รายงานเฮิร์ช

(เปลี่ยนทางจาก Hirsch Report)

รายงานเฮิร์ช (อังกฤษ: Hirsch report) เป็นชื่อที่ใช้โดยสามัญสำหรับรายงาน Peaking of World Oil Production: Impacts, Mitigation, and Risk Management (จุดสูงสุดของการผลิตน้ำมันโลก ผล การบรรเทา และการจัดการความเสี่ยง) ที่ทำขึ้นตามคำสั่งของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา แล้วเผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005[1] แล้วปรับปรุงข้อมูลในปี ค.ศ. 2007[2] ซึ่งตรวจสอบกรอบเวลาของเหตุการณ์จุดผลิตน้ำมันสูงสุด (peak oil) ที่จะเกิดขึ้น มาตรการที่จำเป็นเพื่อใช้บรรเทา และผลที่น่าจะเกิดขึ้นเพราะมาตรการเหล่านั้น

สาระ แก้

จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลก จะทำให้สหรัฐอเมริกาและโลก ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาการจัดการความเสี่ยง ในระดับความรุนแรงที่ไม่เคยมีมาก่อน" เมื่อจุดสูงสุดใกล้เข้ามา ทั้งราคาและความผันผวนของราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ และถ้าไม่บรรเทาความเสียหายอย่างทันท่วงเวลา จะเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางการเมือง ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน มาตรการบรรเทาความเสียหายที่เป็นไปได้ มีทั้งในส่วนอุปสงค์และอุปทาน แต่ถ้าจะมีผลที่เป็นรูปธรรม จะต้องเริ่มดำเนินการก่อนหนึ่งทศวรรษ ที่จุดสูงสุดจะเกิดขึ้น

ผู้เขียนนำของรายงานนี้ คือ รอเบิรต์ เฮิร์ช เผยแพร่ใจความสำคัญของรายงานนี้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ในนามขององค์กร Atlantic Council[3]

การพยากรณ์ แก้

ตารางต่อไปนี้ แสดงกรอบเวลาการเกิดขึ้นของจุดผลิตน้ำมันสูงสุด ที่พยากรณ์โดยนักธรณีวิทยาปิโตรเลียม นักวิทยาศาสตร์ และนักเศรษฐศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมน้ำมัน ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ. 2010 เฮิร์ชเองก็พยากรณ์ว่า การผลิตน้ำมันของโลกจะเริ่มลดลงโดยปี ค.ศ. 2015[4]

ปี ค.ศ. ที่พยากรณ์ ต้นกำเนิด
2006-2007 Ali Samsam Bakhtiari (ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของบริษัทน้ำมันอิหร่าน)
2007-2009 Matthew Simmons (ประธานบริษัทลงทุนทางพลังงาน)
หลัง 2007 Chris Skrebowski (ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมน้ำมัน)
ก่อน 2009 Kenneth S. Deffeyes (นักธรณีวิทยาปิโตรเลียม)
ก่อน 2010 David Goodstein (ศาสตราจารย์ฟิสิกส์ที่แคลเทค)
ใกล้ 2010 Colin Campbell (นักธรณีวิทยาปิโตรเลียม)
หลัง 2010 World Energy Council (คณะทำงานเพื่อการใช้พลังงานที่ยั่งยืน)
2010-2020 Jean Laherrère (วิศวกรปิโตรเลียม)
2016 EIA (Nominal) (รัฐบาลกลางสหรัฐ)
หลัง 2020 CERA (บริษัทปรึกษาทางพลังงาน)
2025 หรือหลังจากนั้น บริษัทเชลล์

การบรรเทา แก้

โดยสมมุติว่า ระบบการบริการ/การทำงานต่าง ๆ ที่มีอยู่ จะต้องดำเนินต่อไป รายงานพิจารณายุทธวิธีการบรรเทาต่อไปนี้ ว่าเป็นส่วนของโปรแกรมเร่งด่วน (crash program)

  1. การขนส่งประหยัดพลังงาน
  2. น้ำมันหนัก/ทรายน้ำมัน
  3. การแปลงถ่านหินให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว
  4. การขุดเจาะน้ำมันที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  5. การแปลงแก๊สธรรมชาติให้เป็นเชื้อเพลิงเหลว

ข้อสรุป แก้

รายงานมีข้อสรุปดังต่อไปนี้

  • จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลกจะเกิดขึ้น และน่าจะเกิดอย่างกระทันหัน
    • การผลิตน้ำมันจากแหล่งสามัญจะถึงจุดสูงสุด แล้วจะลดลงหลังจากนั้น
    • มีบางคนที่พยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้นภายในทศวรรษ แต่บางคนว่าจะเกิดภายหลัง
    • จะมีการถึงจุดสูงสุด แต่ว่า กรอบเวลายังไม่แน่นอน
  • เหตุการณ์จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกา
    • ในศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจสหรัฐ ดีขึ้นและแย่ลงตามน้ำมันที่มีในราคาถูก
    • การสูญเสียทางเศรษฐกิจของสหรัฐ อาจจะอยู่ในระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
    • ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่เฉียบขาด และการผลิตเชื้อเพลิงทางเลือก จะช่วยในการบรรเทาพอสมควร
  • จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะเป็นเรื่องท้าทายที่ไม่เหมือนปัญหาอื่น
    • ถ้าไม่มีมาตรการบรรเทาที่กว้างขวางใหญ่โต ปัญหาจะเป็นแบบทั่วระบบและจะเป็นปัญหาระยะยาว
    • การเปลี่ยนการใช้พลังงานในสมัยก่อน ๆ (จากไม้ไปสู่ถ่านหิน จากถ่านหินไปสู่น้ำมัน) เป็นเหตุการณ์ค่อยเป็นค่อยไป เป็นไปแบบวิวัฒนาการ
    • จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะเป็นเรื่องฉับพลัน จะเป็นไปแบบปฏิวัติ
  • ปัญหาก็คือเชื้อเพลิงเหลวเพื่อการขนส่ง
    • อายุใช้งานของอุปกรณ์การขนส่ง วัดเป็นเวลาทศวรรษ ๆ
    • การเปลี่ยนอุปกรณ์การขนส่งอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
    • ยานพาหนะยนต์ เครื่องบิน รถไฟ และเรือ ยังไม่พร้อมที่จะใช้พลังงานอย่างอื่นนอกจากเชื้อเพลิงเหลว
  • มาตรการบรรเทาจะต้องใช้เวลาพอสมควร
    • ถ้าไม่เริ่มมาตรการบรรเทาจนกระทั่งถึงจุดผลิตสูงสุด โลกจะขาดแคลนเชื้อเพลิงเหลวเป็นเวลานานถึง 20 ปี
    • การเริ่มโปรแกรมเร่งด่วน 10 ปีก่อนจะถึงจุดสูงสุด จะทำให้ขาดแคลนเชื้อเพลิงเหลวเป็นเวลา 10 ปี
    • การเริ่มโปรแกรมเร่งด่วน 20 ปีก่อนจะถึงจุดสูงสุด อาจจะทำให้ไม่ขาดแคลนเลย
  • มาตรการบรรเทาต้องทำทั้งด้านอุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply)
    • น้ำมันราคาสูงต่อเนื่องกัน จะลดอุปสงค์ (ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการว่างงาน)
    • การผลิตเชื้อเพลิงเหลวทางเลือกเป็นจำนวนสามารถทำได้ และจะต้องทำ
    • การผลิตเชื้อเพลิงเหลวทางเลือก มีเทคโนโลยีที่ทำได้ และเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ
  • เป็นเรื่องการจัดการความเสี่ยง
    • จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลก เป็นปัญหาการจัดการความเสี่ยงแบบคลาสสิก
    • มาตรการบรรเทาที่ทำก่อนที่จะต้องทำ อาจจะเกิดขึ้น ถ้าการถึงจุดสูงสุดล่าช้าออกไป
    • แต่ถ้าการถึงจุดสูงสุดเร็วกว่าที่คาด การไม่มีมาตรการบรรเทาจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่ง
  • การแทรกแซงของรัฐบาลเป็นเรื่องจำเป็น
    • ไม่เช่นนั้นแล้ว ผลทางเศรษฐกิจและสังคมของจุดผลิตน้ำมันสูงสุด อาจจะทำให้เกิดความวุ่นวายมาก
    • ความเร่งด่วนอาจจะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง ในระบบการบริหารและการควบคุมของรัฐที่มีอยู่
  • ปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ใช่หลีกเลี่ยงไม่ได้
    • แต่ถ้าไม่มีมาตรการบรรเทา จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลกจะก่อให้เศรษฐกิจเสียหายอย่างรุนแรง
    • ถ้ามีเวลาล่วงหน้าพอ ปัญหาสามารถแก้ได้ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว
    • เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยได้ แต่ต้องจะเป็นไปในระยะเวลายาวกว่า
  • ต้องหาข้อมูลเพิ่ม
    • การแก้ปัญหาจุดผลิตน้ำมันสูงสุดที่มีประสิทธิผล จะต้องอาศัยความเข้าใจปัญหาที่ดีกว่าที่มีในปัจจุบัน
    • ต้องตรวจสอบความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจจะมี ของมาตรการบรรเทาที่พอจะทำได้

สถานการณ์ 3 อย่าง แก้

  • การรอจนกระทั่งถึงจุดสูงสุดของการผลิตน้ำมันโลก ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมเร่งด่วน จะทำให้โลกมีภาวะบกพร่องเชื้อเพลิงมากกว่า 2 ทศวรรษ
  • การเริ่มโปรแกรมบรรเทาแบบเร่งด่วน 10 ปีก่อนที่จะถึงจุดสูงสุด จะช่วยได้พอสมควร แต่ก็จะยังมีภาวะบกพร่องเชื้อเพลิงประมาณทศวรรษหนึ่งหลังถึงจุดสูงสุด
  • การเริ่มโปรแกรมบรรเทาแบบเร่งด่วน 20 ปีก่อนถึงจุดสูงสุด ดูเหมือนจะทำให้มีโอกาสหลีกเลี่ยงภาวะบกพร่องเชื้อเพลิง

ความเหมาะสมนอกสหรัฐอเมริกา แก้

รายงานเฮิร์ชกระตุ้นให้เริ่มโปรแกรมเร่งด่วนเพื่อสร้างเทคโนโลยีใหม่ ๆ และความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและทัศนคติในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็หมายถึงว่าให้มีการวิจัยและพัฒนา เพิ่มขึ้นด้วย โดยอ้างจุดผลิตน้ำมันสูงสุดว่าเป็นเหตุผลหลักที่จะต้องมีมาตรการบรรเทา

ในช่วงที่ราคาน้ำมันเพิ่มอย่างสำคัญระหว่างปี ค.ศ. 2003-2007 หัวข้อที่กล่าวถึงอย่างหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในวงการก็คือว่า ราคาที่เพิ่มขึ้น เพียงแค่ส่วนหนึ่งเกิดจากการมีน้ำมันดิบที่จำกัด (คือเกิด[[จุดผลิตน้ำมันสูงสุด]]) ยกตัวอย่างเช่น มีเหตุการณ์ไฟไหม้และความบกพร่องอื่น ๆ ในโรงงานกลั่นน้ำมันของสหรัฐในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2007 ที่ทำให้อุปทานบกพร่อง[5] แต่ว่า สมรรถภาพบกพร่องในการกลั่นน้ำมัน ควรที่จะอธิบายได้แต่ราคาแก๊สโซลีนที่สูงขึ้น ไม่ใช่ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น จริงอย่างนั้น ถ้าไม่มีโรงงานพอที่จะกลั่นน้ำมันดิบที่มี ก็ควรจะมีน้ำมันเกินซึ่งควรจะลดราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก แต่ว่า ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากความไม่มั่นคงในตลาดหลักทรัพย์ และความวิตกกังวลในความมั่นคงของน้ำมันที่จะมีในอนาคต หรืออาจจะเป็นเพราะนักลงทุนคาดหวังว่า ราคาน้ำมันดิบจะสูงขึ้นเมื่อสมรรถภาพการกลั่นน้ำมันฟื้นคืนสภาพ

ในเรื่องว่าข้อสรุปของรายงานเฮิร์ชตรงกับประเทศอื่น ๆ บ้างแค่ใน ในปี ค.ศ. 2004 สหรัฐอเมริกาบริโภคน้ำมันในอัตรา 26% ของโลก ในขณะที่มีประชากรเพียงแค่ 4.3% ยุโรปบริโภค 11% โดยมีประชากร 6.8% รถทั่ว ๆ ไปในประเทศเยอรมนีใช้น้ำมัน 8.1 ลิตร ต่อ 100 กม. ในขณะที่รถในสหรัฐใช้ 16.2 ลิตร[ต้องการอ้างอิง]

แต่ว่า คำแนะนำของรายงานบางส่วน ได้มีการทำแล้วในยุโรป และทำอย่างไม่ค่อยจริงจังเพราะไม่ค่อยเชื่อถือในเอเชีย[ต้องการอ้างอิง] ความแตกต่างที่เห็นอย่างนี้ความจริงเคยน้อยกว่านี้มากในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 แต่ว่า ยุโรปได้ปรับตัวได้ดีกว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์วิกฤตน้ำมันหลายครั้งหลายครา แล้ววางฐานให้มั่นคงขึ้นด้วยการเก็บภาษีแก๊สโซลีนที่หนักกว่า[ต้องการอ้างอิง] ความแตกต่างอื่น ๆ ระหว่างสหรัฐกับยุโรปรวมทั้ง เทคโนโลยีถนอมพลังงานที่ดีกว่า เทคโนโลยีรถยนต์ที่ดีกว่า และการฉนวนสิ่งปลูกสร้างควบคุมอุณหภูมิแบบไม่ใช้พลังงานที่ดีกว่า[ต้องการอ้างอิง]. นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการสร้างและความหนาแน่นของที่อยู่อาศัย การจัดระเบียบชานเมือง การใช้การขนส่งมวลชน และพฤติกรรมผู้บริโภค ที่กำลังแตกต่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย[ต้องการอ้างอิง] ดังนั้น คาดว่า วิกฤตจุดผลิตน้ำมันสูงสุดที่ร่างไว้ในรายงาน จะมีผลรุนแรงมากกว่าในสหรัฐอเมริกาเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกโดยเฉพาะยุโรป[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Hirsch, Robert L.; Bezdek, Roger; Wendling, Robert (February 2005). "Peaking Of World Oil Production: Impacts, Mitigation, & Risk Management" (PDF). Science Applications International Corporation/U.S.Department of Energy, National Energy Technology Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2009-11-28.
  2. Hirsch, Robert L. (February 2007). "Peaking of World Oil Production: Recent Forecasts" (PDF). Science Applications International Corporation/U.S.Department of Energy, National Energy Technology Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2015-02-19.
  3. Hirsch, Robert L. (October 2005), สำเนาที่เก็บถาวร (PDF), Atlantic Council, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 13, 2012, สืบค้นเมื่อ 2012-10-11
  4. Robert Hirsch - Interim Observations. vimeo (ภาพยนตร์).
  5. Mouawad, Jad (July 22, 2007). "Record Failures at Oil Refineries Raise Gas Prices". The New York Times.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้