จักรพรรดิถังเสฺวียนจง

(เปลี่ยนทางจาก Emperor Xuanzong of Tang)

จักรพรรดิถังเสฺวียนจง (จีน: 唐玄宗, ค.ศ. 685–762) จักรพรรดิองค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ถัง เป็นโอรสในจักรพรรดิถังรุ่ยจง มีพระนามเดิมว่า หลี่หลงจี

จักรพรรดิถังเสฺวียนจง

太上至道圣皇天帝
จักรพรรดิจีน
ครองราชย์8 กันยายน 712 - 12 สิงหาคม 756 (43 ปี 340 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิถังรุ่ยจง
ถัดไปจักรพรรดิถังซู่จง
ประสูติ8 กันยายน ค.ศ. 685(685-09-08)
สวรรคต3 พฤษภาคม ค.ศ. 762 (76 ปี 237 วัน)
จักรพรรดินีจักรพรรดินีหวัง
Empress Zhenshun
Empress Yuanxian (Consort Yang Guipin, posthumously promoted and renamed)
พระภรรยาเจ้าหยางกุ้ยเฟย
พระราชบุตรLi Cong, Emperor Fengtian
Li Ying, Crown Prince
หลี่เฮิง, จักรพรรดิซู่จง
Li Yan, Prince of Di
Li Yao, Prince of E
Li Wan, Crown Prince Jinggong
Li Ju, Prince of Guang
Li Yi, Prince Dao of Xia
Li Sui, Prince of Yi
Li Jiao, Prince of Ying
Li Min, Prince Ai of Huai
Li Lin, Prince of Yong
หลี่เม่า, โซ่วอ๋อง
Li Bin, Prince of Yan
Li Qi, Prince of Sheng
Li Huan, Prince of Ji
Li Huang, Prince of Xin
Li Ci, Prince of Yi
Li Gui, Prince of Chen
Li Gong, Prince of Feng
Li Tian, Prince of Heng
Li Xuan, Prince of Liang
Li Jing, Prince Ai of Bian
and 29 daughters
太上至道圣皇天帝
พระนามเต็ม
แซ่: หลี่ (李)
ชื่อ: หลงจี (隆基)
รัชศก
Xiāntiān (先天) 712-713
ไคหยวน (開元) 713-741
เทียนเป่า (天寶) 742-756
พระปรมาภิไธย
太上至道圣皇天帝
พระสมัญญานาม
Short: Emperor Ming (明皇)
Full: Emperor Zhidao Dasheng Daming Xiao (至道大聖大明孝皇帝)
พระอารามนาม
เสวียนจง (玄宗)
ราชวงศ์ถัง (唐)
พระราชบิดาจักรพรรดิถังรุ่ยจง
พระราชมารดาConsort Dou

ภายหลังรัชกาลของบูเช็กเทียน สภาพการเมืองภายในราชสำนักปั่นป่วนวุ่นวาย เนื่องจากถังจงจงอ่อนแอ อำนาจทั้งมวลตกอยู่ในมือของเหวยฮองเฮา(韦皇后)ที่คิดจะยิ่งใหญ่ได้เช่นเดียวกับบูเช็กเทียน เหวยฮองเฮาหาเหตุประหารรัชทายาท จากนั้นในปี 710 วางยาพิษสังหารถังจงจง โอรสองค์ที่สามของถังรุ่ยจง นามหลี่หลงจี(李隆基)ภายใต้การสนับสนุนขององค์หญิงไท่ผิง (太平公主) ชิงนำกำลังทหารบุกเข้าวังหลวงสังหารเหวยฮองเฮาและพวก ภายหลังเหตุการณ์องค์หญิงไท่ผิงหนุนถังรุ่ยจงขึ้นครองราชย์ แต่งตั้งหลี่หลงจีเป็นรัชทายาท แต่แล้วองค์หญิงไท่ผิงพยายามเข้ากุมอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่เกิดขัดแย้งกับรัชทายาทหลี่หลงจี ปี 712 ถังรุ่ยจงสละราชย์ให้กับโอรส หลี่หลงจีเมื่อขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า ถังเสวียนจง(唐玄宗)

สิ่งแรกที่กระทำคือกวาดล้างขุมกำลังขององค์หญิงไท่ผิง นำพาสันติสุขกลับคืนมาอีกครั้ง ตลอด 32 ปีในรัชสมัย ทรงปฏิรูปการปกครองกวาดล้างขุนนางกังฉิน ทรงทำให้ฉางอานกลายเมืองศูนย์กลางของโลกในขณะนั้น ประชากรในเมืองฉางอานสูงกว่า 1 ล้านคน เป็นปลายทางของเส้นทางสายไหม และยังเป็นจุดหมายปลายทางของพวกพ่อค้าชาวตะวันตก ต้าถังในรัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยนักดนตรี นักประพันธ์ เจริญด้วยวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย สังคมสงบสุข พระบารมีแผ่ขยายไปกว้างไกล ประวัติศาสตร์ยุคนี้ได้รับการขนานนามว่า ปฐมศักราชแห่งความรุ่งโรจน์ นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาต่างชาติพากันหลั่งไหลเข้ามาเรียนรู้ในแผ่นดินต้าถังตลอดไม่ขาดสาย ฉางอานเมืองหลวงของต้าถังในขณะนั้น กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของโลกมีความเจริญในทุก ๆ ด้าน

แบบอย่างนักปกครองที่ดี แก้

หลังจากที่จักรพรรดิถังเสวียนจงทรงครองราชย์ได้ไม่นานพระองค์ตั้งพระทัยว่าจะนำพาต้าถังกลับไปสู่ความรุ่งโรจน์อีกครั้ง ดังเช่นสมัย จักรพรรดิถังไท่จง พระองค์ทรงทราบว่าหยางฉงเป็นผู้มากความสามารถ พระองค์จึงเชิญหยางฉงเข้ามารับราชการ กษัตริย์ถังเสวียนจงทรงไว้วางพระทัยในหยางฉงมาก มีครานึ่งหยางฉงถวายฎีกาเรื่องเลื่อนขั้นขุนางชั้นผู้น้อย หยางฉงถวายไปอยู่หลายครั้ง จักรพรรดิถังเสวียนจงก็ไม่ตอบสนอง พอขันทีถาม กษัตริย์ถังเสวียนจงจึงตอบ "ข้าตั้งหยางฉงเป็นอัครมหาเสนาบดี ก็หวังจะได้ใช้งาน เรื่องเล็กน้อยดั่งการเลื่อนขึ้นขุนนางเพียงเท่านี้เขาย่อมตัดสินใจเองได้ เหตุใดจึงต้องรายงานข้าด้วยเล่า" เมื่อหยางฉงทราบความนี้ก็รู้สึกซาบซึ้งในพระทัยเป็นล้นพ้น และตั้งใจรับใช้กษัตริย์องค์นี้เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ บ้านเมืองภายใต้การบริหารของขุนนางที่ดีอย่าง หยางฉง และจ่าวจิ่งหลิงที่รับใช้จักรพรรดิถังเสวียนจงก็เจริญเฟื่องฟูขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ จนทำให้ราชวงศ์ถังก้าวเข้าสู่ยุครุ่งเรืองถึงขีดสุด

ความหายนะเบื้องหลังความรุ่งเรือง แก้

แต่แล้วในปลายรัชสมัย เนื่องจากบ้านเมืองสงบสุขเป็นเวลานาน ถังเสวียนจงค่อยวางมือจากราชกิจ ปี 744 นับแต่รับตัวหยางอวี้หวนเป็นกุ้ยเฟยไว้ข้างกาย ก็ลุ่มหลงกับการเสพสุขในบั้นปลาย ทอดทิ้งภารกิจบริหารราชการแผ่นดิน จนเป็นโอกาสให้เสนาบดีหลี่หลินฝู่(李林甫)เข้ากุมอำนาจ แสวงหาอำนาจส่วนตน คอยกีดกันขุนนางและนายทัพที่มีความดีความชอบ ริดรอนขุมกำลังจากส่วนกลางในที่ไม่ใช่พรรคพวกตน ขณะที่ให้การสนับสนุนแม่ทัพชายแดนที่มาจากกลุ่มชนเผ่าภายนอก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดภาวะตึงเครียดตามแนวชายแดนกับทิเบต ทูเจี๋ยว์ เกาหลี และน่านเจ้าทางภาคใต้ กำลังทหารรับจ้างที่ต้องประจำอยู่ตามแนวพรมแดนมีจำนวนมากขึ้น แม่ทัพชายแดนจึงกุมอำนาจเด็ดขาดทางทหารไว้ได้ หลังจากหลี่หลินฝู่เสียชีวิต หยางกั๋วจง(杨国忠)ญาติผู้พี่ของหยางกุ้ยเฟยได้ขึ้นเป็นเสนาบดีแทน แต่กลับเลวร้ายยิ่งกว่า ด้วยถืออำนาจบาตรใหญ่ ฉ้อราษฎร์บังหลวง การโกงกินของขุนนางทำให้ระบบการจัดสรรที่นาและการเกณฑ์ทหารล้มเหลว กำลังทหารอ่อนโทรมลง ช่วงเวลาดังกล่าว เกิดเหตุขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจระหว่างหยางกั๋วจงเสนาบดีคนใหม่กับอันลู่ซัน(安禄山)แม่ทัพชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้อันลู่ซันหาเหตุยกกำลังบุกเข้านครฉางอัน ถังเสวียนจงและหยางกุ้ยเฟยหลบหนีลงใต้ ระหว่างทางบรรดานายทหารที่โกรธแค้นพากันจับตัวหยางกั๋วจงสังหารเสีย จากนั้นบีบบังคับให้ถังเซวียนจงประหารหยางกุ้ยเฟย จากนั้นเดินทัพต่อไปถึงแดนเสฉวน ขณะเดียวกัน รัชทายาทหลี่เฮิง(李亨)หลบหนีไปถึงหลิงอู่ (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลหนิงเซี่ย) ก็ได้รับการสนับสนุนให้ขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ถังซู่จง ฝ่ายกองกำลังกบฏเมื่อได้ชัย ก็เข้าปล้นชิงทรัพย์สินราษฎร ปี 757 เกิดการแตกแยกภายใน อันลู่ซันถูกชิ่งซี่ว์(庆绪)บุตรชายสังหาร ทัพถังได้โอกาสยกกำลังบุกยึดนครฉางอันและลั่วหยางกลับคืนมา แต่แล้วในปี 758 สื่อซือหมิง(史思明)ขุนพลเก่าของอันลู่ซันก่อการอีกครั้ง ที่เมืองฟั่นหยาง (ปักกิ่ง) สังหารอันชิ่งซี่ว์ จากนั้นบุกยึดนครลั่วหยางได้อีกครั้ง ปี 761 ระหว่างยกกำลังบุกฉางอันถูกเฉาอี้(朝义) บุตรชายสังหารเช่นกัน เป็นเหตุให้กองกำลังระส่ำระสาย ทัพถังได้โอกาสร่วมกับกองกำลังของชนเผ่าหุยเหอ(回纥)ตีโต้กลับคืน เฉาอี้พ่ายแพ้ฆ่าตัวตาย เหตุวิกฤตจากกบฏอันลู่ซันและสื่อซือหมิง ตั้งแต่ปี 755 – 763 จึงกล่าวได้ว่าสงบราบคาบลง ความเสียหายร้ายแรงที่เกิดจากการกบฏครั้งนี้ เป็นเหตุให้ยุคทองของราชวงศ์ถังดับวูบลง อย่างไม่อาจฟื้นคืนกลับคืนมาเช่นเมื่อครั้งก่อนเก่าได้อีก

จักรพรรดิถังเสฺวียนจงสวรรคตลงในปี ค.ศ. 762 (พ.ศ. 1305) ขณะพระชนม์ได้ 77 พรรษา

พระบรมวงศานุวงศ์ แก้

  • พระราชบิดา
  • พระราชมารดา
    • ตู้ไทเฮา (ถูกสังหารโดยบูเช็กเทียนเมื่อค.ศ. 693)
  • พระอัครมเหสี
    • จักรพรรดินีหวัง (ถูกสถาปนาเมื่อค.ศ. 712ถูกถอดและสิ้นพระชนม์เมื่อค.ศ. 724)
  • พระมเหสีและพระสนม
    • กุ้ยเฟย สกุลหยาง
    • ซู่เฟย สกุลเจิน
    • ลี่เฟย สกุลจ้าว
    • ฮวาเฟย สกุลหลี่
    • ฮุ่ยเฟย สกุลอู่ หลังสิ้นพระชนม์ได้รับการสถาปนาเป็นจักรพรรดินีเจินซุ่น
    • เจาอี๋ สกุลหลิน
    • เสียนอี๋ สกุลอู่
    • หวั่นอี๋ สกุลกัว
    • เจี๋ยอวี๋ สกุลหลิว
    • ไฉเหริน สกุลหลิว
    • ไฉเหริน สกุลเจิ้ง
    • กั๋วกั๋วฟูเหริน สกุลหยาง (พี่สาวของหยางกุ้ยเฟย)


ก่อนหน้า จักรพรรดิถังเสฺวียนจง ถัดไป
จักรพรรดิถังรุ่ยจง   จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 1255 - พ.ศ. 1287)
  จักรพรรดิถังซู่จง