Executive functions

(เปลี่ยนทางจาก Executive function)

cutive functions[1] (แปลว่า หน้าที่บริหาร ตัวย่อ AF) หรือ ความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการ[2], ทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร[3] สามารถนิยามได้ว่า "เป็นทักษะที่จำเป็นในการทำกิจที่มีเป้าหมาย มีจุดมุ่งหมาย"[4] เป็นคำครอบคลุมที่ใช้กล่าวถึงกระบวนการทางประชานที่ควบคุมและจัดการกระบวนการทางประชานอื่น ๆ [5] เช่น การวางแผน (planning), ความจำใช้งาน (working memory), การใส่ใจ, การแก้ปัญหา, การเข้าใจเหตุผลโดยใช้คำ (verbal reasoning), cognitive inhibition (การมีสมาธิ), cognitive flexibility (การคิดถึงหลาย ๆ เรื่องได้พร้อมกัน), task switching (การทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน) [6] และการเริ่มและตรวจสอบการกระทำ[7] ตามทฤษฏีทางจิตวิทยา ระบบบริหาร (executive system) เป็นตัวควบคุมและบริหารกระบวนการทางประชานอื่น ๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการที่บางครั้งเรียกว่าเป็น "executive functions" (หน้าที่บริหาร) "executive skills" (ทักษะการบริหาร) "supervisory attentional system" (ระบบควบคุมโดยการใส่ใจ) หรือ "cognitive control" (การควบคุมทางประชาน) ส่วน prefrontal cortex ของสมองกลีบหน้าเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ แต่ไม่ใช่ส่วนเดียว ที่ทำหน้าที่ดังที่กล่าวมานี้[8]

ประสาทกายวิภาค แก้

โดยประวัติแล้ว EF พิจารณาว่าควบคุมโดยสมองส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้า แต่จริง ๆ แล้วก็ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่[8] แม้ว่า บทความเกี่ยวกับรอยโรคในส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้าจะกล่าวถึงความผิดปกติของ EF และบทความเกี่ยวกับความผิดปกติของ EF ก็จะกล่าวถึงรอยโรคในส่วน prefrontal ของสมองกลีบหน้า บทความปริทัศน์หนึ่ง[8]พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง EF กับสมองกลีบหน้าที่ไม่เสียหายและใช้งานได้ มี sensitivity สูง (คือถ้า EF ปกติ สมองกลีบหน้าก็ปกติด้วย) แต่มี specificity ต่ำ (คือถ้า EF ผิดปกติ สมองกลีบหน้าอาจจะปกติ) ซึ่งหมายความว่า เขตสมองทั้งในส่วนหน้าและไม่ใช่ส่วนหน้าจำเป็นต่อการทำงานปกติในระบบบริหาร คือ สมองกลีบหน้าอาจจะต้องมีส่วนร่วมใน EF ทั้งหมด แต่ไม่ใช่สมองส่วนเดียวที่มีบทบาท[8]

บทความปริทัศน์ของอัลวาเรซและเอ็มมอรี่ในปี ค.ศ. 2006 แสดงว่า งานวิจัยที่ใช้การสร้างภาพสมอง (neuroimaging) หรือการศึกษารอยโรคได้ระบุถึงหน้าที่ต่าง ๆ ที่บ่อยครั้งสัมพันธ์กับเขตต่าง ๆ โดยเฉพาะของ PFC[8] กล่าวคือ

  • ส่วน dorsolateral prefrontal cortex มีหน้าที่เกี่ยวกับการประมวลผลแบบ "on-line" (คือมีการประมวลผลสด ๆ ร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือประสบการณ์นั้น ๆ) เช่นการประสานมิติต่าง ๆ ของประชานและพฤติกรรม[9] ดังนั้น เขตนี้จึงพบว่ามีความสัมพันธ์กับความคล่องแคล่วทางภาษา (verbal fluency), ความคล่องแคล่วในการออกแบบ (design fluency), การคิดถึงเพียงเรื่องเดียวและการเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น, การวางแผน, cognitive inhibition (การมีสมาธิ), ทักษะในการจัดระเบียบ, การคิดอย่างมีเหตุผล, การแก้ปัญหา และการคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking) [8][10]
 
มุมมองด้านข้างของสมอง แสดงส่วน dorsolateral prefrontal cortex และ orbitofronal cortex
  • anterior cingulate cortex (ตัวย่อ ACC) มีบทบาทเกี่ยวกับแรงจูงใจ (emotional drive) ประสบการณ์ทางอารมณ์ (emotional experience) และการประสานอารมณ์ (emotional integration) [9] หน้าที่ทางประชานที่เกี่ยวข้องกันอย่างอื่น ๆ รวมทั้งการยับยั้งการตอบสนองที่ไม่เหมาะสม การตัดสินใจ และพฤติกรรมที่มีแรงจูงใจ รอยโรคในเขตนี้สามารถนำไปสู่ภาวะที่มีแรงจูงใจต่ำรวมทั้งภาวะไร้อารมณ์ (apathy) ภาวะไร้แรงผลักดันและการริเริ่ม (abulia) หรือสภาวะไม่พูดและเสียการเคลื่อนไหว (akinetic mutism) และอาจจะมีผลเป็นสภาวะไร้แรงจูงใจสำหรับความต้องการพื้นฐานของชีวิตเช่นความต้องการอาหารและเครื่องดื่ม และอาจจะมีความสนใจน้อยลงในกิจกรรมทางสังคม ทางอาชีพ และเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์[9][11]
  • orbitofrontal cortex (ตัวย่อ OFC) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมแรงกระตุ้นฉับพลัน (impulse) การตรวจดูพฤติกรรมที่กำลังเป็นไป, การดำรงรักษาพฤติกรรมที่ตั้งเป็นรูปแบบแล้ว, การมีสมาธิคิดถึงเรื่อง ๆ เดียว, และพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคม[9] นอกจากนั้นแล้ว OFC ยังมีบทบาทเกี่ยวกับเป็นตัวแทนค่ารางวัลที่เกิดจากตัวกระตุ้นทางประสาทสัมผัส และเกี่ยวกับการประเมินประสบการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์ที่เป็นอัตวิสัย[12] รอยโรคใน OFC อาจทำให้เกิดความไม่มีการยับยั้งชั่งใจ (disinhibition) ความหุนหันพลันแล่น (impulsivity) การประทุออกของความก้าวร้าว (aggressive outburst) ความสำส่อนทางเพศ และพฤติกรรมต่อต้านสังคม[8]

นอกจากนั้นแล้ว อัลวาเรซและเอ็มมอรี่ยังได้กล่าวไว้ว่า

สมองกลีบหน้ามีการเชื่อมต่อกันอย่างหลากลายกับเขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ ใต้คอร์เทกซ์ และในก้านสมอง หน้าที่ทางประชาน "ในระดับสูง" เช่นการยับยั้งชั่งใจ การเปลี่ยนแนวความคิดหรือการคิดถึงหลายเรื่องพร้อม ๆ กัน การแก้ปัญหา การวางแผน การควบคุมความหุนหันพลันแล่น การสร้างความคิด ความคิดเชิงนามธรรม และความคิดสร้างสรรค์ มักจะมีมูลฐานมาจากรูปแบบของประชานและพฤติกรรมที่ง่ายกว่า "ในระดับต่ำ" กว่า ดังนั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับ EF จะต้องกว้างขวางพอที่จะรวมโครงสร้างทางกายวิภาคต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของระบบประสาทกลางที่มีความแตกต่างกันและแพร่ขยายไปในที่ต่าง ๆ กัน[8]

บทบาทตามสมมติฐาน แก้

ระบบบริหารพิจารณากันว่า มีบทบาทสำคัญในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่จัดการได้โดยกระบวนการจิตวิทยาอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเพียงการทำซ้ำซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เคยเรียนรู้มาก่อน นักจิตวิทยาดอน นอร์แมน และทิม แชลไลซ์ ได้ร่างสถานการณ์ 5 อย่างที่การทำงานแบบซ้ำ ๆ กันของพฤติกรรมจะไม่มีประสิทธิภาพ[13] คือ

  1. ที่ต้องมีการวางแผนหรือการตัดสินใจ
  2. ที่ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดหรือต้องสืบหาข้อผิดพลาด
  3. ที่การตอบสนองยังไม่ได้มีการซ้อมมาดีหรือว่าต้องมีการกระทำรูปแบบใหม่ ๆ ในบางส่วน
  4. ที่มีอันตรายหรือยากโดยเทคนิค
  5. ที่ต้องฝืนการตอบสนองโดยนิสัยหรือต้องฝืนความอยาก

"prepotent response" (แปลว่า การตอบสนองมหาอำนาจ) เป็นการตอบสนองที่เกิดการเสริมแรง (reinforcement) ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบโดยทันที หรือว่าที่ได้มีการสัมพันธ์กับตัวเสริมกำลังมาก่อน ๆ แล้ว[14] ต้องมีการทำงานของ EF เมื่อจำเป็นที่จะต้องเลี่ยงการตอบสนองเช่นนั้น ซึ่งถ้าไม่มีการเลี่ยงแล้ว อาจเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของสิ่งแวดล้อมภายนอก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าปรารถนา เช่น เค้กช็อกโกแลตที่อร่อย เราอาจจะมีการตอบสนองอัตโนมัติเป็นการลองรับประทาน แต่ว่า ถ้าพฤติกรรมเช่นนี้ไม่ลงรอยกับแผนการภายในอื่น ๆ (เช่น ได้ตัดสินใจมาก่อนแล้วว่าจะไม่ทานเค้กช็อกโกแลตในขณะที่กำลังลดอาหารอยู่) EF อาจจะต้องทำงานเพื่อยับยั้งการตอบสนองเช่นนั้น

แม้ว่า จะมีการพิจารณาว่าการยับยั้ง prepotent response ปกติเป็นพฤติกรรมปรับตัวตามทฤษฎีวิวัฒนาการ แต่ว่าปัญหาการพัฒนาบุคคลหรือของกลุ่มชนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ามีการหลบเลี่ยงความรู้สึกถูกผิด (คือเลี่ยงการประพฤติให้ชอบตามศีลธรรม) เพราะเหตุแห่งความกดดันทางสังคม หรือว่า ความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ เกิดการยับยั้งโดย EF[15]

มุมมองทางประวัติศาสตร์ แก้

แม้ว่าจะมีงานวิจัยเกี่ยวกับ EF และมูลฐานทางประสาทที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปีที่ผ่าน ๆ มา โครงสร้างทางทฤษฎีของเรื่องนี้ไม่ใช่ของใหม่ ในคริสต์ทศวรรษ 1950 นักจิตวิทยาชาวอังกฤษโดนัลด์ บรอดเบ็นต์ได้กำหนดความแตกต่างกันระหว่างกระบวนการ "อัตโนมัติ" และกระบวนการ "มีการควบคุม" (ซึ่งมีกำหนดอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นโดยชิฟฟรินและชไนเดอร์ในปี ค.ศ. 1977)[16] และได้เสนอไอเดียเกี่ยวกับความใส่ใจโดยเลือก (selective attention) ซึ่งเป็นไปควบคู่กันกับ EF ในปี ค.ศ. 1975 นักจิตวิทยาชาวอเมริกันไมเคิล โพสเนอร์ได้ใช้คำว่า การควบคุมทางประชาน (cognitive control) ในหนังสือของเขาในบทที่มีชื่อว่า "Attention and cognitive control (ระบบควบคุมความใส่ใจและประชาน)"[17]

จากนั้น งานของนักวิจัยทรงอิทธิพลต่าง ๆ เช่น ไมเคิล โพสเนอร์, โจควิน ฟัสเตอร์, ทิม แชลไลซ์ และนักวิจัยอื่น ๆ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้ตั้งรากฐานสำหรับงานวิจัยต่อ ๆ มาเกี่ยวกับเรื่อง EF ยกตัวอย่างเช่น โพสเนอร์ได้เสนอว่ามีสาขาของระบบความใส่ใจเป็นสาขา "บริหาร" แยกออกต่างหาก ซึ่งมีหน้าที่เพ่งเล็งความใส่ใจไปยังลักษณะหนึ่ง ๆ ของสิ่งแวดล้อม[18] ส่วนนักประสาทจิตวิทยาชาวอังกฤษทิม แชลไลซ์ได้เสนอโดยมีส่วนคล้าย ๆ กันว่า ความใส่ใจมีการควบคุมโดย ""ระบบควบคุมดูแล" (supervisory system) ซึ่งสามารถเลี่ยงการตอบสนองอัตโนมัติโดยตอบสนองทางพฤติกรรมที่มีมูลฐานจากแผนการหรือความตั้งใจ[19] ในช่วงเวลานี้ ได้มีมติที่เห็นพ้องกันว่า ระบบควบคุมนี้อยู่ในส่วนหน้าสุดของสมอง ซึ่งก็คือ prefrontal cortex (PFC)

ในปี ค.ศ. 1986 นักจิตวิทยาอลาน แบดดะลี ได้เสนอระบบที่คล้าย ๆ กันโดยเป็นส่วนของแบบจำลองของความจำใช้งาน (working memory) ของเขา[20] และอ้างว่า ต้องมีส่วนประกอบองค์หนึ่ง (ซึ่งภายหลังเขาให้ชื่อว่า "central executive") ที่ทำให้สามารถจัดการข้อมูลในความจำระยะสั้นได้ (เช่น คิดเลข)

พัฒนาการ แก้

โครงสร้างการพัฒนาการเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการศึกษา EF เพราะว่า ความสามารถต่าง ๆ ของ EF พัฒนาเร็วช้าไม่เท่ากันตามกาลเวลา คือ ความสามารถบางอย่างถึงการพัฒนาการอย่างสมบูรณ์ในปลายวัยเด็กหรือวัยรุ่น ในขณะที่ส่วนที่เหลือยังพัฒนาอยู่แม้ในวัยผู้ใหญ่ระยะต้น ๆ เพราะว่า สมองยังเจริญเติบโตและสร้างการเชื่อมต่อต่าง ๆ จนกระทั่งถึงในวัยผู้ใหญ่ ความสามารถเกี่ยวกับ EF ได้รับอิทธิพลจากทั้งการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในสมองและประสบการณ์ชีวิต ทั้งในห้องเรียนทั้งในชีวิตจริง ๆ นอกจากนั้นแล้ว การพัฒนาการทำงานของ EF ยังสัมพันธ์กับการพัฒนาทางประสาทสรีรภาพในสมองที่ยังเติบโตอยู่ คือ เมื่อสมรรถภาพการประมวลผลของสมองกลีบหน้าและส่วนอื่น ๆ ที่มีการเชื่อมต่อถึงกันและกันสูงขึ้น หน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบบริหารจึงจะปรากฏ[21][22] เมื่อสมรรถภาพเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะเกิดการพัฒนาต่อไปบางครั้งอย่างรวดเร็วเป็นช่วง ๆ ในขณะที่สมรรถภาพที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นอื่น ๆ ก็จะเจริญขึ้นด้วย ซึ่งบ่งถึงความแตกต่างกันของแนวทางการพัฒนาของส่วนประกอบต่าง ๆ [21][22]

วัยเด็กต้น ๆ แก้

ระบบการยับยั้ง (inhibitory control) และความจำใช้งาน (working memory) เป็นกิจบริหารพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่ทำให้การพัฒนากิจบริหารที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นอื่น ๆ เช่นการแก้ปัญหาเป็นไปได้[23] ระบบการยับยั้งและความจำใช้งานเป็นระบบแรก ๆ สุดที่ปรากฏ คือพบการพัฒนาเบื้องต้นได้ในทารกวัย 7-12 เดือน[21][22] และหลังจากนั้นในวัยก่อนปฐมศึกษา เด็ก ๆ จะแสดงประสิทธิภาพในงานเกี่ยวกับการยับยั้งและความจำใช้งานที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็วโดยปกติในระหว่างอายุ 3-5 ขวบ[21][24] นอกจากนั้นแล้วก็อยู่ในช่วงเวลานี้ด้วย ที่ความสามารถในการทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน (cognitive flexibility) พฤติกรรมมีเป้าหมาย (goal-directed behavior) และการวางแผนเริ่มเกิดการพัฒนา[21] อย่างไรก็ดี เด็กวัยก่อนปฐมศึกษายังไม่มีสมรรถภาพทางการบริหารที่สมบูรณ์ จึงยังเกิดการทำงานผิดพลาดเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพที่กำลังเติบโตขึ้น แต่โดยปกติจะไม่ใช่เป็นเพราะความไม่มีสมรรถภาพเหล่านั้น แต่เป็นเพราะว่า เด็ก ๆ ยังไม่มีความสำนึกว่าเมื่อไรและอย่างไรที่จะใช้วิธีการบริหารหนึ่ง ๆ ในกรณีเช่นนั้น[25]

ก่อนวัยรุ่น แก้

เด็กก่อนวัยรุ่นยังปรากฏการเจริญขึ้นของ EF บางอย่างที่รวดเร็วอีกด้วยพร้อมกับการเจริญขึ้นอย่างสมบูรณ์ของหน้าที่บางอย่าง ซึ่งบอกเป็นนัยว่า การพัฒนาของ EF ไม่ได้เป็นการเจริญขึ้นในแนว น[21][22]

ในช่วงก่อนวัยรุ่น เด็ก ๆ มีสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญเกี่ยวกับความจำใช้งานทางภาษา (verbal working memory)[26] พฤติกรรมมีเป้าหมาย (โดยอาจมีช่วงที่พัฒนาเร็วที่สุดใกล้อายุ 12 ขวบ)[27] การยับยั้งการตอบสนอง (response inhibition) และความใส่ใจโดยเลือก[28] และการวางแผนและทักษะในการจัดระเบียบต่าง ๆ [22][29][30] นอกจากนั้นแล้ว ในระหว่างวัย 8-10 ขวบ cognitive flexibility (การคิดถึงหลาย ๆ เรื่องได้พร้อมกัน) โดยเฉพาะจะเริ่มเทียบกับระดับของผู้ใหญ่[29][30] อย่างไรก็ดี เปรียบเหมือนกับรูปแบบการพัฒนาที่เกิดขึ้นในวัยเด็กต้น ๆ สมรรถภาพการบริหารในเด็กก่อนวัยรุ่นมีขีดจำกัด เพราะว่าไม่สามารถใช้สมรรถภาพเหล่านี้ในกรณีต่าง ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ อันเป็นผลจากการพัฒนาที่ยังเป็นไปอยู่ในระบบการยับยั้ง (inhibitory control) [21]

วัยรุ่น แก้

แม้ว่าจะมีสมรรถภาพต่าง ๆ กันที่เริ่มขึ้นในสมัยวัยเด็กต้น ๆ และก่อนวัยรุ่น เช่นการยับยั้ง แต่ว่า เป็นสมัยช่วงวัยรุ่นที่ระบบต่าง ๆ ในสมองจะเกิดการทำงานที่ประสานกันดี จะเป็นในวัยนี้นี่แหละที่เยาวชนจะมีสมรรถภาพทางการบริหารต่าง ๆ เช่น การยับยั้ง (inhibitory control) ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[31][32] เหมือนกับที่ระบบการควบคุมเกิดขึ้นในวัยเด็กและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ การวางแผนและพฤติกรรมมีเป้าหมายจะมีการพัฒนาขึ้นตลอดระยะช่วงวัยรุ่น[24][27] นอกจากนั้นแล้ว สมรรถภาพต่าง ๆ เช่น การควบคุมการใส่ใจ (โดยอาจจะเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วช่วงอายุ 15 ปี) [27] และความจำใช้งาน[31] ก็จะมีการพัฒนาต่อไปในช่วงนี้ด้วย

วัยผู้ใหญ่ แก้

ความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นในสมองในวัยผู้ใหญ่ก็คือการสร้างปลอกไมอีลินของเซลล์ประสาทใน prefrontal cortex[21] ในช่วงวัย 20-29 ปี สมรรถภาพการบริหารจะอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งทำให้คนในช่วงอายุนี้สามารถทำงานทางใจที่ยากที่น่าสนใจที่สุด เป็นสมรรถภาพที่จะเสื่อมลงต่อ ๆ ไป โดยความจำใช้งานและ spatial span[33] เป็นส่วนที่เสื่อมให้เห็นมากที่สุด ส่วน cognitive flexibility (การคิดถึงหลาย ๆ เรื่องได้พร้อมกัน) เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังและมักจะไม่เกิดขึ้นจนกระทั่งถึงอายุ 70 ปีในผู้ใหญ่ปกติ[21] สมรรถภาพการบริหารที่เสื่อมลงเป็นตัวพยากรณ์สมรรถภาพการช่วยเหลือตนเองได้ดีที่สุดในคนชรา

แบบจำลอง แก้

การประเมิน แก้

การประเมิน EF ต้องอาศัยการหารวมข้อมูลมาจากหลาย ๆ แหล่ง และอาศัยการสร้างภาพโดยรวมเพื่อหาแนวโน้มและรูปแบบที่เหมือนกันข้ามกาลเวลาและสถานการณ์ นอกจากการตรวจสอบตามแบบแผนแล้ว วิธีการประเมินอื่น ๆ ก็ยังสามารถใช้ได้ เช่น รายการตรวจสอบมาตรฐาน การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และตัวอย่างของผลงานในอาชีพ จากข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะสามารถอนุมานข้อสรุปเกี่ยวกับสมรรถภาพของ EF ในบุคคลนั้นได้[34]

มีการทดสอบหลายประเภท (เช่น ตามผลการทดสอบ หรือตามที่ตนรายงาน) ที่วัดประสิทธิภาพของ EF ในช่วงการพัฒนาต่าง ๆ การทดสอบเพื่อประเมินผลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อการวินิจฉัยทางการแพทย์ในกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อการรักษาบำบัดโรค เช่น

  • Behavioural Assessment of Dysexecutive Syndrome (BADS)
  • CogScreen: Aeromedical Edition
  • Continuous Performance Task (CPT)
  • Controlled Oral Word Association Test (COWAT)
  • d2 Test of Attention
  • Delis-Kaplan Executive Function System (D-KEFS)
  • Digit Vigilance Test
  • Figural Fluency Test
  • Halstead Category Test
  • Hayling and Brixton tests
  • Iowa gambling task
  • Kaplan Baycrest Neurocognitive Assessment (KBNA)
  • Kaufman Short Neuropsychological Assessment
  • Paced Auditory Serial Addition Test (PASAT)
  • Pediatric Attention Disorders Diagnostic Screener (PADDS)
  • Rey-Osterrieth Complex Figure
  • Ruff Figural Fluency Test
  • Stroop effect
  • Test of Variables of Attention (T.O.V.A.)
  • Tower of London Test
  • Trail-Making Test (TMT) หรือ Trails A & B
  • Wisconsin Card Sorting Test (WCST)
  • Symbol Digit Modalities Test

หลักฐานจากงานทดลอง แก้

ระบบการบริหารเป็นเรื่องที่กำหนดได้ยาก ดังที่นักจิตวิทยาพอล เบอร์กีส์ได้กล่าวว่า เพราะไม่มี "ความเชื่อมต่อกันระหว่างกระบวนการทำงานกับพฤติกรรม"[35] ซึ่งก็คือ ไม่มีพฤติกรรมอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะที่สัมพันธ์กับ EF หรือกับระบบการบริหารที่เกิดความเสียหาย ยกตัวอย่างเช่น ปกติจะชัดเจนว่า คนไข้ที่มีการอ่านเสียหายจะไม่สามารถที่จะทำกิจอะไร แต่ว่า จะไม่ชัดเจนว่า คนไข้ที่มี EF เสียหายจะไม่สามารถที่จะทำกิจอะไร

นี้เป็นผลของธรรมชาติของระบบบริหารโดยตรง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประสานงานการใช้ทรัพยากรทางประชานที่ไม่อยู่นิ่ง ที่เป็นไปในปัจจุบัน และดังนั้น จะเห็นผลของการทำงานของระบบได้ก็โดยวัดผลกระบวนการทางประชานอื่น ๆ นอกจากนั้นแล้ว โดยนัยเดียวกัน ระบบอาจไม่เกิดการทำงานนอกสถานการณ์ในโลกจริง ๆ (เช่น ในสถานการณ์ในแล็บ) ดังที่ประสาทแพทย์อันโตนิโอ ดามาซิโอได้รายงานว่า คนไข้คนหนึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับระบบบริหารในชีวิตประจำวันจริง ๆ แต่ก็ยังสามารถผ่านการทดสอบที่ทำโดยกระดาษและปากกาหรือการทดสอบในแล็บที่เกี่ยวกับ EF ได้[36]

ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบบริหารโดยมากมาจากสังเกตการณ์ในคนไข้ที่มีสมองกลีบหน้าเสียหาย คือ คนไข้มีการกระทำและกลยุทธ์ในการทำกิจต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่ไม่มีระเบียบ (ซึ่งเป็นกลุ่มพฤติกรรมที่เรียกว่า dysexecutive syndrome) แม้ว่า คนไข้จะสามารถผ่านการทดสอบทางคลินิกหรือภายในแล็บที่ใช้ประเมินการทำงานทางประชานขั้นพื้นฐานเช่นความจำ การเรียนรู้ ภาษา และการคิดหาเหตุผล มีสมมติฐานที่แสดงว่า เพื่อที่จะอธิบายพฤติกรรมที่น่าแปลกใจเช่นนี้ จะต้องมีระบบประสาทครอบคลุมที่ประสานงานของกระบวนการทางประชานต่าง ๆ[37]

 
Stroop task

หลักฐานการทดลองมากมายเกี่ยวกับโครงสร้างทางประสาทที่เกี่ยวข้องกับ EF มาจากการทดสอบโดยใช้ stroop effect และ Wisconsin Card Sorting Task (WCST) โดย Stroop task ให้ผู้รับการทดลองบ่งสีของคำที่ระบายสีโดยที่สีและความหมายของคำอาจจะขัดแย้งกัน (เช่น คำว่า "แดง" ที่ระบายสีเป็นสีเขียว) ผู้รับการทดลองจะต้องใช้ EF ในการทำงานนี้ เพราะว่า ต้องมีการยับยั้งพฤติกรรมที่ทำอย่างช่ำชองและอัติโนมัติ (เช่นการอ่านคำหนังสือ) เพื่อที่จะทำงานที่ไม่ค่อยได้ทำ ซึ่งก็คือบ่งสีของคำ งานทดลองที่ใช้การสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) แสดงว่า มีสองส่วนใน PFC ซึ่งก็คือ anterior cingulate cortex (ACC) และ dorsolateral prefrontal cortex (DLPFC) ที่พิจารณาว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษในการทำงานทดสอบนี้

ความไวต่อสิ่งแวดล้อมของ PFC แก้

มีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงความเกี่ยวข้องของ PFC ใน EF จากการทดลองในลิงอันดับวานรเช่นในลิงมาคาก โดยใช้การวัดสรีรภาพทางไฟฟ้า (electrophysiology) ของเซลล์เดี่ยว ๆ ซึ่งแสดงว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ประสาทในด้านหลังของสมอง เซลล์ของ PFC เป็นจำนวนมากไวต่อการประกอบรวมกันของสิ่งเร้าและสถานการณ์สิ่งแวดล้อม (context) ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ของ PFC อาจจะตอบสนองต่อตัวช่วยสีเขียว ในกรณีที่ตัวช่วยบ่งว่า ควรจะขยับตาทั้งสองและศีรษะอย่างรวดเร็วไปทางซ้าย แต่ไม่ตอบสนองต่อตัวช่วยสีเขียวในสถานการณ์ทางการทดลองอื่น ๆ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่า การทำงานในระดับที่ดีสุดของ EF จะต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตัวอย่างที่ให้โดยมิลเล่อร์และโคเฮ็นก็คือ ผู้ที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องเรียนรู้อย่างช่ำชองที่จะมองไปทางซ้ายก่อนที่จะข้ามถนน แต่ว่า เมื่อมีสถานการณ์เปลี่ยนไปที่แสดงว่า อยู่ในประเทศอังกฤษ ต้องมีการห้ามการตอบสนองเช่นนี้ คือต้องแทนที่พฤติกรรมด้วยการจับคู่สิ่งเร้า-การตอบสนองที่ต่างกันไป (คือให้มองไปทางขวาก่อนข้ามถนน) กลุ่มพฤติกรรมเหล่านี้ชัดเจนว่าต้องอาศัยระบบประสาทที่สามารถประสานสิ่งเร้า (คือถนนในกรณีนี้) กับสถานที่ (ประเทศสหรัฐ ประเทศอังกฤษ) เพื่อตอบสนองด้วยพฤติกรรม (มองซ้าย มองขวา) หลักฐานในปัจจุบันบอกเป็นนัยว่า เซลล์ประสาทใน PFC ดูเหมือนจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนข้อมูลเช่นนี้อย่างชัดเจน[ต้องการอ้างอิง]

หลักฐานอื่น ๆ จากงานวิจัยสรีรภาพไฟฟ้าของเซลล์เดี่ยว ๆ ในลิงแสดง ventrolateral PFC ว่าเป็นตัวควบคุมการตอบสนองทางการเคลื่อนไหว (motor responses) ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ที่เพิ่มอัตราการยิงสัญญาณเพราะสัญญาณภายนอกที่บอกว่า "อย่าไป"[38] และสัญญาณที่บอกว่า "อย่ามองที่นั่น"[39] ได้รับการระบุแล้ว

ความเอนเอียงเพราะความใส่ใจในระบบการรับรู้ต่าง ๆ แก้

มีการใช้งานวิจัยโดยสรีรวิทยาไฟฟ้า (electrophysiology) และการสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) ในมนุษย์เพื่อระบุกลไกทางประสาทที่เป็นเหตุของความเอนเอียงโดยการใส่ใจ (attentional bias) โดยงานวิจัยโดยมากสืบหาการทำงานในระบบที่เกิดความเอนเอียง เช่น ในเปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex) หรือเปลือกสมองส่วนการได้ยิน (auditory cortex) งานวิจัยยุคต้น ๆ ใช้ event-related potential (ตัวย่อ ERP หมายถึง การตอบสนองทางไฟฟ้าของสมองเพราะเหตุการณ์หนึ่ง ๆ) เพื่อที่จะแสดงว่า ระดับการตอบสนองด้วยไฟฟ้าในสมองที่บันทึกในคอร์เทกซ์สายตาทั้งในซีกซ้ายและซีกขวาของสมองเกิดการเพิ่มระดับขึ้น ถ้าให้ผู้ร่วมการทดลองใส่ใจในด้านที่เหมาะสม (คือตรงข้ามกับซีกสมองที่ระดับการตอบสนองเพิ่มขึ้น)[40]

เทคนิคใหม่ ๆ ในการสร้างภาพสมองที่อาศัยการเดินโลหิต เช่น fMRI และ การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน (PET) ได้ทำให้สามารถแสดงได้ว่า ระดับการทำงานของประสาทในเขตประสาทสัมผัสต่าง ๆ รวมทั้ง เขตรับรู้สี เขตการเคลื่อนไหว และเขตรับรู้ใบหน้า เกิดการเพิ่มระดับขึ้นเมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองใส่ใจในลักษณะที่สมควรของสิ่งเร้านั้น ๆ ซึ่งบอกว่า มีการควบคุมการขยายสัญญาณ (gain control) ในเขตคอร์เทกซ์ใหม่ที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ยกตัวอย่างเช่น ในงานวิจัยในปี ค.ศ. 2003 ลิวและคณะ[41] แสดงขบวนของจุดที่เคลื่อนไหวไปทางซ้ายหรือทางขวา เป็นสีแดงหรือสีเขียว ให้ผู้ร่วมการทดลองดู และก่อนที่จะแสดงสิ่งเร้า จะมีตัวช่วยที่บอกว่า ผู้ร่วมการทดลองควรที่จะตอบสนองโดยอาศัยสีหรือทิศทางของจุดเหล่านั้น แม้ว่าสีและการเคลื่อนไหวจะมีอยู่ในขบวนจุดเหล่านั้นทั้งหมด การทำงานในเขตที่ไวสี (V4) ดังที่แสดงโดย fMRI ก็เกิดในระดับที่สูงขึ้นเมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองใส่ใจที่สี และการทำงานในเขตที่ไวต่อการเคลื่อนไหว ก็เกิดในระดับที่สูงขึ้นเมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองใส่ใจที่ทิศทางของการเคลื่อนไหว นอกจากนั้นแล้ว ยังมีงานวิจัยอีกหลายงานที่รายงานหลักฐานของสัญญาณแสดงความเอนเอียงที่เกิดขึ้นก่อนการแสดงสิ่งเร้า โดยแสดงว่า เขตต่าง ๆ ในสมองกลีบหน้ามักจะเกิดการทำงานก่อนที่จะแสดงสิ่งเร้าที่คาดหมาย[42]

การเชื่อมต่อกันของ PFC และเขตประสาทสัมผัส แก้

แม้ว่า น้ำหนักของแบบจำลองว่า EF มีส่วนในการทำให้เกิดความเอนเอียงในประสาทสัมผัส จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลักฐานโดยตรงที่แสดงการเชื่อมต่อกันโดยกิจระหว่าง PFC และเขตประสาทสัมผัสต่าง ๆ เมื่อมีการทำงานของ EF ก็ยังมีน้อยอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้[43] คือจริง ๆ แล้ว มีหลักฐานเดียวที่มาจากการศึกษาที่คนไข้มีความเสียหายในส่วนหนึ่งของสมองกลีบหน้า และเกิดผลในส่วนสมองที่ไกลจากรอยโรคที่สืบเนื่องกับการตอบสนองของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก[44][45] แต่ว่า มีงานวิจัยน้อยงานที่ได้ตรวจสอบว่า ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดในเฉพาะสถานการณ์ที่เกิดการทำงานของ EF หรือไม่ ส่วนวิธีอื่น ๆ ที่วัดความเชื่อมต่อกันระหว่างเขตสมองที่อยู่ห่างกัน เช่นโดยสหสัมพันธ์ของการตอบสนองที่เห็นใน fMRI ได้แสดงหลักฐานโดยอ้อมว่า สมองกลีบหน้าและเขตประสาทสัมผัส (เขตรับความรู้สึก) ต่าง ๆ มีการสื่อสารถึงกันและกันในกระบวนการต่าง ๆ ที่พิจารณาว่า ทำให้เกิดการทำงานของ EF เช่นความจำใช้งาน[46] ดังนั้น จึงยังต้องการงานวิจัยเพิ่มขึ้นอีกเพื่อที่จะระบุว่า มีการส่งข้อมูลกลับไปกลับมาอย่างไรระหว่าง PFC และส่วนอื่น ๆ ของสมองเมื่อ EF เกิดการทำงาน

มีงานวิจัยหนึ่งที่เริ่มมุ่งหน้าไปทางทิศทางนี้ เป็นงานวิจัยโดย fMRI ที่ศึกษาสายการประมวลข้อมูลในระหว่างการคิดเหตุผลเกี่ยวกับพื้นที่เนื่องกับการเห็น เป็นงานที่ให้หลักฐานของความเป็นเหตุและผล (โดยอนุมานจากลำดับการเกิดของการทำงาน) ระหว่างการทำงานทางประสาทสัมผัสในสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบข้าง กับการทำงานใน PFC ส่วนหลังและส่วนหน้า[47] งานวิจัยในแนวนี้สามารถทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นในเรื่องการประมวลข้อมูลเพื่อทำกิจเกี่ยวกับ EF ใน PFC และส่วนอื่น ๆ ของสมอง

การพูดได้สองภาษาและ EF แก้

มีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงว่า ผู้ที่พูดได้สองภาษามี EF ที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า โดยเฉพาะในส่วนการยับยั้ง (inhibitory control) และการทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน (task switching) [48][49] คำอธิบายที่อาจเป็นไปได้อย่างหนึ่งก็คือ ผู้พูดสองภาษาต้องควบคุมความใส่ใจและเลือกภาษาที่เหมาะสมในการพูด. ในทุกช่วงพัฒนาการ บุคคลที่พูดสองภาษาได้รวมทั้งทารก[50] เด็ก[49] และผู้ชรา[51] แสดงความได้เปรียบของผู้พูดได้สองภาษาในประเด็นการทำงานของ EF แต่น่าสนใจว่า ผู้พูดได้สองภาษาเป็นสองรูปแบบ คือพูดภาษาหนึ่งได้และรู้ภาษาใบ้ กลับไม่ปรากฏความได้เปรียบเกี่ยวกับสมรรถภาพของ EF[52] นี้อาจเป็นเพราะไม่ต้องทำการยับยั้งภาษาหนึ่งอย่างแอ๊กถีฟเพื่อที่จะใช้อีกภาษาหนึ่ง ผู้พูดสองภาษาดูเหมือนจะได้เปรียบในการจัดการความขัดแย้ง (conflict processing) อีกด้วย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อสามารถใช้รูปแบบหลายอย่างในการตอบสนองหนึ่ง ๆ (ยกตัวอย่างเช่น คำ ๆ หนึ่งในภาษาหนึ่งที่แปลได้หลายรูปแบบในอีกภาษาหนึ่ง) [53] โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว lateral prefrontal cortex เป็นส่วนที่มีบทบาทในการจัดการความขัดแย้ง

อย่างไรก็ดี มีผู้ที่วิจารณ์ว่า ความแตกต่างของผู้พูดได้สองภาษาและภาษาเดียวอาจเกิดขึ้นจากองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ไม่ได้ควบคุมในงานทดลองที่แสดงความแตกต่าง หรือว่าผู้ร่วมการทดลองมีความสามารถลักษณะที่ไม่ใกล้เคียงกัน งานวิจัยในปี ค.ศ. 2014 โดยใช้ Attentional Network Test ในเด็กพูดได้สองภาษา 180 คนพร้อมกับเด็กกลุ่มทดลองที่มีลักษณะความสามารถที่คล้ายคลึงกันพบว่า เด็กสองกลุ่มนี้ทำคะแนนในงานนั้นได้โดยไม่มีความต่างกันทางสถิติ[54]

แนวทางเพื่ออนาคต แก้

มีหลักฐานสำคัญอื่น ๆ เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของ EF ใน PFC เช่นงานปริทัศน์ที่อ้างอิงกันอย่างกว้างขวางงานหนึ่ง[55] ขับเน้นบทบาทของ PFC ส่วนใน (medial) ในสถานการณ์ที่มักจะต้องใช้ EF ยกตัวอย่างเช่น เมื่อสำคัญที่จะตรวจจับความผิดพลาด ระบุสถานการณ์ที่มีสิ่งเร้าที่ขัดแย้งกัน ทำการตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่ใจ หรือว่าเมื่อรู้ว่ามีโอกาสน้อยลงที่จะได้ผลที่ต้องการในการกระทำ บทความปริทัศน์นี้คล้ายกับบทความอื่น ๆ[56] ที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง PFC ส่วนใน (medial) และส่วนข้าง (lateral) ที่ส่วนในด้านหลัง (posterior medial) ส่งสัญญาณเกี่ยวกับความต้องการ EF ที่เพิ่มขึ้น โดยส่งไปยังเขตของส่วนข้างด้านบน (dorsolateral) ซึ่งเป็นที่เกิดสัญญาณการควบคุมการปฏิบัติการ ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าทัศนคตินี้ถูกต้อง และจริง ๆ แล้ว กลับมีบทความหนึ่งที่แสดงถึงคนไข้หลายคนที่มีความเสียหายต่อ PFC ด้านข้างที่มีระดับ ERN (Error-related negativity ซึ่งเป็นสัญญาณที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจากการตรวจสอบความผิดพลาดของส่วนในด้านบน) ลดลง[57] ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ส่วนที่ส่งสัญญาณควบคุมอาจจะกลับกันกับที่แสดงในทัศนคตินี้

ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งที่มีชื่อเสียง[58] เน้นการทำงานร่วมกันของส่วนต่าง ๆ ของสมองกลีบหน้าในแนวนอน โดยอ้างว่า มีการทำงานต่อเรียงกันระหว่าง PFC ส่วนหน้า, PFC ส่วนข้างด้านบน, และ premotor cortex ที่ช่วยนำพฤติกรรมอาศัยสถานการณ์ที่มีในอดีต อาศัยสถานการณ์ในปัจจุบัน และอาศัยความสัมพันธ์ปัจจุบันของประสาทสัมผัสและการสั่งการ (sensorimotor associations) ไปตามลำดับคอร์เทกซ์ (ในแนวนอน)

ความก้าวหน้าในการสร้างภาพในสมอง (neuroimaging) ช่วยในการศึกษาความเกี่ยวข้องทางกรรมพันธุ์ของ EF โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้เทคนิคการสร้างภาพนี้เป็น endophenotype เพื่อสืบค้นเหตุทางพันธุกรรมของ EF[59]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "WHO Schedules for Clinical Assessment in Neuropsychiatry (Cognitive impairment)" (PDF). p. 212. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2557-06-18. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Usha Goswami. (2562). จิตวิทยาเด็ก: ความรู้ฉบับพกพา. แปลโดย สุภลัคน์ ลวดลาย และวรัญญู กองชัยมงคล. หน้า 167. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป. ISBN 9786168221112.
  3. การประเมินทักษะด้านการคิดเชิงบริหาร (Executive Function) ในเด็กปฐมวัย https://thaichild21.com/2019/11/09/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/[ลิงก์เสีย]
  4. Anderson, Vicki (2001). "Assessing executive functions in children: biological, psychological, and developmental considerations" (PDF). Pediatric Rehabilitation. 4 (3): 119–136. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2557. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Elliott R (2003) . Executive functions and their disorders. British Medical Bulletin. (65) ; 49–59
  6. Monsell S (2003). "Task switching". TRENDS in Cognitive Sciences. 7 (3): 134–140. doi:10.1016/S1364-6613(03)00028-7. PMID 12639695.
  7. Chan, R. C. K., Shum, D., Toulopoulou, T. & Chen, E. Y. H., R; Shum, D; Toulopoulou, T; Chen, E (2008). "Assessment of executive functions: Review of instruments and identification of critical issues". Archives of Clinical Neuropsychology. 2. 23 (2): 201–216. doi:10.1016/j.acn.2007.08.010. PMID 18096360.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 Alvarez, J. A. & Emory, E., Julie A.; Emory, Eugene (2006). "Executive function and the frontal lobes: A meta-analytic review". Neuropsychology Review. 16 (1): 17–42. doi:10.1007/s11065-006-9002-x. PMID 16794878.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Lezak, M. D., Howieson, D. B. & Loring, D. W. (2004). Neuropsychological Assessment (4th ed.). New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-511121-4.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Clark, L., Bechara, A., Damasio, H., Aitken, M. R. F., Sahakian, B. J. & Robbins, T. W., L.; Bechara, A.; Damasio, H.; Aitken, M. R. F.; Sahakian, B. J.; Robbins, T. W. (2008). "Differential effects of insular and ventromedial prefrontal cortex lesions on risky decision making". Brain. 131 (5): 1311–1322. doi:10.1093/brain/awn066. PMC 2367692. PMID 18390562.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Allman, J. M., Hakeem, A., Erwin, J.M., Nimchinsky E. & Hof, P., John M.; Hakeem, Atiya; Erwin, Joseph M.; Nimchinsky, Esther; Hof, Patrick (2001). "The anterior cingulate cortex: the evolution of an interface between emotion and cognition". Annals of the New York Academy of Sciences. 935 (1): 107–117. doi:10.1111/j.1749-6632.2001.tb03476.x. PMID 11411161.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Rolls, E. T. & Grabenhorst, F., Edmund T.; Grabenhorst, Fabian (2008). "The orbitofrontal cortex and beyond: From affect to decision-making". Progress in Neurobiology. 86 (3): 216–244. doi:10.1016/j.pneurobio.2008.09.001. PMID 18824074.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Norman DA, Shallice T (2000). "(1980) Attention to action: Willed and automatic control of behaviour". ใน Gazzaniga MS (บ.ก.). Cognitive neuroscience: a reader. Oxford: Blackwell. ISBN 0-631-21660-X.
  14. Russell A. Barkley, Kevin R. Murphy: Attention-Deficit Hyperactivity Disorder, Third Edition: A Clinical Workbook, Volym 2, (found on Google books)
  15. Cherkes-Julkowski, Miriam (2005). The DYSfunctionality of Executive Function. surviving education guides. ISBN 0-9765299-2-0. OCLC 77573143.
  16. Shiffrin, RM; Schneider, W (March 1977). "Controlled and automatic human information processing: II: Perceptual learning, automatic attending, and a general theory". Psychological Review. 84 (2): 127–90. CiteSeerX 10.1.1.227.1856. doi:10.1037/0033-295X.84.2.127.
  17. Posner, MI; Snyder, CRR (1975). "Attention and cognitive control". ใน Solso, RL (บ.ก.). Information processing and cognition: the Loyola symposium. Hillsdale, NJ: L. Erlbaum Associates. ISBN 978-0-470-81230-3.
  18. Posner, MI; Petersen, SE (1990). "The attention system of the human brain". Annual Review of Neuroscience. 13 (1): 25–42. doi:10.1146/annurev.ne.13.030190.000325. PMID 2183676. S2CID 2995749.
  19. Shallice, T (1988). From neuropsychology to mental structure. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-31360-5.
  20. Baddeley AD (1986). Working memory. Oxford: Clarendon Press. ISBN 0-19-852133-2.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 21.7 21.8 De Luca, Cinzia R.; Leventer, Richard J. (2008). "Developmental trajectories of executive functions across the lifespan". ใน Anderson, Peter; Anderson, Vicki; Jacobs, Rani (บ.ก.). Executive functions and the frontal lobes: a lifespan perspective. Washington, DC: Taylor & Francis. pp. 24–47. ISBN 978-1-84169-490-0. OCLC 182857040.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 Anderson, PJ (2002). "Assessment and development of executive functioning (EF) in childhood". Child Neuropsychology. 8 (2): 71–82. doi:10.1076/chin.8.2.71.8724. PMID 12638061. S2CID 26861754.
  23. Senn, TE; Espy, KA; Kaufmann, PM (2004). "Using path analysis to understand executive function organization in preschool children". Developmental Neuropsychology. 26 (1): 445–464. doi:10.1207/s15326942dn2601_5. PMID 15276904. S2CID 35850139.
  24. 24.0 24.1 Best, JR; Miller, PH; Jones, LL (2009). "Executive functions after age 5: Changes and correlates". Developmental Review. 29 (3): 180–200. doi:10.1016/j.dr.2009.05.002. PMC 2792574. PMID 20161467.
  25. Espy, KA (2004). "Using developmental, cognitive, and neuroscience approaches to understand executive functions in preschool children". Developmental Neuropsychology. 26 (1): 379–384. doi:10.1207/s15326942dn2601_1. PMID 15276900. S2CID 35321260.
  26. Brocki, KC; Bohlin, G (2004). "Executive functions in children aged 6 to 13: A dimensional and developmental study;". Developmental Neuropsychology. 26 (2): 571–593. doi:10.1207/s15326942dn2602_3. PMID 15456685. S2CID 5979419.
  27. 27.0 27.1 27.2 Anderson, VA; Anderson, P; Northam, E; Jacobs, R; Catroppa, C (2001). "Development of executive functions through late childhood and adolescence in an Australian sample". Developmental Neuropsychology. 20 (1): 385–406. doi:10.1207/S15326942DN2001_5. PMID 11827095. S2CID 32454853.
  28. Klimkeit, EI; Mattingley, JB; Sheppard, DM; Farrow, M; Bradshaw, JL (2004). "Examining the development of attention and executive functions in children with a novel paradigm". Child Neuropsychology. 10 (3): 201–211. doi:10.1080/09297040409609811. PMID 15590499. S2CID 216140710.
  29. 29.0 29.1 De Luca, CR; Wood, SJ; Anderson, V; Buchanan, JA; Proffitt, T; Mahony, K; Pantelis, C (2003). "Normative data from the CANTAB I: Development of executive function over the lifespan". Journal of Clinical and Experimental Neuropsychology. 25 (2): 242–254. doi:10.1076/jcen.25.2.242.13639. PMID 12754681. S2CID 36829328.
  30. 30.0 30.1 Luciana, M; Nelson, CA (2002). "Assessment of neuropsychological function through use of the Cambridge Neuropsychological Testing Automated Battery: Performance in 4- to 12-year-old children". Developmental Neuropsychology. 22 (3): 595–624. doi:10.1207/S15326942DN2203_3. PMID 12661972. S2CID 39133614.
  31. 31.0 31.1 Luna, B; Garver, KE; Urban, TA; Lazar, NA; Sweeney, JA (2004). "Maturation of cognitive processes from late childhood to adulthood". Child Development. 75 (5): 1357–1372. CiteSeerX 10.1.1.498.6633. doi:10.1111/j.1467-8624.2004.00745.x. PMID 15369519.
  32. Leon-Carrion, J; García-Orza, J; Pérez-Santamaría, FJ (2004). "Development of the inhibitory component of the executive functions in children and adolescents". International Journal of Neuroscience. 114 (10): 1291–1311. doi:10.1080/00207450490476066. PMID 15370187. S2CID 45204519.
  33. spatial span เป็นแบบการประเมินสมรรถภาพความจำใช้งาน (working memory) ที่แสดงกล่องสีขาวที่กระจัดกระจายไปทั่วทั้งจอ โดยที่ผู้รับการทดสอบต้องแสดงกล่องที่เปลี่ยนสีไปตามลำดับ จำนวนกล่องที่ใช้ทดสอบเริ่มตั้งแต่ 2 ไปสุดที่ 9 จาก "Spatial Span (SSP)". สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-12. สืบค้นเมื่อ 2014-08-06.
  35. Rabbitt PMA (1997). "Theory and methodology in executive function research". Methodology of frontal and executive function. East Sussex: Psychology Press. ISBN 0-86377-485-7.
  36. Saver, JL; Damasio, AR (1991). "Preserved access and processing of social knowledge in a patient with acquired sociopathy due to ventromedial frontal damage". Neuropsychologia. 29 (12): 1241–9. doi:10.1016/0028-3932(91)90037-9. PMID 1791934. S2CID 23273038.
  37. Shimamura, AP (2000). "The role of the prefrontal cortex in dynamic filtering". Psychobiology. 28 (2): 207–218. doi:10.3758/BF03331979. S2CID 140274181.
  38. Sakagami, M; Tsutsui, Ki; Lauwereyns, J; Koizumi, M; Kobayashi, S; Hikosaka, O (1 July 2001). "A code for behavioral inhibition on the basis of color, but not motion, in ventrolateral prefrontal cortex of macaque monkey". The Journal of Neuroscience. 21 (13): 4801–8. doi:10.1523/JNEUROSCI.21-13-04801.2001. PMC 6762341. PMID 11425907.
  39. Hasegawa, RP; Peterson, BW; Goldberg, ME (August 2004). "Prefrontal neurons coding suppression of specific saccades". Neuron. 43 (3): 415–25. doi:10.1016/j.neuron.2004.07.013. PMID 15294148. S2CID 1769456.
  40. Hillyard, SA; Anllo-Vento, L (February 1998). "Event-related brain potentials in the study of visual selective attention". Proceedings of the National Academy of Sciences. 95 (3): 781–7. Bibcode:1998PNAS...95..781H. doi:10.1073/pnas.95.3.781. PMC 33798. PMID 9448241.
  41. Liu, T; Slotnick, SD; Serences, JT; Yantis, S (December 2003). "Cortical mechanisms of feature-based attentional control". Cerebral Cortex. 13 (12): 1334–43. CiteSeerX 10.1.1.129.2978. doi:10.1093/cercor/bhg080. PMID 14615298.
  42. Kastner, S; Pinsk, MA; De Weerd, P; Desimone, R; Ungerleider, LG (April 1999). "Increased activity in human visual cortex during directed attention in the absence of visual stimulation". Neuron. 22 (4): 751–61. doi:10.1016/S0896-6273(00)80734-5. PMID 10230795.
  43. Miller, BT; d'Esposito, M (November 2005). "Searching for "the top" in top-down control". Neuron. 48 (4): 535–8. doi:10.1016/j.neuron.2005.11.002. PMID 16301170. S2CID 7481276.
  44. Barceló, F; Suwazono, S; Knight, RT (April 2000). "Prefrontal modulation of visual processing in humans". Nature Neuroscience. 3 (4): 399–403. doi:10.1038/73975. PMID 10725931. S2CID 205096636.
  45. Fuster, JM; Bauer, RH; Jervey, JP (March 1985). "Functional interactions between inferotemporal and prefrontal cortex in a cognitive task". Brain Research. 330 (2): 299–307. doi:10.1016/0006-8993(85)90689-4. PMID 3986545. S2CID 20675580.
  46. Gazzaley, A; Rissman, J; d'Esposito, M (December 2004). "Functional connectivity during working memory maintenance". Cognitive, Affective, & Behavioral Neuroscience. 4 (4): 580–99. doi:10.3758/CABN.4.4.580. PMID 15849899.
  47. Shokri-Kojori, E; Motes, MA; Rypma, B; Krawczyk, DC (May 2012). "The network architecture of cortical processing in visuo-spatial reasoning". Scientific Reports. 2 (411): 411. Bibcode:2012NatSR...2E.411S. doi:10.1038/srep00411. PMC 3355370. PMID 22624092.
  48. Bialystok E (2001). Bilingualism in development: Language, literacy, and cognition. New York: Cambridge University Press.
  49. 49.0 49.1 Carlson SM, Meltzoff AM (2008). "Bilingual experience and executive functioning in young children". Developmental Science. 11 (2): 282–298. doi:10.1111/j.1467-7687.2008.00675.x. PMC 3647884. PMID 18333982.
  50. Conboy BT, Summerville JA, Kuhl PK (2008). "Cognitive control factors in speech at 11 months". Developmental Psychology. 44 (5): 1505–1512. doi:10.1037/a0012975. PMC 2562344. PMID 18793082.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) อ้างอิง Bialystok, E (1999). "Cognition and language: Cognitive complexity and attentional control in the bilingual mind". Child Development. 70: 636–644.
  51. Bialystok E, Craik FIM, Klein R, Viswanathan M (2004). "Bilingualism, aging, and cognitive control: Evidence from the Simon task". Psychology and Aging. 19 (2): 290–303. doi:10.1037/0882-7974.19.2.290. PMID 15222822.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  52. Emmorey K, Luk G, Pyers JE, Bialystok E (2008). "The source of enhanced cognitive control in bilinguals". 19: 1201–1206. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  53. Costa A, Hernandez M, and Sebastian-Galles, N (2008). "Bilingualism aids conflict resolution: Evidence from the ANT task". Cognition. 106 (1): 59–86. doi:10.1016/j.cognition.2006.12.013. PMID 17275801.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  54. Antón1, Eneko; Duñabeitia, JA; Estévez, Adelina; Hernández, JA; Castillo, Alejandro; Fuentes, LJ; Davidson, DJ; Carreiras, Manuel. "Is there a bilingual advantage in the ANT task ? Evidence from children" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-06-29. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  55. Ridderinkhof, KR; Ullsperger, M; Crone, EA; Nieuwenhuis, S (October 2004). "The role of the medial frontal cortex in cognitive control" (PDF). Science. 306 (5695): 443–7. Bibcode:2004Sci...306..443R. doi:10.1126/science.1100301. hdl:1871/17182. PMID 15486290. S2CID 5692427.
  56. Botvinick, MM; Braver, TS; Barch, DM; Carter, CS; Cohen, JD (July 2001). "Conflict monitoring and cognitive control". Psychological Review. 108 (3): 624–52. doi:10.1037/0033-295X.108.3.624. PMID 11488380.
  57. Gehring, WJ; Knight, RT (May 2000). "Prefrontal-cingulate interactions in action monitoring". Nature Neuroscience. 3 (5): 516–20. doi:10.1038/74899. PMID 10769394. S2CID 11136447.
  58. Koechlin, E; Ody, C; Kouneiher, F (November 2003). "The architecture of cognitive control in the human prefrontal cortex". Science. 302 (5648): 1181–5. Bibcode:2003Sci...302.1181K. CiteSeerX 10.1.1.71.8826. doi:10.1126/science.1088545. PMID 14615530. S2CID 18585619.
  59. Greene, CM; Braet, W; Johnson, KA; Bellgrove, MA (2007). "Imaging the genetics of executive function". Biological Psychology. 79 (1): 30–42. doi:10.1016/j.biopsycho.2007.11.009. hdl:10197/6121. PMID 18178303. S2CID 32721582.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้