ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ
ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ[2] เป็นชื่อไม้ล้มลุกชนิด Euphorbia cyathophora Murr. ในวงศ์ Euphorbiaceae[2] มีสรรพคุณเป็นยา ทั้งยารักษาโรคและยาเสพติด นอกจากนี้ ยังเป็นวัชพืชที่ทนสารกำจัดวัชพืช แต่สวยงาม จึงมักใช้ประดับถนนหนทาง
ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ | |
---|---|
ลูกเขยตายแม่ยายทำศพกระถางหนึ่ง ในนครเคียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | อันดับโนรา Malpighiales |
วงศ์: | วงศ์ยางพารา Euphorbiaceae |
เผ่า: | Euphorbieae Euphorbieae |
เผ่าย่อย: | Euphorbiinae Euphorbiinae |
สกุล: | Euphorbia Euphorbia L. |
สปีชีส์: | Euphorbia heterophylla |
ชื่อทวินาม | |
Euphorbia heterophylla L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
ชื่อ
แก้ลูกเขยตายแม่ยายทำศพยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก"[2], "หญ้ายาง"[3], ตำรายาโบราณเรียก "พิษนาคราช"[4], ชาวเหนือเรียก "หญ้าน้ำหมึก"[5], ไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียก "หญ้าหลังอึ่ง"[5], และชาวสงขลาเรียก "ใบต่างดอก"[6]
ส่วนชื่อชนิด Euphorbia cyathophora นั้น Euphorbia heterophylla หรือ Poinsettia cyathophora ก็ว่า[7]
อนึ่ง ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษของลูกเขยตายแม่ยายทำศพ คือ fireplant, Mexican fireplant, painted euphorbia, desert poinsettia, wild poinsettia, fire on the mountain, paint leaf หรือ kaliko plant
ลักษณะ
แก้ลูกเขยตายแม่ยายทำศพเป็นไม้ล้มลุก[2] มีลำต้นตั้งตรง อาจสูงได้ตั้งแต่หนึ่งเมตรถึงหกเมตร[4] และมียางสีขาวขุ่นทั้งลำ[3] ยางนั้นเป็นพิษ ทำให้ผิวหนังอักเสบ (dermatitis) และก่อแอนาฟิแล็กซิส (anaphylaxis) ได้
ใบนั้นเดี่ยว เป็นรูปรี หรือรูปแถบดังใบหอก กว้างราวหนึ่งถึงห้าเซนติเมตร ยาวได้ตั้งแต่ห้าถึงยี่สิบเซนติเมตร และเรียงเวียน ด้านบนสีเขียว และด้านล่างสีเขียวอ่อน[3][4] ผิวใบมีขน และก้านใบก็มีขน[5]
ขณะที่ดอกออกแต่ในฤดูฝน[4] เป็นช่อที่แต่ละยอด โดยแยกเพศแต่ก็รวมกันอยู่ในช่อหนึ่ง ๆ นั้น ดอกเมียมีสัณฐานกลม ส่วนดอกผู้อยู่เคียงดอกเมียและมีเกสรสีเหลือง ดอกแต่ละช่อมีใบกระจุกรองรับ[3]
ผลของลูกเขยตายแม่ยายทำศพมีลักษณะกลม เมื่อแห้งจะแตกกลางเป็นพูสามพู[3]
การแพร่พันธุ์
แก้ลูกเขยตายแม่ยายทำศพเป็นพืชประจำถิ่นในประเทศเม็กซิโก แต่อาจแพร่มาจากดินแดนแถวรัฐแคลิฟอร์เนียไปจนถึงทางตะวันออกของรัฐเท็กซัสหรือถึงอเมริกากลาง และแพร่เป็นอันมากในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและประเทศไทย[8] ซึ่งน่าจะแพร่มานมนานถึงขนาดที่ปรากฏอยู่ในตำรายาไทยโบราณด้วย[4]
ลูกเขยตายแม่ยายทำศพขึ้นได้ตามดินสวนทั่วไป[7] และรุกรานพืชอื่น[9] โดยจะดำรงอยู่เพียงหนึ่งปี[3][7]
สรรพคุณ
แก้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า ลูกเขยตายแม่ยายทำศพใช้ทำยาได้ แต่ไม่ได้ระบุว่ายาอะไร[2] ตำรายาไทยโบราณว่า เปลือกลำต้นมีรสร้อน ใช้รักษาฝี ทั้งฝีภายนอก และฝีภายใน, รักษาพิษนาคราช และช่วยขับน้ำนมได้[4] แต่ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยว่า ส่วนที่ใช้คือ ราก มิใช่เปลือกลำต้น[5] ขณะที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกลางแห่งปารานา (Federal Technological University of Paraná) ประเทศบราซิล ว่า ใบยังใช้ทำยาเสพติดอย่างใบกัญชาหรือใบกระท่อมได้ด้วย[7]
นอกจากเป็นยา ทั้งยารักษาโรคและยาเสพติดแล้ว เพราะสีสันอันโดดเด่น หลาย ๆ เมืองจึงใช้ลูกเขยตายแม่ยายทำศพประดับหนทางเป็นทิวแถวเสมอ
อนึ่ง ลูกเขยตายแม่ยายทำศพทนสารกำจัดวัชพืช[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". ราชบัณฑิตยสถาน. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "หญ้ายาง". Kanchanapisek.or.th. 2006. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม (ม.ป.ป.). "พจนานุกรมสมุนไพรไทย". สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "ฐานข้อมูลสมุนไพร - หญ้ายาง". ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 6.0 6.1 "Euphorbia cyathophora Murr". สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2009. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 "Euphorbia cyathophora". Rob's plants. 2009, 28 August. สืบค้นเมื่อ 15 November 2011.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ A. K. Wilson (1981). "Euphorbia heterophylla: a Review of Distribution, Importance and Control". accessdate=15 November 2011.
{{cite web}}
: ไม่มี pipe ใน:|publisher=
(help) - ↑ "หญ้ายาง Euphorbia heterophylla L." กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-20. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2554.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)