดยทิศตะวันออกเป็นค่าบวก)[3]

ถ้ามุมชั่วโมงเป็นค่าลบ (−180° <   < 0°) แสดงว่าวัตถุกำลังเข้าใกล้เส้นเมริเดียน และมุมชั่วโมงเป็นบวก (0° <   < 180°) แสดงว่าวัตถุกำลังเคลื่อนออกจากเส้นเมริเดียน เมื่อมุมชั่วโมงเป็น 0 แสดงว่าวัตถุอยู่บนเส้นเมริเดียน

นอกจากนี้แล้ว มุมชั่วโมงและมุมไรต์แอสเซนชันมักจะวัดเป็นชั่วโมง นาที และวินาที โดยไม่ใช้ค่าติดลบ การหมุนครบรอบ   เทียบเท่ากับ   สามารถแปลงไปมากันได้

อ้างอิง แก้

  1. U.S. Naval Observatory Nautical Almanac Office (1992). P. Kenneth Seidelmann (บ.ก.). Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac. Mill Valley, CA: University Science Books. p. 729. ISBN 0-935702-68-7.
  2. Explanatory Supplement (1992), p. 724.
  3. Meeus, Jean (1991). Astronomical Algorithms. Willmann-Bell, Inc., Richmond, VA. p. 88. ISBN 0-943396-35-2.