พุดซ้อน
พุดซ้อน | |
---|---|
Gardenia jasminoides | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Rubiaceae |
สกุล: | Gardenia |
สปีชีส์: | G. jasminoides |
ชื่อทวินาม | |
Gardenia jasminoides J.Ellis | |
ชื่อพ้อง | |
Gardenia augusta (L.) Merr. (nom. illeg.) |
พุดซ้อนเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับเข็มพวงขาว กระทุ่ม และกาแฟ ถิ่นกำเนิดเดิมของพุดซ้อนเข้าใจว่าอยู่ทางตอนใต้ของจีน โดยยังสามารถพบกระจายพันธุ์ในธรรมชาติอย่างแพร่หลายในบังกลาเทศ, อินเดีย, ญี่ปุ่น, เกาหลี, พม่า, และเวียดนาม มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ พุดจีน, พุดใหญ่, เก็ดถะหวา (ภาคเหนือ), และอินถะหวา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพุดซ้อน
แก้พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2 เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 เซนติเมตร กลิ่นหอมแรง ออกดอกตลอดปี
การปลูกเลี้ยง
แก้พุดซ้อนเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
ประโยชน์
แก้นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม ส่วนดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ในตำรายาจีนเรียกจือจื่อ (ภาษาจีนกลาง) หรือกี้จือ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ผลสดหรือผลที่เผาจนเป็นเถ้าใช้เป็นยาระบายความร้อนและขับสารพิษ[1]
ในวรรณคดี
แก้มีบทโครงที่กล่าวถึง พุดซ้อน ใน
ช่อตะแบกสัตตบุษย์พุดซ้อน | |
จำปีมลุลีมะลิลา | |
กลิ่นขจรฟุ้งจับนาสา | |
พิกุลกรรณิการ์สารภี | |
(รามเกียรติ์ - พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1) |
เจ้าโมรากรีดเล็บเก็บจำปี | |
ให้ประภาวดีศรีสมร | |
เจ้าวิเชียรเก็บกระถินกลิ่นขจร | |
กับพุดซ้อนตามส่งให้จงกล | |
(พระอภัยมณี - สุนทรภู่) |
อ้างอิง
แก้- ↑ ศุภนิมิต ทีฆชุณหเสถียร. ยาจีนปรับสมดุลเลือด. กทม. ซีเอ็ดยูเคชัน. 2554
- ITIS 34784 เก็บถาวร 2006-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน